สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่เมื่อช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทย-ทหารกัมพูชา จนชาวบ้านต้องอพยพมาอยู่ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ แต่ขณะนี้ได้เดินทางกลับภูมิลำเนากันเรียบร้อยแล้ว
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “การปะทะสู้รบ” กันระหว่างทหารไทย-ทหารกัมพูชานั้น มิได้เกิดครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่เกิดบ่อยครั้งมาตั้งแต่ช่วงหลังที่ประเทศฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองประเทศกัมพูชา โดยบีบจากฝั่งประเทศไทยเราช่วงรัชกาลที่ 5 จนบ่อยครั้งนั้นคิดเลยเถิดว่าจะเกิดเป็น “สงคราม” กันเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การปะทะสู้รบกันนั้น ไม่น่าเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสงครามกันได้อย่างแน่นอน เนื่องด้วยสารพัดเหตุผล อาทิ การเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนด้วยกัน การเป็นเพื่อนบ้านที่มีการติดต่อค้าขายด้วยดีกันตลอด กองกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ของกัมพูชาด้อยประสิทธิภาพกว่าของเราเยอะ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การสู้รบกันนั้น น่าเชื่อว่าสูงสุดไม่น่าจะเกิน 3-5 วันเท่านั้น แล้วเหตุการณ์ก็กลับสู่ “ภาวะปกติ!” เพียงแต่เป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด หรือพูดภาษาชาวบ้านว่า “จด...จด...จ้อง...จ้อง” กันเท่านั้น
แต่ความจริงต้องยอมรับว่า สถานการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ก็เป็นเช่นนี้มานานแล้ว เรียกว่า “สามวันดี...สี่วันไข้” ไม่ถึงกับขนาดจะต้องเกิดศึกสงครามระหว่างประเทศ
เราคงจำกันได้ว่า “กัมพูชาเผาสถานทูตไทย” มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน จนกระทั่งต้องยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกันถึงขนาดรัฐบาลไทยต้องอพยพบรรดาข้าราชการไทยระดับเอกอัครราชทูตไทยเดินทางกลับประเทศ และในทางกลับกัน สถานทูตกัมพูชาในไทยเรา ต้องระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดล้อมสถานทูตกัมพูชา เนื่องด้วยคนไทยที่โกรธแค้นกันถึงกับจะบุกเข้าสู่สถานทูตกัมพูชาในไทย
พูดกันภาษาชาวบ้านก็หมายความว่า ไทย-กัมพูชา ปะทะกันทั้งคารมและอาวุธกันตามแนวตะเข็บชายแดนมาโดยตลอด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหาร แต่ยังไงๆ ก็ยังไม่ถึงขั้นประกาศศึกสงครามกันเลยทีเดียว
ดังนั้น เหตุการณ์ปะทะกันในครั้งนี้ นับว่าเป็นเหตุการณ์ปกติธรรมดา แต่ก็มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งนี้ การสู้รบกันในครั้งนี้ มีบ้านเรือนเสียหายประมาณ 7-8 หลัง และประชาชน ตลอดจนทหารเสียชีวิตกันไปบ้าง ผู้อพยพหมื่นกว่าคน!
แต่เราลองพิจารณาตรึกตรองดูว่า เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร บวกกับนายวีระ สมความคิด และพวกอีก 5 คน เดินทางเข้าไปในเขตกัมพูชา หรือ “บริเวณที่ดินพิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร” ซึ่งวันนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่า เขตแดนนั้นเป็นของใคร แต่จริงๆ น่าจะเป็น “No Man ’s Land” หรือ “ที่ดินปลอดประเทศ”
นับแต่นั้นมา สถานการณ์ก็ค่อยๆ ทยอยความตึงเครียดจนเกิดการปะทะกันในที่สุด ถามว่า “นายพนิชและคณะเข้าไปทำไม” ซึ่งวันนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่นายวีระ และนางสาวราตรี ติดคุกเขมรเรียบร้อยแล้ว แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการปะทะกัน!
