นักรบ 5 ประเภทคือ
1. เห็นฝุ่น ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
2. เห็นธง ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
3. ได้ยินเสียงกึกก้องของกองทัพ ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
4. ถูกฆ่าตายในสงคราม
5. เอาชนะข้าศึกได้
นักรบทั้ง 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ โดยการนำมาเปรียบเทียบกับการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในการรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเพื่อต่อสู้กับกิเลสอันเปรียบได้กับข้าศึกภายในจิตใจ และเป็นศัตรูของคุณธรรมซึ่งมีที่มาในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 ปัญจากนิบาต ทุติยปัณณาสก์ หมวด 50 ที่ 2
โดยนัยแห่งการแบ่งประเภทของนักรบทั้ง 5 ประเภท จะเห็นได้ว่าเป็นไปตามภาวะแวดล้อมในทางสังคม และความเป็นจริงอันเกิดจากการสู้รบของกองทัพในยุคนั้น จะเห็นได้จากรูปแบบและเนื้อหาของการแบ่งแต่ละประเภทดังนี้
ประเภทที่หนึ่ง เห็นฝุ่น ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม อธิบายขยายความได้ว่า กองทัพในยุคนั้นประกอบด้วยกำลังคน ม้า และช้าง และส่วนใหญ่กองทัพเคลื่อนที่เร็วก็คือ กองทัพม้า และถ้ามีม้ามากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมองเห็นฝุ่นตลบมาแต่ไกลย่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่เป็นทุ่งกว้าง โล่งเตียน และแห้งแล้ง
ดังนั้น นักรบประเภทขี้กลัว ไม่ว่าจะกลัวแพ้ กลัวบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งกลัวถูกศัตรูจับตัวเป็นเชลย แน่นอนว่าจะถอดใจยอมแพ้ด้วยการหลบหนีก่อนที่จะเกิดการสู้รบ และน่าจะด้วยมีนักรบประเภทนี้อยู่ในกองทัพ จึงทำให้ขงเบ้งในเรื่องสามก๊กใช้กลศึก โดยให้ทหารเอากิ่งไม้ผูกกับหางม้าวิ่งสวนกันไปมาเป็นวงกลมเพื่อทำให้เกิดฝุ่นตลบ ดูประหนึ่งว่ามีกองทัพม้าจำนวนมากเพื่อข่มขวัญศัตรู และทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่กล้าจู่โจม
ประเภทที่สอง เห็นธง ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม ในยุคโบราณ กองทัพยกไปพร้อมกับมีการชูธง อันเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ และเป็นการแสดงแสนยานุภาพด้วยการชูธงประจำตัวผู้นำทัพ เช่น กองทัพจีนที่นำโดยฮ่องเต้ ก็มีธงประจำโดดเด่นอยู่หน้ากองทัพในเวลาเคลื่อนไป และอยู่เหนือค่ายเมื่อมีการพักแรม
ถ้าผู้ที่นำทัพมามีศักยภาพในการรบเป็นที่เกรงขาม นักรบฝ่ายตรงกันข้ามเมื่อได้เห็นธงก็เกิดความกลัวและถอดใจถอยหนีก็เกิดขึ้นได้
ประเภทที่สาม ได้ยินเสียงกึกก้องของกองทัพ ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม ข้อนี้น่าจะเกิดในกรณีที่กองทัพที่บุกเข้ามามีไพร่พลจำนวนมาก และฮึกเหิมด้วยการโห่ร้องลั่นกลองรบ ทำให้นักรบประเภทตัวใหญ่ใจเล็ก หรือประเภทเล็กทั้งกายและใจ ถอดใจไม่ยอมเผชิญหน้าได้
ประเภทที่สี่ ตายในสงคราม ประเภทนี้แน่นอนว่าเป็นนักรบทั้งกาย และใจ ยอมพลีชีพเพื่อปกป้องดินแดน และป้องกันเผ่าพันธุ์ของตนเองด้วยชีวิต และจะได้รับการขนานนามว่า วีรบุรุษแห่งสงคราม เป็นเกียรติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล
ประเภทที่ห้า เอาชนะข้าศึก ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นนักรบแท้จริงที่สามารถรักษาไว้ได้ทั้งกายและเกียรติของตนเอง วงศ์ตระกูล และชาติ ควรแก่การยกย่องและให้รางวัลตอบแทนในทุกรูปแบบ และแม่ทัพที่เป็นนักรบประเภทนี้เองที่ได้ชื่อว่า ขุนพลแก้วของจักรพรรดิในยุคโบราณ ควบคู่กับช้างแก้ว และม้าแก้ว ดังที่ปรากฏในจักรกวัติสูตร หรือสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีแก้ว 7 ประการ คือ 1. จักรแก้ว 2. ช้างแก้ว 3. ม้าแก้ว 4. แก้วมณี 5. นางแก้ว 6. ขุนคลังแก้ว และ 7. ขุนพลแก้ว
ทั้งหมดที่ยกมาเป็นเรื่องของการสู้รบในยุคโบราณสมัยเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว แต่ในปัจจุบันถึงแม้จะไม่มีสงครามในรูปแบบของการขี่ช้าง ขี่ม้า แกว่งดาบ รำขวานเข้าห้ำหั่นกันเฉพาะหน้า แต่การศึกการสงครามก็ยังมีอยู่และดูเหมือนว่ารุนแรงและโหดร้ายกว่าในยุคก่อน ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. อาวุธยุทโธปกรณ์ในปัจจุบันมีอานุภาพทำลายล้างสูง และทำลายเป้าหมายในระยะไกลได้ โดยที่ไม่ต้องนำกำลังพลมาประจันหน้ากันเหมือนกัน
2. ในด้านกำลังพล บุคลากรในกองทัพมีศักยภาพสูง ทั้งในด้านการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ และด้านการวางแผนสู้รบ ประกอบกับเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้การสั่งการทำได้รวดเร็วไม่ต้องพึ่งม้าเร็วหรือนกพิราบสื่อสารเหมือนก่อน
3. นอกจากกำลังพลและกำลังอาวุธแล้ว สงครามในปัจจุบันยังใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการทำสงครามได้ด้วย
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ข้อดังกล่าวแล้ว สงครามในปัจจุบันทำให้ประเทศที่มีความพร้อมทั้ง 3 ประการที่ว่ามานี้ได้เปรียบประเทศที่ด้อยกว่าในด้านใดด้านหนึ่งหรือ 3 ด้านรวมกัน
แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าประเทศที่เหนือกว่าจะใช้ความได้เปรียบรุกราน และคุกคามประเทศที่ด้อยกว่าได้โดยอิสระตามอำเภอใจ เพราะในโลกปัจจุบันได้มีสหประชาชาติที่มีประเทศสมาชิกอยู่ทั่วในทุกทวีป จะเป็นเครื่องมือคอยถ่วงดุลมิให้เกิดสงครามขึ้นได้อย่างเต็มรูปแบบ หรือที่เรียกว่าสงครามประกาศอย่างเปิดเผย จะมีบ้างก็แค่กระทบกระทั่งกันเป็นการสู้รบย่อยและยุติลงด้วยการเจรจา ดังที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างไทยกับเขมรอยู่ในขณะนี้
ถึงแม้ว่าถ้าดูจากท่าทีที่แข็งกร้าวของผู้นำเขมรที่ตั้งท่าจะลากยาวออกไปให้เป็นสงครามใหญ่ และดึงสหประชาชาติเข้ามาดูแล โดยอ้างว่าป้องกันไม่ให้ถูกรุกราน แต่จากความเป็นจริงที่ปรากฏเชื่อได้ว่า สหประชาชาติจะไม่เข้ามาและคงจะขอให้เปิดการเจรจาในรูปของทวิภาคี และสุดท้ายคงจะจบลงด้วยดี ด้วยเหตุที่ว่าเขมรเองก็จะเดือดร้อนไม่น้อยไปกว่าไทยจากการปะทะกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากการค้าขายตามแนวชายแดนถ้าขืนมีการสู้รบยาวนานออกไป
ส่วนปัญหาขัดแย้งเรื่องเขตแดนจะจบลงพร้อมกับจบการสู้รบหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องนำมาแก้ไขกันต่อไป เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาเรื้อรังและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังมาก่อนหน้านี้นานแล้ว จึงยากที่จะแก้ไขให้จบลงในยุคของรัฐบาลชุดนี้ จะทำได้อย่างมากก็แค่เจรจากำหนดเงื่อนไขในการปักปันเขตแดน และปักปันให้แล้วเสร็จบางส่วนที่มีความชัดเจนแล้วอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
แต่อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการปะทะกันในครั้งนี้ ก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านการทหารมากน้อยเพียงไร และนักรบไทยอยู่ในประเภทไหนของ 5 ประเภท
