“ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่” เวทีการชุมนุมกองทัพธรรม บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอีกหนึ่งมาตรการ “ยกระดับ” กดดันภาคประชาชนที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทำหน้าที่ปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติ
หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยึดคืนพื้นที่การชุมนุมบางส่วนของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ “ถนน 2 เลน” บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการมาแล้ว ทั้งยังมีความพยายามในการรื้อถอน “ห้องส้วม” ที่ตั้งอยู่บนทางเท้าริมรั้วกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย
ตำรวจย่อมต้องได้รับ “คำสั่ง” มาจากรัฐบาลอย่างแน่นอน จึงน่าสังเกตว่าเพราะเหตุใดรัฐบาลจึงพยายาม “เร่งรัด” ระดมยุทธวิธีให้เพื่อให้มีการยุติการชุมนุมในช่วงเวลานี้ให้ได้
เนื่องจาก “ข้ออ้าง” ที่ว่าการชุมนุมกระทบกับการจราจร สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนนั้น ก็บรรเทาเบาบางลงไปมาก ที่สำคัญตอนนี้โรงเรียนต่างๆทยอยเข้าสู่ช่วงปิดเทอมที่กินเวลามากกว่า 2 เดือน ไปจนถึงช่วงเดือน พ.ค.ทีเดียว
หรือข้ออ้างที่ว่าหวั่นเกรงจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงนั้น ทางพันธมิตรฯก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าตลอดการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.เรื่อยมาจนถึงวันนี้ นับรวมแล้วมากกว่า 40 วัน ก็ไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ ที่แกนนำไม่สามารถควบคุมได้
หรือแม้กระทั่งเวทีฝั่งเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และกองทัพธรรม ก็มิได้มีเหตุการณ์ใดๆที่รุนแรงหรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตามที่รัฐบาลพยายามกล่าวอ้าง
อีกทั้งที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลและทางตำรวจจะมีมาตรการใดๆออกมา ทางกลุ่มพันธมิตรฯก็ให้ความร่วมมือเสมอมา ทั้งการเข้าตรวจค้นอาวุธในที่ชุมนุม หรือการออกหมายเรียกที่แกนนำเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามนัดหมาย แม้กระทั่งการขอเปิดพื้นที่จราจรหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ที่ตำรวจเข้ามาปฏิบัตการในช่วงย่ำรุ่งโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯก็ได้รีบออกมาระงับเหตุที่อาจเกิดจากความไม่พอใจของมวลชน พร้อมเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำตามหน้าที่ โดยมิได้มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆเกิดขึ้น
ดังนั้นการ “ยกระดับ” กดดันผู้ชุมนุมพันธมิตรฯนั้น คงมองเป็นอื่นไม่ได้นอกเสียจากความพยายาม “เขียนเสือให้วัวกลัว” เพราะขณะนี้งวดเข้าใกล้วันที่ 12 มี.ค. ซึ่งเป็น “วันดีเดย์” ที่แนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ประกาศชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อระลึกถึงวันเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพฯของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
และเป็นเหมือน “งานเลี้ยงต้อนรับ” 7 แกนนำที่ได้รับการปล่อยตัว หลังถูกจองจำอยู่ในคุกมากว่า9เดือน
โดยเบื้องต้น “ฝ่ายการข่าว” ได้ประเมินว่ามวลชนเสื้อแดงจะเข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้หลายหมื่นคน หรือแตะระดับแสนคนกันเลยทีเดียว รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะชุมนุมต่อเนื่องถึงเช้าของวันที่ 13 มี.ค. ซึ่งทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อปักหลักพักค้างต่อหรือไม่
ฉะนั้น “ผู้มีอำนาจในรัฐบาล” จึงเกรงว่า สถานการณ์อาจจะลุกลามบานปลาย แต่มิใช่เหตุการปะทะของ “ม๊อบ 2 สี”อย่างที่เข้าใจกัน แต่จะกระทบความมั่นคงของรัฐบาลเมื่อ “ม๊อบเหลือง” และ “ม๊อบแดง” ซึ่งถือเป็นมวลชน 2 กลุ่มที่ทรงอานุภาพที่สุดในประเทศ ออกมาชุมนุมในเวลาเดียวกัน
มี “เป้าหมาย” ในการ “ขับไล่” รัฐบาลเช่นเดียวกัน
แทบไม่ต้องพูดถึงม๊อบเกษตรกร ม๊อบแรงงาน หรือม๊อบที่ดิน ที่เรียงรายอยู่ในละแวกทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา รวมทั้งที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็น “จุดยุทธศาสตร์” ของรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ทั้งสิ้น
การปล่อยให้เกิดปรากฎการณ์ม๊อบทั่วเมืองกรุง แล้วหวังใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมวลชนทุกกลุ่มชุมนุมตาม “สิทธิ” ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และเป็นการชุมนุมที่สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ มิได้มีความรุนแรงอย่างเช่นการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.52 หรือ เม.ย.-พ.ค.53 ก่อนเกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองอีกด้วย ทำให้ พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือ ศอ.รส. ที่ฝ่ายบริหารหวังใช้ควบคุมการชุมนุมไม่สามารถใช้หยุดยั้งการแสดงพลังของภาคประชาชนได้
รัฐบาลก็จำเป็นต้องอาศัยทางออกจาก “ระบบรัฐสภา” ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดหนีไม่พ้น “ยุบสภา” แล้วอ้างว่า คืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน หรือหวังใช้คูหาเลือกตั้ง “ฟอกตัว” นั่นเอง เฉกเช่นเดียวกับที่ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” แห่งค่ายไทยรักไทยพยายามทำมาแล้วเมื่อปี 48 หลังวิกฤตการณ์ทางการเมือง
แต่สถานการณ์ของ “รัฐบาลสวาปาล์ม” กลับไม่ง่ายเช่นนั้น เพราะขณะนี้ “ติดล๊อก” ที่พรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นหัวหอก ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ คาอยู่ในวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้อำนาจยุบสภาได้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ระบุไว้ชัดเจน ในวรรค 1 ของมาตรา 158 ว่า
“...เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม”
ล่าสุด แม้ยังไม่มีการกำหนดวันเวลาเปิดเวทีซักฟอกที่แน่นอน แต่คาดว่าจะใช้เวลา 4 วัน ช่วงตั้ง 15-18 มี.ค.นี้ แสดงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถยุบสภาได้ จนกว่าจะมีการอภิปรายแล้วเสร็จ ซึ่งคงไม่ทันการณ์ เพราะเลยกำหนดที่กลุ่มคนเสื้อแดงระดมมวลชนออกมาแล้ว
เมื่อทางออกแรกถูก “ปิดตาย” ทางออกของรัฐบาลตามระบบรัฐสภาก็เหลืออยู่เพียงทางเดียวคือการ “ลาออก” ของนายกรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว เพื่อ “ปลดล๊อก” จากสถานการณ์ที่บีบคั้นเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีข้อเสียที่ตามมาทันที เพราะการเมืองอาจเกิดการ “สวิงขั้ว” เปิดโอกาสให้ “แคนดิเดต” จากพรรคเพื่อไทย มีโอกาสเสียบในตำแหน่งนายกฯทันที
ไม่ว่าจะเป็น “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” หัวหน้าทีมอภิปรายของพรรค หรือตัวเลือกอื่นๆอย่าง “พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์” รองนายกฯที่แตะมือกับพรรคเพื่อไทยไว้แล้ว หรือ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็มีโอกาสเช่นกัน
จึงกลายเป็น “แผนซ้อนแผน” เข้าทางพรรคเพื่อไทยไปเสียอีก
แต่หากให้เลือกแล้ว พรรคประชาธิปัตย์อาจยอมเลือกเดินลงจากอำนาจด้วยการลาออกมากกว่า
เพราะเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมมากขึ้นเรื่อยๆ บ่งบอกให้เห็นถึงการบริหารประเทศที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของรัฐบาล ย่อมเปิดโอกาสให้เกิด “สถานการณ์พิเศษ” ขึ้นได้ทุกเมื่อ เพราะทุกครั้งที่ทหารออกโรง “ยึดอำนาจ” สาเหตุหลักหนีไม่พ้นสถานการณ์ความวุ่นวาย และความล้มเหลวของรัฐบาล โดยเฉพาะข้อหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
เมื่อทหารออกมา “ยึดอำนาจ” คราวใด ย่อมทำให้เหล่านักเลือกตั้ง “ตกงาน” กันอย่างไม่มีกำหนด แถมอาจถูก “เช็คบิล” ย้อนหลังกันเป็นทิวแถว
ซึ่งแม้ว่าวันนี้สังคมไทยจะยังไม่ยอมรับ แต่จากผลงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำให้ประเทศ “บอบช้ำ” ประชาชนเดือดร้อนจากวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง รวมทั้งเรื่องใหญ่อย่างการสูญเสียดินแดน จึงเชื่อว่าประชาชนจะไม่ต่อต้านการทำทหาร คล้ายๆกับสถานการณ์ก่อนวันที่ 19 ก.ย.49
ถึงตอนนี้อำนาจยังอยู่ในมือรัฐบาล แต่ “อภิสิทธิ์” ก็จะใจเย็นเหมือนกับการรับมือทุกปัญหาที่ผ่านๆมาคงไม่ได้แล้ว เพราะเหลือเวลาไม่มากที่จะต้องตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เลยเถิดไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสุดสัปดาห์นี้ โอกาสที่สภาวะการเมืองจะ “ชะงักงัน” หรือเข้าสู่สภาวะ “เดดล๊อก” ก็เป็นไปได้สูง
เมื่อถึงวันนั้นคนที่จะมาปลดล๊อก อาจไม่ใช้รัฐบาลนี้เสียแล้ว
หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยึดคืนพื้นที่การชุมนุมบางส่วนของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ “ถนน 2 เลน” บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการมาแล้ว ทั้งยังมีความพยายามในการรื้อถอน “ห้องส้วม” ที่ตั้งอยู่บนทางเท้าริมรั้วกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย
ตำรวจย่อมต้องได้รับ “คำสั่ง” มาจากรัฐบาลอย่างแน่นอน จึงน่าสังเกตว่าเพราะเหตุใดรัฐบาลจึงพยายาม “เร่งรัด” ระดมยุทธวิธีให้เพื่อให้มีการยุติการชุมนุมในช่วงเวลานี้ให้ได้
เนื่องจาก “ข้ออ้าง” ที่ว่าการชุมนุมกระทบกับการจราจร สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนนั้น ก็บรรเทาเบาบางลงไปมาก ที่สำคัญตอนนี้โรงเรียนต่างๆทยอยเข้าสู่ช่วงปิดเทอมที่กินเวลามากกว่า 2 เดือน ไปจนถึงช่วงเดือน พ.ค.ทีเดียว
หรือข้ออ้างที่ว่าหวั่นเกรงจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงนั้น ทางพันธมิตรฯก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าตลอดการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.เรื่อยมาจนถึงวันนี้ นับรวมแล้วมากกว่า 40 วัน ก็ไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ ที่แกนนำไม่สามารถควบคุมได้
หรือแม้กระทั่งเวทีฝั่งเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และกองทัพธรรม ก็มิได้มีเหตุการณ์ใดๆที่รุนแรงหรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตามที่รัฐบาลพยายามกล่าวอ้าง
อีกทั้งที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลและทางตำรวจจะมีมาตรการใดๆออกมา ทางกลุ่มพันธมิตรฯก็ให้ความร่วมมือเสมอมา ทั้งการเข้าตรวจค้นอาวุธในที่ชุมนุม หรือการออกหมายเรียกที่แกนนำเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามนัดหมาย แม้กระทั่งการขอเปิดพื้นที่จราจรหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ที่ตำรวจเข้ามาปฏิบัตการในช่วงย่ำรุ่งโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯก็ได้รีบออกมาระงับเหตุที่อาจเกิดจากความไม่พอใจของมวลชน พร้อมเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำตามหน้าที่ โดยมิได้มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆเกิดขึ้น
ดังนั้นการ “ยกระดับ” กดดันผู้ชุมนุมพันธมิตรฯนั้น คงมองเป็นอื่นไม่ได้นอกเสียจากความพยายาม “เขียนเสือให้วัวกลัว” เพราะขณะนี้งวดเข้าใกล้วันที่ 12 มี.ค. ซึ่งเป็น “วันดีเดย์” ที่แนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ประกาศชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อระลึกถึงวันเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพฯของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
และเป็นเหมือน “งานเลี้ยงต้อนรับ” 7 แกนนำที่ได้รับการปล่อยตัว หลังถูกจองจำอยู่ในคุกมากว่า9เดือน
โดยเบื้องต้น “ฝ่ายการข่าว” ได้ประเมินว่ามวลชนเสื้อแดงจะเข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้หลายหมื่นคน หรือแตะระดับแสนคนกันเลยทีเดียว รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะชุมนุมต่อเนื่องถึงเช้าของวันที่ 13 มี.ค. ซึ่งทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อปักหลักพักค้างต่อหรือไม่
ฉะนั้น “ผู้มีอำนาจในรัฐบาล” จึงเกรงว่า สถานการณ์อาจจะลุกลามบานปลาย แต่มิใช่เหตุการปะทะของ “ม๊อบ 2 สี”อย่างที่เข้าใจกัน แต่จะกระทบความมั่นคงของรัฐบาลเมื่อ “ม๊อบเหลือง” และ “ม๊อบแดง” ซึ่งถือเป็นมวลชน 2 กลุ่มที่ทรงอานุภาพที่สุดในประเทศ ออกมาชุมนุมในเวลาเดียวกัน
มี “เป้าหมาย” ในการ “ขับไล่” รัฐบาลเช่นเดียวกัน
แทบไม่ต้องพูดถึงม๊อบเกษตรกร ม๊อบแรงงาน หรือม๊อบที่ดิน ที่เรียงรายอยู่ในละแวกทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา รวมทั้งที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็น “จุดยุทธศาสตร์” ของรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ทั้งสิ้น
การปล่อยให้เกิดปรากฎการณ์ม๊อบทั่วเมืองกรุง แล้วหวังใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมวลชนทุกกลุ่มชุมนุมตาม “สิทธิ” ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และเป็นการชุมนุมที่สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ มิได้มีความรุนแรงอย่างเช่นการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.52 หรือ เม.ย.-พ.ค.53 ก่อนเกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองอีกด้วย ทำให้ พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือ ศอ.รส. ที่ฝ่ายบริหารหวังใช้ควบคุมการชุมนุมไม่สามารถใช้หยุดยั้งการแสดงพลังของภาคประชาชนได้
รัฐบาลก็จำเป็นต้องอาศัยทางออกจาก “ระบบรัฐสภา” ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดหนีไม่พ้น “ยุบสภา” แล้วอ้างว่า คืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน หรือหวังใช้คูหาเลือกตั้ง “ฟอกตัว” นั่นเอง เฉกเช่นเดียวกับที่ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” แห่งค่ายไทยรักไทยพยายามทำมาแล้วเมื่อปี 48 หลังวิกฤตการณ์ทางการเมือง
