ความรุนแรง 2-3 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทั้งเหตุการณ์ฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ 5 ศพในเขตพื้นที่อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี และเหตุคาร์บอมในเขตอำเภอเมืองของจังหวัดยะลา ล้วนตอกย้ำว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ทุ่มเททั้งงบประมาณ บุคลากรโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจเพื่อจะระงับเหตุการณ์ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ล้วนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และดูเหมือนว่าแนวทางและวิธีการยังไม่มีการปรับปรุงและทบทวนอย่างจริงจัง คำถามจึงมีว่าเรา (ภาคประชาชน) จะปล่อยให้การคิดหาทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในครั้งนี้ให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป ฝ่ายภาคประชาชนต้องยอมรับแนวทางและวิธีการนี้ไปเรื่อยๆ ทำได้แค่เฝ้ามองหรือคอยเดินทางไปร่วมงานศพของพี่น้องร่วมชาติที่สูญเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าแค่นั้นหรือ
ผมคิดว่าภาคประชาชนอย่างเราๆ ควรที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างจริงๆ จังๆ อาจจะเริ่มจากการศึกษามูลเหตุของสถานการณ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นระบบจากเหตุจากผลและมองไปข้างหน้า ซึ่งมีผู้รู้ที่เรียนรู้จากเหตุการณ์ในลักษณะนี้ว่า “เงื่อนเวลา” ในการแก้ไขปัญหานั้นไม่สามารถจบลงได้ในระยะเวลาอันสั้น บางท่านกล่าวว่าอาจจะต้องใช้เวลา 10-20 ปี แต่เงื่อนเวลาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดวางเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารายวันหรือปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็น “ทัศนคติของประชาชน” คือรากฐานที่สำคัญของเหตุการณ์และปรากฏการณ์ของปัญหาตลอดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายควรจะได้เรียนรู้
จากการสำรวจทัศนคติประชาชนต่อสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนประมาณ 2,500 คนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ต่อคำถามที่ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้? พบว่าทัศนะส่วนใหญ่ของประชาชนยังมองว่าสาเหตุสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบมีสองด้านก็คือ ปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมและปัญหาที่เกิดจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ร้อยละ 19.21 เห็นว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มก่อความไม่สงบหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แต่ผู้ตอบอีกกลุ่มหนึ่งประมาณร้อยละ 14.08 กลับบอกว่าเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชน ผู้ตอบอีกส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 13.80 บอกว่าเกิดจากปัญหาความยากจนและปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้ตอบอีกร้อยละ 13.39 บอกว่าเกิดจากความอยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ตอบร้อยละ 10.54 เห็นว่าเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐ อีกร้อยละ 7.53 เห็นว่าเกิดจากความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับคนมลายูมุสลิม
นอกจากนั้นแล้วก็เป็นปัจจัยด้านอื่นๆ ปลีกย่อย จุดสำคัญในที่นี้ก็คือ ข้อมูลได้สะท้อน “ความรู้สึก” ลึกๆ ของประชาชนส่วนมากในปัญหาความยุติธรรมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาความยุติธรรมดังกล่าวถ้านำมารวมกันในทุกด้านก็จะยิ่งทำให้ความคิดในเรื่องความเป็นธรรมโดดเด่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปัญหาความยุติธรรมที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนา ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อมุสลิม ปัญหาความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนและปัญหาความไม่เป็นธรรมต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้ารวมทุกหัวข้อเข้าด้วยกันก็จะทำให้ประเด็นในเรื่องความยุติธรรมมีน้ำหนักสูงมากที่สุดถึงร้อยละ 45.54 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่รู้สึกว่าปัญหาความยุติธรรมในทุกๆ ด้านนั้นมีนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก
อารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะสะท้อนให้เห็นอีกด้านจากคำถามที่ว่าท่านมีความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทยอย่างไร? กลุ่มผู้ตอบรวมกันร้อยละ 61.4 บอกว่าไม่เชื่อมั่นหรือ เชื่อมั่นน้อยหรือเชื่อมั่นน้อยที่สุดต่อกระบวนการยุติธรรมซึ่งนับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ความรู้สึกเช่นนี้ยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อประชาชนถูกถามว่าหากท่านร้องทุกข์แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้วคิดว่าจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่? ผู้ตอบรวมกันร้อยละ 64.4 บอกว่าไม่เชื่อมั่นหรือ เชื่อมั่นน้อยหรือเชื่อมั่นน้อยที่สุดว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่
จากคำถามที่ว่ายุทธศาสตร์และโครงการพัฒนาฟื้นฟูจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบประสบความสำเร็จหรือไม่? ผู้ตอบส่วนใหญ่มากถึงประมาณร้อยละ 75 บอกว่าได้ผลน้อยและน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่างานการเมืองของรัฐในการแก้ปัญหาโดยผ่านการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเดียวยังไม่สามารถจะซื้อใจประชาชนส่วนใหญ่ได้ ผู้ตอบส่วนใหญ่ยังมองว่าสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ไม่บรรลุผลก็เป็นเพราะสาเหตุสำคัญคือ การคอร์รัปชัน ร้อยละ 29.5 ความไม่โปร่งใส ร้อยละ 25.5 และปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ร้อยละ 21.1
ข้อมูลจากการสำรวจชุดเดียวกันของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ก็สะท้อนว่า เสียงเรียกร้องของประชาชนในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชนที่สำคัญที่สุดก็คือปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 76) ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 63.7) ปัญหาความยากจน (ร้อยละ 44.7) ข้อมูลนี้ยังแสดงให้เห็นความต้องการของประชาชนต่อการที่จะให้หน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างที่พวกเขากำลังเผชิญหน้าอยู่อย่างจริงจังมากขึ้นโดยรัฐจะต้องดำเนินการอย่างไม่มีอคติ มีความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
เราจะพบว่าถ้ามองในแง่ของทัศนคติในส่วนของภาคประชาชนต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่มีข้อเสนอใดที่เสนอให้มีการใช้ความรุนแรงหรือวิธีการทุ่มเทสรรพกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ลงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ตรงกันข้ามมีแต่ความต้องการ การแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างและปัญหาพื้นฐานคือปัญหาความอดอยากยากจน ต้องการกระบวนการยุติธรรมที่ยุติธรรมเท่าเทียม ซึ่งก็คือความต้องการของสังคมไทยโดยรวม เพราะเขาไม่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เสมือน “ดับไฟด้วยน้ำมัน” นั้นไม่ใช่หนทางในการแก้ไขปัญหา
ผมคิดว่าภาคประชาชนอย่างเราๆ ควรที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างจริงๆ จังๆ อาจจะเริ่มจากการศึกษามูลเหตุของสถานการณ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นระบบจากเหตุจากผลและมองไปข้างหน้า ซึ่งมีผู้รู้ที่เรียนรู้จากเหตุการณ์ในลักษณะนี้ว่า “เงื่อนเวลา” ในการแก้ไขปัญหานั้นไม่สามารถจบลงได้ในระยะเวลาอันสั้น บางท่านกล่าวว่าอาจจะต้องใช้เวลา 10-20 ปี แต่เงื่อนเวลาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดวางเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารายวันหรือปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็น “ทัศนคติของประชาชน” คือรากฐานที่สำคัญของเหตุการณ์และปรากฏการณ์ของปัญหาตลอดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายควรจะได้เรียนรู้
จากการสำรวจทัศนคติประชาชนต่อสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนประมาณ 2,500 คนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ต่อคำถามที่ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้? พบว่าทัศนะส่วนใหญ่ของประชาชนยังมองว่าสาเหตุสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบมีสองด้านก็คือ ปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมและปัญหาที่เกิดจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ร้อยละ 19.21 เห็นว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มก่อความไม่สงบหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แต่ผู้ตอบอีกกลุ่มหนึ่งประมาณร้อยละ 14.08 กลับบอกว่าเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชน ผู้ตอบอีกส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 13.80 บอกว่าเกิดจากปัญหาความยากจนและปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้ตอบอีกร้อยละ 13.39 บอกว่าเกิดจากความอยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ตอบร้อยละ 10.54 เห็นว่าเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐ อีกร้อยละ 7.53 เห็นว่าเกิดจากความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับคนมลายูมุสลิม
นอกจากนั้นแล้วก็เป็นปัจจัยด้านอื่นๆ ปลีกย่อย จุดสำคัญในที่นี้ก็คือ ข้อมูลได้สะท้อน “ความรู้สึก” ลึกๆ ของประชาชนส่วนมากในปัญหาความยุติธรรมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาความยุติธรรมดังกล่าวถ้านำมารวมกันในทุกด้านก็จะยิ่งทำให้ความคิดในเรื่องความเป็นธรรมโดดเด่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปัญหาความยุติธรรมที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนา ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อมุสลิม ปัญหาความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนและปัญหาความไม่เป็นธรรมต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้ารวมทุกหัวข้อเข้าด้วยกันก็จะทำให้ประเด็นในเรื่องความยุติธรรมมีน้ำหนักสูงมากที่สุดถึงร้อยละ 45.54 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่รู้สึกว่าปัญหาความยุติธรรมในทุกๆ ด้านนั้นมีนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก
อารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะสะท้อนให้เห็นอีกด้านจากคำถามที่ว่าท่านมีความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทยอย่างไร? กลุ่มผู้ตอบรวมกันร้อยละ 61.4 บอกว่าไม่เชื่อมั่นหรือ เชื่อมั่นน้อยหรือเชื่อมั่นน้อยที่สุดต่อกระบวนการยุติธรรมซึ่งนับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ความรู้สึกเช่นนี้ยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อประชาชนถูกถามว่าหากท่านร้องทุกข์แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้วคิดว่าจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่? ผู้ตอบรวมกันร้อยละ 64.4 บอกว่าไม่เชื่อมั่นหรือ เชื่อมั่นน้อยหรือเชื่อมั่นน้อยที่สุดว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่
จากคำถามที่ว่ายุทธศาสตร์และโครงการพัฒนาฟื้นฟูจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบประสบความสำเร็จหรือไม่? ผู้ตอบส่วนใหญ่มากถึงประมาณร้อยละ 75 บอกว่าได้ผลน้อยและน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่างานการเมืองของรัฐในการแก้ปัญหาโดยผ่านการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเดียวยังไม่สามารถจะซื้อใจประชาชนส่วนใหญ่ได้ ผู้ตอบส่วนใหญ่ยังมองว่าสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ไม่บรรลุผลก็เป็นเพราะสาเหตุสำคัญคือ การคอร์รัปชัน ร้อยละ 29.5 ความไม่โปร่งใส ร้อยละ 25.5 และปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ร้อยละ 21.1
ข้อมูลจากการสำรวจชุดเดียวกันของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ก็สะท้อนว่า เสียงเรียกร้องของประชาชนในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชนที่สำคัญที่สุดก็คือปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 76) ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 63.7) ปัญหาความยากจน (ร้อยละ 44.7) ข้อมูลนี้ยังแสดงให้เห็นความต้องการของประชาชนต่อการที่จะให้หน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างที่พวกเขากำลังเผชิญหน้าอยู่อย่างจริงจังมากขึ้นโดยรัฐจะต้องดำเนินการอย่างไม่มีอคติ มีความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
เราจะพบว่าถ้ามองในแง่ของทัศนคติในส่วนของภาคประชาชนต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่มีข้อเสนอใดที่เสนอให้มีการใช้ความรุนแรงหรือวิธีการทุ่มเทสรรพกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ลงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ตรงกันข้ามมีแต่ความต้องการ การแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างและปัญหาพื้นฐานคือปัญหาความอดอยากยากจน ต้องการกระบวนการยุติธรรมที่ยุติธรรมเท่าเทียม ซึ่งก็คือความต้องการของสังคมไทยโดยรวม เพราะเขาไม่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เสมือน “ดับไฟด้วยน้ำมัน” นั้นไม่ใช่หนทางในการแก้ไขปัญหา