1. เห็นฝุ่น ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
2. เห็นธง ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
3. ได้ยินเสียงกึกก้องของกองทัพ ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม
4. ถูกฆ่าตายในสงคราม
5. เอาชนะข้าศึกได้
นักรบทั้ง 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ โดยการนำมาเปรียบเทียบกับการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในการรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเพื่อต่อสู้กับกิเลสอันเปรียบได้กับข้าศึกภายในจิตใจ และเป็นศัตรูของคุณธรรมซึ่งมีที่มาในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 ปัญจากนิบาต ทุติยปัณณาสก์ หมวด 50 ที่ 2
โดยนัยแห่งการแบ่งประเภทของนักรบทั้ง 5 ประเภท จะเห็นได้ว่าเป็นไปตามภาวะแวดล้อมในทางสังคม และความเป็นจริงอันเกิดจากการสู้รบของกองทัพในยุคนั้น จะเห็นได้จากรูปแบบและเนื้อหาของการแบ่งแต่ละประเภทดังนี้
ประเภทที่หนึ่ง เห็นฝุ่น ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม อธิบายขยายความได้ว่า กองทัพในยุคนั้นประกอบด้วยกำลังคน ม้า และช้าง และส่วนใหญ่กองทัพเคลื่อนที่เร็วก็คือ กองทัพม้า และถ้ามีม้ามากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมองเห็นฝุ่นตลบมาแต่ไกลย่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่เป็นทุ่งกว้าง โล่งเตียน และแห้งแล้ง
ดังนั้น นักรบประเภทขี้กลัว ไม่ว่าจะกลัวแพ้ กลัวบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งกลัวถูกศัตรูจับตัวเป็นเชลย แน่นอนว่าจะถอดใจยอมแพ้ด้วยการหลบหนีก่อนที่จะเกิดการสู้รบ และน่าจะด้วยมีนักรบประเภทนี้อยู่ในกองทัพ จึงทำให้ขงเบ้งในเรื่องสามก๊กใช้กลศึก โดยให้ทหารเอากิ่งไม้ผูกกับหางม้าวิ่งสวนกันไปมาเป็นวงกลมเพื่อทำให้เกิดฝุ่นตลบ ดูประหนึ่งว่ามีกองทัพม้าจำนวนมากเพื่อข่มขวัญศัตรู และทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่กล้าจู่โจม
ประเภทที่สอง เห็นธง ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม ในยุคโบราณ กองทัพยกไปพร้อมกับมีการชูธง อันเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ และเป็นการแสดงแสนยานุภาพด้วยการชูธงประจำตัวผู้นำทัพ เช่น กองทัพจีนที่นำโดยฮ่องเต้ ก็มีธงประจำโดดเด่นอยู่หน้ากองทัพในเวลาเคลื่อนไป และอยู่เหนือค่ายเมื่อมีการพักแรม
ถ้าผู้ที่นำทัพมามีศักยภาพในการรบเป็นที่เกรงขาม นักรบฝ่ายตรงกันข้ามเมื่อได้เห็นธงก็เกิดความกลัวและถอดใจถอยหนีก็เกิดขึ้นได้
ประเภทที่สาม ได้ยินเสียงกึกก้องของกองทัพ ก็ไม่กล้าเข้าสู่สงคราม ข้อนี้น่าจะเกิดในกรณีที่กองทัพที่บุกเข้ามามีไพร่พลจำนวนมาก และฮึกเหิมด้วยการโห่ร้องลั่นกลองรบ ทำให้นักรบประเภทตัวใหญ่ใจเล็ก หรือประเภทเล็กทั้งกายและใจ ถอดใจไม่ยอมเผชิญหน้าได้
ประเภทที่สี่ ตายในสงคราม ประเภทนี้แน่นอนว่าเป็นนักรบทั้งกาย และใจ ยอมพลีชีพเพื่อปกป้องดินแดน และป้องกันเผ่าพันธุ์ของตนเองด้วยชีวิต และจะได้รับการขนานนามว่า วีรบุรุษแห่งสงคราม เป็นเกียรติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล
ประเภทที่ห้า เอาชนะข้าศึก ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นนักรบแท้จริงที่สามารถรักษาไว้ได้ทั้งกายและเกียรติของตนเอง วงศ์ตระกูล และชาติ ควรแก่การยกย่องและให้รางวัลตอบแทนในทุกรูปแบบ และแม่ทัพที่เป็นนักรบประเภทนี้เองที่ได้ชื่อว่า ขุนพลแก้วของจักรพรรดิในยุคโบราณ ควบคู่กับช้างแก้ว และม้าแก้ว ดังที่ปรากฏในจักรกวัติสูตร หรือสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีแก้ว 7 ประการ คือ 1. จักรแก้ว 2. ช้างแก้ว 3. ม้าแก้ว 4. แก้วมณี 5. นางแก้ว 6. ขุนคลังแก้ว และ 7. ขุนพลแก้ว
ทั้งหมดที่ยกมาเป็นเรื่องของการสู้รบในยุคโบราณสมัยเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว แต่ในปัจจุบันถึงแม้จะไม่มีสงครามในรูปแบบของการขี่ช้าง ขี่ม้า แกว่งดาบ รำขวานเข้าห้ำหั่นกันเฉพาะหน้า แต่การศึกการสงครามก็ยังมีอยู่และดูเหมือนว่ารุนแรงและโหดร้ายกว่าในยุคก่อน ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. อาวุธยุทโธปกรณ์ในปัจจุบันมีอานุภาพทำลายล้างสูง และทำลายเป้าหมายในระยะไกลได้ โดยที่ไม่ต้องนำกำลังพลมาประจันหน้ากันเหมือนกัน
2. ในด้านกำลังพล บุคลากรในกองทัพมีศักยภาพสูง ทั้งในด้านการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ และด้านการวางแผนสู้รบ ประกอบกับเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้การสั่งการทำได้รวดเร็วไม่ต้องพึ่งม้าเร็วหรือนกพิราบสื่อสารเหมือนก่อน
3. นอกจากกำลังพลและกำลังอาวุธแล้ว สงครามในปัจจุบันยังใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการทำสงครามได้ด้วย
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ข้อดังกล่าวแล้ว สงครามในปัจจุบันทำให้ประเทศที่มีความพร้อมทั้ง 3 ประการที่ว่ามานี้ได้เปรียบประเทศที่ด้อยกว่าในด้านใดด้านหนึ่งหรือ 3 ด้านรวมกัน
แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าประเทศที่เหนือกว่าจะใช้ความได้เปรียบรุกราน และคุกคามประเทศที่ด้อยกว่าได้โดยอิสระตามอำเภอใจ เพราะในโลกปัจจุบันได้มีสหประชาชาติที่มีประเทศสมาชิกอยู่ทั่วในทุกทวีป จะเป็นเครื่องมือคอยถ่วงดุลมิให้เกิดสงครามขึ้นได้อย่างเต็มรูปแบบ หรือที่เรียกว่าสงครามประกาศอย่างเปิดเผย จะมีบ้างก็แค่กระทบกระทั่งกันเป็นการสู้รบย่อยและยุติลงด้วยการเจรจา ดังที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างไทยกับเขมรอยู่ในขณะนี้
ถึงแม้ว่าถ้าดูจากท่าทีที่แข็งกร้าวของผู้นำเขมรที่ตั้งท่าจะลากยาวออกไปให้เป็นสงครามใหญ่ และดึงสหประชาชาติเข้ามาดูแล โดยอ้างว่าป้องกันไม่ให้ถูกรุกราน แต่จากความเป็นจริงที่ปรากฏเชื่อได้ว่า สหประชาชาติจะไม่เข้ามาและคงจะขอให้เปิดการเจรจาในรูปของทวิภาคี และสุดท้ายคงจะจบลงด้วยดี ด้วยเหตุที่ว่าเขมรเองก็จะเดือดร้อนไม่น้อยไปกว่าไทยจากการปะทะกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากการค้าขายตามแนวชายแดนถ้าขืนมีการสู้รบยาวนานออกไป
ส่วนปัญหาขัดแย้งเรื่องเขตแดนจะจบลงพร้อมกับจบการสู้รบหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องนำมาแก้ไขกันต่อไป เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาเรื้อรังและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังมาก่อนหน้านี้นานแล้ว จึงยากที่จะแก้ไขให้จบลงในยุคของรัฐบาลชุดนี้ จะทำได้อย่างมากก็แค่เจรจากำหนดเงื่อนไขในการปักปันเขตแดน และปักปันให้แล้วเสร็จบางส่วนที่มีความชัดเจนแล้วอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
แต่อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการปะทะกันในครั้งนี้ ก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านการทหารมากน้อยเพียงไร และนักรบไทยอยู่ในประเภทไหนของ 5 ประเภท