เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย โดยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องที่ดิน โดยประเด็นหลักๆ ก็คือ การมีมาตรการที่จะกระจายที่ดินให้เกษตรกรสามารถมีที่ดินเป็นของตัวเองได้ ข้อเสนออย่างหนึ่งก็คือ การกำหนดให้มีการจำกัดเพดานการถือครองไว้ไม่ให้เกิน 50 ไร่
ที่จริงการจำกัดการถือครองที่ดินนี้เคยมีมาครั้งหนึ่งแล้วในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่มายกเลิกไปสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การมีมาตรการเช่นนี้ต้องมีการเก็บภาษีผู้ถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ไว้ด้วย กล่าวคือ ไม่เป็นการบังคับซื้อ ใครอยากมีที่เกิน 50 ไร่ก็ได้ แต่ต้องเสียภาษีมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้คาดว่าจะทำให้คนไม่ต้องการเก็บที่ดินไว้มากๆ เพราะไม่คุ้มค่า
เมื่อข้อเสนอนี้ออกสู่สาธารณชน ก็มีเสียงวิจารณ์ในเชิงไม่เห็นด้วยตามมา บ้างก็ว่าจำนวนการถือครองนั้นไม่สำคัญเท่ากับราคา ที่ในกรุงเทพฯ ไร่ละหลายล้าน บางคนมีเพียงไร่เดียวก็มีมูลค่าสูง ส่วนในต่างจังหวัดไร่ละหมื่นบาทเท่านั้น
จากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน พบว่านักการเมืองมีที่ดินเกิน 50 ไร่หลายคน บางคนก็มีเป็นร้อยเป็นพันไร่ก็มี ความมุ่งหมายของคณะกรรมการปฏิรูปอยู่ที่การกระจายที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวกับราคาที่ดินแต่อย่างใด ผู้คัดค้านบอกว่าทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมจึงทำไม่ได้ การมีที่ดินจำนวนมากๆ มักมีไว้เพื่อเก็งกำไร ไปๆ มาๆ ที่ดินก็ไม่ใช่ปัจจัยการผลิต แต่กลายเป็นสินค้าที่มีการเก็งกำไร คนจำนวนมากก็ยังไม่มีที่ดินทำกินอยู่
ที่จริงปัญหาที่ดินเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆ เช่น หนี้สิน ต้นทุนการผลิตทางการเกษตร (ค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น) ดังนั้นการแก้ปัญหานี้คงต้องทำหลายๆ จุด แต่การมีที่ดินจัดว่าเป็นจุดสำคัญที่จะบรรเทาปัญหาอื่นๆ ให้เบาบางลง มีคนพูดว่า หากให้ที่ดินเกษตรกรไป อีกหน่อยก็เอาไปขายเหมือนกับที่ สปก. แต่ข้อเสนอนี้ยังมีเงื่อนไขผูกไว้ว่า ผู้ที่มีที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรรให้ไป จะต้องเป็นผู้ทำการเกษตรด้วยตนเอง
ผมไม่ได้หวังว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอนี้ไปปฏิบัติ เพราะคงจะมีนักการเมืองคัดค้านมากมาย เพราะต่างเป็นเจ้าที่ดินรายใหญ่ แต่เป็นการจุดประกายเปิดประเด็นให้นักการเมือง และสาธารณชนได้รับรู้ถึงปัญหาพื้นฐานของสังคมไทยที่เรื้อรังมานาน และต้องการการแก้ไข เพราะทุกวันนี้ ก็ยังมีผู้ถูกจับกุมเพราะบุกรุกที่มากมาย
ผมมีข้อสังเกตว่าปัญหาหลายอย่างในสังคมไทย เป็นปัญหาที่นักการเมืองไม่ต้องการแก้ไข เพราะไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกเขา และก็ไม่ได้ประโยชน์ด้วย ดังนั้นเวลานี้ สังคมไทยจึงมี “การเมือง” สองประเภทคือ “การเมืองของนักการเมือง” กับ “การเมืองของประชาชน”
การเมืองของนักการเมืองมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การแย่งชิงงบประมาณ การใช้ตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์หรือปกป้องผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ส่วนการเมืองของประชาชนนั้น ปรากฏให้เห็นจากการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ที่ส่วนมากเป็นคนยากจน ด้อยโอกาส การเมืองของประชาชนนี้ มีองค์กรอาสาสมัครเอกชนคอยทำหน้าที่แทน และกว่าจะต่อสู้จนสำเร็จก็แสนจะยากลำบาก ยังไม่ปรากฏว่า นักการเมืองตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
การเมืองสองประเภทนี้สวนทางกัน ยากที่จะมาบรรจบพบกัน ฝ่ายองค์กรเอกชน และประชาชนก็รวมตัวกันเป็นเครือข่าย แต่นักการเมืองยึดกุมระบบ และกระบวนการทางการเมืองที่เป็นทางการเอาไว้ ฝ่ายประชาชนต้องดำเนินการตามเกมที่เป็นทางการของนักการเมือง จะเห็นได้ว่า องค์กรเอกชน และประชาชนกับพรรคการเมืองไม่ได้ทำงานอย่างประสานสัมพันธ์กัน
หากรัฐบาลจะทำการปฏิรูปประเทศ ก็สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แต่ที่ตั้งขึ้นมาก็เพราะเป็นเครื่องมือในการหยุดยั้งความรุนแรง อย่างน้อยก็เป็นการชะลอความรุนแรงเอาไว้
ผมสังเกตว่า คณะกรรมการที่คุณหมอประเวศ และคุณอานันท์เป็นประธาน มีลักษณะเป็นตัวแทนของการเมืองภาคประชาชนมากกว่าจะเป็นตัวแทนของรัฐบาล หากรัฐบาลมีความจริงใจก็สามารถรับข้อเสนอที่คณะกรรมการนี้ประมวลมาจากกลุ่มต่างๆ ได้ เป็นข้อมูลและความเห็นที่เป็นประโยชน์ เพราะมีการลงพื้นที่หาข้อเท็จจริง และขอความเห็นจากประชาชนผู้เดือดร้อนโดยตรง
ผมคิดว่าโอกาสที่รัฐบาลจะดำเนินการปฏิรูป น่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่สังคมไทยจะใช้ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี และจะต้องรีบทำอย่างจริงจังให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แสดงแค่เจตนารมณ์เท่านั้น การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการกระจายอำนาจ ลดความเข้มข้นของอำนาจที่ศูนย์กลางเป็นเงื่อนไขสำคัญของการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย
ที่จริงการจำกัดการถือครองที่ดินนี้เคยมีมาครั้งหนึ่งแล้วในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่มายกเลิกไปสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การมีมาตรการเช่นนี้ต้องมีการเก็บภาษีผู้ถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ไว้ด้วย กล่าวคือ ไม่เป็นการบังคับซื้อ ใครอยากมีที่เกิน 50 ไร่ก็ได้ แต่ต้องเสียภาษีมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้คาดว่าจะทำให้คนไม่ต้องการเก็บที่ดินไว้มากๆ เพราะไม่คุ้มค่า
เมื่อข้อเสนอนี้ออกสู่สาธารณชน ก็มีเสียงวิจารณ์ในเชิงไม่เห็นด้วยตามมา บ้างก็ว่าจำนวนการถือครองนั้นไม่สำคัญเท่ากับราคา ที่ในกรุงเทพฯ ไร่ละหลายล้าน บางคนมีเพียงไร่เดียวก็มีมูลค่าสูง ส่วนในต่างจังหวัดไร่ละหมื่นบาทเท่านั้น
จากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน พบว่านักการเมืองมีที่ดินเกิน 50 ไร่หลายคน บางคนก็มีเป็นร้อยเป็นพันไร่ก็มี ความมุ่งหมายของคณะกรรมการปฏิรูปอยู่ที่การกระจายที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวกับราคาที่ดินแต่อย่างใด ผู้คัดค้านบอกว่าทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมจึงทำไม่ได้ การมีที่ดินจำนวนมากๆ มักมีไว้เพื่อเก็งกำไร ไปๆ มาๆ ที่ดินก็ไม่ใช่ปัจจัยการผลิต แต่กลายเป็นสินค้าที่มีการเก็งกำไร คนจำนวนมากก็ยังไม่มีที่ดินทำกินอยู่
ที่จริงปัญหาที่ดินเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆ เช่น หนี้สิน ต้นทุนการผลิตทางการเกษตร (ค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น) ดังนั้นการแก้ปัญหานี้คงต้องทำหลายๆ จุด แต่การมีที่ดินจัดว่าเป็นจุดสำคัญที่จะบรรเทาปัญหาอื่นๆ ให้เบาบางลง มีคนพูดว่า หากให้ที่ดินเกษตรกรไป อีกหน่อยก็เอาไปขายเหมือนกับที่ สปก. แต่ข้อเสนอนี้ยังมีเงื่อนไขผูกไว้ว่า ผู้ที่มีที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรรให้ไป จะต้องเป็นผู้ทำการเกษตรด้วยตนเอง
ผมไม่ได้หวังว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอนี้ไปปฏิบัติ เพราะคงจะมีนักการเมืองคัดค้านมากมาย เพราะต่างเป็นเจ้าที่ดินรายใหญ่ แต่เป็นการจุดประกายเปิดประเด็นให้นักการเมือง และสาธารณชนได้รับรู้ถึงปัญหาพื้นฐานของสังคมไทยที่เรื้อรังมานาน และต้องการการแก้ไข เพราะทุกวันนี้ ก็ยังมีผู้ถูกจับกุมเพราะบุกรุกที่มากมาย
ผมมีข้อสังเกตว่าปัญหาหลายอย่างในสังคมไทย เป็นปัญหาที่นักการเมืองไม่ต้องการแก้ไข เพราะไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกเขา และก็ไม่ได้ประโยชน์ด้วย ดังนั้นเวลานี้ สังคมไทยจึงมี “การเมือง” สองประเภทคือ “การเมืองของนักการเมือง” กับ “การเมืองของประชาชน”
การเมืองของนักการเมืองมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การแย่งชิงงบประมาณ การใช้ตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์หรือปกป้องผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ส่วนการเมืองของประชาชนนั้น ปรากฏให้เห็นจากการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ที่ส่วนมากเป็นคนยากจน ด้อยโอกาส การเมืองของประชาชนนี้ มีองค์กรอาสาสมัครเอกชนคอยทำหน้าที่แทน และกว่าจะต่อสู้จนสำเร็จก็แสนจะยากลำบาก ยังไม่ปรากฏว่า นักการเมืองตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
การเมืองสองประเภทนี้สวนทางกัน ยากที่จะมาบรรจบพบกัน ฝ่ายองค์กรเอกชน และประชาชนก็รวมตัวกันเป็นเครือข่าย แต่นักการเมืองยึดกุมระบบ และกระบวนการทางการเมืองที่เป็นทางการเอาไว้ ฝ่ายประชาชนต้องดำเนินการตามเกมที่เป็นทางการของนักการเมือง จะเห็นได้ว่า องค์กรเอกชน และประชาชนกับพรรคการเมืองไม่ได้ทำงานอย่างประสานสัมพันธ์กัน
หากรัฐบาลจะทำการปฏิรูปประเทศ ก็สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แต่ที่ตั้งขึ้นมาก็เพราะเป็นเครื่องมือในการหยุดยั้งความรุนแรง อย่างน้อยก็เป็นการชะลอความรุนแรงเอาไว้
ผมสังเกตว่า คณะกรรมการที่คุณหมอประเวศ และคุณอานันท์เป็นประธาน มีลักษณะเป็นตัวแทนของการเมืองภาคประชาชนมากกว่าจะเป็นตัวแทนของรัฐบาล หากรัฐบาลมีความจริงใจก็สามารถรับข้อเสนอที่คณะกรรมการนี้ประมวลมาจากกลุ่มต่างๆ ได้ เป็นข้อมูลและความเห็นที่เป็นประโยชน์ เพราะมีการลงพื้นที่หาข้อเท็จจริง และขอความเห็นจากประชาชนผู้เดือดร้อนโดยตรง
ผมคิดว่าโอกาสที่รัฐบาลจะดำเนินการปฏิรูป น่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่สังคมไทยจะใช้ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี และจะต้องรีบทำอย่างจริงจังให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แสดงแค่เจตนารมณ์เท่านั้น การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการกระจายอำนาจ ลดความเข้มข้นของอำนาจที่ศูนย์กลางเป็นเงื่อนไขสำคัญของการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย