หลังจากที่มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)อีก 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.50% ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา แม้จะเป็นระดับที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้มีการแข่งขันกันระดมเงินฝากมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ก็เป็นแรงผลักดันให้การแข่งขันระดมเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
**แบงก์ใหญ่นำร่อง**
ภายหลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งนำร่องประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม ธนาคารกรุงเทพ(BBL)ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสะสมทรัพย์จาก 0.625% เป็น 0.75% เงินฝากสะสมทรัพย์สำหรับนิติบุคคลจาก เป็น 0.625% เงินฝากประจำ 7 วัน 14 วัน และ 30 วัน จาก 1.25% เป็น 1.250 – 1.625% เงินฝากประจำ 3 เดือน จาก 1.250% เป็น 1.375-1.50% , 6 เดือน จาก 1.375-1.50% เป็น 1.625-1.875% , 12 เดือน จาก 1.375-1.75% เป็น 1.875-2.00% , 24 เดือน จาก 2.000-2.500% เป็น 2.25 – 2.75% , 36 เดือน จาก 2.25-2.50% เป็น 2.50 – 2.75% ด้านอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินระยะเวลา 3 เดือน จาก 1.625% เป็น 1.75- 1.875% ระยะเวลา 6 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.875- 2.00% ระยะเวลา 12 เดือน จาก 2.00% เป็น 2.125 – 2.25%
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(MLR)จาก 6.375% เป็น 6.625% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 6.625% เป็น 6.875% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.00% เป็น 7.25%
ธนาคารกรุงไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทุกประเภท 0.10-0.30% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ สำหรับบุคคลธรรมดา ปรับขึ้น 0.125% เป็น 0.750% เงินฝากประจำประเภท 3 เดือน ปรับขึ้น 0.175% - 0.30% เป็น 1.375% - 1.50%, 6 เดือน ปรับขึ้น 0.2% เป็น 1.85% ต่อปี , 12 เดือน ปรับขึ้น 0.10%-0.20% เป็น 1.90% - 2.0% , 24 เดือน ปรับขึ้น 0.1% เป็น 2.75% และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.1% เป็น 3%
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 6.625% เงินกู้ MOR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 6.875% และเงินกู้ MRR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 7.350 %
**ออกแคมเปญควบ**
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 0.13% จาก 0.62% เป็น 0.75% ด้านเงินฝากประจำ 3 เดือน ปรับขึ้น 0.15%-0.20% เป็น 1.25%-1.50% , 6 เดือน ปรับขึ้น 0.20%-0.25% เป็น 1.60%-1.90% , 12 เดือน ปรับขึ้น 0.20%-0.25% เป็น 1.85%-2.00% , 24 เดือน ปรับขึ้น 0.05%-0.15% เป็น 2.30%-2.85% และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.15% เป็น 2.65%-3.00%
ทั้งนี้ ธนาคารยังได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน 0.20%-0.35% โดยอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินอายุ 1 เดือน อยู่ที่ 1.60% ตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน อยู่ที่ 1.70%-1.85% ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน อยู่ที่ 1.85%-2.00%และตั๋วแลกเงินอายุ 12 เดือน อยู่ที่ 2.15%-2.25%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับจาก 6.37% เป็น 6.62% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR ปรับจาก เป็น 6.63% เป็น 6.88% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR จาก 7.10% เป็น 7.35%
