ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”ยันถือหุ้นบริษัทร่วมทุนรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ไม่ต่ำกว่า 51% หวั่นเพิ่มเป็น 60% กระทบงบประมาณลงทุนของไทย เตรียมชงคณะประสานงานฯ พิจารณา 24 ก.พ.นี้ ขณะที่ร่างเอ็มโอยูจีนเสนอใช้ผู้รับเหมาและเทคโนโลยีของจีน ซึ่งไทยรับไม่ได้ต้องตัดออก
นายจุฬา สุขมานพ ผู้ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในประธานคณะทำงานย่อยเพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทย เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ต้องการให้กระทรวงคมนาคมปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้น 60% และจีน 40% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เสนอไปในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่า 51% นั้น ล่าสุดคณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทย ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้หารือและเห็นว่า ฝ่ายไทยจะต้องรักษาสัดส่วนในการถือหุ้นที่ไม่ต่ำกว่า 51% เช่นเดิม จะมีความเหมาะสมกว่า หากเพิ่มสัดส่วนมากเกินไปจะส่งผลต่องบประมาณในการลงทุนในบริษัทร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น และเป็นภาระกับฝ่ายไทย แม้ว่าคณะกรรมการประสานงานฯ จะระบุว่า การเพิ่มสัดส่วนดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคต กรณีที่จะนำบริษัทดังกล่าวเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
“กระทรวงคมนาคมจะยืนยันสัดส่วนการถือหุ้นที่ 51% เท่าเดิมก่อน ส่วนจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเพิ่มขึ้นหรือไม่ คงต้องไปเจรจากับจีนอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคมจะทำรายละเอียดเสนอไปยังที่ประชุมคณะประสานงานฯ ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณา”นายจุฬากล่าว
นายจุฬากล่าวว่า สำหรับร่างเอ็มโอยูของจีนนั้น จากการตรวจสอบพบว่าจีนต้องการให้ใช้ผู้รับเหมาจากจีนทั้งหมด รวมทั้งต้องใช้เทคโนโลยีจากจีนด้วย ซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงต้องขอตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจากต้องการให้ขั้นตอนการประมูลใช้หลักการแบบการประกวดราคานานาชาติ ที่มีการแข่งขันกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นคณะประสานงานฯ จะต้องไปหารือร่วมกับจีนอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ก่อนหน้านี้ ครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ประชุมรัฐสภาได้เห็นชอบการดำเนินการใน 5 เส้นทางหลัก ประกอบด้วย 1.สายเหนือ กทม.-เชียงใหม่ 2.สายอีสาน กทม.-หนองคาย 3.กทม.-อุบลราชธานี 4.สายใต้ กทม.ปาดังเบซาร์ และ5.สายตะวันออกกทม.-ฉะเชิงเทรา แต่เนื่องจากที่ผ่านมา จีนได้ทำเอ็มโอยูกับสปป.ลาว ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐานจากคุนหมิง-นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว แล้ว ดังนั้น จีนจึงมีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อการขนส่งทางรถไฟกับประเทศไทยที่ จ.หนองคาย ไปยังชายแดนไทยมาเลเซีย เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถเดินทางและขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกันได้ โดยเส้นทางกทม.-หนองคายนั้น มีระยะทาง 615 กิโลเมตร มีวงเงินลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
โดยเบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้กำหนดกรวบเวลาไว้ คาดว่า ภายในเดือนมี.ค.2554 คณะทำงานฝ่ายไทย-และฝ่ายจีน จะมีการเจรจาหารือเกี่ยวกับร่างเอ็มโอยูเสร็จสิ้น และในเดือนเม.ย.2554 จะสามารถลงนามความร่วมมือระหว่างกันได้ ก่อนดำเนินการศึกษาทางวิศวกรรมและสำรวจออกแบบโครงการประมาณ 1 ปี และเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2555 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2559
นายจุฬา สุขมานพ ผู้ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในประธานคณะทำงานย่อยเพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทย เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ต้องการให้กระทรวงคมนาคมปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้น 60% และจีน 40% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เสนอไปในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่า 51% นั้น ล่าสุดคณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทย ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้หารือและเห็นว่า ฝ่ายไทยจะต้องรักษาสัดส่วนในการถือหุ้นที่ไม่ต่ำกว่า 51% เช่นเดิม จะมีความเหมาะสมกว่า หากเพิ่มสัดส่วนมากเกินไปจะส่งผลต่องบประมาณในการลงทุนในบริษัทร่วมทุนเพิ่มมากขึ้น และเป็นภาระกับฝ่ายไทย แม้ว่าคณะกรรมการประสานงานฯ จะระบุว่า การเพิ่มสัดส่วนดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคต กรณีที่จะนำบริษัทดังกล่าวเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
“กระทรวงคมนาคมจะยืนยันสัดส่วนการถือหุ้นที่ 51% เท่าเดิมก่อน ส่วนจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเพิ่มขึ้นหรือไม่ คงต้องไปเจรจากับจีนอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคมจะทำรายละเอียดเสนอไปยังที่ประชุมคณะประสานงานฯ ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณา”นายจุฬากล่าว
นายจุฬากล่าวว่า สำหรับร่างเอ็มโอยูของจีนนั้น จากการตรวจสอบพบว่าจีนต้องการให้ใช้ผู้รับเหมาจากจีนทั้งหมด รวมทั้งต้องใช้เทคโนโลยีจากจีนด้วย ซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงต้องขอตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจากต้องการให้ขั้นตอนการประมูลใช้หลักการแบบการประกวดราคานานาชาติ ที่มีการแข่งขันกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นคณะประสานงานฯ จะต้องไปหารือร่วมกับจีนอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ก่อนหน้านี้ ครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ประชุมรัฐสภาได้เห็นชอบการดำเนินการใน 5 เส้นทางหลัก ประกอบด้วย 1.สายเหนือ กทม.-เชียงใหม่ 2.สายอีสาน กทม.-หนองคาย 3.กทม.-อุบลราชธานี 4.สายใต้ กทม.ปาดังเบซาร์ และ5.สายตะวันออกกทม.-ฉะเชิงเทรา แต่เนื่องจากที่ผ่านมา จีนได้ทำเอ็มโอยูกับสปป.ลาว ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐานจากคุนหมิง-นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว แล้ว ดังนั้น จีนจึงมีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อการขนส่งทางรถไฟกับประเทศไทยที่ จ.หนองคาย ไปยังชายแดนไทยมาเลเซีย เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถเดินทางและขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกันได้ โดยเส้นทางกทม.-หนองคายนั้น มีระยะทาง 615 กิโลเมตร มีวงเงินลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
โดยเบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้กำหนดกรวบเวลาไว้ คาดว่า ภายในเดือนมี.ค.2554 คณะทำงานฝ่ายไทย-และฝ่ายจีน จะมีการเจรจาหารือเกี่ยวกับร่างเอ็มโอยูเสร็จสิ้น และในเดือนเม.ย.2554 จะสามารถลงนามความร่วมมือระหว่างกันได้ ก่อนดำเนินการศึกษาทางวิศวกรรมและสำรวจออกแบบโครงการประมาณ 1 ปี และเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2555 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2559