จากกรณีคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) เสนอคณะรัฐมนตรี เรียกค่าเสียหายกรณีแก้ไขสัญญาแนบท้ายของเอไอเอส รวมมูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท จากการตรวจสอบสัญญาสัมปทานกรณีการแก้ไขในสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือที่มีกับบมจ.ทีโอที และบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)นั้น
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม. วานนี้(22 ก.พ..)แจ้งว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ได้เสนอขอความเห็นชอบจากครม. ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสอบถามว่า แนวทางที่เสนอมานั้นข้อมูลข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นการยกเลิกสัญญาบางสัญญากับบริษัทชินคอร์ปใช่หรือไม่ โดยตัวแทนจากกระทรวงไอซีทีในฐานะคณะกรรมการตามมาตรา22 ชี้แจงว่า จากการพิจารณาปรากฏว่าชินคอร์ปที่ทำสัญญาบางสัญญา เช่นดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการทำผิด เรื่องนี้ถือว่าจบแล้ว และต้องดำเนินการตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ได้มีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ว่า เรื่องนี้ควรให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้ครม.ร่วมรับผิดชอบด้วยการออกมติครม อีกทั้งก็ไม่เห็นจำเป็นต้องนำเข้าครม.
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ได้สอบถามตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีว่า ต้องทำตามขั้นตอนอย่างไร ได้คำตอบว่าเหตุที่ไอซีทีนำเข้าครม.ให้รับทราบวันนี้ เป็นเพราะก่อนหน้านี้ตอนที่กระทรวงไอซีทีนำเรื่องนี้เข้าตอนแรกเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ครม.ได้รับทราบไปแล้วจึงทำให้มีการนำเรื่องกลับมาให้ครม.พิจารณาอีกครั้งเพื่อรายงานความคืบหน้า
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้รับทราบ3 ข้อ คือ 1.กรณีอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์โดยมิชอบ โดยคณะกรรมการเห็นว่าบริษัทไทยคมควรต้องจัดดำเนินการให้มีดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม3 ตามข้อกำหนดของสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ โดยกระทรวงไอซีทีในฐานะคู่สัญญาต้องทำหนังสือเร่งรัดไปยังบริษัทไทยคมว่ายังไม่ดำเนินการจัดให้มีดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม3
2.การอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียม โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของชินคอร์ปที่ต้องถือไว้ในบริษัทไทยคมที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ51
3.เร่งรัดติดตามค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม3 วงเงิน6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯที่ไปเช่าช่องสัญญาณจากต่างประเทศ บริษัทไทยคมต้องส่งคืนให้กระทรวงไอซีที
วันเดียวกันนายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังหารือกับผู้บริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) ช่วงเช้าวันนี้ว่า ผู้บริหาร SHIN มาพบเพื่ออธิบายว่า บริษัทฯ ทำธุรกิจตามปกติ และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งก็ได้ยืนยันกลับไปว่ารัฐบาลไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทุกอย่างทำตามกฎหมาย และคำพิพากษาของศาล
ด้านนายวิเชียร เมตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ. แอ๊ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) กล่าวว่า ตนเองและนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร SHIN ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีประมาณครึ่งชั่วโมง โดยได้พูดคุย และแสดงเจตนารมณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม SHIN ว่าไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีคำพิพากษาของศาล ที่เกี่ยวพันกับบริษัทในกลุ่ม SHIN ก็ตาม โดยนับว่าเป็นครั้งแรก ที่นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาล ให้ผู้บริหารจากชินคอร์ปเข้าพบหารือ ซึ่งคาดว่าประเด็นที่มีการพูดคุยกัน น่าจะเป็นเรื่องของปัญหาการเปิดให้บริการ 3G และนโยบายการสื่อสารอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ให้บริการ รวมถึงประเด็นที่ภาครัฐ เตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ADVANC เป็นจำนวนเงินกว่า 7.3 แสนล้านบาท กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานในอดีต
ด้านนายจุติ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการเจรจากรณี แก้สัญญาสัมปทาน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูล ความเสียหายของรัฐ กรณีการแก้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ โดยจะพยายามให้คณะทำงานเจรจากับผู้ประกอบการ ให้ได้ข้อสรุป ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ แต่หากยังไม่สามารถสรุปได้ ก็จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ต่อไป ว่าจะดำเนินการอย่างไร
ที้งนี้ ยืนยันว่า หน้าที่ของรัฐบาล ต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และทำให้ทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม. วานนี้(22 ก.พ..)แจ้งว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ได้เสนอขอความเห็นชอบจากครม. ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสอบถามว่า แนวทางที่เสนอมานั้นข้อมูลข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นการยกเลิกสัญญาบางสัญญากับบริษัทชินคอร์ปใช่หรือไม่ โดยตัวแทนจากกระทรวงไอซีทีในฐานะคณะกรรมการตามมาตรา22 ชี้แจงว่า จากการพิจารณาปรากฏว่าชินคอร์ปที่ทำสัญญาบางสัญญา เช่นดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการทำผิด เรื่องนี้ถือว่าจบแล้ว และต้องดำเนินการตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ได้มีรัฐมนตรีหลายคนแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ว่า เรื่องนี้ควรให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้ครม.ร่วมรับผิดชอบด้วยการออกมติครม อีกทั้งก็ไม่เห็นจำเป็นต้องนำเข้าครม.
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ได้สอบถามตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีว่า ต้องทำตามขั้นตอนอย่างไร ได้คำตอบว่าเหตุที่ไอซีทีนำเข้าครม.ให้รับทราบวันนี้ เป็นเพราะก่อนหน้านี้ตอนที่กระทรวงไอซีทีนำเรื่องนี้เข้าตอนแรกเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ครม.ได้รับทราบไปแล้วจึงทำให้มีการนำเรื่องกลับมาให้ครม.พิจารณาอีกครั้งเพื่อรายงานความคืบหน้า
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้รับทราบ3 ข้อ คือ 1.กรณีอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์โดยมิชอบ โดยคณะกรรมการเห็นว่าบริษัทไทยคมควรต้องจัดดำเนินการให้มีดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม3 ตามข้อกำหนดของสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ โดยกระทรวงไอซีทีในฐานะคู่สัญญาต้องทำหนังสือเร่งรัดไปยังบริษัทไทยคมว่ายังไม่ดำเนินการจัดให้มีดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม3
2.การอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียม โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของชินคอร์ปที่ต้องถือไว้ในบริษัทไทยคมที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ51
3.เร่งรัดติดตามค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม3 วงเงิน6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯที่ไปเช่าช่องสัญญาณจากต่างประเทศ บริษัทไทยคมต้องส่งคืนให้กระทรวงไอซีที
วันเดียวกันนายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังหารือกับผู้บริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) ช่วงเช้าวันนี้ว่า ผู้บริหาร SHIN มาพบเพื่ออธิบายว่า บริษัทฯ ทำธุรกิจตามปกติ และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งก็ได้ยืนยันกลับไปว่ารัฐบาลไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทุกอย่างทำตามกฎหมาย และคำพิพากษาของศาล
ด้านนายวิเชียร เมตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ. แอ๊ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) กล่าวว่า ตนเองและนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร SHIN ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีประมาณครึ่งชั่วโมง โดยได้พูดคุย และแสดงเจตนารมณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม SHIN ว่าไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีคำพิพากษาของศาล ที่เกี่ยวพันกับบริษัทในกลุ่ม SHIN ก็ตาม โดยนับว่าเป็นครั้งแรก ที่นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาล ให้ผู้บริหารจากชินคอร์ปเข้าพบหารือ ซึ่งคาดว่าประเด็นที่มีการพูดคุยกัน น่าจะเป็นเรื่องของปัญหาการเปิดให้บริการ 3G และนโยบายการสื่อสารอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ให้บริการ รวมถึงประเด็นที่ภาครัฐ เตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ADVANC เป็นจำนวนเงินกว่า 7.3 แสนล้านบาท กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานในอดีต
ด้านนายจุติ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการเจรจากรณี แก้สัญญาสัมปทาน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูล ความเสียหายของรัฐ กรณีการแก้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ โดยจะพยายามให้คณะทำงานเจรจากับผู้ประกอบการ ให้ได้ข้อสรุป ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ แต่หากยังไม่สามารถสรุปได้ ก็จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ต่อไป ว่าจะดำเนินการอย่างไร
ที้งนี้ ยืนยันว่า หน้าที่ของรัฐบาล ต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และทำให้ทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