วานนี้(9 ก.พ.) ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอนหนึ่งในการเปิดงานสัมมนา ASEAN - CLSA Forum ซึ่งมีนักการเงิน การธนาคารทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในอาเซียน ว่า ประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง ตนได้กล่าวในหลายโอกาสแล้วว่า เมื่อทุกอย่างเข้าที่พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง ก็จะให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
เป้าหมายดังกล่าวคือประการแรก เศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งขณะนี้ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 8 % ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะอยู่ที่ 4% ในปีนี้ ในขณะที่อัตราว่างงาน 1 % และการส่งออกขยายตัว 25% ในปีที่ผ่านมา ประการที่สอง คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีการพิจารณาวาระสุดท้ายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ประการที่สาม คือ ต้องแน่ใจได้ว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต้องปราศจากความรุนแรง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเร่งดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
“เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งต้องมี 3 เป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งทีรัฐบาลเร่งดำเนินการอยู่ และจะไม่อยู่จนครบวาระ รวมทั้งจะมีการเลือกตั้งภายในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้พยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงทางสังคม ในช่วงต้นปี ยังได้มีการแถลง ' แผนการปฏิรูปประเทศไทย ' ถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ ด้วยแผนการดังกล่าว รัฐบาลจะมีมาตรการดูแลด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมาตรการสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุม รวมทั้ง สนับสนุนการศึกษา และ ระบบยุติธรรม โดยมีเป้าหมายคือ การสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชน เรื่องร้องเรียนหลัก ที่รัฐบาลได้รับคือเรื่องโอกาสที่ไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการกู้ยืม เพราะระบบสถาบันการเงินในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการกู้ยืมได้เพียงพอแม้ว่าจะมีศักยภาพที่จะทำการกู้ยืมได้ก็ตาม ทั้งนี้ หนึ่งในโครงการของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การจัดการกับหนี้นอกระบบ ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี
**กลัวส.ส.ตกใจ ไม่ฟันธงวันยุบสภา
ช่วงเย็น ที่รัฐสภานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวที ออกมาระบุใว่าจะสามารถเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งภายในครึ่งปีแรกของปีนี้ว่า ตนบอกว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้งและขณะนี้กระบวนการมีความคืบหน้าไป เมื่อถามว่าปลายเดือนเมษายนนี้ จะชัดเจนได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยและดูสถานการณ์ เหตุการณ์ในบ้านเมือง และค่อยตัดสินใจ ถามว่า หลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จการประสานงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.ออกระเบียบ ขั้นตอนตรงนั้นใช้เวลานานแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องสอบถามกกต.
เมื่อถามว่า การพิจารณางบกลางปีจะเสร็จได้เมื่อไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงในกระบวนการน่าจะเสร็จประมาณเดือนมีนาคม น่าจะกลางเดือนมีนาคมด้วยซ้ำ เพราะไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร เมื่อถามว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สอดรับกันพอกติกาใหม่ได้ใช้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ครับ จังหวะน่าจะใกล้ๆ กัน เมื่อถามอีกว่า จังหวะการพิจารณาเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และงบประมาณกลางปี จะทำให้สามารถตัดสินใจทางการเมืองได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวยิ้มพร้อมกับตอบว่า เดี๋ยว ส.ส.จะตกใจ
**เทือกปัดคุยนายกฯยุบสภาหนีปฏิวัติ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่นายกรัฐมนตรีอาจจะตัดสินใจยุบสภาในเร็ว ๆ นี้เพื่อหนีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างรุมเร้ารัฐบาล ว่า ยังไม่ได้มีการหารือกันกับนายกรัฐมนตรี ทุกอย่างยังเหมือนเดิม และยึดหลักการเดิมที่นายกรัฐมนตรีได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ 3 ข้อ อย่างไรก็ตามตนไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีจะหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกี่ยวกับการเตรียมการเลือกตั้งหรือไม่ แต่ทางกกต.ก็ต้องเตรียมการเอาไว้
เมื่อถามว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์คิดว่าการยุบสภาจะเกิดเร็วขึ้นหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่สามารถตอบขนาดนั้นได้ ทุกอย่าง ยังเป็นไปตามหลักการเดิมที่นายกรัฐมนตรีเคยพูด ซึ่งเหลือเพียงเงื่อนไขของการชุมนุมกลุ่มต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อย เท่านั้น เมื่อไหร่ที่มันเอื้ออำนวยก็จะไปได้ เมื่อถามว่า ที่มีข่าวนายกฯเตรียมจะหารือเรื่องการยุบสภาภายหลังร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านในวาระสามแล้วแสดงว่าสถานการณ์ต่างๆ จวนตัวเข้ามาแล้วใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ใช่อย่างนั้น และรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ผ่านจะไปคาดการณ์อย่างนั้นไม่ได้ ต้องว่าไปทีละขั้น เมื่อถึงเวลาก็จะชี้แจงให้ทราบ
เมื่อถามว่า แต่ทางพรรคร่วมรัฐบาลเอง โดยเฉพาะนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชิตไทยพัฒนา(ชทพ.) ก็ยังไม่อยากให้รีบยุบสภาฯ นายสุเทพ กล่าวว่า การที่เป็นส.ส.นั้นทุกคนก็อยากทำหน้าที่จนครบเทอมครบสมัย แต่กรณีนี้ก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งนายกฯก็ชี้แจงมาโดยตลอด เมื่อถามว่า หากมีปัญหาสถานการณ์ต่างๆ รุมเร้าเข้ามามากมองว่าการยุบสภาจะเป็นการแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปสมมติ เมื่อทุกอย่างสงบลงแล้วเราก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่จะได้เริ่มต้นกันใหม่ ไม่ต้องมีข้ออ้างหรือตำหนิติติงกันอีก
เมื่อ ถามว่า นายกฯระบุว่าถ้ายุบสภาก็เป็นการลากันชั่วคราว จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก แสดงว่ามั่นใจในตัวผู้จัดการรัฐบาลอย่างท่านใช่หรือไม่ นายสุเทพ ได้แต่ยิ้ม ๆ แต่ไม่ได้ตอบคำถามแต่อย่างใด
**ย้ำไม่มีข่าวลอบสังหารนายกฯ
นายสุเทพ ยังกล่าวย้ำว่าไม่มีข่าวลอบสังหารนายกรัฐมนตรี และยอมรับว่านายกฯได้รับข้อความสั้นด่าหยาบคาย จนเปิดเผยไม่ได้
**ปธ.วิปรัฐยุบสภาอยากให้ยุบ พ.ค.
นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า การจะทำให้การประกาศยุบสภาต้องล่าช้าออกไปจากแผนเดิมที่วางไว้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเดียวที่นายกฯ รับปาก จะกำหนดวันยุบสภาได้ก็คือ เงื่อนไขความขัดแย้ง และความรุนแรงยุติลงเมื่อไร ก็จะคืนอำนาจให้กับประชาชน ในที่นี้หมายถึงม็อบเหลืองและม็อบแดง แต่ถ้าเป็นกรณีไทย-กัมพูชาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นว่ารัฐบาลเองก็มีทิศทางที่ขัดเจนที่จะใช้การเจรจาแบบทวิภาคี เพราะถ้าปล่อยให้คนนอกเข้ามาแทรกได้เมื่อไร ก็คงจบยาก ถึงทำได้ก็ต้องเสียอะไรบางอย่าง
“ก็น่าจะยึดแนวทางการยุบสภาเดิมคือ ประมาณเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้” นายวิทยา กล่าว
**พรรคร่วมปัดคุยนายกฯยุบสภา
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่มีการหารือเรื่องยุบสภากับนายกรัฐมนตรี เพราะท่านนายกฯตอบเรื่องยุบสภามาตั้งแต่ปีที่แล้ว หลายครั้งท่านก็ยืนยันว่าการยุบสภาเป็นสิ่งที่ท่านจะทำ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านบอกว่าเงื่อนไขในการยุบสภานั้นมีอยู่ 2-3 เรื่อง วันนี้เงื่อนไขที่ว่าครบสมบูรณ์แล้วหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ใช่เลย วันนี้ใครที่คิดจะขับไล่นายกฯหรือขอให้นายกฯยุบสภา ถามว่าวันนี้ปัญหาที่มันยังคงอยู่ ที่มีความสลับสลับซ้อนไม่ว่าจะเป็นภายในและต่างประเทศ จะให้ใครมาดูแล ตนคิดว่า วันนี้นายกไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะยุบสภา เพราะอาจจะได้รับการว่ากล่าวได้ว่า จะยุบสภาเพื่อหนีปัญหา วันนี้ประเทศต้องการผู้นำที่จะต้องเดินหน้าในการแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้
**ปธ.วิปค้านตกใจกลิ่นยุบสภา เม.ย.
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงห้วงเวลาการยื่นญัตตอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ท่ามกลางกระแสนายกรัฐมนตรีเริ่มส่งสัญญาณว่าจะยุบสภาในเดือน เม.ย.หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดย นายวิทยาแสร้งทำท่าตกใจ พร้อมบอกว่า “เอ้า เหรอ ตกใจ”
**“หน่อยแนะรีบยุบไปตายดาบหน้า
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้ หากตนอยู่ร่วมในรัฐบาลคงต้องการที่จะยุบสภาให้เร็วที่สุด เพราะการอยู่ในตำแหน่งต่อไปก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ โดยเฉพาะปัญหาข้าวยากหมากแพง ปัญหาสังคมก็บานปลาย ไปจนถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเคยเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า แต่วันนี้รัฐบาลได้เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบแล้ว ซ้ำร้ายยังเปลี่ยนที่ทำงานให้เป็นสนามเด็กเล่น หากรัฐบาลจะอยู่ต่อไปก็ยิ่งจะเกิดปัญหา จึงควรกลับไปเลือกตั้งแล้วเขียนนโยบายหรูๆ คำพูดเพราะๆ มาหาเสียงเพื่อหวังจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง หรือที่เรียกว่าไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า
****ภท.เชื่อยุบสภาหลังสงกรานต์ โวโกย ส.ส.ได้ 70 คน
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณพร้อมยุบสภาในเดือน เม.ย.นี้ หลังแก้ไขรัฐธรรมนูญและอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นว่า เห็นสัญญาณนี้มานานแล้ว เพราะเมื่อถึงเวลาดังกล่าว ปัจจัยต่างๆ ก็จะถือว่าครบถ้วน ส่วนตัวเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือหลังเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ ภท.ได้เตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้งหากมีการยุบสภานานแล้ว โดยพรรคตั้งเป้าว่าน่าจะได้ ส.ส.ถึง 70 คน จากเดิมที่มีอยู่เพียง 32 คน โดยพื้นที่ ที่น่าจะได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น ได้แก่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยภาคหลังสุด น่าจะได้มาอย่างน้อย 2 คน
**กกต.หวังรัฐดันกม.ลูกก่อนเลือกตั้ง
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กกต.เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว ซึ่งในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราสุดท้ายบัญญัติว่าในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการพิจารณาแล้ว และการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ยังกระทำไม่แล้ว หากจะต้องมีการเลือกตั้งก็ให้อำนาจกกต. ออกประกาศ ประกาศข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งได้ ซึ่งก็ถือว่ากกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข
ทั้งนี้ก็มีข้อกังวลของพรรคการเมืองว่าการออกประกาศฯของกกต.อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเกิดปัญหากับการทำงานของกกต. ตรงนี้ทางกกต.ก็เห็นว่าเพื่อให้พรรคการเมืองคลายกังวลมการออกประกาศฯไม่กลายเป็นข้อโต้แย้ง รัฐบาลก็น่าจะผลักดันให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งที่กกต.เตรียมไว้เพียง 20 กว่ามาตรา หากรัฐบาลมีการประสานงานกับสมาชิกรัฐสภาและเป็นไปตามที่สมาชิกแต่ละพรรคการเมืองพูดว่าถ้าผ่านสภาคงใช้เวลาไม่นาน ก็เชื่อว่าการแก้ไขน่าจะแล้วเสร็จได้ภายใน 1 เดือน เพราะประเด็นที่จะต้องมีการแก้ไขก็ไม่ได้มีอะไรมาก
ยอมรับว่า การครบวาระของส.ว.สรรหา 74 คนในวันที่ 18 ก.พ. และอาจมีส.ว.บางส่วนลาออกก่อนครบวาระเพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ อาจจะเป็นปัญหาต่อการพิจารณาผ่านร่างแก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ได้ แต่ก็คิดว่าจำนวนเสียงส.ว.ที่จะผ่านร่างกฎหมายก็เพียงแค่กึ่งหนึ่ง และการสรรหาส.ว.ก็คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนมี.ค. ดังนั้นถ้าจะผลักดันให้มีการผ่านร่างแก้ไขกฎหมายลูกก็ไม่น่าจะมีปัญหา