พร้อมกันนี้ ยังเปิดตัวแคมเปญ เงินฝากดอกเบี้ยสูงพุ่งพรวด บริการเงินฝากประจำพิเศษ 16 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 6.00% จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 4 เดือน พร้อมการันตีดอกเบี้ย 1.75% เมื่อถอนก่อนครบกำหนด เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ฝากเงิน รับฝากตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2554 ถึง 8 เมษายน 2554 ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ (BBL) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินให้สินเชื่อ โดยปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 0.10%-0.25% ต่อปี ตามวงเงินและระยะเวลาการฝาก โดยอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เป็น 0.75% ต่อปี เงินฝากประจำ 3 เดือน เป็น 1.25%-1.50% ,6 เดือนเป็น 1.60%-1.80% , 12 เดือน เป็น 1.85%-2.00% , 24 เดือนปรับเป็น 2.40%-2.85% และ 36 เดือน ปรับเป็น 3.00%-3.10% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 6.625% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 6.875% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.300% ต่อปีตามลำดับ
และธนาคารจัดแคมเปญเพื่อส่งเสริมการออมแก่ลูกค้าด้วยบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 15 เดือน โดยเริ่มต้นเงินฝากขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท และลูกค้าได้รับผลตอบแทน 2.80% ต่อปี แคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2554
**TMBขึ้นดอกเบี้ยตั๋วบีอีดักหน้า**
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางอย่าง ธนาคารทหารไทย (TMB)ก็มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน โดยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 0.75% เงินฝากประจำทั่วไปประเภท 3, 6, 12 เดือน ปรับเพิ่ม 0.25% โดย ประเภท 3 เดือน จาก 1.25% เป็น 1.50%, 6 เดือน จาก 1.50% เป็น 1.75% , 12 เดือน จาก 1.75% เป็น 2.00% ,24 เดือน จาก 2.50% เป็น 2.90% , 36 เดือน จาก 2.75% เป็น 3.30% และเงินฝากประจำ TMB ดอกเบี้ยด่วน 3 เดือน จาก 1.80% เป็น 2.00%
อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา (MLR) เพิ่มจาก 6.75% เป็น 7%, อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม จาก 7% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับเพิ่มจาก 7.375% เป็น 7.625% และ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคล (CPR) คงเดิม ที่ 18%
และก่อนหน้าการประชุมกนง.เพียง 2 วัน ทีเอ็มบีได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินตั้งแต่ 0.25% - 0.75% โดยตั๋วแลกเงินอายุ 7, 14, 21 วัน ปรับขึ้น 0.25% จาก 1.75% เป็น 2%, ตั๋วแลกเงินอายุ 1 และ 2 เดือน ปรับขึ้น 0.25% จาก 1.8% เป็น 2.05%, ตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน ปรับขึ้น 0.35% จาก 1.9% เป็น 2.25%, ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน ปรับขึ้น 0.35% จาก 2% เป็น 2.35%, ตั๋วแลกเงินอายุ 12 เดือน ปรับขึ้น 0.45% จาก 2.25% เป็น 2.7%, ตั๋วแลกเงินอายุ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.75% จาก 3% เป็น 3.75%, และ ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน (ลูกค้าธนบดีและลูกค้าเอกสิทธิ์) ปรับขึ้น 0.35% จาก 2.25% เป็น 2.6%
และธนาคารทิสโก้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.25% ส่งผลให้เงินฝากประจำระยะเวลาตั้งแต่ 1-36 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.65 - 2.75% เป็น 1.90 - 3.00% ต่อปี ขณะที่เงินฝากประจำเมื่อทวงถาม ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากเดิม 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน (บีอี) ขึ้นอีก 0.25% โดยตั๋วแลกเงิน วงเงินตั้งแต่ 5 แสนบาท ระยะเวลา 1 เดือน ถึง 12 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.90-2.25% เป็น 2.15% - 2.50% ต่อปี ตั๋วแลกเงินเมื่อทวงถาม สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท ปรับขึ้นจาก 1.25% เป็น 1.50% ต่อปี และตั๋วแลกเงิน วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 เดือน ถึง 42 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.90-3.25% เป็น 2.15% - 3.50% ต่อปี
