การปฏิรูปประเทศไทยมีเป้าหมายในการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน อำนาจรัฐเกิดจากภารกิจของรัฐซึ่งมีกฎหมายรองรับ ยิ่งรัฐขยายภารกิจมากขึ้นเท่าใด อำนาจรัฐก็จะขยายออกไปจนครอบคลุมทุกส่วนของสังคมมากเท่านั้น ยิ่งมีการคมนาคม และการสื่อสารทันสมัยขึ้น การควบคุมก็ยิ่งมีประสิทธิภาพ ต่างจากสมัยก่อนที่รัฐมีอำนาจแต่ในเพียงทฤษฎี แต่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลต่างปลอดจากอำนาจรัฐ เพราะระยะทางที่ห่างไกลและการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีสั่งให้ทุกหน่วยราชการเสนอแผนยุทธศาสตร์ในการปรับองค์การ ทั้งนี้เพราะหน่วยงานหลายหน่วยได้เสนอขอขยายหน่วยจากกองเป็นสำนัก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจึงเสนอให้มีการทบทวนภารกิจภาครัฐทั้งหมด ซึ่งเป็นมาตรการในทางรุก แทนที่จะรอให้แต่ละหน่วยเสนอเรื่องมาพิจารณาทำให้ไม่เห็นภาพรวม
แม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปมากในระยะ 40 ปีที่ผ่านมานี้ โดยภาคเอกชนขยายตัวมากขึ้น คนทั่วไปนิยมทำงานภาคเอกชนมากกว่าที่จะรับราชการ ภาคประชาสังคมมีองค์กรอาสาสมัครเอกชนมากมายในทุกกิจการ ประชาชนเองก็มีการรวมกลุ่มกันโดยจัดตั้งเป็นเครือข่าย และเกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นหลายรูปแบบ แต่หน่วยราชการก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง
ในการพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงองค์กร คำถามที่ไม่เคยหยิบยกขึ้นมาเลยก็คือ รัฐต้องทำ ควรทำอะไร และไม่จำเป็นต้องทำ หรือไม่ควรทำอะไร มีเรื่องใดที่รัฐทำอยู่ที่ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรประชาชนก็ทำได้ และทำได้ดีพอๆ กัน มีเรื่องใดบ้างที่ภาครัฐสามารถโอนถ่ายภารกิจไปให้ท้องถิ่นทำ จำเป็นหรือไม่ที่ส่วนกลางจะต้องมีตัวแทนลงไปทำงานในระดับจังหวัด ควรให้จังหวัดทำงานเหล่านั้นเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของจังหวัดได้หรือไม่ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น จำนวนข้าราชการ งบประมาณ และการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน การไม่ประสานงานกันระหว่างส่วนราชการหลายหน่วยที่ต้องทำภารกิจร่วมกัน
การทบทวนภารกิจภาครัฐ จึงเป็นวิธีการปฏิรูปทางโครงสร้างที่สำคัญ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศควรมีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ และทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจัง
หลักเกณฑ์ของการพิจารณาว่า เรื่องใดเป็นภารกิจที่รัฐต้องทำไม่ทำไม่ได้ คือ ภารกิจในการป้องกันประเทศ และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา คนทั่วไปจะทำแทนไม่ได้ นอกนั้นก็มีเรื่องการเก็บภาษี ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และลดกำลังคนลงได้
เมื่อพิจารณาเรื่องที่รัฐต้องทำแล้ว ก็มีอีกเรื่องหนึ่งคือ การให้สวัสดิการที่หวังให้ภาคเอกชนทำไม่ได้ แต่ภาคเอกชนเองก็สามารถร่วมรับภาระนี้ได้จากการมีประกันสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงาน
ในการพิจารณาขั้นต่อไป ควรดูว่าเวลานี้มีองค์กร และบุคลากรรองรับงานที่จะโอนถ่ายจากภาครัฐได้หรือไม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นจึงควรมีการพิจารณาอย่างจริงจังว่า มีงานใดบ้างที่มอบให้ท้องถิ่นทำได้ แม้แต่การส่งเสริมเกษตรกรรม และการชลประทานขนาดเล็ก
สำหรับภาคเอกชนนั้น มีองค์การวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐาน และคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพหลายแห่ง เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการท่องเที่ยวได้เสนอขยายหน่วยงานโดยอ้างว่าต้องดูแลมาตรฐานของโรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีสมาคมโรงแรมคอยดูแลอยู่แล้ว ส่วนงานด้านมาตรฐานนั้น ปรากฏว่ามีหน่วยงานถึง 46 หน่วยงานทำหน้าที่นี้อยู่
มีคำถามว่า กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาทอย่างไรในการส่งเสริมการศึกษา กระทรวงต้องทำเองหรือทำหน้าที่ส่งเสริม และควบคุมคุณภาพมาตรฐานทางการศึกษา จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีกรมมากมายอยู่ที่ส่วนกลาง ทำอย่างไรจึงจะกระจายอำนาจ ปล่อยให้โรงเรียนจัดการเอง และมีคณะกรรมการโรงเรียนคอยกำกับดูแล หากจะยุบกรมในกระทรวงศึกษาธิการที่อยู่ส่วนกลางให้หมด เหลือแต่ส่วนที่ดูแลคุณภาพมาตรฐาน จะได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวคงเป็นไปได้ยาก เพราะมีคนจำนวนมาก ขั้นแรกก็คือ ต้องโอนคนเหล่านี้ไปอยู่ที่โรงเรียนให้หมดเสียก่อน
