ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.แจงควบรวมกิจการPTTCH-PTTAR เพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ชี้บริษัทใหม่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทยและอันดับ 2 ในอาเซียน คาดรายได้รวมของบริษัทใหม่ปีนี้ 4 แสนล้านบาท กำหนดอัตราแลกหุ้น 1 หุ้นPTTCH ต่อ 3.95 หุ้น PTTAR คาดเทรดซื้อขายหุ้นได้ส.ค.นี้ ปตท.ยันถือหุ้นไม่เกิน 50%
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากมติคณะกรรมการบมจ. ปตท. , บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR)และบมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการระหว่างPTTAR และ PTTCH เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 เม.ย.54
โดยจะมีบริษัทใหม่เกิดจากการควบรวมกิจการ ถือเป็นบริษัทแกนนำของธุรกิจปิโตรเคมี (Petrochemical Flagship )ของปตท. ที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ด้วยกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีรวมปีละ 8.2 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวม 2.28 แสนบาร์เรล/วัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสการขยายธุรกิจร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ บริษัทใหม่ดังกล่าวนี้ ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นอย่างครบวงจร (Integrated Petrochemical and Refining) มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน และะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาเก็ตแคป)ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือประมาณ 3.4แสนล้านบาท รองจากหุ้น PTT , PTTEP และ SCC ซึ่งจะมีเครดิตเรตติ้งดีขึ้น หลังทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง
สำหรับการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ PTTAR และ PTTCH นั้น มีอัตราส่วน คือ 1 หุ้นเดิมใน PTTAR ต่อ 0.501296791 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิม ใน PTTCH ต่อ 1.980122323 หุ้นในบริษัทใหม่ หรือเท่ากับการแลกหุ้น 1 หุ้นPTTCH ต่อ 3.95 หุ้น PTTAR โดยคาดว่าการควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จและสามารถซื้อขายหุ้นบริษัทใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ในเดือนส.ค.54
หลังจากนี้จะมีการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ในเดือน ก.พ.-มี.ค. 54 และในวันที่ 21 เม.ย.54 จะมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทั้ง2บริษัทเพื่อขอมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 75% และกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ช่วงเม.ย.- มิ.ย.54 เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้คัดค้าน โดยเงินกู้ของทั้งสองบริษัทอยู่ในระดับต่ำเพียง 1แสนกว่าล้านบาท
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทใหม่ในปีนี้คาดว่ามีรายได้รวม 4 แสนล้านบาท และกำไรสูงเพิ่มขึ้น ดีกว่าผลดำเนินงานงวดปี 2553 ที่รายได้ของPTTCH-PTTAR รวมกันแล้วประมาณ 3.7 แสนล้านบาท และกำไรสุทธิ 1.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) จากการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรวมธุรกิจ(Synergy)ปีละ80.2 -154.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ บริษัทใหม่ก็จะมีโครงการลงทุนใหม่เพิ่มเติมในช่วง 3ปีนี้ ใช้เงินประมาณ 92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างระบบท่อรับส่งผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน รวมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ทำให้กระบวนการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันPTTAR สามารถผลิตHydrowax เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตในโรงเอทิลีนแครกเกอร์ในอนาคต ซึ่งจะมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น
ส่วน ปตท.ในฐานะบริษัทแม่ยังคงถือหุ้นในบริษัทใหม่ ในสัดส่วนใกล้เคียงของเดิม โดยปัจจุบันถือใน PTTAR สัดส่วน 48.6% และ PTTCH 48.9% ในกรณีที่อาจมีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการของ 2 บริษัทดังกล่าว ทางปตท.จะเป็นผู้รับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของ PTTAR และ PTTCH ที่คัดค้านการควบบริษัท โดยจะรับซื้อหุ้น PTTAR ไม่เกินกว่า 39 บาทต่อหุ้น ส่วน PTTCH รับซื้อหุ้นในราคาไม่เกิน 150 บาท/หุ้น และหากการรับซื้อหุ้นดังกล่าวทำให้ปตท.ถือหุ้นในPTTAR เกินกว่า 50% ทางก.ล.ต.ได้ผ่อนผันให้ปตท.ไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด เนื่องจาก ปตท.ไม่มีเจตนาที่จะทำให้ PTTAR เป็นรัฐวิสาหกิจ
โดยได้แต่งตั้งบล.ทรีนิตี้ เป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นPTTAR ในการพิจารณาลงมติเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทกับPTTCH
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTCH กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจปิโตรเคมีขนาดเล็กอยู่ได้ลำบาก เนื่องจากคู่แข่งมีขนาดกิจการที่ใหญ่ หากไม่ทำให้แข็งแกร่ง ขีดความสามารถจะมีปัญหา ดังนั้นการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน จะทำให้บริษัทเข้มแข็งขึ้น โดยจะมีการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันประมาณ 7.65 แสนตัน/ปี เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการSynergy คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นจำนวน 535-1,055 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงระยะเวลา 15ปี ณ อัตราคิดลด 10%