เมื่อถามว่าหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง และเกิดการเปลี่ยนแปลงกกต. นางสดศรี กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นขณะนี้ผสมปนเปกันไปมา จึงอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ได้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงนั้นกกต.ทราบดีว่ากกต.ต้องยึดโยงกับการเมือง แต่การจะมีปฎิวัติ รัฐประหาร แล้วทำให้ไม่มีกกต. แทนที่จะเป็นผลดีกับประชาธิปไตย ตนมองว่าน่าจะทำให้ถูกมองว่าถอยหลังมากกว่า กกต.ยืนยันว่าเราไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ถ้ากกต.ต้องพ้นไปเพราะมีการรัฐประหารก็ไม่เป็นไร แต่การเลือกตั้งอย่างไรเสียก็ควรต้องมี เพราะเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน เนื่องจากไม่มีอำนาจไหนที่มีประโยชน์ และเที่ยงธรรมเท่ากับอำนาจที่มาจากประชาชน
**หมอประเวศชี้ไทยเลยรุนแรงไปแล้ว
นายแพทย์ ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กล่าวว่าสถานการณ์ของประเทศไทยจะไม่พัฒนาไปสู่ความรุนแรงเหมือนประเทศอียิปต์ เนื่องจากของประเทศไทยเลยจุดดังกล่าวไปแล้ว ที่ต้องพูดถึงในปัจจุบันคือการบริหารจัดการและปฏิรูปร่วมกันต่อไป.
เป้าหมายดังกล่าวคือประการแรก เศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งขณะนี้ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 8 % ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะอยู่ที่ 4% ในปีนี้ ในขณะที่อัตราว่างงาน 1 % และการส่งออกขยายตัว 25% ในปีที่ผ่านมา ประการที่สอง คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีการพิจารณาวาระสุดท้ายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ประการที่สาม คือ ต้องแน่ใจได้ว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต้องปราศจากความรุนแรง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเร่งดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
“เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งต้องมี 3 เป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งทีรัฐบาลเร่งดำเนินการอยู่ และจะไม่อยู่จนครบวาระ รวมทั้งจะมีการเลือกตั้งภายในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้พยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงทางสังคม ในช่วงต้นปี ยังได้มีการแถลง ' แผนการปฏิรูปประเทศไทย ' ถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ ด้วยแผนการดังกล่าว รัฐบาลจะมีมาตรการดูแลด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมาตรการสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุม รวมทั้ง สนับสนุนการศึกษา และ ระบบยุติธรรม โดยมีเป้าหมายคือ การสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชน เรื่องร้องเรียนหลัก ที่รัฐบาลได้รับคือเรื่องโอกาสที่ไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการกู้ยืม เพราะระบบสถาบันการเงินในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการกู้ยืมได้เพียงพอแม้ว่าจะมีศักยภาพที่จะทำการกู้ยืมได้ก็ตาม ทั้งนี้ หนึ่งในโครงการของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การจัดการกับหนี้นอกระบบ ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี
**กลัวส.ส.ตกใจ ไม่ฟันธงวันยุบสภา
ช่วงเย็น ที่รัฐสภานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวที ออกมาระบุใว่าจะสามารถเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งภายในครึ่งปีแรกของปีนี้ว่า ตนบอกว่าปีนี้จะมีการเลือกตั้งและขณะนี้กระบวนการมีความคืบหน้าไป เมื่อถามว่าปลายเดือนเมษายนนี้ จะชัดเจนได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยและดูสถานการณ์ เหตุการณ์ในบ้านเมือง และค่อยตัดสินใจ ถามว่า หลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จการประสานงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.ออกระเบียบ ขั้นตอนตรงนั้นใช้เวลานานแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องสอบถามกกต.
เมื่อถามว่า การพิจารณางบกลางปีจะเสร็จได้เมื่อไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงในกระบวนการน่าจะเสร็จประมาณเดือนมีนาคม น่าจะกลางเดือนมีนาคมด้วยซ้ำ เพราะไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร เมื่อถามว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สอดรับกันพอกติกาใหม่ได้ใช้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ครับ จังหวะน่าจะใกล้ๆ กัน เมื่อถามอีกว่า จังหวะการพิจารณาเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และงบประมาณกลางปี จะทำให้สามารถตัดสินใจทางการเมืองได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวยิ้มพร้อมกับตอบว่า เดี๋ยว ส.ส.จะตกใจ
**เทือกปัดคุยนายกฯยุบสภาหนีปฏิวัติ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่นายกรัฐมนตรีอาจจะตัดสินใจยุบสภาในเร็ว ๆ นี้เพื่อหนีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างรุมเร้ารัฐบาล ว่า ยังไม่ได้มีการหารือกันกับนายกรัฐมนตรี ทุกอย่างยังเหมือนเดิม และยึดหลักการเดิมที่นายกรัฐมนตรีได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ 3 ข้อ อย่างไรก็ตามตนไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีจะหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกี่ยวกับการเตรียมการเลือกตั้งหรือไม่ แต่ทางกกต.ก็ต้องเตรียมการเอาไว้
เมื่อถามว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์คิดว่าการยุบสภาจะเกิดเร็วขึ้นหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่สามารถตอบขนาดนั้นได้ ทุกอย่าง ยังเป็นไปตามหลักการเดิมที่นายกรัฐมนตรีเคยพูด ซึ่งเหลือเพียงเงื่อนไขของการชุมนุมกลุ่มต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อย เท่านั้น เมื่อไหร่ที่มันเอื้ออำนวยก็จะไปได้ เมื่อถามว่า ที่มีข่าวนายกฯเตรียมจะหารือเรื่องการยุบสภาภายหลังร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านในวาระสามแล้วแสดงว่าสถานการณ์ต่างๆ จวนตัวเข้ามาแล้วใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ใช่อย่างนั้น และรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ผ่านจะไปคาดการณ์อย่างนั้นไม่ได้ ต้องว่าไปทีละขั้น เมื่อถึงเวลาก็จะชี้แจงให้ทราบ
เมื่อถามว่า แต่ทางพรรคร่วมรัฐบาลเอง โดยเฉพาะนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชิตไทยพัฒนา(ชทพ.) ก็ยังไม่อยากให้รีบยุบสภาฯ นายสุเทพ กล่าวว่า การที่เป็นส.ส.นั้นทุกคนก็อยากทำหน้าที่จนครบเทอมครบสมัย แต่กรณีนี้ก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งนายกฯก็ชี้แจงมาโดยตลอด เมื่อถามว่า หากมีปัญหาสถานการณ์ต่างๆ รุมเร้าเข้ามามากมองว่าการยุบสภาจะเป็นการแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปสมมติ เมื่อทุกอย่างสงบลงแล้วเราก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่จะได้เริ่มต้นกันใหม่ ไม่ต้องมีข้ออ้างหรือตำหนิติติงกันอีก
เมื่อ ถามว่า นายกฯระบุว่าถ้ายุบสภาก็เป็นการลากันชั่วคราว จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก แสดงว่ามั่นใจในตัวผู้จัดการรัฐบาลอย่างท่านใช่หรือไม่ นายสุเทพ ได้แต่ยิ้ม ๆ แต่ไม่ได้ตอบคำถามแต่อย่างใด
**ย้ำไม่มีข่าวลอบสังหารนายกฯ
นายสุเทพ ยังกล่าวย้ำว่าไม่มีข่าวลอบสังหารนายกรัฐมนตรี และยอมรับว่านายกฯได้รับข้อความสั้นด่าหยาบคาย จนเปิดเผยไม่ได้
**ปธ.วิปรัฐยุบสภาอยากให้ยุบ พ.ค.
นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า การจะทำให้การประกาศยุบสภาต้องล่าช้าออกไปจากแผนเดิมที่วางไว้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเดียวที่นายกฯ รับปาก จะกำหนดวันยุบสภาได้ก็คือ เงื่อนไขความขัดแย้ง และความรุนแรงยุติลงเมื่อไร ก็จะคืนอำนาจให้กับประชาชน ในที่นี้หมายถึงม็อบเหลืองและม็อบแดง แต่ถ้าเป็นกรณีไทย-กัมพูชาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นว่ารัฐบาลเองก็มีทิศทางที่ขัดเจนที่จะใช้การเจรจาแบบทวิภาคี เพราะถ้าปล่อยให้คนนอกเข้ามาแทรกได้เมื่อไร ก็คงจบยาก ถึงทำได้ก็ต้องเสียอะไรบางอย่าง
“ก็น่าจะยึดแนวทางการยุบสภาเดิมคือ ประมาณเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้” นายวิทยา กล่าว
**พรรคร่วมปัดคุยนายกฯยุบสภา
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่มีการหารือเรื่องยุบสภากับนายกรัฐมนตรี เพราะท่านนายกฯตอบเรื่องยุบสภามาตั้งแต่ปีที่แล้ว หลายครั้งท่านก็ยืนยันว่าการยุบสภาเป็นสิ่งที่ท่านจะทำ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านบอกว่าเงื่อนไขในการยุบสภานั้นมีอยู่ 2-3 เรื่อง วันนี้เงื่อนไขที่ว่าครบสมบูรณ์แล้วหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ใช่เลย วันนี้ใครที่คิดจะขับไล่นายกฯหรือขอให้นายกฯยุบสภา ถามว่าวันนี้ปัญหาที่มันยังคงอยู่ ที่มีความสลับสลับซ้อนไม่ว่าจะเป็นภายในและต่างประเทศ จะให้ใครมาดูแล ตนคิดว่า วันนี้นายกไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะยุบสภา เพราะอาจจะได้รับการว่ากล่าวได้ว่า จะยุบสภาเพื่อหนีปัญหา วันนี้ประเทศต้องการผู้นำที่จะต้องเดินหน้าในการแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้
**ปธ.วิปค้านตกใจกลิ่นยุบสภา เม.ย.
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงห้วงเวลาการยื่นญัตตอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ท่ามกลางกระแสนายกรัฐมนตรีเริ่มส่งสัญญาณว่าจะยุบสภาในเดือน เม.ย.หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดย นายวิทยาแสร้งทำท่าตกใจ พร้อมบอกว่า “เอ้า เหรอ ตกใจ”
**“หน่อยแนะรีบยุบไปตายดาบหน้า
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองโดยทั่วไปในขณะนี้ หากตนอยู่ร่วมในรัฐบาลคงต้องการที่จะยุบสภาให้เร็วที่สุด เพราะการอยู่ในตำแหน่งต่อไปก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ โดยเฉพาะปัญหาข้าวยากหมากแพง ปัญหาสังคมก็บานปลาย ไปจนถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเคยเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า แต่วันนี้รัฐบาลได้เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบแล้ว ซ้ำร้ายยังเปลี่ยนที่ทำงานให้เป็นสนามเด็กเล่น หากรัฐบาลจะอยู่ต่อไปก็ยิ่งจะเกิดปัญหา จึงควรกลับไปเลือกตั้งแล้วเขียนนโยบายหรูๆ คำพูดเพราะๆ มาหาเสียงเพื่อหวังจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง หรือที่เรียกว่าไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า
****ภท.เชื่อยุบสภาหลังสงกรานต์ โวโกย ส.ส.ได้ 70 คน
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณพร้อมยุบสภาในเดือน เม.ย.นี้ หลังแก้ไขรัฐธรรมนูญและอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นว่า เห็นสัญญาณนี้มานานแล้ว เพราะเมื่อถึงเวลาดังกล่าว ปัจจัยต่างๆ ก็จะถือว่าครบถ้วน ส่วนตัวเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือหลังเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ ภท.ได้เตรียมตัวเพื่อลงเลือกตั้งหากมีการยุบสภานานแล้ว โดยพรรคตั้งเป้าว่าน่าจะได้ ส.ส.ถึง 70 คน จากเดิมที่มีอยู่เพียง 32 คน โดยพื้นที่ ที่น่าจะได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น ได้แก่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยภาคหลังสุด น่าจะได้มาอย่างน้อย 2 คน
**กกต.หวังรัฐดันกม.ลูกก่อนเลือกตั้ง
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กกต.เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว ซึ่งในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราสุดท้ายบัญญัติว่าในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการพิจารณาแล้ว และการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ยังกระทำไม่แล้ว หากจะต้องมีการเลือกตั้งก็ให้อำนาจกกต. ออกประกาศ ประกาศข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งได้ ซึ่งก็ถือว่ากกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข
ทั้งนี้ก็มีข้อกังวลของพรรคการเมืองว่าการออกประกาศฯของกกต.อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเกิดปัญหากับการทำงานของกกต. ตรงนี้ทางกกต.ก็เห็นว่าเพื่อให้พรรคการเมืองคลายกังวลมการออกประกาศฯไม่กลายเป็นข้อโต้แย้ง รัฐบาลก็น่าจะผลักดันให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งที่กกต.เตรียมไว้เพียง 20 กว่ามาตรา หากรัฐบาลมีการประสานงานกับสมาชิกรัฐสภาและเป็นไปตามที่สมาชิกแต่ละพรรคการเมืองพูดว่าถ้าผ่านสภาคงใช้เวลาไม่นาน ก็เชื่อว่าการแก้ไขน่าจะแล้วเสร็จได้ภายใน 1 เดือน เพราะประเด็นที่จะต้องมีการแก้ไขก็ไม่ได้มีอะไรมาก
ยอมรับว่า การครบวาระของส.ว.สรรหา 74 คนในวันที่ 18 ก.พ. และอาจมีส.ว.บางส่วนลาออกก่อนครบวาระเพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ อาจจะเป็นปัญหาต่อการพิจารณาผ่านร่างแก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ได้ แต่ก็คิดว่าจำนวนเสียงส.ว.ที่จะผ่านร่างกฎหมายก็เพียงแค่กึ่งหนึ่ง และการสรรหาส.ว.ก็คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนมี.ค. ดังนั้นถ้าจะผลักดันให้มีการผ่านร่างแก้ไขกฎหมายลูกก็ไม่น่าจะมีปัญหา
เมื่อถามว่าหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง และเกิดการเปลี่ยนแปลงกกต. นางสดศรี กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นขณะนี้ผสมปนเปกันไปมา จึงอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ได้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงนั้นกกต.ทราบดีว่ากกต.ต้องยึดโยงกับการเมือง แต่การจะมีปฎิวัติ รัฐประหาร แล้วทำให้ไม่มีกกต. แทนที่จะเป็นผลดีกับประชาธิปไตย ตนมองว่าน่าจะทำให้ถูกมองว่าถอยหลังมากกว่า กกต.ยืนยันว่าเราไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ถ้ากกต.ต้องพ้นไปเพราะมีการรัฐประหารก็ไม่เป็นไร แต่การเลือกตั้งอย่างไรเสียก็ควรต้องมี เพราะเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน เนื่องจากไม่มีอำนาจไหนที่มีประโยชน์ และเที่ยงธรรมเท่ากับอำนาจที่มาจากประชาชน
**หมอประเวศชี้ไทยเลยรุนแรงไปแล้ว
นายแพทย์ ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กล่าวว่าสถานการณ์ของประเทศไทยจะไม่พัฒนาไปสู่ความรุนแรงเหมือนประเทศอียิปต์ เนื่องจากของประเทศไทยเลยจุดดังกล่าวไปแล้ว ที่ต้องพูดถึงในปัจจุบันคือการบริหารจัดการและปฏิรูปร่วมกันต่อไป.