แต่สถานการณ์ของ “รัฐบาลสวาปาล์ม” กลับไม่ง่ายเช่นนั้น เพราะขณะนี้ “ติดล๊อก” ที่พรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นหัวหอก ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ คาอยู่ในวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้อำนาจยุบสภาได้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ระบุไว้ชัดเจน ในวรรค 1 ของมาตรา 158 ว่า
“...เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม”
ล่าสุด แม้ยังไม่มีการกำหนดวันเวลาเปิดเวทีซักฟอกที่แน่นอน แต่คาดว่าจะใช้เวลา 4 วัน ช่วงตั้ง 15-18 มี.ค.นี้ แสดงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถยุบสภาได้ จนกว่าจะมีการอภิปรายแล้วเสร็จ ซึ่งคงไม่ทันการณ์ เพราะเลยกำหนดที่กลุ่มคนเสื้อแดงระดมมวลชนออกมาแล้ว
เมื่อทางออกแรกถูก “ปิดตาย” ทางออกของรัฐบาลตามระบบรัฐสภาก็เหลืออยู่เพียงทางเดียวคือการ “ลาออก” ของนายกรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว เพื่อ “ปลดล๊อก” จากสถานการณ์ที่บีบคั้นเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีข้อเสียที่ตามมาทันที เพราะการเมืองอาจเกิดการ “สวิงขั้ว” เปิดโอกาสให้ “แคนดิเดต” จากพรรคเพื่อไทย มีโอกาสเสียบในตำแหน่งนายกฯทันที
ไม่ว่าจะเป็น “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” หัวหน้าทีมอภิปรายของพรรค หรือตัวเลือกอื่นๆอย่าง “พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์” รองนายกฯที่แตะมือกับพรรคเพื่อไทยไว้แล้ว หรือ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็มีโอกาสเช่นกัน
จึงกลายเป็น “แผนซ้อนแผน” เข้าทางพรรคเพื่อไทยไปเสียอีก
แต่หากให้เลือกแล้ว พรรคประชาธิปัตย์อาจยอมเลือกเดินลงจากอำนาจด้วยการลาออกมากกว่า
เพราะเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมมากขึ้นเรื่อยๆ บ่งบอกให้เห็นถึงการบริหารประเทศที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของรัฐบาล ย่อมเปิดโอกาสให้เกิด “สถานการณ์พิเศษ” ขึ้นได้ทุกเมื่อ เพราะทุกครั้งที่ทหารออกโรง “ยึดอำนาจ” สาเหตุหลักหนีไม่พ้นสถานการณ์ความวุ่นวาย และความล้มเหลวของรัฐบาล โดยเฉพาะข้อหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
เมื่อทหารออกมา “ยึดอำนาจ” คราวใด ย่อมทำให้เหล่านักเลือกตั้ง “ตกงาน” กันอย่างไม่มีกำหนด แถมอาจถูก “เช็คบิล” ย้อนหลังกันเป็นทิวแถว
ซึ่งแม้ว่าวันนี้สังคมไทยจะยังไม่ยอมรับ แต่จากผลงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำให้ประเทศ “บอบช้ำ” ประชาชนเดือดร้อนจากวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง รวมทั้งเรื่องใหญ่อย่างการสูญเสียดินแดน จึงเชื่อว่าประชาชนจะไม่ต่อต้านการทำทหาร คล้ายๆกับสถานการณ์ก่อนวันที่ 19 ก.ย.49
ถึงตอนนี้อำนาจยังอยู่ในมือรัฐบาล แต่ “อภิสิทธิ์” ก็จะใจเย็นเหมือนกับการรับมือทุกปัญหาที่ผ่านๆมาคงไม่ได้แล้ว เพราะเหลือเวลาไม่มากที่จะต้องตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เลยเถิดไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสุดสัปดาห์นี้ โอกาสที่สภาวะการเมืองจะ “ชะงักงัน” หรือเข้าสู่สภาวะ “เดดล๊อก” ก็เป็นไปได้สูง
เมื่อถึงวันนั้นคนที่จะมาปลดล๊อก อาจไม่ใช้รัฐบาลนี้เสียแล้ว