ถามต่อว่า แล้วทำไม “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” ที่เสมือนแบ่งแยกออกมาจาก “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)” หรือ “กลุ่มเสื้อเหลือง” ถึงได้ออกมาปักหลักชุมนุมปิดถนนบริเวณรอบทำเนียบฯ ที่มีทั้ง คุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำ “กลุ่มสันติอโศก” ที่ยังดูท่าทีว่าจะไม่คึกคักเท่าที่ควร แถม “กลุ่มนปช.-เสื้อแดง” กำลังจะนัดชุมนุมกันตามปกติเดือนละ 2 ครั้งเช่นเดียวกัน
การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ “บรรดาลูกค้า” ก็ยังไม่เยอะกันเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว จนสามารถขับไล่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากอำนาจได้ ซึ่งก็ต้องถามต่อว่า “แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ครั้งนี้”
จริงๆ แล้ว สถานการณ์ในบ้านเมืองเรานั้น ถ้าดูผิวเผินแล้วไม่น่ากลัวอะไรกับข้อเสนอของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มตั้งแต่ 3 ข้อ จนในที่สุด “ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์” ซึ่งขณะนี้รัฐบาลรอเวลาให้กฎหมายลูกของการพิจารณาวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่ผ่านสูตร 375 + 125 ของประชาธิปัตย์ไปแล้ว รอเวลาว่าจะ “ยุบสภา” เวลาใดเท่านั้น
ทีนี้กลับมาดูสถานการณ์ในกัมพูชาเองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์โดยบังเอิญ หรือว่า “ถูกจัดตั้ง” หรือพูดศัพท์การเมืองว่า “เกมการเมือง” หรือไม่อย่างไร
จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายฝ่าย “น่าเชื่อว่า” จะเป็น “เกมการเมือง” ของสมเด็จฮุนเซนเอง ที่ยึดครองอำนาจมาประมาณ 28 ปี กลัวหรือไม่ว่าเดี๋ยวจะเหมือนประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ จนต้องประกาศลาออกในที่สุด
“กระบวนการสร้างความรักชาติ” นั้น หนึ่ง ล่ะ ที่นับว่าได้ผลเกินคาด สอง เป็นไปได้หรือไม่ที่ถูกประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันออก คือ เวียดนาม บีบถี่ทำเอาที่ดินพิพาทไปอยู่ในอุ้งมือ เพราะความจริงที่รับรู้กันทั่วไปว่า ฮุนเซนนั้น “เกรงใจ” จนถึงขั้น “เกรงกลัว” อิทธิพลของเวียดนามมากกว่าไทย เพราะมีเบื้องหลังเวียดนามอย่างจีนก็ดี และรัสเซียก็ดี คอยสนับสนุน (จริงเท็จท่านผู้อ่านพิจารณาเอง!)
น่าจะเป็นไปได้ว่า “เกมการเมือง” ของสมเด็จฮุนเซน น่าจะได้ผลจนถึงขั้นที่ “ญาติกาธิปไตย” ของกัมพูชา กำลังคืบหน้าอย่างไม่น่าเรียกว่า “สะดวกโยธิน” เท่าใดนัก ดีไม่ดี ความคุกรุ่นเหตุการณ์บ้านเมืองของชาวกัมพูชา อาจจะปะทุขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากสถานการณ์โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะ “สังคมสารสนเทศ-เว็บไซต์” และ “กระแสประชาธิปไตยจริง!”
ส่วนบ้านเรานั้น ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง หรือมีการเดินเกมการเมืองของทุกฝ่าย น่าจะเป็นไปได้เหมือนกัน ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือโอกาสเดินตามสถานการณ์ไปด้วยเพื่อก่อให้เกิดความหวาดวิตกระหว่าง “ไทย-กัมพูชา”
ทั้งหลายทั้งปวงนั้น “การวิเคราะห์” เป็นสาเหตุสำคัญของ “เกมการเมืองภายในบริบทสังคมยุคใหม่” ได้เปลี่ยนไปแล้ว และดีไม่ดี เราอาจจะได้เห็นนายกฯ ไทยกับฮุนเซนจับมือกันก็ได้ในเร็วๆ นี้
แต่ที่แน่ๆ รัฐมนตรีต่างประเทศไทย กษิต ภิรมย์ ไม่น่าจะนั่งเก้าอี้ประนีประนอมนี้อีกต่อไปในสมัยหน้า!
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “การปะทะสู้รบ” กันระหว่างทหารไทย-ทหารกัมพูชานั้น มิได้เกิดครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่เกิดบ่อยครั้งมาตั้งแต่ช่วงหลังที่ประเทศฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองประเทศกัมพูชา โดยบีบจากฝั่งประเทศไทยเราช่วงรัชกาลที่ 5 จนบ่อยครั้งนั้นคิดเลยเถิดว่าจะเกิดเป็น “สงคราม” กันเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การปะทะสู้รบกันนั้น ไม่น่าเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสงครามกันได้อย่างแน่นอน เนื่องด้วยสารพัดเหตุผล อาทิ การเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนด้วยกัน การเป็นเพื่อนบ้านที่มีการติดต่อค้าขายด้วยดีกันตลอด กองกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ของกัมพูชาด้อยประสิทธิภาพกว่าของเราเยอะ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การสู้รบกันนั้น น่าเชื่อว่าสูงสุดไม่น่าจะเกิน 3-5 วันเท่านั้น แล้วเหตุการณ์ก็กลับสู่ “ภาวะปกติ!” เพียงแต่เป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด หรือพูดภาษาชาวบ้านว่า “จด...จด...จ้อง...จ้อง” กันเท่านั้น
แต่ความจริงต้องยอมรับว่า สถานการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ก็เป็นเช่นนี้มานานแล้ว เรียกว่า “สามวันดี...สี่วันไข้” ไม่ถึงกับขนาดจะต้องเกิดศึกสงครามระหว่างประเทศ
เราคงจำกันได้ว่า “กัมพูชาเผาสถานทูตไทย” มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน จนกระทั่งต้องยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกันถึงขนาดรัฐบาลไทยต้องอพยพบรรดาข้าราชการไทยระดับเอกอัครราชทูตไทยเดินทางกลับประเทศ และในทางกลับกัน สถานทูตกัมพูชาในไทยเรา ต้องระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดล้อมสถานทูตกัมพูชา เนื่องด้วยคนไทยที่โกรธแค้นกันถึงกับจะบุกเข้าสู่สถานทูตกัมพูชาในไทย
พูดกันภาษาชาวบ้านก็หมายความว่า ไทย-กัมพูชา ปะทะกันทั้งคารมและอาวุธกันตามแนวตะเข็บชายแดนมาโดยตลอด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหาร แต่ยังไงๆ ก็ยังไม่ถึงขั้นประกาศศึกสงครามกันเลยทีเดียว
ดังนั้น เหตุการณ์ปะทะกันในครั้งนี้ นับว่าเป็นเหตุการณ์ปกติธรรมดา แต่ก็มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งนี้ การสู้รบกันในครั้งนี้ มีบ้านเรือนเสียหายประมาณ 7-8 หลัง และประชาชน ตลอดจนทหารเสียชีวิตกันไปบ้าง ผู้อพยพหมื่นกว่าคน!
แต่เราลองพิจารณาตรึกตรองดูว่า เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร บวกกับนายวีระ สมความคิด และพวกอีก 5 คน เดินทางเข้าไปในเขตกัมพูชา หรือ “บริเวณที่ดินพิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร” ซึ่งวันนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่า เขตแดนนั้นเป็นของใคร แต่จริงๆ น่าจะเป็น “No Man ’s Land” หรือ “ที่ดินปลอดประเทศ”
นับแต่นั้นมา สถานการณ์ก็ค่อยๆ ทยอยความตึงเครียดจนเกิดการปะทะกันในที่สุด ถามว่า “นายพนิชและคณะเข้าไปทำไม” ซึ่งวันนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่นายวีระ และนางสาวราตรี ติดคุกเขมรเรียบร้อยแล้ว แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการปะทะกัน!
ถามต่อว่า แล้วทำไม “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” ที่เสมือนแบ่งแยกออกมาจาก “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)” หรือ “กลุ่มเสื้อเหลือง” ถึงได้ออกมาปักหลักชุมนุมปิดถนนบริเวณรอบทำเนียบฯ ที่มีทั้ง คุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำ “กลุ่มสันติอโศก” ที่ยังดูท่าทีว่าจะไม่คึกคักเท่าที่ควร แถม “กลุ่มนปช.-เสื้อแดง” กำลังจะนัดชุมนุมกันตามปกติเดือนละ 2 ครั้งเช่นเดียวกัน
การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ “บรรดาลูกค้า” ก็ยังไม่เยอะกันเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว จนสามารถขับไล่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากอำนาจได้ ซึ่งก็ต้องถามต่อว่า “แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ครั้งนี้”
จริงๆ แล้ว สถานการณ์ในบ้านเมืองเรานั้น ถ้าดูผิวเผินแล้วไม่น่ากลัวอะไรกับข้อเสนอของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มตั้งแต่ 3 ข้อ จนในที่สุด “ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์” ซึ่งขณะนี้รัฐบาลรอเวลาให้กฎหมายลูกของการพิจารณาวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่ผ่านสูตร 375 + 125 ของประชาธิปัตย์ไปแล้ว รอเวลาว่าจะ “ยุบสภา” เวลาใดเท่านั้น
ทีนี้กลับมาดูสถานการณ์ในกัมพูชาเองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์โดยบังเอิญ หรือว่า “ถูกจัดตั้ง” หรือพูดศัพท์การเมืองว่า “เกมการเมือง” หรือไม่อย่างไร
จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายฝ่าย “น่าเชื่อว่า” จะเป็น “เกมการเมือง” ของสมเด็จฮุนเซนเอง ที่ยึดครองอำนาจมาประมาณ 28 ปี กลัวหรือไม่ว่าเดี๋ยวจะเหมือนประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ จนต้องประกาศลาออกในที่สุด
“กระบวนการสร้างความรักชาติ” นั้น หนึ่ง ล่ะ ที่นับว่าได้ผลเกินคาด สอง เป็นไปได้หรือไม่ที่ถูกประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันออก คือ เวียดนาม บีบถี่ทำเอาที่ดินพิพาทไปอยู่ในอุ้งมือ เพราะความจริงที่รับรู้กันทั่วไปว่า ฮุนเซนนั้น “เกรงใจ” จนถึงขั้น “เกรงกลัว” อิทธิพลของเวียดนามมากกว่าไทย เพราะมีเบื้องหลังเวียดนามอย่างจีนก็ดี และรัสเซียก็ดี คอยสนับสนุน (จริงเท็จท่านผู้อ่านพิจารณาเอง!)
น่าจะเป็นไปได้ว่า “เกมการเมือง” ของสมเด็จฮุนเซน น่าจะได้ผลจนถึงขั้นที่ “ญาติกาธิปไตย” ของกัมพูชา กำลังคืบหน้าอย่างไม่น่าเรียกว่า “สะดวกโยธิน” เท่าใดนัก ดีไม่ดี ความคุกรุ่นเหตุการณ์บ้านเมืองของชาวกัมพูชา อาจจะปะทุขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากสถานการณ์โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะ “สังคมสารสนเทศ-เว็บไซต์” และ “กระแสประชาธิปไตยจริง!”
ส่วนบ้านเรานั้น ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง หรือมีการเดินเกมการเมืองของทุกฝ่าย น่าจะเป็นไปได้เหมือนกัน ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือโอกาสเดินตามสถานการณ์ไปด้วยเพื่อก่อให้เกิดความหวาดวิตกระหว่าง “ไทย-กัมพูชา”
ทั้งหลายทั้งปวงนั้น “การวิเคราะห์” เป็นสาเหตุสำคัญของ “เกมการเมืองภายในบริบทสังคมยุคใหม่” ได้เปลี่ยนไปแล้ว และดีไม่ดี เราอาจจะได้เห็นนายกฯ ไทยกับฮุนเซนจับมือกันก็ได้ในเร็วๆ นี้
แต่ที่แน่ๆ รัฐมนตรีต่างประเทศไทย กษิต ภิรมย์ ไม่น่าจะนั่งเก้าอี้ประนีประนอมนี้อีกต่อไปในสมัยหน้า!