การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อทำการลงคะแนน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ....(มาตรา 93-98) และร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ....(มาตรา 190) เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.15 น. วานนี้ (11 ก.พ.) โดย ก่อนเริ่มการลงคะแนน นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาได้ แจ้งต่อสมาชิกว่า นายอิทธิพล เหลืองบริบูรณ์ ส.ว.สรรหา ได้ยื่นหนังสือลาออก ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. ดังนั้นขณะนี้จึงมี ส.ว.ทั้งหมด 149 คน ผ
ทั้งนี้ นายประยุทธ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้ท้วงติงถึงญัตติที่เคยเสนอให้ตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับว่าไม่มีการระบุมาตราที่มีการแก้ไขไว้ในหลักการ ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับที่ 86 วรรคสาม โดยมี ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว.บางส่วนได้อภิปรายสนับสนุน โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ระบุว่าไม่ควรบีบให้สมาชิกยอมจำนน ยอมรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งที่รู้ว่าไม่ถูกต้องตามหลักการ
**ฝ่ายค้านป่วนก่อนวอล์กเอาต์
แต่ในที่ สุดนายชัย ได้ใช้ข้อบังคับการประชุมที่ 117 ขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขทั้ง 2 ฉบับขัดต่อหลักการหรือไม่ ปรากฏว่า สมาชิกจำนวน 302 เสียงต่อ 230 เสียง ไม่เห็นด้วยกับญัตติของนายประยุทธ โดยมีผู้งดออกเสียง 51 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
แต่นายสุรชัย ได้ท้วงติงว่า เสียงไม่เห็นด้วยกับญัตติไม่เกินกึ่งหนึ่ง ถือว่าไม่ผ่าน แต่นายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช ในฐานะประธานวิปรัฐบาล แย้งว่า ต้องยึดผลการลงคะแนนในญัตติของนายประยุทธเป็นหลัก เมื่อนายประยุทธได้ 230 เสียง ถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ทำให้นายชัย สรุปว่าญัตติของนายประยุทธ ตกไป
แต่นายสุรชัย ยังคงยืนยันว่าไม่ถูกต้อง หากยึดตามข้อบังคับที่ 117 จะต้องได้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตนอยากให้รัฐธรรมนูญผ่านไปสง่างาม อย่าผ่านไปอย่างทุลักทุเล และไม่อยากให้ถึงศาลรัฐธรรมนูญ จึงขอเสนอให้มีการนับใหม่
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีการอภิปรายแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง จนทำให้บรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนในที่สุดนายชัย ได้สั่งพักการประชุม 5 นาทีเพื่อหารือหาทางออก
ต่อมาที่ประชุมได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง นายชัย ได้กล่าวสรุปว่า ข้อหารือของนายประยุทธนั้นตกไปแล้ว จะไม่มีการวินิจฉัยอีก ส่วนกระบวนการที่เกิดขึ้นหากมีปัญหาก็สามารถเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป ซึ่งตนถือว่าไม่ขัดต่อหลักการกฏหมายตั้งแต่ต้น เพราะกระบวนการผ่านวาระ 2 มาแล้ว หากจะมีปัญหาอะไรตนขอรับผิดชอบเอง
ขณะที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคนได้พยายามทักท้วง และตำหนิการทำหน้าที่ของนายชัยที่ไม่ฟังสมาชิก และ ไม่สามารถรับผิดชอบคนเดียวได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่จำต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ยังคงยืนยันว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ถูกต้อง และเสนอทางออกให้นายชัย ตีความว่าขัดข้อบังคับ แต่ไม่มีผลกระทบต่อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ
ทำให้นายชัยอ่านข้อความบันทึกคำวินิจฉัยของนายประสพสุข ที่เคยวินิจฉัยชี้ขาดในช่วงพิจารณาวาระ 2 ว่าไม่ขัดต่อหลักกฏหมาย ซึ่งนายชัยระบุว่า ตนเชื่อผู้พิพากษา มากกว่าเชื่อนายทหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายประเด็นนี้ ยืดเยื้อร่วมชั่วโมง ต่อมานายชัยได้ตัดบทไม่ให้มีการอภิปรายต่อไป เพื่อดำเนินการให้สมาชิกลงมติในวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ขณะที่ฝ่ายค้านพากันแสดงความไม่พอใจ โดยนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายไม่เห็นด้วยที่ประธานไม่ทบทวนต่อญัตติของนายประยุทธ และการอ้างนำคำวินิจฉัยของนายประสพสุข มาชี้แจง จึงไม่ขอร่วมลงคะแนนในครั้งนี้ จากนั้นก็ได้นำสมาชิกพรรคเพื่อไทยเดินออกจากห้องประชุมไป
** ร่างแก้ไขรธน.ผ่านฉลุยทั้ง 2 ฉบับ
จากนั้นที่ประชุมได้ทำการลงคะแนนอย่างเปิดเผย โดยให้มีการขานชื่อสมาชิกเรียงตามอักษร ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ด้วยคะแนน 397 เสียง ต่อ 19 เสียง โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 10 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่ลงคะแนน
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขมาตรา 190 มีสาระสำคัญ คือ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก พ.ร.บ.เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว และให้มีการออกกฎหมายลูกภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
ต่อมาที่ประชุมรัฐสภาให้สมาชิกทำการลงคะแนนอย่างเปิดเผย ในวาระ 3 ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... (มาตรา 93-98 ) ที่กำหนดให้ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 375 คน และบัญชีรายชื่อ125 คน เพื่อประกาศบังคับใช้ โดยปรากฏว่าสมาชิกเห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจำนวน 347 เสียงต่อ 37 เสียง และ งดออกเสียง 42 เสียง
สำหรับสาระสำคัญของร่างแก้ไข มาตรา 93-98 ยังกำหนดให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ให้เล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่หากยังไม่สามารถดำเนินการได้ และต้องมีการเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไป ให้ กกต.ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งส.ส.ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อใช้บังคับการเลือกตั้งนั้น และให้ข้อกำหนดตามประกาศของกกต.ใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้
สำหรับขั้นต่อไป จะมีการนำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไข และได้รับความเห็นขอบจากรัฐสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 ต่อไป
** ฝ่ายค้านเดินเกมคว่ำร่างแก้ไขรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ก่อนที่ประธานรัฐสภา จะสั่งปิดประชุม เพียง 5 นาที พรรคเพื่อไทย นำโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ ได้นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน 177 คน พร้อมด้วยรายชื่อ ส.ว.อีก 1 คน คือนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ยื่นเรื่องต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ประธานรัฐสภา ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อทราบว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 86 วรรค 3 ไม่มีการระบุ เลขมาตรา ที่ต้องการแก้ไข หรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือในเหตุผล ส่งผลให้การแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ลงเลขรับที่ 2233/2554 ในเวลา 15.00 น.
จากนั้นนายสุรพงษ์ และคณะได้รีบนำสำเนาคำร้องไปให้นายชัย รับทราบ เพื่อให้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งแจ้งนายกฯ ทราบ แต่เมื่อนายชัย เดินมาพบคณะส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็ระบุว่า" ผมไม่รับ ก็ผมมีสิทธิไม่รับ" ก่อนเดินเข้าห้องทำงานของตัวเองไป
ด้านนายสุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์ว่า แม้นายชัย จะไม่รับหนังสือของพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อมีเลขรับของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะปฏิเสธว่า ไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ หลังจากนี้ เมื่อตรวจสอบรายชื่อความถูกต้อง และส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำร้อง และต้องแจ้งนายกฯ ทราบทันที เพราะนายชัย มีหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์ ที่ต้องนำสารจากส.ส.ไปแจ้งอีกทอดหนึ่ง จะทำอย่างอื่นไม่ได้
" การที่พรรคเพื่อไทยต้องรีบยื่น เพราะกลัวว่านายชัย จะอ้างว่าไม่ทันแล้ว ส่งเรื่องให้นายกฯ นำขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยแล้ว เมื่อเรายื่นก่อนที่สภาจะปิดประชุมนายชัย จะบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นไม่ได้ และขั้นตอนทั้งหมดต้องถูกหยุดเอาไว้ก่อน เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ" นายสุรพงษ์ กล่าว
**"มาร์ค"เตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯทันที
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จะทำให้ผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าช้าไปหรือไม่ว่า ยังไม่ทราบว่าจะส่งอย่างไร แต่หน้าที่ของตนคือ รอให้สภาส่งมา จากนั้นตนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ
เมื่อถามต่อว่าเมื่อประธานรัฐสภาส่งมา ก็จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ทันทีใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ครับ แต่ถ้ามีการส่งตีความ ก็จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯไม่ได้ เมื่อถามต่อว่าดูตามกรอบแล้ว จะมีการเลือกตั้งประมาณเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เมื่อถามว่า หากยังไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ เท่ากับว่ากติกาใหม่ยังไม่ประกาศใช้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราก็อยากให้เร็ว เมื่อถามต่อว่า ตรงนี้จะกระทบปฏิทินการเมืองในใจนายกฯ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่ายังไม่ทราบว่า เขาจะดำเนินการอย่างไร ผู้สื่อข่าวถามว่า เงื่อนไขที่ว่า ติดขัด มีข้อไหนที่ยังติดขัดอยู่ นายกฯ กล่าวว่า ข้อที่ 3 ไงครับ คือ บ้านเมืองต้องมีความสงบก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาบอกให้จับตาดูวันที่ 18 ก.พ.นี้ มีอะไรหรือไม่ และได้คุยกับประธานรัฐสภาหรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่าวันที่ 18 ก.พ. ก็วันมาฆบูชา
**เครือข่ายประชาชนเตรียมถวายฎีกา
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เราหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวมวลชนไปปิดล้อมรัฐสภา แต่ เราจะใช้วิธีการโดยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา หากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยกมือผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3
ทั้งนี้ทางกลุ่มเครือข่ายฯ จะเดินทางไปถวายฎีกา ในวันที่ 15 ก.พ.เวลา 10.00 น. โดยจะยื่นถวายฎีกาในกรณีที่รัฐบาลขายชาติ มีความประพฤติไม่ชอบ และหากสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็แสดงว่ารัฐสภาก็ขายชาติ เดินในทางเดียวกับฝ่ายบริหาร
**พิจารณางบกลาง 16 ก.พ.
นายวิทยา ภราดัย ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การประชุมสภาวันที่ 16 ก.พ. จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2554 หรือ งบกลางปี และในวันพฤหัสที่ 27 ก.พ. ที่ประชุมจะรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และจะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที เช่นกัน ซึ่งหากฝ่ายค้านอยากใช้ 2 เวทีดังกล่าว ในการซ้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็สามารถทำได้
** กกต.รอเสนอร่างแก้กม.เลือกตั้ง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 ว่า จากนี้จะเป็นขั้นตอนการเสนอร่างแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ไปยังสภา ซึ่งขณะนี้กกต.ได้ยกร่างไว้แล้ว โดยกกต.สามารถเสนอร่างกฎหมายได้โดยตรงต่อสภาให้พิจารณาตามขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา แต่ทั้งนี้คงต้องรอรัฐบาลประสานมายังกกต.ก่อน รวมทั้งขณะนี้คงต้องรอให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ก่อน ถึงจะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังสภาได้ รวมทั้งยังต้องรอดูการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผู้ยื่นร้องว่า กระบวนการมิชอบด้วยกฎหมายด้วยว่า จะมีผลอย่างไร
นายประพันธ์ กล่าวว่า คาดว่าร่าง พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ที่กกต.จะเสนอจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการพิจารณา ซึ่งกกต.ได้ยกร่างโดยยึดเนื้อหาของพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.พ.ศ.2541 มาเป็นแบบในการยกร่าง เพราะจะต้องยึดเขตเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว เพียงแต่จะลดจำนวนเขตจาก 400 คนเหลือ 375 คน เท่านั้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากกต.ได้เตรียมการภายในในการแบ่งเขตเลือกตั้งคร่าวๆ ตามจำนวน 375 เขตแล้ว ซึ่งได้ให้กกต.จังหวัดได้ไปออกแบบและทำประชาพิจารณ์ก่อนส่งมาให้กกต.พิจารณา ซึ่งคาดว่าเขตเลือกตั้งในรูปแบบ 375 เขต จะออกมาทางการได้ภายหลังร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ได้พิจารณาจากสภาเสร็จสิ้นจนมีผลบังคับใช้แล้ว
"นอกจากนี้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังกำหนดบทเฉพาะกาล กรณีหากมีการยุบสภาในระหว่างร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จ กกต.สามารถออกประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ซึ่งกกต.จะนำเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และส.ว. 2541 ที่จะเสนอแก้ไขเป็นกฎหมายนำมาใช้เป็นประกาศของ กกต. แต่กกต.ก็อยากให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่พิจารณาเสร็จแล้วก่อนจะมีการเลือกตั้ง แต่หากเกิดการยุบสภาเกิดขึ้นแล้วกกต.จำเป็นต้องออกประกาศ กกต.แทน โดยยืนยันจะไม่เอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองใด" นายประพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายประยุทธ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้ท้วงติงถึงญัตติที่เคยเสนอให้ตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับว่าไม่มีการระบุมาตราที่มีการแก้ไขไว้ในหลักการ ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับที่ 86 วรรคสาม โดยมี ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว.บางส่วนได้อภิปรายสนับสนุน โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ระบุว่าไม่ควรบีบให้สมาชิกยอมจำนน ยอมรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งที่รู้ว่าไม่ถูกต้องตามหลักการ
**ฝ่ายค้านป่วนก่อนวอล์กเอาต์
แต่ในที่ สุดนายชัย ได้ใช้ข้อบังคับการประชุมที่ 117 ขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขทั้ง 2 ฉบับขัดต่อหลักการหรือไม่ ปรากฏว่า สมาชิกจำนวน 302 เสียงต่อ 230 เสียง ไม่เห็นด้วยกับญัตติของนายประยุทธ โดยมีผู้งดออกเสียง 51 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
แต่นายสุรชัย ได้ท้วงติงว่า เสียงไม่เห็นด้วยกับญัตติไม่เกินกึ่งหนึ่ง ถือว่าไม่ผ่าน แต่นายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช ในฐานะประธานวิปรัฐบาล แย้งว่า ต้องยึดผลการลงคะแนนในญัตติของนายประยุทธเป็นหลัก เมื่อนายประยุทธได้ 230 เสียง ถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ทำให้นายชัย สรุปว่าญัตติของนายประยุทธ ตกไป
แต่นายสุรชัย ยังคงยืนยันว่าไม่ถูกต้อง หากยึดตามข้อบังคับที่ 117 จะต้องได้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตนอยากให้รัฐธรรมนูญผ่านไปสง่างาม อย่าผ่านไปอย่างทุลักทุเล และไม่อยากให้ถึงศาลรัฐธรรมนูญ จึงขอเสนอให้มีการนับใหม่
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีการอภิปรายแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง จนทำให้บรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนในที่สุดนายชัย ได้สั่งพักการประชุม 5 นาทีเพื่อหารือหาทางออก
ต่อมาที่ประชุมได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง นายชัย ได้กล่าวสรุปว่า ข้อหารือของนายประยุทธนั้นตกไปแล้ว จะไม่มีการวินิจฉัยอีก ส่วนกระบวนการที่เกิดขึ้นหากมีปัญหาก็สามารถเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป ซึ่งตนถือว่าไม่ขัดต่อหลักการกฏหมายตั้งแต่ต้น เพราะกระบวนการผ่านวาระ 2 มาแล้ว หากจะมีปัญหาอะไรตนขอรับผิดชอบเอง
ขณะที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคนได้พยายามทักท้วง และตำหนิการทำหน้าที่ของนายชัยที่ไม่ฟังสมาชิก และ ไม่สามารถรับผิดชอบคนเดียวได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่จำต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ยังคงยืนยันว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ถูกต้อง และเสนอทางออกให้นายชัย ตีความว่าขัดข้อบังคับ แต่ไม่มีผลกระทบต่อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ
ทำให้นายชัยอ่านข้อความบันทึกคำวินิจฉัยของนายประสพสุข ที่เคยวินิจฉัยชี้ขาดในช่วงพิจารณาวาระ 2 ว่าไม่ขัดต่อหลักกฏหมาย ซึ่งนายชัยระบุว่า ตนเชื่อผู้พิพากษา มากกว่าเชื่อนายทหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายประเด็นนี้ ยืดเยื้อร่วมชั่วโมง ต่อมานายชัยได้ตัดบทไม่ให้มีการอภิปรายต่อไป เพื่อดำเนินการให้สมาชิกลงมติในวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ขณะที่ฝ่ายค้านพากันแสดงความไม่พอใจ โดยนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายไม่เห็นด้วยที่ประธานไม่ทบทวนต่อญัตติของนายประยุทธ และการอ้างนำคำวินิจฉัยของนายประสพสุข มาชี้แจง จึงไม่ขอร่วมลงคะแนนในครั้งนี้ จากนั้นก็ได้นำสมาชิกพรรคเพื่อไทยเดินออกจากห้องประชุมไป
** ร่างแก้ไขรธน.ผ่านฉลุยทั้ง 2 ฉบับ
จากนั้นที่ประชุมได้ทำการลงคะแนนอย่างเปิดเผย โดยให้มีการขานชื่อสมาชิกเรียงตามอักษร ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ด้วยคะแนน 397 เสียง ต่อ 19 เสียง โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 10 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่ลงคะแนน
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขมาตรา 190 มีสาระสำคัญ คือ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก พ.ร.บ.เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว และให้มีการออกกฎหมายลูกภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
ต่อมาที่ประชุมรัฐสภาให้สมาชิกทำการลงคะแนนอย่างเปิดเผย ในวาระ 3 ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... (มาตรา 93-98 ) ที่กำหนดให้ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 375 คน และบัญชีรายชื่อ125 คน เพื่อประกาศบังคับใช้ โดยปรากฏว่าสมาชิกเห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจำนวน 347 เสียงต่อ 37 เสียง และ งดออกเสียง 42 เสียง
สำหรับสาระสำคัญของร่างแก้ไข มาตรา 93-98 ยังกำหนดให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ให้เล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่หากยังไม่สามารถดำเนินการได้ และต้องมีการเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไป ให้ กกต.ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งส.ส.ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อใช้บังคับการเลือกตั้งนั้น และให้ข้อกำหนดตามประกาศของกกต.ใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้
สำหรับขั้นต่อไป จะมีการนำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไข และได้รับความเห็นขอบจากรัฐสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 ต่อไป
** ฝ่ายค้านเดินเกมคว่ำร่างแก้ไขรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ก่อนที่ประธานรัฐสภา จะสั่งปิดประชุม เพียง 5 นาที พรรคเพื่อไทย นำโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ ได้นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน 177 คน พร้อมด้วยรายชื่อ ส.ว.อีก 1 คน คือนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ยื่นเรื่องต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ประธานรัฐสภา ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อทราบว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 86 วรรค 3 ไม่มีการระบุ เลขมาตรา ที่ต้องการแก้ไข หรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือในเหตุผล ส่งผลให้การแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ลงเลขรับที่ 2233/2554 ในเวลา 15.00 น.
จากนั้นนายสุรพงษ์ และคณะได้รีบนำสำเนาคำร้องไปให้นายชัย รับทราบ เพื่อให้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งแจ้งนายกฯ ทราบ แต่เมื่อนายชัย เดินมาพบคณะส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็ระบุว่า" ผมไม่รับ ก็ผมมีสิทธิไม่รับ" ก่อนเดินเข้าห้องทำงานของตัวเองไป
ด้านนายสุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์ว่า แม้นายชัย จะไม่รับหนังสือของพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อมีเลขรับของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะปฏิเสธว่า ไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ หลังจากนี้ เมื่อตรวจสอบรายชื่อความถูกต้อง และส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำร้อง และต้องแจ้งนายกฯ ทราบทันที เพราะนายชัย มีหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์ ที่ต้องนำสารจากส.ส.ไปแจ้งอีกทอดหนึ่ง จะทำอย่างอื่นไม่ได้
" การที่พรรคเพื่อไทยต้องรีบยื่น เพราะกลัวว่านายชัย จะอ้างว่าไม่ทันแล้ว ส่งเรื่องให้นายกฯ นำขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยแล้ว เมื่อเรายื่นก่อนที่สภาจะปิดประชุมนายชัย จะบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นไม่ได้ และขั้นตอนทั้งหมดต้องถูกหยุดเอาไว้ก่อน เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ" นายสุรพงษ์ กล่าว
**"มาร์ค"เตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯทันที
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จะทำให้ผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าช้าไปหรือไม่ว่า ยังไม่ทราบว่าจะส่งอย่างไร แต่หน้าที่ของตนคือ รอให้สภาส่งมา จากนั้นตนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ
เมื่อถามต่อว่าเมื่อประธานรัฐสภาส่งมา ก็จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ทันทีใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ครับ แต่ถ้ามีการส่งตีความ ก็จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯไม่ได้ เมื่อถามต่อว่าดูตามกรอบแล้ว จะมีการเลือกตั้งประมาณเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เมื่อถามว่า หากยังไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ เท่ากับว่ากติกาใหม่ยังไม่ประกาศใช้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราก็อยากให้เร็ว เมื่อถามต่อว่า ตรงนี้จะกระทบปฏิทินการเมืองในใจนายกฯ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่ายังไม่ทราบว่า เขาจะดำเนินการอย่างไร ผู้สื่อข่าวถามว่า เงื่อนไขที่ว่า ติดขัด มีข้อไหนที่ยังติดขัดอยู่ นายกฯ กล่าวว่า ข้อที่ 3 ไงครับ คือ บ้านเมืองต้องมีความสงบก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาบอกให้จับตาดูวันที่ 18 ก.พ.นี้ มีอะไรหรือไม่ และได้คุยกับประธานรัฐสภาหรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่าวันที่ 18 ก.พ. ก็วันมาฆบูชา
**เครือข่ายประชาชนเตรียมถวายฎีกา
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เราหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวมวลชนไปปิดล้อมรัฐสภา แต่ เราจะใช้วิธีการโดยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา หากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยกมือผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3
ทั้งนี้ทางกลุ่มเครือข่ายฯ จะเดินทางไปถวายฎีกา ในวันที่ 15 ก.พ.เวลา 10.00 น. โดยจะยื่นถวายฎีกาในกรณีที่รัฐบาลขายชาติ มีความประพฤติไม่ชอบ และหากสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็แสดงว่ารัฐสภาก็ขายชาติ เดินในทางเดียวกับฝ่ายบริหาร
**พิจารณางบกลาง 16 ก.พ.
นายวิทยา ภราดัย ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การประชุมสภาวันที่ 16 ก.พ. จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2554 หรือ งบกลางปี และในวันพฤหัสที่ 27 ก.พ. ที่ประชุมจะรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และจะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที เช่นกัน ซึ่งหากฝ่ายค้านอยากใช้ 2 เวทีดังกล่าว ในการซ้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็สามารถทำได้
** กกต.รอเสนอร่างแก้กม.เลือกตั้ง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 ว่า จากนี้จะเป็นขั้นตอนการเสนอร่างแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ไปยังสภา ซึ่งขณะนี้กกต.ได้ยกร่างไว้แล้ว โดยกกต.สามารถเสนอร่างกฎหมายได้โดยตรงต่อสภาให้พิจารณาตามขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา แต่ทั้งนี้คงต้องรอรัฐบาลประสานมายังกกต.ก่อน รวมทั้งขณะนี้คงต้องรอให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ก่อน ถึงจะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังสภาได้ รวมทั้งยังต้องรอดูการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผู้ยื่นร้องว่า กระบวนการมิชอบด้วยกฎหมายด้วยว่า จะมีผลอย่างไร
นายประพันธ์ กล่าวว่า คาดว่าร่าง พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ที่กกต.จะเสนอจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการพิจารณา ซึ่งกกต.ได้ยกร่างโดยยึดเนื้อหาของพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.พ.ศ.2541 มาเป็นแบบในการยกร่าง เพราะจะต้องยึดเขตเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว เพียงแต่จะลดจำนวนเขตจาก 400 คนเหลือ 375 คน เท่านั้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากกต.ได้เตรียมการภายในในการแบ่งเขตเลือกตั้งคร่าวๆ ตามจำนวน 375 เขตแล้ว ซึ่งได้ให้กกต.จังหวัดได้ไปออกแบบและทำประชาพิจารณ์ก่อนส่งมาให้กกต.พิจารณา ซึ่งคาดว่าเขตเลือกตั้งในรูปแบบ 375 เขต จะออกมาทางการได้ภายหลังร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ได้พิจารณาจากสภาเสร็จสิ้นจนมีผลบังคับใช้แล้ว
"นอกจากนี้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังกำหนดบทเฉพาะกาล กรณีหากมีการยุบสภาในระหว่างร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จ กกต.สามารถออกประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ซึ่งกกต.จะนำเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และส.ว. 2541 ที่จะเสนอแก้ไขเป็นกฎหมายนำมาใช้เป็นประกาศของ กกต. แต่กกต.ก็อยากให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่พิจารณาเสร็จแล้วก่อนจะมีการเลือกตั้ง แต่หากเกิดการยุบสภาเกิดขึ้นแล้วกกต.จำเป็นต้องออกประกาศ กกต.แทน โดยยืนยันจะไม่เอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองใด" นายประพันธ์ กล่าว