วานนี้(23 ก.พ.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการเสวนาหัวข้อ “ทางออกจากวิกฤตการเมือง สู่การเมืองและสังคมสันติสุข” นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า วันนี้สังคมเผชิญหน้ากับวิกฤตหลายด้าน อาทิ วิกฤตตัวแทน ส.ส.ไม่อาจเป็นตัวแทนประชาชนที่หลากหลายได้ การเลือกตั้งจะได้เพียงนายทุน คนมีเงินในเขตนั้นๆแต่ไม่ได้ตัวแทนคนพิการ สตรี ชนเผ่า เข้าไปปกป้องสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งสภาพการเมืองวันนี้ยังได้สถาปนาระบบ “เจ้าเมืองแห่งโลกาภิวัฒน์” นักการเมืองผ่องถ่ายอำนาจให้พี่น้อง ลูก เมีย โดยใช้เครือข่ายหัวคะแนน เหมือนเจ้าเมืองยุคโบราณ
นายพิชาย กล่าวว่า ตนได้ทราบว่ามีการเกิดขึ้นของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ที่มองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อระบบประชาธิปไตย โดยคนกลุ่มนี้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวเป็น 2 คือระยะที่เคลื่อนไหวเพื่อปรับลดบทบาทสถาบันฯกษัตริย์ให้เป็นสถาบันแบบสามัญ โดยข้อเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้ตรวจสอบโครงการพระราชดำริ เหมือนตรวจสอบโครงการทั่วๆไป นอกจากนี้มีกระบวนการปล่อยข่าวลือทำลายสถาบันฯอย่างต่อเนื่อง
“ขบวนการเหล่านี้แฝงอยู่ในพรรคเพื่อไทย ใช้พรรคเพื่อไทยเป็นกลไกยึดอำนาจรัฐ จากนั้นใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมของการที่ถูกอำมาตย์รังแก กระแสความคิดแบบนี้กระจายตัวอย่างแพร่หลาย คนกลุ่มนี้ไม่ยอมรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมมองว่าตัวการที่สกัดกั้นพลังของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือทุนนิยมสามานย์”อาจารย์นิด้า กล่าว
นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง นักวิชาการอิสระ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยกด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ”สภาปฎิรูประบบสังคมการเมืองไทย” ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อรับฟังข้อเสนอจากประชาชนทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่เพื่อกลั่นกรองแล้วยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญใหม่ จากนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศลงมติเลือกว่าจะรับร่างใหม่นี้หรือร่างปี 50 หากรับร่างปี 50 ก็กลับไปใช้เหมือนเดิม แต่หากเห็นชอบกับร่างใหม่ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรนำไปแก้ไขและถือรัฐธรรมนูญนี้เป็นกรอบการปฎิรูปสังคมการเมืองต่อไป ทั้งนี้หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจและปฎิรูประบบสังคมการเมืองไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงปัญหาความไม่โปร่งใสในการเมือง ปัจจุบันว่าส่วนหนึ่งมาจากค่าตอบแทนของนักการเมืองน้อยเกินไปโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี มาดูแลประเทศ มีเงินเดือนประมาณ 1 แสนบาท น้อยกว่าโบนัสของผู้บริหารรัฐวิสหกิจ หรือแม้แต่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงยังมีเงินเดือนมากกว่า
นายโคทม อารียา ผ.อ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในภาวะที่สังคมมีความขัดแย้งสูงนั้นหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สังคมไทยได้ตั้งหลักและเดินหน้าไปอย่างสงบสันติ แต่ทุกพรรคการเมืองต้องแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจน โดยควรจะให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มได้หาเสียงอย่างเต็มที่ไม่ก่อม็อบปั่นป่วน ไม่ปลุกระดมให้เกิดการเกลียดชังกัน .
นายพิชาย กล่าวว่า ตนได้ทราบว่ามีการเกิดขึ้นของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ที่มองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อระบบประชาธิปไตย โดยคนกลุ่มนี้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวเป็น 2 คือระยะที่เคลื่อนไหวเพื่อปรับลดบทบาทสถาบันฯกษัตริย์ให้เป็นสถาบันแบบสามัญ โดยข้อเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้ตรวจสอบโครงการพระราชดำริ เหมือนตรวจสอบโครงการทั่วๆไป นอกจากนี้มีกระบวนการปล่อยข่าวลือทำลายสถาบันฯอย่างต่อเนื่อง
“ขบวนการเหล่านี้แฝงอยู่ในพรรคเพื่อไทย ใช้พรรคเพื่อไทยเป็นกลไกยึดอำนาจรัฐ จากนั้นใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมของการที่ถูกอำมาตย์รังแก กระแสความคิดแบบนี้กระจายตัวอย่างแพร่หลาย คนกลุ่มนี้ไม่ยอมรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมมองว่าตัวการที่สกัดกั้นพลังของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือทุนนิยมสามานย์”อาจารย์นิด้า กล่าว
นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง นักวิชาการอิสระ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยกด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ”สภาปฎิรูประบบสังคมการเมืองไทย” ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อรับฟังข้อเสนอจากประชาชนทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่เพื่อกลั่นกรองแล้วยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญใหม่ จากนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศลงมติเลือกว่าจะรับร่างใหม่นี้หรือร่างปี 50 หากรับร่างปี 50 ก็กลับไปใช้เหมือนเดิม แต่หากเห็นชอบกับร่างใหม่ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรนำไปแก้ไขและถือรัฐธรรมนูญนี้เป็นกรอบการปฎิรูปสังคมการเมืองต่อไป ทั้งนี้หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจและปฎิรูประบบสังคมการเมืองไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงปัญหาความไม่โปร่งใสในการเมือง ปัจจุบันว่าส่วนหนึ่งมาจากค่าตอบแทนของนักการเมืองน้อยเกินไปโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี มาดูแลประเทศ มีเงินเดือนประมาณ 1 แสนบาท น้อยกว่าโบนัสของผู้บริหารรัฐวิสหกิจ หรือแม้แต่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงยังมีเงินเดือนมากกว่า
นายโคทม อารียา ผ.อ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในภาวะที่สังคมมีความขัดแย้งสูงนั้นหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สังคมไทยได้ตั้งหลักและเดินหน้าไปอย่างสงบสันติ แต่ทุกพรรคการเมืองต้องแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจน โดยควรจะให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มได้หาเสียงอย่างเต็มที่ไม่ก่อม็อบปั่นป่วน ไม่ปลุกระดมให้เกิดการเกลียดชังกัน .