**ไทยเครดิตฯทุ่มออมทรัพย์ 2%
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เงินฝากออมทรัพย์ Plus Hi เงินฝากดอกเบี้ยสูงที่ให้ความสะดวก คล่องตัว ด้วยการฝากถอนไม่จำกัดจำนวนครั้ง อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 1.25% ต่อปี สำหรับวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท และสูงสุด 2.00% ต่อปี สำหรับเงินฝากส่วนที่เกิน 20ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อ โดยเงินฝากประจำ 3 และ 5 เดือน อยู่ที่ 2.00%ต่อปี เงินฝากประจำ 6, 8 และ 9 เดือน อยู่ที่ 2.10 % ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 2.25% ต่อปี เงินฝากประจำ 18 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี เงินฝากประจำ 24 เดือนอยู่ที่ 2.75% ต่อปี เงินฝากประจำ 36 เดือน อยู่ที่ 3.00 – 3.25% ต่อปี และ เงินฝากปลอดภาษี 36 เดือนอยู่ที่ 3.50% ต่อปี
ในส่วนของตั๋วแลกเงินนั้น ธนาคารได้ปรับขึ้นเป็นดังนี้ ตั๋วระยะเวลา 3 เดือน อยู่ที่ 2.25% ต่อปี ระยะเวลา 6, 8, 9 เดือนอยู่ที่ 2.35% ต่อปี ระยะเวลา 12, 15, 18 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี ระยะเวลา 24 และ 30 เดือนอยู่ที่ 3.00%ต่อปี และระยะเวลา 36 เดือนอยู่ที่ 3.50%ต่อปี
ในด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR อยู่ที่ 8.25% ประเภทเงินกู้ MOR อยู่ที่ 8.50%
**กรุงไทยใจถึงฉลองแบงก์คครบ 45 ปีทุ่มดอกเบี้ย 6.50%**
นางนงนุช เทียนไพฑูรย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เพื่อร่วมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 45 ปี ธนาคารได้ออก 2 ผลิตภัณฑ์เงินออมให้ลูกค้าเลือกลงทุน ได้แก่ เงินฝาก KTB Birthday Bonus 15 เดือน ซึ่งเป็นเงินฝากประจำ 15 เดือน รับฝากขั้นต่ำครั้งละ 10,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน โดยเดือนที่ 1-5 จ่ายในอัตรา 1.80% ต่อปี เดือนที่ 6-10 จ่ายในอัตรา 2.20% ต่อปี และเดือนที่ 11-15 จ่ายในอัตรา 6.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.50% ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารยังออก ตั๋วแลกเงิน KTB B/E Birthday Bonus อายุ 15 เดือน ยอดซื้อขั้นต่ำครั้งละ 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ในอัตรา 3.70% ต่อปี โดยลูกค้าสามารถเปิดบัญชีเงินฝากและซื้อตั๋วแลกเงินได้ที่ทุกสาขากว่า 970 แห่งทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 20 เมษายนนี้ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทย
**ธนชาตปรับตั๋วบีอีขึ้น 1%**
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทย จึงได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก และตั๋วแลกเงิน โดยเงินฝากปรับขึ้นสูงสุด 0.75% ต่อปี ส่วนตั๋วแลกเงินปรับขึ้นสูงสุดถึง 1% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับขึ้นเพียง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 โดยเงินฝากในส่วนของธนาคารธนชาต ประกอบด้วย เงินฝากออมทรัพย์ Progressive Savings เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.625-0.75% ปรับเป็น 0.75 – 1.50% เงินฝากกระแสรายวัน Premium Current เดิม 0.25-0.50% ปรับเป็น 0.50-0.75%
เงินฝากในส่วนของธนาคารนครหลวงไทย ประกอบด้วย เงินฝากออมทรัพย์ เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.625% ปรับเป็น 0.75% เงินฝากออมทรัพย์ SCIB Link Plus เดิม 0.625 – 0.75% ปรับเป็น 0.75 – 1.50%
ส่วนเงินฝากและตั๋วแลกเงินที่ให้บริการทั้ง 2 ธนาคาร ได้แก่ เงินฝากออมทรัพย์ Ultra Savings เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.25-1.25% ปรับเป็น 0.25-1.50% เงินฝากประจำ 3 เดือน เดิม 1.40-1.525% ปรับเป็น 1.50-1.70% เงินฝากประจำ 6 เดือน เดิม 1.65-1.75% ปรับเป็น 1.85-2.00% เงินฝากประจำ 12 เดือน เดิม 1.90% ปรับเป็น 2.15% เงินฝากประจำ 24 เดือน เดิม 2.40-2.65% ปรับเป็น 2.50-3.00% เงินฝากประจำ 36 เดือน เดิม 2.75% ปรับเป็น 3.10-3.30% เงินฝากปลอดภาษี เดิม 2.75% ปรับเป็น 3.00% ตั๋วแลกเงิน อายุ 7วัน / 14 วัน / 1 เดือน / 2 เดือน เดิมอัตราดอกเบี้ย 1.85% ปรับเป็น 2.00% ตั๋วแลกเงิน 3 เดือน เดิม 1.85 % ปรับเป็น 2.25% ตั๋วแลกเงิน 4 เดือน เดิม 1.95%ปี ปรับเป็น 2.25% ตั๋วแลกเงิน 6 เดือน เดิม 2% ปรับเป็น 2.35% ตั๋วแลกเงิน 12เดือน เดิม 2.25% ปรับเป็น 3.25% ต่อปี
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อของทั้ง 2 ธนาคาร มีการปรับขึ้น ดังนี้ อัตราดอกเบี้ย MLR ปรับจาก 6.75% ต่อปี เป็น 7.00% ต่อปี ดอกเบี้ย MOR ปรับจาก 7.00% ต่อปี เป็น 7.25% ต่อปี และดอกเบี้ย MRR ปรับจาก 7.375% ต่อปี เป็น 7.625% ต่อปี
**แนวโน้มยังแข่งดุต่อ**
อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงถัดไปที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งกว่าต้นปี จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดย TMB Analytics ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่เร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรก โดยค่อยๆปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงปลายปีเข้าใกล้ร้อยละ 3 ซึ่งเป็นเพดานเงินเฟ้อเป้าหมาย ธปท. ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรกเข้าใกล้ร้อยละ 5 ในช่วงกลางปี จากแรงกดดันของราคาน้ำมันในตลาดโลก แล้วจึงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี
ขณะที่ธปท.เองก็ส่งสัญญาณว่าในการประชุมกนง.ครั้งหน้า อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่สูงกว่าครั้งนี้ หากทิศทางเงินเฟ้อปรับเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าช่วงต้นปี รวมถึงสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีก่อน จากการปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวของเสรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การแข่งขันระดมเงินฝากในระบบรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้ฝากเงินสามารถเลือกช่องทางเพิ่มผลตอบแทนจากเงินฝากได้เพิ่มขึ้นทั้งจากกาาแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ย และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยในระบบอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาหลายปี...
**แบงก์ใหญ่นำร่อง**
ภายหลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งนำร่องประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม ธนาคารกรุงเทพ(BBL)ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสะสมทรัพย์จาก 0.625% เป็น 0.75% เงินฝากสะสมทรัพย์สำหรับนิติบุคคลจาก เป็น 0.625% เงินฝากประจำ 7 วัน 14 วัน และ 30 วัน จาก 1.25% เป็น 1.250 – 1.625% เงินฝากประจำ 3 เดือน จาก 1.250% เป็น 1.375-1.50% , 6 เดือน จาก 1.375-1.50% เป็น 1.625-1.875% , 12 เดือน จาก 1.375-1.75% เป็น 1.875-2.00% , 24 เดือน จาก 2.000-2.500% เป็น 2.25 – 2.75% , 36 เดือน จาก 2.25-2.50% เป็น 2.50 – 2.75% ด้านอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินระยะเวลา 3 เดือน จาก 1.625% เป็น 1.75- 1.875% ระยะเวลา 6 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.875- 2.00% ระยะเวลา 12 เดือน จาก 2.00% เป็น 2.125 – 2.25%
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(MLR)จาก 6.375% เป็น 6.625% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 6.625% เป็น 6.875% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.00% เป็น 7.25%
ธนาคารกรุงไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทุกประเภท 0.10-0.30% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ สำหรับบุคคลธรรมดา ปรับขึ้น 0.125% เป็น 0.750% เงินฝากประจำประเภท 3 เดือน ปรับขึ้น 0.175% - 0.30% เป็น 1.375% - 1.50%, 6 เดือน ปรับขึ้น 0.2% เป็น 1.85% ต่อปี , 12 เดือน ปรับขึ้น 0.10%-0.20% เป็น 1.90% - 2.0% , 24 เดือน ปรับขึ้น 0.1% เป็น 2.75% และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.1% เป็น 3%
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 6.625% เงินกู้ MOR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 6.875% และเงินกู้ MRR ปรับขึ้น 0.25% เป็น 7.350 %
**ออกแคมเปญควบ**
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 0.13% จาก 0.62% เป็น 0.75% ด้านเงินฝากประจำ 3 เดือน ปรับขึ้น 0.15%-0.20% เป็น 1.25%-1.50% , 6 เดือน ปรับขึ้น 0.20%-0.25% เป็น 1.60%-1.90% , 12 เดือน ปรับขึ้น 0.20%-0.25% เป็น 1.85%-2.00% , 24 เดือน ปรับขึ้น 0.05%-0.15% เป็น 2.30%-2.85% และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.15% เป็น 2.65%-3.00%
ทั้งนี้ ธนาคารยังได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน 0.20%-0.35% โดยอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินอายุ 1 เดือน อยู่ที่ 1.60% ตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน อยู่ที่ 1.70%-1.85% ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน อยู่ที่ 1.85%-2.00%และตั๋วแลกเงินอายุ 12 เดือน อยู่ที่ 2.15%-2.25%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับจาก 6.37% เป็น 6.62% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR ปรับจาก เป็น 6.63% เป็น 6.88% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR จาก 7.10% เป็น 7.35%
พร้อมกันนี้ ยังเปิดตัวแคมเปญ เงินฝากดอกเบี้ยสูงพุ่งพรวด บริการเงินฝากประจำพิเศษ 16 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 6.00% จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 4 เดือน พร้อมการันตีดอกเบี้ย 1.75% เมื่อถอนก่อนครบกำหนด เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ฝากเงิน รับฝากตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2554 ถึง 8 เมษายน 2554 ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ (BBL) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินให้สินเชื่อ โดยปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 0.10%-0.25% ต่อปี ตามวงเงินและระยะเวลาการฝาก โดยอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เป็น 0.75% ต่อปี เงินฝากประจำ 3 เดือน เป็น 1.25%-1.50% ,6 เดือนเป็น 1.60%-1.80% , 12 เดือน เป็น 1.85%-2.00% , 24 เดือนปรับเป็น 2.40%-2.85% และ 36 เดือน ปรับเป็น 3.00%-3.10% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 6.625% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 6.875% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.300% ต่อปีตามลำดับ
และธนาคารจัดแคมเปญเพื่อส่งเสริมการออมแก่ลูกค้าด้วยบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 15 เดือน โดยเริ่มต้นเงินฝากขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท และลูกค้าได้รับผลตอบแทน 2.80% ต่อปี แคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2554
**TMBขึ้นดอกเบี้ยตั๋วบีอีดักหน้า**
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางอย่าง ธนาคารทหารไทย (TMB)ก็มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน โดยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 0.75% เงินฝากประจำทั่วไปประเภท 3, 6, 12 เดือน ปรับเพิ่ม 0.25% โดย ประเภท 3 เดือน จาก 1.25% เป็น 1.50%, 6 เดือน จาก 1.50% เป็น 1.75% , 12 เดือน จาก 1.75% เป็น 2.00% ,24 เดือน จาก 2.50% เป็น 2.90% , 36 เดือน จาก 2.75% เป็น 3.30% และเงินฝากประจำ TMB ดอกเบี้ยด่วน 3 เดือน จาก 1.80% เป็น 2.00%
อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา (MLR) เพิ่มจาก 6.75% เป็น 7%, อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม จาก 7% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับเพิ่มจาก 7.375% เป็น 7.625% และ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคล (CPR) คงเดิม ที่ 18%
และก่อนหน้าการประชุมกนง.เพียง 2 วัน ทีเอ็มบีได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินตั้งแต่ 0.25% - 0.75% โดยตั๋วแลกเงินอายุ 7, 14, 21 วัน ปรับขึ้น 0.25% จาก 1.75% เป็น 2%, ตั๋วแลกเงินอายุ 1 และ 2 เดือน ปรับขึ้น 0.25% จาก 1.8% เป็น 2.05%, ตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน ปรับขึ้น 0.35% จาก 1.9% เป็น 2.25%, ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน ปรับขึ้น 0.35% จาก 2% เป็น 2.35%, ตั๋วแลกเงินอายุ 12 เดือน ปรับขึ้น 0.45% จาก 2.25% เป็น 2.7%, ตั๋วแลกเงินอายุ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.75% จาก 3% เป็น 3.75%, และ ตั๋วแลกเงินอายุ 6 เดือน (ลูกค้าธนบดีและลูกค้าเอกสิทธิ์) ปรับขึ้น 0.35% จาก 2.25% เป็น 2.6%
และธนาคารทิสโก้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.25% ส่งผลให้เงินฝากประจำระยะเวลาตั้งแต่ 1-36 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.65 - 2.75% เป็น 1.90 - 3.00% ต่อปี ขณะที่เงินฝากประจำเมื่อทวงถาม ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากเดิม 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน (บีอี) ขึ้นอีก 0.25% โดยตั๋วแลกเงิน วงเงินตั้งแต่ 5 แสนบาท ระยะเวลา 1 เดือน ถึง 12 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.90-2.25% เป็น 2.15% - 2.50% ต่อปี ตั๋วแลกเงินเมื่อทวงถาม สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท ปรับขึ้นจาก 1.25% เป็น 1.50% ต่อปี และตั๋วแลกเงิน วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 เดือน ถึง 42 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.90-3.25% เป็น 2.15% - 3.50% ต่อปี
**ไทยเครดิตฯทุ่มออมทรัพย์ 2%
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เงินฝากออมทรัพย์ Plus Hi เงินฝากดอกเบี้ยสูงที่ให้ความสะดวก คล่องตัว ด้วยการฝากถอนไม่จำกัดจำนวนครั้ง อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 1.25% ต่อปี สำหรับวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท และสูงสุด 2.00% ต่อปี สำหรับเงินฝากส่วนที่เกิน 20ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อ โดยเงินฝากประจำ 3 และ 5 เดือน อยู่ที่ 2.00%ต่อปี เงินฝากประจำ 6, 8 และ 9 เดือน อยู่ที่ 2.10 % ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 2.25% ต่อปี เงินฝากประจำ 18 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี เงินฝากประจำ 24 เดือนอยู่ที่ 2.75% ต่อปี เงินฝากประจำ 36 เดือน อยู่ที่ 3.00 – 3.25% ต่อปี และ เงินฝากปลอดภาษี 36 เดือนอยู่ที่ 3.50% ต่อปี
ในส่วนของตั๋วแลกเงินนั้น ธนาคารได้ปรับขึ้นเป็นดังนี้ ตั๋วระยะเวลา 3 เดือน อยู่ที่ 2.25% ต่อปี ระยะเวลา 6, 8, 9 เดือนอยู่ที่ 2.35% ต่อปี ระยะเวลา 12, 15, 18 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี ระยะเวลา 24 และ 30 เดือนอยู่ที่ 3.00%ต่อปี และระยะเวลา 36 เดือนอยู่ที่ 3.50%ต่อปี
ในด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR อยู่ที่ 8.25% ประเภทเงินกู้ MOR อยู่ที่ 8.50%
**กรุงไทยใจถึงฉลองแบงก์คครบ 45 ปีทุ่มดอกเบี้ย 6.50%**
นางนงนุช เทียนไพฑูรย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เพื่อร่วมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 45 ปี ธนาคารได้ออก 2 ผลิตภัณฑ์เงินออมให้ลูกค้าเลือกลงทุน ได้แก่ เงินฝาก KTB Birthday Bonus 15 เดือน ซึ่งเป็นเงินฝากประจำ 15 เดือน รับฝากขั้นต่ำครั้งละ 10,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน โดยเดือนที่ 1-5 จ่ายในอัตรา 1.80% ต่อปี เดือนที่ 6-10 จ่ายในอัตรา 2.20% ต่อปี และเดือนที่ 11-15 จ่ายในอัตรา 6.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.50% ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารยังออก ตั๋วแลกเงิน KTB B/E Birthday Bonus อายุ 15 เดือน ยอดซื้อขั้นต่ำครั้งละ 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ในอัตรา 3.70% ต่อปี โดยลูกค้าสามารถเปิดบัญชีเงินฝากและซื้อตั๋วแลกเงินได้ที่ทุกสาขากว่า 970 แห่งทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 20 เมษายนนี้ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทย
**ธนชาตปรับตั๋วบีอีขึ้น 1%**
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทย จึงได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก และตั๋วแลกเงิน โดยเงินฝากปรับขึ้นสูงสุด 0.75% ต่อปี ส่วนตั๋วแลกเงินปรับขึ้นสูงสุดถึง 1% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับขึ้นเพียง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 โดยเงินฝากในส่วนของธนาคารธนชาต ประกอบด้วย เงินฝากออมทรัพย์ Progressive Savings เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.625-0.75% ปรับเป็น 0.75 – 1.50% เงินฝากกระแสรายวัน Premium Current เดิม 0.25-0.50% ปรับเป็น 0.50-0.75%
เงินฝากในส่วนของธนาคารนครหลวงไทย ประกอบด้วย เงินฝากออมทรัพย์ เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.625% ปรับเป็น 0.75% เงินฝากออมทรัพย์ SCIB Link Plus เดิม 0.625 – 0.75% ปรับเป็น 0.75 – 1.50%
ส่วนเงินฝากและตั๋วแลกเงินที่ให้บริการทั้ง 2 ธนาคาร ได้แก่ เงินฝากออมทรัพย์ Ultra Savings เดิมอัตราดอกเบี้ย 0.25-1.25% ปรับเป็น 0.25-1.50% เงินฝากประจำ 3 เดือน เดิม 1.40-1.525% ปรับเป็น 1.50-1.70% เงินฝากประจำ 6 เดือน เดิม 1.65-1.75% ปรับเป็น 1.85-2.00% เงินฝากประจำ 12 เดือน เดิม 1.90% ปรับเป็น 2.15% เงินฝากประจำ 24 เดือน เดิม 2.40-2.65% ปรับเป็น 2.50-3.00% เงินฝากประจำ 36 เดือน เดิม 2.75% ปรับเป็น 3.10-3.30% เงินฝากปลอดภาษี เดิม 2.75% ปรับเป็น 3.00% ตั๋วแลกเงิน อายุ 7วัน / 14 วัน / 1 เดือน / 2 เดือน เดิมอัตราดอกเบี้ย 1.85% ปรับเป็น 2.00% ตั๋วแลกเงิน 3 เดือน เดิม 1.85 % ปรับเป็น 2.25% ตั๋วแลกเงิน 4 เดือน เดิม 1.95%ปี ปรับเป็น 2.25% ตั๋วแลกเงิน 6 เดือน เดิม 2% ปรับเป็น 2.35% ตั๋วแลกเงิน 12เดือน เดิม 2.25% ปรับเป็น 3.25% ต่อปี
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อของทั้ง 2 ธนาคาร มีการปรับขึ้น ดังนี้ อัตราดอกเบี้ย MLR ปรับจาก 6.75% ต่อปี เป็น 7.00% ต่อปี ดอกเบี้ย MOR ปรับจาก 7.00% ต่อปี เป็น 7.25% ต่อปี และดอกเบี้ย MRR ปรับจาก 7.375% ต่อปี เป็น 7.625% ต่อปี
**แนวโน้มยังแข่งดุต่อ**
อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงถัดไปที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งกว่าต้นปี จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดย TMB Analytics ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่เร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรก โดยค่อยๆปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงปลายปีเข้าใกล้ร้อยละ 3 ซึ่งเป็นเพดานเงินเฟ้อเป้าหมาย ธปท. ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรกเข้าใกล้ร้อยละ 5 ในช่วงกลางปี จากแรงกดดันของราคาน้ำมันในตลาดโลก แล้วจึงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี
ขณะที่ธปท.เองก็ส่งสัญญาณว่าในการประชุมกนง.ครั้งหน้า อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่สูงกว่าครั้งนี้ หากทิศทางเงินเฟ้อปรับเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าช่วงต้นปี รวมถึงสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีก่อน จากการปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวของเสรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การแข่งขันระดมเงินฝากในระบบรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้ฝากเงินสามารถเลือกช่องทางเพิ่มผลตอบแทนจากเงินฝากได้เพิ่มขึ้นทั้งจากกาาแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ย และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยในระบบอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาหลายปี...