ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศใช้กฎหมายพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หมวด 2 ในพื้นที่ 7 เขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม. ) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ( มติชน 9 ก.พ.54 ) แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจรัฐบาลเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพราะหวั่นเกรงเหตุความไม่สงบจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการชุมนุมของผู้ชุมนุมอยู่ 2 กลุ่ม แต่การที่ฝ่ายบริหารบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวกับประชาชน รัฐบาลจะต้องรู้ต้นเหตุของการบังคับใช้กฎหมายว่า มีเหตุที่จะก่อให้เกิดอำนาจในการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เพราะถ้าไม่รู้ต้นเหตุของการชุมนุมแต่มีการใช้บังคับกฎหมาย กรณีก็จะกลายเป็นการใช้อำนาจเผด็จการโดยอาศัยกระบวนการยุติธรรม และศาลเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจเผด็จการดังกล่าวได้
1. เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเพื่อที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยอ้างเหตุที่จะมีผู้ชุมนุม 2 กลุ่มมาชุมนุม ในขณะที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพธม. กลุ่มแนวร่วมทวงคืนแผ่นดิน กลุ่มทวงคืนปราสาทพระวิหาร กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติฯลฯกำลังชุมนุมอยู่ แต่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ยังไม่ออกมาชุมนุม ก็ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดเขตพื้นที่บริเวณสถานที่และถนนที่ใช้ชุมนุมกันอยู่ ถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงไม่ให้ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเป็นเส้นทางจราจร การประกาศดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการเรียกถนนหรือเส้นทางจราจรคืนจากผู้ชุมนุม กำหนดเส้นทางจราจรไม่ให้ประชาชนที่จะเข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนโดยทั่วไปไม่ให้ใช้เส้นทางดังกล่าว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจะใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯนั้น เป็นวิธีการที่จะสลายการชุมนุมของผู้ชุมนุม โดยใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมได้นั่นเอง เพราะขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดเขตห้ามการชุมนุมนั้น ยังไม่มีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ออกมาชุมนุมแต่อย่างใด
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กลุ่มแนวร่วมทวงแผ่นดิน กลุ่มทวงคืนปราสาทพระวิหาร กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ฯลฯ ได้มีการประกาศและการกระทำโดยชัดแจ้งถึงการชุมนุม ว่าเป็นการชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยในดินแดนของประเทศ ซึ่งกำลังจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยในดินแดนบริเวณรอบปราสาทพระวิหารจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติไปโดยการเข้ายึดครองของกองกำลังทหาร พลเมืองของชนชาวกัมพูชา โดยการเข้ามาอยู่อาศัยสร้างวัดวาอารามในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวแล้ว และมีการนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยฝ่ายกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว โดยผู้ชุมนุมได้ร้องขอให้รัฐบาลควรดำเนินการ 3 ประการคือ ( 1. ) ยกเลิก MOU 2543 ( 2. ) ลาออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก เพื่อไม่ให้ประเทศมหาอำนาจและกัมพูชาเข้ามายึดครองเขตดินแดนของไทยทางอ้อม ตามอนุสัญญาว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติด้วยการอนุญาตให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถผนวกเอาผืนแผ่นดินไทยเข้าไปเป็นมรดกโลกที่กัมพูชาเป็นเจ้าของทะเบียนมรดกโลกได้ และไทยซึ่งเป็นเจ้าของผืนแผ่นดิน หรือเป็นเจ้าของแห่งอำนาจอธิปไตยในดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร จะกลายเป็นเพียงผู้มีส่วนเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการในพื้นที่ดินดังกล่าวได้เท่านั้น แต่ผืนแผ่นดินซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยดังกล่าวจะกลายเป็นของกัมพูชาโดยทางทะเบียนของอนุสัญญามรดกโลก การบังคับให้คณะกรรมการมรดกโลกแก้ไขทางทะเบียนเพื่อให้ไทยร่วมจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยยังคงเป็นเจ้าของในผืนแผ่นดินของไทยที่ได้นำไปร่วมจดทะเบียนมรดกโลกด้วยนั้น จึงไม่มีหนทางที่จะเป็นไปได้เลย ผู้ชุมนุมจึงได้ขอให้รัฐบาลลาออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก เพื่อไม่ให้รัฐไทยต้องถูกบังคับให้ต้องเสียดินแดนโดยทางทะเบียนของสนธิสัญญาทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ หรือมรดกโลกดังกล่าว (3.) ผู้ชุมนุมขอให้ผลักดันทหารกัมพูชา พลเมืองชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารดังกล่าวออกจากดินแดนของไทย และให้ทำการตกลงกับกัมพูชาเสียใหม่ เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลไทย
และ ( 4. ) ในการชุมนุมก็ยังได้แสดงเจตนาของผู้ชุมนุมที่จะกดดันให้รัฐบาลช่วยเหลือ 2 คนไทยที่ถูกกัมพูชาใช้กองกำลังทหารเข้าจับกุมในบริเวณเขตแดนที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นดินแดนของฝ่ายใด แต่กัมพูชาได้นำไปขึ้นศาลกัมพูชา และมีคำพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 8 ปีและ 6 ปี
อันเป็นการชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลได้รักษาไว้ซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนที่รัฐไทยจะต้องมีต่อพลเมืองในชาติของตน
การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นการชุมนุมต่อต้านและกดดันรัฐบาล ให้รัฐบาลใช้อำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามที่ควรกระทำในการรักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐไทย อันเป็นการชุมนุมตามหน้าที่พลเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 70 และ 71 และเรียกร้องให้รัฐบาลทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 การชุมนุมดังกล่าวจึงอยู่ในเงื่อนไขตามสิทธิที่จะชุมนุมได้ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63
การชุมนุมของผู้ชุมนุมมิใช่เป็นการชุมนุมเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองของรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นการเรียกร้องและมีข้อเสนอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลของการปกป้องแผ่นดิน และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐไทย การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงอยู่ในเงื่อนไขของบริบทตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ( พระบรมราชโองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ) ที่ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำการดังกล่าว และหากรัฐบาลเพิกเฉยก็ขอให้รัฐบาลได้ลาออกไปนั้น เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั่นเอง
ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงฯ จึงเป็นการมีมติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
2. การออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ฉบับ โดยนำบทบัญญัติในหมวด 2 ของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯมาใช้บังคับ เพราะเห็นว่ามีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น จึงขึ้นอยู่กับเจตนาและการกระทำการใช้บังคับกฎหมายว่า ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นการใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้งเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นเพราะจะมีการชุมนุมของแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ในบริเวณนั้น และจะเกิดเหตุรุนแรงปะทะกันเกิดขึ้น อันจะทำให้เกิดอำนาจในการประกาศเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ แต่ปรากฏ ( จากข่าวสื่อสาธารณะ) ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นการประกาศเพื่อขอพื้นที่การจราจรซึ่งผู้ชุมนุมได้ใช้ในการชุมนุมคืน จึงเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพียงเพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปใช้ถนนได้ตามปกติเท่านั้น ซึ่งการขอพื้นที่จราจรคืนจากผู้ชุมนุมก็จะขัดกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสองฉบับดังกล่าว เพราะประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเข้า - ออกในถนนสายต่างๆจำนวนหลายสาย รวมทั้งถนนที่ผู้ชุมนุมใช้ในการชุมนุมอยู่ด้วย และห้ามใช้ทางคมนาคมหรือใช้ยานพาหนะในเส้นทางถนนพิชัยและถนนสายอื่นๆหลายสายอีกด้วย การประกาศห้ามเข้าและใช้ถนนต่างๆรวมทั้งถนนที่ผู้ชุมนุมใช้อยู่กับการอ้างขอพื้นที่จราจรคืนเพื่อให้ประชาชนใช้ทางจราจรดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันอยู่ในตัวเอง จึงเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ขัดต่อหลักเหตุผลอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้จะเรียกพื้นที่การจราจรคืนจากผู้ชุมนุม ประชาชนโดยทั่วไปก็ไม่อาจเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้สัญจรไปมาได้ เพราะขัดต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสองฉบับดังกล่าว
3. การใช้บังคับกฎหมาย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯในกรณีนี้เป็นการใช้บังคับกฎหมายโดยขัดต่อพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเองอีกด้วย อำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงนั้น มีอำนาจหน้าที่สำคัญคือ “ เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม” ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 7 (4) เมื่อผู้ชุมนุมมีเจตนาอย่างชัดเจนปรากฏต่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศ ในการที่จะรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพในดินแดนแห่งรัฐไทยให้พ้นจากการรุกรานของกัมพูชา โดยชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการใช้หลักเกณฑ์ตามที่ผู้ชุมนุมเข้าใจว่า จะรักษาไว้ซึ่งอาณาเขตของประเทศให้ปลอดภัยได้แล้ว การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นการชุมนุมตามพ.ร.บ.ความมั่นคงฯมาตรา 7 (4) ดังกล่าว และไม่ใช่เป็นการชุมนุมที่ขัดต่อพ.ร.บ.ความมั่นคงฯแต่อย่างใดเลย การที่ ศอ.รส. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะขัดขวางและสลายการชุมนุม และห้ามการชุมนุม การกระทำของ ศอ.รส. จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ มาตรา 7 (4) อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศอ.รส.ดังกล่าว
4. การชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมทุกกลุ่มมีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกัน เพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากมีกองกำลังทหาร ประชาชนของชาวกัมพูชาเข้ามายึดครองที่ดินในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นเขตแดนของรัฐไทย รัฐบาลก็เห็นว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของรัฐไทย แต่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของกัมพูชา การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นผลมาจากความขัดแย้งในเรื่องเขตแดนของประเทศ ซึ่งผู้ชุมนุมทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นผู้เสียหายทุกคน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผืนแผ่นดินและอำนาจอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทย การชุมนุมของผู้ชุมนุมได้มีข่าวออกไปทั่วโลก ในสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ชุมนุมถือได้ว่าเป็นองค์กรพลเมือง ( Civil organization หรือ Non government organization ) อันเป็นที่ยอมรับกันในประชาคมโลก และการที่องค์กรพลเมืองได้แสดงออกถึงการต่อสู้จากการรุกล้ำ การยึดครองของชนชาติอื่นที่ได้เข้ามาครอบครองผืนแผ่นดิน หรือใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนของตน โดยการส่งกำลังทหารและประชาชนเข้ามายึดครองแล้ว องค์กรพลเมืองย่อมมีสิทธิที่ป้องกันการรุกล้ำ การยึดครองอาณาเขตของตนได้ และในการป้องกันการรุกล้ำการยึดครองดังกล่าว องค์กรพลเมืองมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเองได้ ( Right of self - determination ) และสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิที่ได้รับรองตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ( Customary Rule of International Law ) และตามพิธีสารของอนุสัญญาเจนีวา การที่องค์กรหรือภาคพลเมืองตัดสินใจที่จะชุมนุมโดยสงบ โดยปราศจากอาวุธ โดยการนั่งชุมนุมบนถนนสาธารณะ และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการที่จะไม่ให้มีการรุกล้ำ ยึดครองดินแดนเขตประเทศแล้ว สิทธิในการชุมนุมบนถนนสาธารณะของผู้ชุมนุม จึงเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยหลักประชาธิปไตย ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ การใช้บังคับพ.ร.บ.ความมั่นคงฯมาใช้บังคับกับผู้ชุมนุม เพราะเพียงเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ถนนสาธารณะเพื่อการชุมนุม เพราะขัดขวางทางจราจรนั้น จึงเป็นการใช้บังคับกฎหมายโดยขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ตามกฎบัตรสหประชาชาติ และขัดต่อหลักประชาธิปไตย
ผู้เขียนไม่ประสงค์จะให้รัฐบาลใช้ดาบอาญาสิทธิโดยผิดลู่ผิดทางโดยดาบอาญาสิทธินั้น จะกลับมาสนองใช้กับรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศใช้กฎหมายพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หมวด 2 ในพื้นที่ 7 เขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม. ) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ( มติชน 9 ก.พ.54 ) แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจรัฐบาลเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพราะหวั่นเกรงเหตุความไม่สงบจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการชุมนุมของผู้ชุมนุมอยู่ 2 กลุ่ม แต่การที่ฝ่ายบริหารบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวกับประชาชน รัฐบาลจะต้องรู้ต้นเหตุของการบังคับใช้กฎหมายว่า มีเหตุที่จะก่อให้เกิดอำนาจในการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เพราะถ้าไม่รู้ต้นเหตุของการชุมนุมแต่มีการใช้บังคับกฎหมาย กรณีก็จะกลายเป็นการใช้อำนาจเผด็จการโดยอาศัยกระบวนการยุติธรรม และศาลเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจเผด็จการดังกล่าวได้
1. เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเพื่อที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยอ้างเหตุที่จะมีผู้ชุมนุม 2 กลุ่มมาชุมนุม ในขณะที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพธม. กลุ่มแนวร่วมทวงคืนแผ่นดิน กลุ่มทวงคืนปราสาทพระวิหาร กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติฯลฯกำลังชุมนุมอยู่ แต่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) ยังไม่ออกมาชุมนุม ก็ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดเขตพื้นที่บริเวณสถานที่และถนนที่ใช้ชุมนุมกันอยู่ ถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงไม่ให้ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเป็นเส้นทางจราจร การประกาศดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการเรียกถนนหรือเส้นทางจราจรคืนจากผู้ชุมนุม กำหนดเส้นทางจราจรไม่ให้ประชาชนที่จะเข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนโดยทั่วไปไม่ให้ใช้เส้นทางดังกล่าว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจะใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯนั้น เป็นวิธีการที่จะสลายการชุมนุมของผู้ชุมนุม โดยใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมได้นั่นเอง เพราะขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดเขตห้ามการชุมนุมนั้น ยังไม่มีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ออกมาชุมนุมแต่อย่างใด
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กลุ่มแนวร่วมทวงแผ่นดิน กลุ่มทวงคืนปราสาทพระวิหาร กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ฯลฯ ได้มีการประกาศและการกระทำโดยชัดแจ้งถึงการชุมนุม ว่าเป็นการชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยในดินแดนของประเทศ ซึ่งกำลังจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยในดินแดนบริเวณรอบปราสาทพระวิหารจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติไปโดยการเข้ายึดครองของกองกำลังทหาร พลเมืองของชนชาวกัมพูชา โดยการเข้ามาอยู่อาศัยสร้างวัดวาอารามในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวแล้ว และมีการนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยฝ่ายกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว โดยผู้ชุมนุมได้ร้องขอให้รัฐบาลควรดำเนินการ 3 ประการคือ ( 1. ) ยกเลิก MOU 2543 ( 2. ) ลาออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก เพื่อไม่ให้ประเทศมหาอำนาจและกัมพูชาเข้ามายึดครองเขตดินแดนของไทยทางอ้อม ตามอนุสัญญาว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติด้วยการอนุญาตให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถผนวกเอาผืนแผ่นดินไทยเข้าไปเป็นมรดกโลกที่กัมพูชาเป็นเจ้าของทะเบียนมรดกโลกได้ และไทยซึ่งเป็นเจ้าของผืนแผ่นดิน หรือเป็นเจ้าของแห่งอำนาจอธิปไตยในดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร จะกลายเป็นเพียงผู้มีส่วนเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการในพื้นที่ดินดังกล่าวได้เท่านั้น แต่ผืนแผ่นดินซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยดังกล่าวจะกลายเป็นของกัมพูชาโดยทางทะเบียนของอนุสัญญามรดกโลก การบังคับให้คณะกรรมการมรดกโลกแก้ไขทางทะเบียนเพื่อให้ไทยร่วมจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยยังคงเป็นเจ้าของในผืนแผ่นดินของไทยที่ได้นำไปร่วมจดทะเบียนมรดกโลกด้วยนั้น จึงไม่มีหนทางที่จะเป็นไปได้เลย ผู้ชุมนุมจึงได้ขอให้รัฐบาลลาออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก เพื่อไม่ให้รัฐไทยต้องถูกบังคับให้ต้องเสียดินแดนโดยทางทะเบียนของสนธิสัญญาทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ หรือมรดกโลกดังกล่าว (3.) ผู้ชุมนุมขอให้ผลักดันทหารกัมพูชา พลเมืองชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารดังกล่าวออกจากดินแดนของไทย และให้ทำการตกลงกับกัมพูชาเสียใหม่ เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลไทย
และ ( 4. ) ในการชุมนุมก็ยังได้แสดงเจตนาของผู้ชุมนุมที่จะกดดันให้รัฐบาลช่วยเหลือ 2 คนไทยที่ถูกกัมพูชาใช้กองกำลังทหารเข้าจับกุมในบริเวณเขตแดนที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นดินแดนของฝ่ายใด แต่กัมพูชาได้นำไปขึ้นศาลกัมพูชา และมีคำพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 8 ปีและ 6 ปี
อันเป็นการชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลได้รักษาไว้ซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนที่รัฐไทยจะต้องมีต่อพลเมืองในชาติของตน
การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นการชุมนุมต่อต้านและกดดันรัฐบาล ให้รัฐบาลใช้อำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามที่ควรกระทำในการรักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐไทย อันเป็นการชุมนุมตามหน้าที่พลเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 70 และ 71 และเรียกร้องให้รัฐบาลทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 การชุมนุมดังกล่าวจึงอยู่ในเงื่อนไขตามสิทธิที่จะชุมนุมได้ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63
การชุมนุมของผู้ชุมนุมมิใช่เป็นการชุมนุมเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองของรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นการเรียกร้องและมีข้อเสนอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลของการปกป้องแผ่นดิน และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐไทย การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงอยู่ในเงื่อนไขของบริบทตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ( พระบรมราชโองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ) ที่ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำการดังกล่าว และหากรัฐบาลเพิกเฉยก็ขอให้รัฐบาลได้ลาออกไปนั้น เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั่นเอง
ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงฯ จึงเป็นการมีมติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
2. การออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ฉบับ โดยนำบทบัญญัติในหมวด 2 ของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯมาใช้บังคับ เพราะเห็นว่ามีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น จึงขึ้นอยู่กับเจตนาและการกระทำการใช้บังคับกฎหมายว่า ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นการใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้งเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นเพราะจะมีการชุมนุมของแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ในบริเวณนั้น และจะเกิดเหตุรุนแรงปะทะกันเกิดขึ้น อันจะทำให้เกิดอำนาจในการประกาศเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ แต่ปรากฏ ( จากข่าวสื่อสาธารณะ) ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นการประกาศเพื่อขอพื้นที่การจราจรซึ่งผู้ชุมนุมได้ใช้ในการชุมนุมคืน จึงเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพียงเพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปใช้ถนนได้ตามปกติเท่านั้น ซึ่งการขอพื้นที่จราจรคืนจากผู้ชุมนุมก็จะขัดกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสองฉบับดังกล่าว เพราะประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเข้า - ออกในถนนสายต่างๆจำนวนหลายสาย รวมทั้งถนนที่ผู้ชุมนุมใช้ในการชุมนุมอยู่ด้วย และห้ามใช้ทางคมนาคมหรือใช้ยานพาหนะในเส้นทางถนนพิชัยและถนนสายอื่นๆหลายสายอีกด้วย การประกาศห้ามเข้าและใช้ถนนต่างๆรวมทั้งถนนที่ผู้ชุมนุมใช้อยู่กับการอ้างขอพื้นที่จราจรคืนเพื่อให้ประชาชนใช้ทางจราจรดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันอยู่ในตัวเอง จึงเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ขัดต่อหลักเหตุผลอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้จะเรียกพื้นที่การจราจรคืนจากผู้ชุมนุม ประชาชนโดยทั่วไปก็ไม่อาจเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อใช้สัญจรไปมาได้ เพราะขัดต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสองฉบับดังกล่าว
3. การใช้บังคับกฎหมาย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯในกรณีนี้เป็นการใช้บังคับกฎหมายโดยขัดต่อพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเองอีกด้วย อำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงนั้น มีอำนาจหน้าที่สำคัญคือ “ เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม” ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 7 (4) เมื่อผู้ชุมนุมมีเจตนาอย่างชัดเจนปรากฏต่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศ ในการที่จะรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพในดินแดนแห่งรัฐไทยให้พ้นจากการรุกรานของกัมพูชา โดยชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการใช้หลักเกณฑ์ตามที่ผู้ชุมนุมเข้าใจว่า จะรักษาไว้ซึ่งอาณาเขตของประเทศให้ปลอดภัยได้แล้ว การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นการชุมนุมตามพ.ร.บ.ความมั่นคงฯมาตรา 7 (4) ดังกล่าว และไม่ใช่เป็นการชุมนุมที่ขัดต่อพ.ร.บ.ความมั่นคงฯแต่อย่างใดเลย การที่ ศอ.รส. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะขัดขวางและสลายการชุมนุม และห้ามการชุมนุม การกระทำของ ศอ.รส. จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ มาตรา 7 (4) อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศอ.รส.ดังกล่าว
4. การชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมทุกกลุ่มมีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกัน เพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากมีกองกำลังทหาร ประชาชนของชาวกัมพูชาเข้ามายึดครองที่ดินในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นเขตแดนของรัฐไทย รัฐบาลก็เห็นว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของรัฐไทย แต่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของกัมพูชา การชุมนุมของผู้ชุมนุมจึงเป็นผลมาจากความขัดแย้งในเรื่องเขตแดนของประเทศ ซึ่งผู้ชุมนุมทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นผู้เสียหายทุกคน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผืนแผ่นดินและอำนาจอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทย การชุมนุมของผู้ชุมนุมได้มีข่าวออกไปทั่วโลก ในสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ชุมนุมถือได้ว่าเป็นองค์กรพลเมือง ( Civil organization หรือ Non government organization ) อันเป็นที่ยอมรับกันในประชาคมโลก และการที่องค์กรพลเมืองได้แสดงออกถึงการต่อสู้จากการรุกล้ำ การยึดครองของชนชาติอื่นที่ได้เข้ามาครอบครองผืนแผ่นดิน หรือใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนของตน โดยการส่งกำลังทหารและประชาชนเข้ามายึดครองแล้ว องค์กรพลเมืองย่อมมีสิทธิที่ป้องกันการรุกล้ำ การยึดครองอาณาเขตของตนได้ และในการป้องกันการรุกล้ำการยึดครองดังกล่าว องค์กรพลเมืองมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเองได้ ( Right of self - determination ) และสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิที่ได้รับรองตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ( Customary Rule of International Law ) และตามพิธีสารของอนุสัญญาเจนีวา การที่องค์กรหรือภาคพลเมืองตัดสินใจที่จะชุมนุมโดยสงบ โดยปราศจากอาวุธ โดยการนั่งชุมนุมบนถนนสาธารณะ และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการที่จะไม่ให้มีการรุกล้ำ ยึดครองดินแดนเขตประเทศแล้ว สิทธิในการชุมนุมบนถนนสาธารณะของผู้ชุมนุม จึงเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยหลักประชาธิปไตย ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ การใช้บังคับพ.ร.บ.ความมั่นคงฯมาใช้บังคับกับผู้ชุมนุม เพราะเพียงเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ถนนสาธารณะเพื่อการชุมนุม เพราะขัดขวางทางจราจรนั้น จึงเป็นการใช้บังคับกฎหมายโดยขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ตามกฎบัตรสหประชาชาติ และขัดต่อหลักประชาธิปไตย
ผู้เขียนไม่ประสงค์จะให้รัฐบาลใช้ดาบอาญาสิทธิโดยผิดลู่ผิดทางโดยดาบอาญาสิทธินั้น จะกลับมาสนองใช้กับรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง