ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยเงินฝากวิ่งออกจากแบงก์ไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในตั๋ว B/E ทำใจผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 50 ล้านบาทหันไปเลือกลงทุนแหล่งอื่นเพิ่มขึ้น แต่มั่นใจสินเชื่อเพิ่มเศรษฐกิจพุ่ง พร้อมแถลงผลประกอบการแบงก์พาณิชย์ปี 2553 กำไรสุทธิ 1.23 แสนล้านบาท!
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการโยกเงินไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งส่วนหนึ่งการลดสัดส่วนคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาทต่อรายบุคคลต่อสถาบันการเงิน ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการย้ายจากเงินฝากไปลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 50 ล้านบาทที่ไม่ได้รับการคุ้มครองก็มีจำนวนน้อย และส่วนใหญ่หันไปลงทุนทางเลือกอื่นๆ ซึ่งช่วงไตรมาส 3 ของปีก่อนก็มีการลงทุนในตราสารทุนค่อนข้างมาก ดังนั้นมองว่าเรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ เพราะทุกฝ่ายทราบกันทั่วกันและธนาคารพาณิชย์เองก็มีความระมัดระวังเป็นอย่างดี พร้อมทั้งหารือกับ ธปท.อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ในปี 2554 การปล่อยสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวได้เร็วตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นได้จากเร่งตัวมากในช่วงไตรมาส 4 ของปีก่อน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ในระบบก็มีกำลังที่ดีทั้งในแง่ของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS ratio) ที่มีสัดส่วนถึง 16.2% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 12.5% รวมถึงสภาพคล่องในระบบก็ที่มีเพียงพอ
จึงเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้ ส่วนการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจนเข้ามาแทนการอุปโภคบริโภคหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละสถาบันการเงิน โดยปัจจุบันความต้องการทั้งแง่ของการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศก็จำเป็นต้องมีเงินหล่อเลี้ยงเช่นกัน
ปัจจุบันปัจจัยท้าทายของธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีอยู่ทั้งภายในและนอกประเทศทั้งความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่มีค่อนข้างสูงในขณะนี้ รวมถึงการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากของสถาบันประกันเงินฝาก จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และธนาคารพาณิชย์ก็ต้องให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงทุกด้านด้วย
สำหรับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น จากการสอบถามไปยังประธานสมาคมธนาคารไทย พบว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินไทยอยู่ในประเทศกัมพูชาประมาณ 2-3 แห่งและส่วนใหญ่ยังไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่ประเด็นเหล่านี้ธปท.จะติดตามต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้มองว่าการทำธุรกิจสถาบันการเงินเกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองน้อยมาก
และเกี่ยวข้องกับปัจจัยในประเทศมากกว่า โดยเฉพาะการขยายตัวสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อ
น.ส.นวพร กล่าวว่า ในปี 53 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยโดยร่วมมีเสถียรภาพ โดยมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 123 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.5% จากปีก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยที่มีสัดส่วน 66.8% จากปี 52 ที่มีสัดส่วน 68.3% และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มีสัดส่วน33.2% ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากค่าธรรมเนียมและบางธนาคารมีกำไรพิเศษจากการขายบริษัทลูกออกไป ขณะที่การปล่อยสินเชื่อกลับมาขยายตัวดีขึ้นอยู่ที่ 11.3% เทียบกับหดตัว 1.8% ในปี 52 ทำให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นบ้าง โดยมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วบี/อีเพิ่มขึ้นเป็น 88.3%
อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย(NIM) ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 2.8% จากปีก่อน 2.9% และประเมินว่า แม้ธนาคารพาณิชย์จะแข่งขันด้านสินเชื่อ ราคา และการระดมเงินฝากมีความต่อเนื่อง ประกอบกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น แต่เชื่อว่าธนาคารจะมี NIM ในระดับทรงตัว ซึ่งเห็นได้จากในช่วงปี 53 ดอกเบี้ยปรับขึ้นต่อเนื่อง แต่ NIM ก็อยู่ระดับทรงๆ ตัว และในส่วนของอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) เพิ่มขึ้นเป็น 1.1%
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการโยกเงินไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งส่วนหนึ่งการลดสัดส่วนคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาทต่อรายบุคคลต่อสถาบันการเงิน ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการย้ายจากเงินฝากไปลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 50 ล้านบาทที่ไม่ได้รับการคุ้มครองก็มีจำนวนน้อย และส่วนใหญ่หันไปลงทุนทางเลือกอื่นๆ ซึ่งช่วงไตรมาส 3 ของปีก่อนก็มีการลงทุนในตราสารทุนค่อนข้างมาก ดังนั้นมองว่าเรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ เพราะทุกฝ่ายทราบกันทั่วกันและธนาคารพาณิชย์เองก็มีความระมัดระวังเป็นอย่างดี พร้อมทั้งหารือกับ ธปท.อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ในปี 2554 การปล่อยสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวได้เร็วตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นได้จากเร่งตัวมากในช่วงไตรมาส 4 ของปีก่อน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ในระบบก็มีกำลังที่ดีทั้งในแง่ของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS ratio) ที่มีสัดส่วนถึง 16.2% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 12.5% รวมถึงสภาพคล่องในระบบก็ที่มีเพียงพอ
จึงเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้ ส่วนการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจนเข้ามาแทนการอุปโภคบริโภคหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละสถาบันการเงิน โดยปัจจุบันความต้องการทั้งแง่ของการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศก็จำเป็นต้องมีเงินหล่อเลี้ยงเช่นกัน
ปัจจุบันปัจจัยท้าทายของธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีอยู่ทั้งภายในและนอกประเทศทั้งความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่มีค่อนข้างสูงในขณะนี้ รวมถึงการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากของสถาบันประกันเงินฝาก จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และธนาคารพาณิชย์ก็ต้องให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงทุกด้านด้วย
สำหรับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น จากการสอบถามไปยังประธานสมาคมธนาคารไทย พบว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินไทยอยู่ในประเทศกัมพูชาประมาณ 2-3 แห่งและส่วนใหญ่ยังไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่ประเด็นเหล่านี้ธปท.จะติดตามต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้มองว่าการทำธุรกิจสถาบันการเงินเกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองน้อยมาก
และเกี่ยวข้องกับปัจจัยในประเทศมากกว่า โดยเฉพาะการขยายตัวสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อ
น.ส.นวพร กล่าวว่า ในปี 53 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยโดยร่วมมีเสถียรภาพ โดยมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 123 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.5% จากปีก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยที่มีสัดส่วน 66.8% จากปี 52 ที่มีสัดส่วน 68.3% และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มีสัดส่วน33.2% ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากค่าธรรมเนียมและบางธนาคารมีกำไรพิเศษจากการขายบริษัทลูกออกไป ขณะที่การปล่อยสินเชื่อกลับมาขยายตัวดีขึ้นอยู่ที่ 11.3% เทียบกับหดตัว 1.8% ในปี 52 ทำให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นบ้าง โดยมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วบี/อีเพิ่มขึ้นเป็น 88.3%
อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย(NIM) ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 2.8% จากปีก่อน 2.9% และประเมินว่า แม้ธนาคารพาณิชย์จะแข่งขันด้านสินเชื่อ ราคา และการระดมเงินฝากมีความต่อเนื่อง ประกอบกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น แต่เชื่อว่าธนาคารจะมี NIM ในระดับทรงตัว ซึ่งเห็นได้จากในช่วงปี 53 ดอกเบี้ยปรับขึ้นต่อเนื่อง แต่ NIM ก็อยู่ระดับทรงๆ ตัว และในส่วนของอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) เพิ่มขึ้นเป็น 1.1%