สทท.ผนึก 3 องค์กร กระตุ้นโดเมสติกไมซ์ จัดโครงการ “ไทยเที่ยวไทย ผสานใจชุมชน” หวังเป็นภูมิคุ้มกัน หวั่นปัญหาการเมืองและข้อพิพาท ไทย-เขมร กระทบท่องเที่ยว คาดกระตุ้นรายได้เพิ่มอีก 40% หรือราว 4 พันล้านบาท นำร่อง พาผู้บริหารองค์กรเอกชน ชม 6 เส้นทาง เที่ยวแบบมีจิตสำนึก
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. เปิดเผยว่า การกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบหากนักท่องเที่ยวจะชะลอเดินทางเข้ามาประเทศไทย เพราะปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงปัญหาข้อพิพาทชายแดน ไทย-กัมพูชา สทท. จึงผนึก 3 หน่วยงานลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.), สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. และสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ หรือทิก้า จัดโครงการ “ไทยเที่ยวไทยสมานใจชุมชน”
โครงการดังกล่าว จะใช้งบดำเนินการราว 5 ล้านบาท โดย สอท.และ สทท. จะแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการบริหารจัดการระหว่างกัน เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน โดยสทท.จะเดินสายเข้าไปให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวแก่ชุมชนให้รู้จักนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสินค้าและงานด้านการบริการ การจัดทำกิจกรรมชุมชนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว เน้น 3 รูปแบบ คือ แนวอนุรักษ์ธรรมชาติ ,การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และ การท่องเที่ยวเชิงซีเอสอาร์ จากนั้นจะต่อยอด ด้วยการสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยวให้แต่ละพื้นที่
สำหรับปีแรกของโครงการนี้ สทท.เตรียมจัด 6 เส้นทางนำร่อง พร้อมคัดเลือกตัวแทนในระดับที่เป็นผู้บริหารองค์กร ระดับหัวหน้าฝ่าย จากองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เน้นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ จัดเป็นแฟมทริปไปเยี่ยมชมชุมชนใน 6 เส้นทาง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจัดประชุมสัมมนา และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ได้แก่ มี.ค. เส้นทางโคราช-ขอนแก่น , พ.ค. เส้นทางเกาะช้าง , มิ.ย.เส้นทางสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช ,ก.ค. เส้นทางอุบลราชธานี ,ก.ย.เส้นทาง เชียงใหม่ และ ต.ค. เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
จากทั้ง 6 เส้นทางดังกล่าว สทท.ตั้งเป้า นำผู้ประกอบการร่วมสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวได้ราว 200-250 ราย สามารถกระตุ้นรายได้ให้เกิดในอุตสาหกรรมการจัดประชุมสัมมนาในประเทศ(โดเมสติกไมซ์) ได้เพิ่มอีก 3-4 พันล้านบาทคิดเป็น 40% จากเป้าหมายเดิมที่ สสปน.วางไว้ว่า เฉพาะโดเมสติกไมซ์ปีนี้จะสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศราว 1 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปีนี้จะสดใส แต่ภาคเอกชนก็ยังมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์การเมือง ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบที่มากระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างที่ผ่านมา สทท.จึงต้องการ สนับสนุนให้เกิด ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ เพราะจะสามารถช่วยป้องกันและจัดการไม่ให้การชุมนุมทางการเมืองเข้ามากระทบภาคการท่องเที่ยวเหมือนอย่างที่ผ่านมา
“ ข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา อาจมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของคนไทยที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในกัมพูชาและการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง ของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภูมิภาคนี้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะการสื่อสารที่รวดเร็วและเข้าถึงได้ตลอดเวลา
อาจทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย ที่ผ่านมามีเพียง ททท.เพียงหน่วยงานเดียวที่คอยส่งข้อความทำความเข้าใจกับต่างชาติ” นางปิยะมาน กล่าว
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. เปิดเผยว่า การกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบหากนักท่องเที่ยวจะชะลอเดินทางเข้ามาประเทศไทย เพราะปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงปัญหาข้อพิพาทชายแดน ไทย-กัมพูชา สทท. จึงผนึก 3 หน่วยงานลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.), สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. และสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ หรือทิก้า จัดโครงการ “ไทยเที่ยวไทยสมานใจชุมชน”
โครงการดังกล่าว จะใช้งบดำเนินการราว 5 ล้านบาท โดย สอท.และ สทท. จะแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการบริหารจัดการระหว่างกัน เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน โดยสทท.จะเดินสายเข้าไปให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวแก่ชุมชนให้รู้จักนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสินค้าและงานด้านการบริการ การจัดทำกิจกรรมชุมชนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว เน้น 3 รูปแบบ คือ แนวอนุรักษ์ธรรมชาติ ,การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และ การท่องเที่ยวเชิงซีเอสอาร์ จากนั้นจะต่อยอด ด้วยการสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยวให้แต่ละพื้นที่
สำหรับปีแรกของโครงการนี้ สทท.เตรียมจัด 6 เส้นทางนำร่อง พร้อมคัดเลือกตัวแทนในระดับที่เป็นผู้บริหารองค์กร ระดับหัวหน้าฝ่าย จากองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เน้นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ จัดเป็นแฟมทริปไปเยี่ยมชมชุมชนใน 6 เส้นทาง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจัดประชุมสัมมนา และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ได้แก่ มี.ค. เส้นทางโคราช-ขอนแก่น , พ.ค. เส้นทางเกาะช้าง , มิ.ย.เส้นทางสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช ,ก.ค. เส้นทางอุบลราชธานี ,ก.ย.เส้นทาง เชียงใหม่ และ ต.ค. เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
จากทั้ง 6 เส้นทางดังกล่าว สทท.ตั้งเป้า นำผู้ประกอบการร่วมสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวได้ราว 200-250 ราย สามารถกระตุ้นรายได้ให้เกิดในอุตสาหกรรมการจัดประชุมสัมมนาในประเทศ(โดเมสติกไมซ์) ได้เพิ่มอีก 3-4 พันล้านบาทคิดเป็น 40% จากเป้าหมายเดิมที่ สสปน.วางไว้ว่า เฉพาะโดเมสติกไมซ์ปีนี้จะสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศราว 1 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปีนี้จะสดใส แต่ภาคเอกชนก็ยังมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์การเมือง ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบที่มากระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างที่ผ่านมา สทท.จึงต้องการ สนับสนุนให้เกิด ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ เพราะจะสามารถช่วยป้องกันและจัดการไม่ให้การชุมนุมทางการเมืองเข้ามากระทบภาคการท่องเที่ยวเหมือนอย่างที่ผ่านมา
“ ข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา อาจมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของคนไทยที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในกัมพูชาและการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง ของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภูมิภาคนี้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะการสื่อสารที่รวดเร็วและเข้าถึงได้ตลอดเวลา
อาจทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย ที่ผ่านมามีเพียง ททท.เพียงหน่วยงานเดียวที่คอยส่งข้อความทำความเข้าใจกับต่างชาติ” นางปิยะมาน กล่าว