วิธีการที่บางประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ใช้คือ การตัดงบประมาณทั้งหมด เราควรตัดงบประมาณทีละน้อย เช่น ปีละ 10% หรือ 20% ในระยะ 5-10 ปี ก็จะเหลือคนน้อยลง หน่วยงานก็เล็กลง
การทบทวนภารกิจภาครัฐเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดต่อไป แต่ก็เป็นการปฏิรูปที่มีความสำคัญยิ่ง
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีสั่งให้ทุกหน่วยราชการเสนอแผนยุทธศาสตร์ในการปรับองค์การ ทั้งนี้เพราะหน่วยงานหลายหน่วยได้เสนอขอขยายหน่วยจากกองเป็นสำนัก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจึงเสนอให้มีการทบทวนภารกิจภาครัฐทั้งหมด ซึ่งเป็นมาตรการในทางรุก แทนที่จะรอให้แต่ละหน่วยเสนอเรื่องมาพิจารณาทำให้ไม่เห็นภาพรวม
แม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปมากในระยะ 40 ปีที่ผ่านมานี้ โดยภาคเอกชนขยายตัวมากขึ้น คนทั่วไปนิยมทำงานภาคเอกชนมากกว่าที่จะรับราชการ ภาคประชาสังคมมีองค์กรอาสาสมัครเอกชนมากมายในทุกกิจการ ประชาชนเองก็มีการรวมกลุ่มกันโดยจัดตั้งเป็นเครือข่าย และเกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นหลายรูปแบบ แต่หน่วยราชการก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง
ในการพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงองค์กร คำถามที่ไม่เคยหยิบยกขึ้นมาเลยก็คือ รัฐต้องทำ ควรทำอะไร และไม่จำเป็นต้องทำ หรือไม่ควรทำอะไร มีเรื่องใดที่รัฐทำอยู่ที่ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรประชาชนก็ทำได้ และทำได้ดีพอๆ กัน มีเรื่องใดบ้างที่ภาครัฐสามารถโอนถ่ายภารกิจไปให้ท้องถิ่นทำ จำเป็นหรือไม่ที่ส่วนกลางจะต้องมีตัวแทนลงไปทำงานในระดับจังหวัด ควรให้จังหวัดทำงานเหล่านั้นเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของจังหวัดได้หรือไม่ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น จำนวนข้าราชการ งบประมาณ และการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน การไม่ประสานงานกันระหว่างส่วนราชการหลายหน่วยที่ต้องทำภารกิจร่วมกัน
การทบทวนภารกิจภาครัฐ จึงเป็นวิธีการปฏิรูปทางโครงสร้างที่สำคัญ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศควรมีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ และทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจัง
หลักเกณฑ์ของการพิจารณาว่า เรื่องใดเป็นภารกิจที่รัฐต้องทำไม่ทำไม่ได้ คือ ภารกิจในการป้องกันประเทศ และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา คนทั่วไปจะทำแทนไม่ได้ นอกนั้นก็มีเรื่องการเก็บภาษี ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และลดกำลังคนลงได้
เมื่อพิจารณาเรื่องที่รัฐต้องทำแล้ว ก็มีอีกเรื่องหนึ่งคือ การให้สวัสดิการที่หวังให้ภาคเอกชนทำไม่ได้ แต่ภาคเอกชนเองก็สามารถร่วมรับภาระนี้ได้จากการมีประกันสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงาน
ในการพิจารณาขั้นต่อไป ควรดูว่าเวลานี้มีองค์กร และบุคลากรรองรับงานที่จะโอนถ่ายจากภาครัฐได้หรือไม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นจึงควรมีการพิจารณาอย่างจริงจังว่า มีงานใดบ้างที่มอบให้ท้องถิ่นทำได้ แม้แต่การส่งเสริมเกษตรกรรม และการชลประทานขนาดเล็ก
สำหรับภาคเอกชนนั้น มีองค์การวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐาน และคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพหลายแห่ง เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการท่องเที่ยวได้เสนอขยายหน่วยงานโดยอ้างว่าต้องดูแลมาตรฐานของโรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีสมาคมโรงแรมคอยดูแลอยู่แล้ว ส่วนงานด้านมาตรฐานนั้น ปรากฏว่ามีหน่วยงานถึง 46 หน่วยงานทำหน้าที่นี้อยู่
มีคำถามว่า กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาทอย่างไรในการส่งเสริมการศึกษา กระทรวงต้องทำเองหรือทำหน้าที่ส่งเสริม และควบคุมคุณภาพมาตรฐานทางการศึกษา จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีกรมมากมายอยู่ที่ส่วนกลาง ทำอย่างไรจึงจะกระจายอำนาจ ปล่อยให้โรงเรียนจัดการเอง และมีคณะกรรมการโรงเรียนคอยกำกับดูแล หากจะยุบกรมในกระทรวงศึกษาธิการที่อยู่ส่วนกลางให้หมด เหลือแต่ส่วนที่ดูแลคุณภาพมาตรฐาน จะได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวคงเป็นไปได้ยาก เพราะมีคนจำนวนมาก ขั้นแรกก็คือ ต้องโอนคนเหล่านี้ไปอยู่ที่โรงเรียนให้หมดเสียก่อน
วิธีการที่บางประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ใช้คือ การตัดงบประมาณทั้งหมด เราควรตัดงบประมาณทีละน้อย เช่น ปีละ 10% หรือ 20% ในระยะ 5-10 ปี ก็จะเหลือคนน้อยลง หน่วยงานก็เล็กลง
การทบทวนภารกิจภาครัฐเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดต่อไป แต่ก็เป็นการปฏิรูปที่มีความสำคัญยิ่ง