ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเลื่อนขายบอนด์ออมทรัพย์ 1 แสนล้าน หลังยอดจัดเก็บรายได้เกินเป้าเงินคงคลังล้นถัง พร้อมงดออกตั๋วคลังรอจังหวะเงินคงคลังเหมาะสมช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่าย เล็งปรับพอร์ตออกบอนด์ยาวมากขึ้นหลังแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ดีเดย์มี.ค.ออกบอนด์อิงเงินเฟ้อ 5 พันล้าน ส่วน เม.ย.ออกบอน 50 ปี 3.5 พันล้าน
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า สบน.จะเลื่อนการเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาทออกไปก่อนจากแผนที่คาดว่าจะสามารถเสนอขายได้ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพราะต้องการบริหารระดับเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน เนื่องจากปัจจุบันเงินคงคลังมีจำนวนสูงถึง 2.5 แสนล้านบาทจากการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมาย แต่ไม่ได้ผลตอบแทนเลย เพราะติดข้อกำหมายที่ระบุว่า จะต้องนำเงินคงคลังไปฝากในบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยไม่ได้รับดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมจะประมาณ 70,000 - 100,000 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อรองรับการค่าใช้จ่ายที่เป็นรายได้ประจำต่างๆ แล้ว ดังนั้นเพื่อบริหารเงินคงคลังให้เกิดประโยชน์ตามนโยบายของนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ในแผนการระดมทุนของสบน.จึงงดออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมในแต่ละเดือนที่ครบกำหนดประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้นอีก และยังทำให้เงินคงคลังลดลงด้วย เพราะต้องนำเงินคงคลังออกไปไปแทนที่เป็นรายจ่ายตามกรอบวงเงินงบประมาณที่บรรจุในระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายที่ผ่านสภาแล้ว
“ตามแผนการออกตั๋วเงินคลัง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดทุกเดือน เราก็จะไม่ออกเพิ่มเติมอีก เพราะถ้าออกเพิ่มก็ยิ่งทำให้ระดับเงินคงคลังเพิ่มขึ้นอีก โดยที่ไม่ได้ผลตอบแทนอะไร ขณะที่ปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลยังขาดดุล 4.2 สนล้านบาท ดังนั้นก็ควรที่จะนำเงินคงคลังนั้นมาใช้แทนการกู้ยืมเงินเข้ามาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ก็จะได้ได้มีภาระต้นทุนในการกู้ยืมเพิ่มเติม ดังนั้นความจำเป็นที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ขณะนี้ก็ยังไม่มี แต่จะทำเมื่อเห็นว่าระดับเงินคงคลังได้ลดลงถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว”
สำหรับในช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นนั้น สบน.จะหันมากู้ระยะยาวมากขึ้น โดยพันธบัตรที่สั้นที่สุดขณะนี้อายุ 4 ปี ส่วนการกู้ยืมระยะสั้นให้เป็นหน้าที่ของธปท. เนื่องจากขณะนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นปรับขึ้นจาก 0.5% มาเป็น 2.25% ตามดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่ปรับขึ้นไป 1.75% ขณะที่ดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 3.8-3.9% เท่านั้น โดยพันธบัตรที่จะออกในช่วงปลายเดือนมีนาคมคือ พันธบัตรที่อ้างอิงเงินเฟ้อวงเงิน 5,000 ล้านบาท หลังจากนั้นในเดือนเมษายนจะออพันธบัตรอายุ 50 ปีวงเงิน 3,500 ล้านบาท.
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า สบน.จะเลื่อนการเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาทออกไปก่อนจากแผนที่คาดว่าจะสามารถเสนอขายได้ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพราะต้องการบริหารระดับเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน เนื่องจากปัจจุบันเงินคงคลังมีจำนวนสูงถึง 2.5 แสนล้านบาทจากการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมาย แต่ไม่ได้ผลตอบแทนเลย เพราะติดข้อกำหมายที่ระบุว่า จะต้องนำเงินคงคลังไปฝากในบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยไม่ได้รับดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมจะประมาณ 70,000 - 100,000 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อรองรับการค่าใช้จ่ายที่เป็นรายได้ประจำต่างๆ แล้ว ดังนั้นเพื่อบริหารเงินคงคลังให้เกิดประโยชน์ตามนโยบายของนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ในแผนการระดมทุนของสบน.จึงงดออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมในแต่ละเดือนที่ครบกำหนดประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้นอีก และยังทำให้เงินคงคลังลดลงด้วย เพราะต้องนำเงินคงคลังออกไปไปแทนที่เป็นรายจ่ายตามกรอบวงเงินงบประมาณที่บรรจุในระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายที่ผ่านสภาแล้ว
“ตามแผนการออกตั๋วเงินคลัง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดทุกเดือน เราก็จะไม่ออกเพิ่มเติมอีก เพราะถ้าออกเพิ่มก็ยิ่งทำให้ระดับเงินคงคลังเพิ่มขึ้นอีก โดยที่ไม่ได้ผลตอบแทนอะไร ขณะที่ปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลยังขาดดุล 4.2 สนล้านบาท ดังนั้นก็ควรที่จะนำเงินคงคลังนั้นมาใช้แทนการกู้ยืมเงินเข้ามาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ก็จะได้ได้มีภาระต้นทุนในการกู้ยืมเพิ่มเติม ดังนั้นความจำเป็นที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ขณะนี้ก็ยังไม่มี แต่จะทำเมื่อเห็นว่าระดับเงินคงคลังได้ลดลงถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว”
สำหรับในช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นนั้น สบน.จะหันมากู้ระยะยาวมากขึ้น โดยพันธบัตรที่สั้นที่สุดขณะนี้อายุ 4 ปี ส่วนการกู้ยืมระยะสั้นให้เป็นหน้าที่ของธปท. เนื่องจากขณะนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นปรับขึ้นจาก 0.5% มาเป็น 2.25% ตามดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่ปรับขึ้นไป 1.75% ขณะที่ดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 3.8-3.9% เท่านั้น โดยพันธบัตรที่จะออกในช่วงปลายเดือนมีนาคมคือ พันธบัตรที่อ้างอิงเงินเฟ้อวงเงิน 5,000 ล้านบาท หลังจากนั้นในเดือนเมษายนจะออพันธบัตรอายุ 50 ปีวงเงิน 3,500 ล้านบาท.