บอร์ด ปตท.อนุมัติแผนควบรวมกิจการ PTTCH-PTTAR แล้ว เตรียมเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 3 บริษัทที่เกี่ยวข้องเห็นชอบภายใน เม.ย.นี้ เชื่อ การควบรวมกิจการไร้ปัญหา ชี้ การควบรวมกิจการเป็นเทรนด์ของโลก หากไม่ทำจะตกขบวน ระบุ ผลดีการควบรวมกิจการทำกำไรจาก Synergy ระหว่างกันเพิ่มขึ้นปีละ 2-4 พันล้านบาท มั่นใจนำบริษัทใหม่เข้าเทรดซื้อขายหุ้น ส.ค.นี้ มีมาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาดหุ้น มูลค่า 3แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบริษัท วานนี้ (24 ก.พ.) ได้อนุมัติแผนการควบรวมกิจการบริษัทในเครือ ระหว่างบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) กับบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) สร้างกำไรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มความแข็งแกร่งระหว่างกัน (Synergy)ปีละ 2-4 พันล้านบาท ส่งผลให้ ปตท.รับรู้กำไรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทใหม่ 40 กว่า%
การควบรวมกิจการเป็นไปตามกระแสของโลกที่มีบริษัทปิโตรเคมีหลายรายได้มีการควบรวมกิจการระหว่างกันเพื่อให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้น ดึงดูดความสนใจของกองทุนต่างชาติ และช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรอง ซึ่งการควบรวมครั้งนี้จะทำให้เกิด Synergy จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการมาต่อยอดร่วมกัน จากเดิมที่ขายออกไป และลดภาษีจากการขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในช่วงที่ผ่านมา
“การควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH กับ PTTAR เป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์ที่ต้องเป็นไปตามเทรนด์ของโลก จากการสอบถามนักลงทุนต่างประเทศก็เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ส่วนจุดมุ่งหมายเพื่อหวังลดต้นทุนนั้นเป็นปัจจัยรองลงมา หากไม่มีการควบรวม ก็จะตกขบวน ซึ่ง ปตท.ยืนยันว่าภายหลังการควบรวมจะไม่มีการปลดพนักงานอย่างแน่นอน แต่จะมีการโยกย้ายพนักงานบางส่วนไปทำงานในสายงานอื่นแทน”
สำหรับรูปแบบการควบรวมกิจการทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวข้างต้น จะดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ (AMALGAMATION) แล้วใช้วิธีการแลกหุ้น (สวอปหุ้น) ก่อนนำบริษัทใหม่ไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากได้เพิกถอนบริษัทเดิม คือ PTTCH และ PTTAR ออกจากตลาดแล้วเช่นเดียวกับการควบรวมกิจการของ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) กับบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย )(ATC) แล้วตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR)
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้เร่งดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ปตท.และบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาอนุมัติการควบรวมกิจการดังกล่าวให้เสร็จภายในปลายเดือนเม.ย.นี้ หลังจากนั้น จะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทน โดยบริษัทใหม่จะมีมาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาดหลักทรัพย์ไทย คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท คาด เทรดซื้อขายหุ้นได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระบวนการควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH-PTTAR จะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งเชื่อว่าการควบรวมไม่มีปัญหา ต่างจากก่อนหน้านี้ ที่ปตท.จะควบรวมกิจการระหว่าง PTTAR กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) แต่ต้องล้มไปเนื่องจาก IRPC ติดปัญหาคดีป.ป.ช.
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (24 ก.พ.) บอร์ดบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบอร์ดบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ได้เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการดังกล่าว และจะมีการชี้แจงรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันนี้
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบริษัท วานนี้ (24 ก.พ.) ได้อนุมัติแผนการควบรวมกิจการบริษัทในเครือ ระหว่างบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) กับบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) สร้างกำไรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มความแข็งแกร่งระหว่างกัน (Synergy)ปีละ 2-4 พันล้านบาท ส่งผลให้ ปตท.รับรู้กำไรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทใหม่ 40 กว่า%
การควบรวมกิจการเป็นไปตามกระแสของโลกที่มีบริษัทปิโตรเคมีหลายรายได้มีการควบรวมกิจการระหว่างกันเพื่อให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้น ดึงดูดความสนใจของกองทุนต่างชาติ และช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรอง ซึ่งการควบรวมครั้งนี้จะทำให้เกิด Synergy จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการมาต่อยอดร่วมกัน จากเดิมที่ขายออกไป และลดภาษีจากการขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในช่วงที่ผ่านมา
“การควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH กับ PTTAR เป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์ที่ต้องเป็นไปตามเทรนด์ของโลก จากการสอบถามนักลงทุนต่างประเทศก็เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ส่วนจุดมุ่งหมายเพื่อหวังลดต้นทุนนั้นเป็นปัจจัยรองลงมา หากไม่มีการควบรวม ก็จะตกขบวน ซึ่ง ปตท.ยืนยันว่าภายหลังการควบรวมจะไม่มีการปลดพนักงานอย่างแน่นอน แต่จะมีการโยกย้ายพนักงานบางส่วนไปทำงานในสายงานอื่นแทน”
สำหรับรูปแบบการควบรวมกิจการทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวข้างต้น จะดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ (AMALGAMATION) แล้วใช้วิธีการแลกหุ้น (สวอปหุ้น) ก่อนนำบริษัทใหม่ไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากได้เพิกถอนบริษัทเดิม คือ PTTCH และ PTTAR ออกจากตลาดแล้วเช่นเดียวกับการควบรวมกิจการของ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) กับบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย )(ATC) แล้วตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR)
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้เร่งดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ปตท.และบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาอนุมัติการควบรวมกิจการดังกล่าวให้เสร็จภายในปลายเดือนเม.ย.นี้ หลังจากนั้น จะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทน โดยบริษัทใหม่จะมีมาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาดหลักทรัพย์ไทย คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท คาด เทรดซื้อขายหุ้นได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระบวนการควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH-PTTAR จะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งเชื่อว่าการควบรวมไม่มีปัญหา ต่างจากก่อนหน้านี้ ที่ปตท.จะควบรวมกิจการระหว่าง PTTAR กับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) แต่ต้องล้มไปเนื่องจาก IRPC ติดปัญหาคดีป.ป.ช.
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (24 ก.พ.) บอร์ดบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบอร์ดบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ได้เห็นชอบแผนการควบรวมกิจการดังกล่าว และจะมีการชี้แจงรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันนี้