ข่าวใหญ่น่าสนใจตอนนี้คงหนีไม่พ้นกรณีคนไทย 7 คน ถูกทหารกัมพูชาจับกุมเขตพื้นที่อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ด้วยข้อหา เข้าไปในเขตประเทศกัมพูชาโดยไม่ถูกต้อง ดูเหมือนจะเป็นคดีปกติที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยทั่วไป
แต่เมื่อคนไทย 7 คนดังกล่าว บางคนมีสถานภาพเป็นนักการเมือง และบางคนเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มีข้อขัดแย้งกับรัฐบาลและประเทศเพื่อนบ้าน คดีดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นคดีทางการเมือง
แต่เมื่อประเด็นการเมืองดังกล่าวไปเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับเรื่องแนวเขตพรมแดนระหว่างประเทศ คดีที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นคดีความเมืองระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา
แต่เมื่อความเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ถูกผนวกเข้าไปเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกผลักให้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องชาตินิยมทั้งไทยและกัมพูชา
ฝ่ายกัมพูชาเป็นเรื่องที่ผู้นำของประเทศอย่างนายฮุนเซน นำไปจุดชนวนและถือเป็นจุดยืนในการยึดคลองพื้นที่ชายแดนให้เป็นของกัมพูชาและเป็นจุดขายปลุกกระแสคนกัมพูชาเพื่อรักษาฐานะของรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง
ฝ่ายไทยเป็นเรื่องรัฐบาลของนายกอภิสิทธิ์ฯ ที่มีพฤติกรรมซ่อนเร้นผลประโยชน์บางประการมากกว่าการรักษาอธิปไตยของชาติ โดยเฉพาะการตอบโต้ในเรื่องดินแดนที่กัมพูชากล่าวอ้างและเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ภาคประชาชนอย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลที่ปราศจากการเอาใจใส่ในการปกป้องดินแดน
เพราะความแตกต่างในพื้นฐานสภาพปัญหาของทั้งสองประเทศข้างต้น ความรุนแรงและสถานการณ์ของพื้นที่ชายแดนทั้งกัมพูชาและไทยนี้ จึงย่อมทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ
ความจริงเรื่องความเมืองระหว่างประเทศเรื่องแนวเขตพรมแดน มีกรณีการกระทบกระทั่งระหว่างไทย พม่า และลาวเกิดขึ้นมาโดยตลอดในห้วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่เรื่องที่รุนแรงเกินกว่าที่จะแก้ไข ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะทุกครั้งรัฐบาลไทยสามารถคลี่คลายลดความขัดแย้งลงได้ในที่สุดด้วยบทบาทและการดำเนินการที่ชัดเจนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
แต่กรณีเหตุเกิดที่บ้านหนองจาน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะทำไมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เป็นองค์กรสำคัญจะเป็นหน่วยงานแรก ที่จะออกมากำหนดท่าทีและแนวทางที่ชัดเจนว่าปัญหาเขตแดนจะให้ทุกหน่วยได้ถือปฏิบัติหรือจุดยืนที่ชัดเจนอย่างไร
กรณีนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาที่ควรยุบหน่วยงานนี้ได้แล้ว
ทำไมกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศที่มักจะออกมาเป็นกระบอกเสียงสำคัญให้ประเทศเพื่อนบ้านได้เข้าใจในเรื่องข้อตกลงเขตแดนตามที่ได้มีสนธิสัญญาหรือข้อตกลงไว้
กรณีนี้กรมสนธิสัญญาหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหน่วยงานนี้ใหม่
ทำไมกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของแผนที่ที่ให้ทุกส่วนราชการถือปฏิบัติ เป็นหน่วยงานที่จะยืนยันเรื่องพื้นที่เขตแดนที่ถูกต้องให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจและมั่นใจในเรื่องเขตแดน
กรณีนี้กรมแผนที่ทหารหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนแปลงตั้งกระทรวงแผนที่และเขตแดนขึ้นมาทดแทนใหม่
อย่างไรก็ดี ปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทในครั้งนี้ บทบาทหน่วยงานสำคัญที่สุดนอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีหน่วยงานที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง
คงหนีไม่พ้น กระทรวงมหาดไทย ที่จะเป็นพระเอกประมวลข้อเท็จจริงให้รัฐบาลและประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้รู้โดยทั่วกันในเรื่องการพิพาทแนวเขตแดนครั้งนี้ว่า
ประการแรก เมื่อมีราษฎรการกล่าวอ้างถึงเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดินในที่พิพาท โดยชัดเจน
ทำไมอธิบดีกรมที่ดินในฐานะหน่วยงานที่ดูแลการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ จึงไม่ประมวลข้อเท็จจริงข้อมูลการได้มา การครอบครองที่ดิน ระวางแนวเขตที่ดิน รวมทั้งการบันทึกปากคำผู้เกี่ยวข้อง อันจะเป็นข้อมูลที่รัฐบาลสามารถใช้เป็นเอกสารสำคัญในการยืนยันเขตพื้นที่ของไทยได้อย่างชัดเจน
กรณีนี้กรมที่ดินกลับเพิกเฉย ปล่อยให้บุคคลต่างๆ ออกมาให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ประการที่สอง เมื่อปัจจุบันการปกครองในพื้นที่ได้แบ่งเขตอำเภอ ตำบล หมู่บ้านโดยมีการตราพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดแนวเขตพื้นที่ของอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านอย่างชัดเจนแล้ว
ทำไมอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการปกครองท้องที่ จึงไม่ประมวลข้อเท็จจริงแนวเขตการปกครองให้รัฐบาลและสาธารณชนทราบ เพราะเมื่อมีการแบ่งเขตอำเภอ ตำบล หมู่บ้านแล้ว นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่รับผิดชอบย่อมมีคำตอบในเรื่องเขตพื้นที่ที่ชัดเจนรวมทั้งแนวเขตชายแดนด้วย
กรณีนี้กรมการปกครองกลับเพิกเฉย ปล่อยให้หลักฐานสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลหลุดมือไป
ประการที่สาม เมื่อมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับพื้นที่ตั้ง ศูนย์อพยพบ้านหนองจานว่าอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชา
ทำไมปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบกำกับกองการต่างประเทศ สป.ที่ดูแลงานผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมืองรวมทั้งการดูแลศูนย์อพยพต่างในอดีตที่ผ่านมา และมีเอกสารข้อมูลดังกล่าว จึงไม่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เพื่อเกิดความกระจ่างในเรื่องนี้ แต่กลับปล่อยให้กล่าวอ้างกันไปมาอย่างเลื่อนลอย
กรณีนี้สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย กลับเพิกเฉย หรือเพราะบุคลากรที่รับผิดชอบงานปัจจุบันไม่มีความรู้เรื่องราวในงานที่รับผิดชอบของตนในอดีต
เมื่อมหาดไทยมี มท.1 เป็นแค่นักการเมือง มิใช่ผู้มีจิตวิญญาณเสมือนสมุหนายกในอดีตและอธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมการปกครอง และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นแค่คนของนักการเมืองมิใช่มีจิตวิญญาณของนักปกครองที่แท้จริง
จึงไม่แปลกที่คนมหาดไทยเหล่านี้ ไม่นำพาในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองทั้ง 3 ประการข้างต้น เพราะนอกจากเล่นละครมหาดไทยไม่เป็นแล้ว จึงยากที่จะไปเล่นละครการเมือง
แต่เมื่อคนไทย 7 คนดังกล่าว บางคนมีสถานภาพเป็นนักการเมือง และบางคนเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มีข้อขัดแย้งกับรัฐบาลและประเทศเพื่อนบ้าน คดีดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นคดีทางการเมือง
แต่เมื่อประเด็นการเมืองดังกล่าวไปเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับเรื่องแนวเขตพรมแดนระหว่างประเทศ คดีที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นคดีความเมืองระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา
แต่เมื่อความเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ถูกผนวกเข้าไปเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกผลักให้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องชาตินิยมทั้งไทยและกัมพูชา
ฝ่ายกัมพูชาเป็นเรื่องที่ผู้นำของประเทศอย่างนายฮุนเซน นำไปจุดชนวนและถือเป็นจุดยืนในการยึดคลองพื้นที่ชายแดนให้เป็นของกัมพูชาและเป็นจุดขายปลุกกระแสคนกัมพูชาเพื่อรักษาฐานะของรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง
ฝ่ายไทยเป็นเรื่องรัฐบาลของนายกอภิสิทธิ์ฯ ที่มีพฤติกรรมซ่อนเร้นผลประโยชน์บางประการมากกว่าการรักษาอธิปไตยของชาติ โดยเฉพาะการตอบโต้ในเรื่องดินแดนที่กัมพูชากล่าวอ้างและเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ภาคประชาชนอย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลที่ปราศจากการเอาใจใส่ในการปกป้องดินแดน
เพราะความแตกต่างในพื้นฐานสภาพปัญหาของทั้งสองประเทศข้างต้น ความรุนแรงและสถานการณ์ของพื้นที่ชายแดนทั้งกัมพูชาและไทยนี้ จึงย่อมทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ
ความจริงเรื่องความเมืองระหว่างประเทศเรื่องแนวเขตพรมแดน มีกรณีการกระทบกระทั่งระหว่างไทย พม่า และลาวเกิดขึ้นมาโดยตลอดในห้วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่เรื่องที่รุนแรงเกินกว่าที่จะแก้ไข ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะทุกครั้งรัฐบาลไทยสามารถคลี่คลายลดความขัดแย้งลงได้ในที่สุดด้วยบทบาทและการดำเนินการที่ชัดเจนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
แต่กรณีเหตุเกิดที่บ้านหนองจาน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะทำไมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เป็นองค์กรสำคัญจะเป็นหน่วยงานแรก ที่จะออกมากำหนดท่าทีและแนวทางที่ชัดเจนว่าปัญหาเขตแดนจะให้ทุกหน่วยได้ถือปฏิบัติหรือจุดยืนที่ชัดเจนอย่างไร
กรณีนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาที่ควรยุบหน่วยงานนี้ได้แล้ว
ทำไมกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศที่มักจะออกมาเป็นกระบอกเสียงสำคัญให้ประเทศเพื่อนบ้านได้เข้าใจในเรื่องข้อตกลงเขตแดนตามที่ได้มีสนธิสัญญาหรือข้อตกลงไว้
กรณีนี้กรมสนธิสัญญาหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหน่วยงานนี้ใหม่
ทำไมกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของแผนที่ที่ให้ทุกส่วนราชการถือปฏิบัติ เป็นหน่วยงานที่จะยืนยันเรื่องพื้นที่เขตแดนที่ถูกต้องให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจและมั่นใจในเรื่องเขตแดน
กรณีนี้กรมแผนที่ทหารหายหัวไปไหน หรือถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนแปลงตั้งกระทรวงแผนที่และเขตแดนขึ้นมาทดแทนใหม่
อย่างไรก็ดี ปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทในครั้งนี้ บทบาทหน่วยงานสำคัญที่สุดนอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีหน่วยงานที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง
คงหนีไม่พ้น กระทรวงมหาดไทย ที่จะเป็นพระเอกประมวลข้อเท็จจริงให้รัฐบาลและประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้รู้โดยทั่วกันในเรื่องการพิพาทแนวเขตแดนครั้งนี้ว่า
ประการแรก เมื่อมีราษฎรการกล่าวอ้างถึงเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดินในที่พิพาท โดยชัดเจน
ทำไมอธิบดีกรมที่ดินในฐานะหน่วยงานที่ดูแลการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ จึงไม่ประมวลข้อเท็จจริงข้อมูลการได้มา การครอบครองที่ดิน ระวางแนวเขตที่ดิน รวมทั้งการบันทึกปากคำผู้เกี่ยวข้อง อันจะเป็นข้อมูลที่รัฐบาลสามารถใช้เป็นเอกสารสำคัญในการยืนยันเขตพื้นที่ของไทยได้อย่างชัดเจน
กรณีนี้กรมที่ดินกลับเพิกเฉย ปล่อยให้บุคคลต่างๆ ออกมาให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ประการที่สอง เมื่อปัจจุบันการปกครองในพื้นที่ได้แบ่งเขตอำเภอ ตำบล หมู่บ้านโดยมีการตราพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดแนวเขตพื้นที่ของอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านอย่างชัดเจนแล้ว
ทำไมอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการปกครองท้องที่ จึงไม่ประมวลข้อเท็จจริงแนวเขตการปกครองให้รัฐบาลและสาธารณชนทราบ เพราะเมื่อมีการแบ่งเขตอำเภอ ตำบล หมู่บ้านแล้ว นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่รับผิดชอบย่อมมีคำตอบในเรื่องเขตพื้นที่ที่ชัดเจนรวมทั้งแนวเขตชายแดนด้วย
กรณีนี้กรมการปกครองกลับเพิกเฉย ปล่อยให้หลักฐานสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลหลุดมือไป
ประการที่สาม เมื่อมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับพื้นที่ตั้ง ศูนย์อพยพบ้านหนองจานว่าอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชา
ทำไมปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบกำกับกองการต่างประเทศ สป.ที่ดูแลงานผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมืองรวมทั้งการดูแลศูนย์อพยพต่างในอดีตที่ผ่านมา และมีเอกสารข้อมูลดังกล่าว จึงไม่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เพื่อเกิดความกระจ่างในเรื่องนี้ แต่กลับปล่อยให้กล่าวอ้างกันไปมาอย่างเลื่อนลอย
กรณีนี้สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย กลับเพิกเฉย หรือเพราะบุคลากรที่รับผิดชอบงานปัจจุบันไม่มีความรู้เรื่องราวในงานที่รับผิดชอบของตนในอดีต
เมื่อมหาดไทยมี มท.1 เป็นแค่นักการเมือง มิใช่ผู้มีจิตวิญญาณเสมือนสมุหนายกในอดีตและอธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมการปกครอง และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นแค่คนของนักการเมืองมิใช่มีจิตวิญญาณของนักปกครองที่แท้จริง
จึงไม่แปลกที่คนมหาดไทยเหล่านี้ ไม่นำพาในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองทั้ง 3 ประการข้างต้น เพราะนอกจากเล่นละครมหาดไทยไม่เป็นแล้ว จึงยากที่จะไปเล่นละครการเมือง