ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเปิดขายพันธบัตรรัฐบาลรุ่น 50 ปีครั้งแรกยอดจองล้น 1.8 เท่า นักลงทุนสถาบัน - บริษัทประกันแย่งซื้อ ฟุ้งเปิดขายได้เป็นประเทศที่ 4 ของโลกต่อจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ระบุเตรียมเปิดจำหน่ายอีก 2 ล็อตไตรมาส 3 และ 4 วงเงินอีก 7 พันล้านบาท
วานนี้ (2 มี.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี (LB 616A) เป็นครั้งแรก ที่อัตราดอกเบี้ย 4.85% โดยมีการประมูลทั้งสิ้น 3,500 ล้านบาท แต่มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลสูงถึง 6,320 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8 เท่าของวงเงินที่กระทรวงการคลังต้องการ โดยนักลงทุนที่ให้ความสนใจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ค้าหลักซึ่งประมูลเข้ามา 37% ของวงเงินที่ส่งเข้าประมูล และ 2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิตซึ่งประมูลเข้ามาสูงถึง 63% ของวงเงินที่ส่งเข้าประมูล ซึ่งถือว่าการประมูลดังกล่าวได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง
ในการนี้ กระทรวงการคลังมีแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี อีก 2 ครั้ง ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีงบประมาณนี้ ในวงเงินประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท โดยพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี ที่กระทรวงการคลังออกมาใครั้งนี้จะใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาดตราสาหนี้ ทั้งนี้กระทรวงการคลังขอขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนับสนุนการออกตราสารหนี้ของกระทรวงการคลังอย่างดีโดยเสมอมา
สำหรับการออกพันธบัตรครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่สามารถออกพันธบัตรรุ่นอายุ 50 ปี ได้ต่อจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน โดยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะหรือสบน. ได้ประกาศงดการออกตั๋วเงินคลังในเดือน มีนาคมต่อเนื่องอีก 1 เดือน หลังจากก่อนหน้านี้งดออกตั๋วเงินคลังทุกรุ่นไปแล้วในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 2 เดือน เนื่องจากขณะนี้ระดับเงินคงคลังยังค่อนข้างสูง โดยอยู่ที่ระดับ 1.7-1.8 แสนล้านบาท ซึ่งการมีเงินคงคลังมากจะเป็นภาระต้นทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ สบน.ตั้งเป้าหมายว่าจะพยายามลดเงินคงคลังให้อยู่ที่ระดับประมาณ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น
"เราตั้งเป้าลดเงินคงคลังให้มาอยู่ที่ระดับ 1 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าพอใช้ได้ 2-3 สัปดาห์ เพียงพอต่อการรองรับธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยเงินคงคลังไม่จำเป็นต้องมีมากเกินไป เนื่องจากจะเป็นภาระต้นทุนของรัฐบาล" นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สบน.กล่าว
ทั้งนี้ สบน. ได้มีการประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เป็นผู้ออกตั๋วเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นทดแทนตามความเหมาะสม สำหรับแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 1 แสนล้านบาท ที่ประกาศเลื่อนออกไปนั้น กำลังพิจารณารายละเอียดอยู่ว่า จะปรับแผนการออกอย่างไร ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ต้องการให้ออกเพื่อเป็นทางเลือกการออม การลงทุนของประชาชน เพียงแต่ขณะนี้เงินคงคลังยังมีมากอยู่ จึงยังไม่เหมาะสมที่จะออกในช่วงนี้.
วานนี้ (2 มี.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี (LB 616A) เป็นครั้งแรก ที่อัตราดอกเบี้ย 4.85% โดยมีการประมูลทั้งสิ้น 3,500 ล้านบาท แต่มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลสูงถึง 6,320 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8 เท่าของวงเงินที่กระทรวงการคลังต้องการ โดยนักลงทุนที่ให้ความสนใจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ค้าหลักซึ่งประมูลเข้ามา 37% ของวงเงินที่ส่งเข้าประมูล และ 2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิตซึ่งประมูลเข้ามาสูงถึง 63% ของวงเงินที่ส่งเข้าประมูล ซึ่งถือว่าการประมูลดังกล่าวได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง
ในการนี้ กระทรวงการคลังมีแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี อีก 2 ครั้ง ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีงบประมาณนี้ ในวงเงินประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท โดยพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 50 ปี ที่กระทรวงการคลังออกมาใครั้งนี้จะใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาดตราสาหนี้ ทั้งนี้กระทรวงการคลังขอขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนับสนุนการออกตราสารหนี้ของกระทรวงการคลังอย่างดีโดยเสมอมา
สำหรับการออกพันธบัตรครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่สามารถออกพันธบัตรรุ่นอายุ 50 ปี ได้ต่อจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน โดยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะหรือสบน. ได้ประกาศงดการออกตั๋วเงินคลังในเดือน มีนาคมต่อเนื่องอีก 1 เดือน หลังจากก่อนหน้านี้งดออกตั๋วเงินคลังทุกรุ่นไปแล้วในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 2 เดือน เนื่องจากขณะนี้ระดับเงินคงคลังยังค่อนข้างสูง โดยอยู่ที่ระดับ 1.7-1.8 แสนล้านบาท ซึ่งการมีเงินคงคลังมากจะเป็นภาระต้นทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ สบน.ตั้งเป้าหมายว่าจะพยายามลดเงินคงคลังให้อยู่ที่ระดับประมาณ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น
"เราตั้งเป้าลดเงินคงคลังให้มาอยู่ที่ระดับ 1 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าพอใช้ได้ 2-3 สัปดาห์ เพียงพอต่อการรองรับธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยเงินคงคลังไม่จำเป็นต้องมีมากเกินไป เนื่องจากจะเป็นภาระต้นทุนของรัฐบาล" นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สบน.กล่าว
ทั้งนี้ สบน. ได้มีการประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เป็นผู้ออกตั๋วเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นทดแทนตามความเหมาะสม สำหรับแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 1 แสนล้านบาท ที่ประกาศเลื่อนออกไปนั้น กำลังพิจารณารายละเอียดอยู่ว่า จะปรับแผนการออกอย่างไร ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ต้องการให้ออกเพื่อเป็นทางเลือกการออม การลงทุนของประชาชน เพียงแต่ขณะนี้เงินคงคลังยังมีมากอยู่ จึงยังไม่เหมาะสมที่จะออกในช่วงนี้.