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากมติคณะกรรมการบมจ. ปตท. , บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR)และบมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการระหว่างPTTAR และ PTTCH เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 เม.ย.54
โดยจะมีบริษัทใหม่เกิดจากการควบรวมกิจการ ถือเป็นบริษัทแกนนำของธุรกิจปิโตรเคมี (Petrochemical Flagship )ของปตท. ที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ด้วยกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีรวมปีละ 8.2 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวม 2.28 แสนบาร์เรล/วัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสการขยายธุรกิจร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ บริษัทใหม่ดังกล่าวนี้ ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นอย่างครบวงจร (Integrated Petrochemical and Refining) มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน และะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาเก็ตแคป)ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือประมาณ 3.4แสนล้านบาท รองจากหุ้น PTT , PTTEP และ SCC ซึ่งจะมีเครดิตเรตติ้งดีขึ้น หลังทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง
สำหรับการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ PTTAR และ PTTCH นั้น มีอัตราส่วน คือ 1 หุ้นเดิมใน PTTAR ต่อ 0.501296791 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิม ใน PTTCH ต่อ 1.980122323 หุ้นในบริษัทใหม่ หรือเท่ากับการแลกหุ้น 1 หุ้นPTTCH ต่อ 3.95 หุ้น PTTAR โดยคาดว่าการควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จและสามารถซื้อขายหุ้นบริษัทใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ในเดือนส.ค.54
หลังจากนี้จะมีการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ในเดือน ก.พ.-มี.ค. 54 และในวันที่ 21 เม.ย.54 จะมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทั้ง2บริษัทเพื่อขอมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 75% และกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ช่วงเม.ย.- มิ.ย.54 เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้คัดค้าน โดยเงินกู้ของทั้งสองบริษัทอยู่ในระดับต่ำเพียง 1แสนกว่าล้านบาท
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทใหม่ในปีนี้คาดว่ามีรายได้รวม 4 แสนล้านบาท และกำไรสูงเพิ่มขึ้น ดีกว่าผลดำเนินงานงวดปี 2553 ที่รายได้ของPTTCH-PTTAR รวมกันแล้วประมาณ 3.7 แสนล้านบาท และกำไรสุทธิ 1.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) จากการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรวมธุรกิจ(Synergy)ปีละ80.2 -154.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ บริษัทใหม่ก็จะมีโครงการลงทุนใหม่เพิ่มเติมในช่วง 3ปีนี้ ใช้เงินประมาณ 92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างระบบท่อรับส่งผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน รวมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ทำให้กระบวนการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันPTTAR สามารถผลิตHydrowax เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตในโรงเอทิลีนแครกเกอร์ในอนาคต ซึ่งจะมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น
ส่วน ปตท.ในฐานะบริษัทแม่ยังคงถือหุ้นในบริษัทใหม่ ในสัดส่วนใกล้เคียงของเดิม โดยปัจจุบันถือใน PTTAR สัดส่วน 48.6% และ PTTCH 48.9% ในกรณีที่อาจมีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการของ 2 บริษัทดังกล่าว ทางปตท.จะเป็นผู้รับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของ PTTAR และ PTTCH ที่คัดค้านการควบบริษัท โดยจะรับซื้อหุ้น PTTAR ไม่เกินกว่า 39 บาทต่อหุ้น ส่วน PTTCH รับซื้อหุ้นในราคาไม่เกิน 150 บาท/หุ้น และหากการรับซื้อหุ้นดังกล่าวทำให้ปตท.ถือหุ้นในPTTAR เกินกว่า 50% ทางก.ล.ต.ได้ผ่อนผันให้ปตท.ไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด เนื่องจาก ปตท.ไม่มีเจตนาที่จะทำให้ PTTAR เป็นรัฐวิสาหกิจ
โดยได้แต่งตั้งบล.ทรีนิตี้ เป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นPTTAR ในการพิจารณาลงมติเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทกับPTTCH
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTCH กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจปิโตรเคมีขนาดเล็กอยู่ได้ลำบาก เนื่องจากคู่แข่งมีขนาดกิจการที่ใหญ่ หากไม่ทำให้แข็งแกร่ง ขีดความสามารถจะมีปัญหา ดังนั้นการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน จะทำให้บริษัทเข้มแข็งขึ้น โดยจะมีการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันประมาณ 7.65 แสนตัน/ปี เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการSynergy คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นจำนวน 535-1,055 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงระยะเวลา 15ปี ณ อัตราคิดลด 10%