วานนี้ ( 4 ก.พ.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้จัดประชุมสัมมนา เพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองให้แก่ผู้แทนพรรคการเมือง กกต. และ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ประธานการประชุม กล่าวก่อนการสัมมนาว่า การเชิญประชุมดังกล่าว เพื่อรับทราบการจัดทำระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรค ที่ขณะนี้ทางสำนักงานกกต. สามารถสร้างระบบจนมีความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ซึ่ง กกต.จังหวัด และพรรคการเมืองสามารถเข้าเว็บไซต์ ของกกต.เพื่อทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็นส.ว.แบบสรรหา และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ได้ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไป ทั้งนี้ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องการทราบว่าตนเองมีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ ของกกต.ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้แทนพรรคการเมือง และกกต.จังหวัด มีความสำคัญมาก เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวเท่านั้น ที่ผ่านมาในการตรวจสอบของกกต. หากพบว่าบุคคลใดมีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค ก็จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแรกเป็นสำคัญ
ส่วนที่มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ 2 จะถือว่าพรรคการเมืองที่ 2 มาแอบอ้างเอาชื่อไป เพราะปัญหาซ้ำซ้อนส่วนใหญ่จะเกิดจากกรณีมีพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วไปแอบอ้างเอาชื่อบุคคล มาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้แทนพรรคการเมืองต่างแสดงความห่วงใยกับการที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 101( 3) บัญญัติให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในกรณีมีการยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ว่า ตรงจุดนี้ จะให้ทำให้เกิดปัญหาพรรคการเมืองไม่สามารถคุมส.ส.ได้ เพราะก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ก็ยังสามารถย้ายพรรคสังกัดได้ ซึ่งอาจกลายเป็นช่องทางให้เกิดการซื้อขายตัว ส.ส. และในแง่ของระบบการจัดทำฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของกกต. จะสามารถทำให้สมบูรณ์เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการตรวจสอบของแต่ละพรรคการเมืองได้มากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะในกรณีที่ ส.ส.ที่ต้องการย้ายพรรค เมื่อยื่นใบลาออกจากพรรค ก. เพื่อไปยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกพรรค ข. แต่ปรากฏว่า พรรค ก. กลับไม่นำข้อมูลการยื่นลาออกของบุคคลดังกล่าว ลงในระบบฐานข้อมูลของ กกต. หรือส่งเอกสารแจ้งต่อ กกต. ซึ่งก็จะทำให้พรรค ข. ไม่สามารถลงบันทึกการสมัครรับเป็นสมาชิกพรรคของบุคคลดังกล่าวได้ เช่นเดียวกัน และตรงนี้ก็อาจจะกลายเป็นปัญหามีการฟ้องศาลตามมา เมื่อมีการยื่นสมัครรับเลือกตั้งว่า ตกลงแล้วเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด และมีการยื่นลาออกจากพรรค ก. จริงหรือไม่
นอกจากผู้แทนพรรคการเมือง ยังแสดงความห่วงใยกับการที่ กกต.จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จาก 400 เขต ให้เหลือ 375 เขต ว่าควรจะต้องให้ประชาชนในจังหวัด และนักการเมืองในพื้นที่มีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของกกต.เพียงฝ่ายเดียว เพราะการแบ่งเขตของกกต. มีผลต่อการได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมือง ซึ่งก็รวมถึงการที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจกกต. ออกประกาศข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งในกรณีที่ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ไม่แล้วเสร็จด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ นายธนินศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เห็นว่า ในเรื่องการย้ายพรรคสังกัดของส.ส. ที่ทำได้จนถึงก่อนวันสมัครรับเลือกตั้งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องแก้กฎหมาย แต่เมื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ทางกกต. ก็จะพยายามในเรื่องของการปรับระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งตามกฎหมายพรรคการเมืองนั้น ได้ให้ทุกพรรคการเมืองรายงานการปรับเพิ่มลดของสมาชิกพรรคทุกๆ 3 เดือน แต่ถ้ามีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้วทางกกต.อยากขอความร่วมมือทุกพรรคการเมืองให้รายงานการเพิ่มลดจำนวนสมาชิกให้กกต.ทราบทุกวัน โดยสามารถเข้าบันทึกลงในระบบที่เชื่อมระหว่างพรรคการเมืองกับกกต. และให้เจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารยืนยันต่อกกต.ในช่วงเย็นวันเดียวกัน เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาเรื่องข้อมูลไม่ตรงกัน และหลีกเลี่ยงการต้องไปฟ้องร้องกันในศาล ซึ่งหลังจากรัฐธรรมนูญปี 50 มีผลบังคับใช้ กกต.ก็ได้มีการกลั่นกรองในเรื่องการเป็นสมาชิกซ้ำซ้อนของบุคคลในแต่ละพรรคการเมือง ที่จากเดิมมี 20 ล้านคนที่มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ปัจจุบันตรวจสอบแล้วเหลือบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียว 4.7 ล้านคน
นางสดศรี ได้ชี้แจงกรณีการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า กกต.คงหนีไม่พ้นการถูกกล่าวหาว่า แบ่งเขตเอื้อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่โดยข้อเท็จจริง เมื่อระดับจังหวัดดำเนินการเสนอรูปแบบการแบ่งเขต 3 รูปแบบแล้ว ก็ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งปัญหาเรื่องของการแบ่งเขต สอดคล้องกับปัญหาเรื่องการออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้ง ที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อำนาจ กกต. ตรงนี้ถ้ามองแบบผ่านๆ ก็หมือนให้อำนาจ กกต.มากมาย แต่ถ้ามองให้ลึกจะเห็นว่า เป็นโทษและเป็นยาพิษสำหรับกกต. เพราะ ถ้ากกต.มีการออกประกาศที่ทำให้ต้องเกิดการตีความกัน ก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องถูกวิพาษ์วิจารณ์ และสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจของกกต.
ดังนั้นถ้าเป็นไปได้อยากฝากถึงสมาชิกรัฐสภาว่า หลังผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรพิจารณา ร่าง แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. 3 วาระรวดให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยเลือกตั้งเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหา
ทั้งนี้ การตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้แทนพรรคการเมือง และกกต.จังหวัด มีความสำคัญมาก เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวเท่านั้น ที่ผ่านมาในการตรวจสอบของกกต. หากพบว่าบุคคลใดมีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค ก็จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแรกเป็นสำคัญ
ส่วนที่มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ 2 จะถือว่าพรรคการเมืองที่ 2 มาแอบอ้างเอาชื่อไป เพราะปัญหาซ้ำซ้อนส่วนใหญ่จะเกิดจากกรณีมีพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วไปแอบอ้างเอาชื่อบุคคล มาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้แทนพรรคการเมืองต่างแสดงความห่วงใยกับการที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 101( 3) บัญญัติให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในกรณีมีการยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ว่า ตรงจุดนี้ จะให้ทำให้เกิดปัญหาพรรคการเมืองไม่สามารถคุมส.ส.ได้ เพราะก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ก็ยังสามารถย้ายพรรคสังกัดได้ ซึ่งอาจกลายเป็นช่องทางให้เกิดการซื้อขายตัว ส.ส. และในแง่ของระบบการจัดทำฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของกกต. จะสามารถทำให้สมบูรณ์เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการตรวจสอบของแต่ละพรรคการเมืองได้มากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะในกรณีที่ ส.ส.ที่ต้องการย้ายพรรค เมื่อยื่นใบลาออกจากพรรค ก. เพื่อไปยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกพรรค ข. แต่ปรากฏว่า พรรค ก. กลับไม่นำข้อมูลการยื่นลาออกของบุคคลดังกล่าว ลงในระบบฐานข้อมูลของ กกต. หรือส่งเอกสารแจ้งต่อ กกต. ซึ่งก็จะทำให้พรรค ข. ไม่สามารถลงบันทึกการสมัครรับเป็นสมาชิกพรรคของบุคคลดังกล่าวได้ เช่นเดียวกัน และตรงนี้ก็อาจจะกลายเป็นปัญหามีการฟ้องศาลตามมา เมื่อมีการยื่นสมัครรับเลือกตั้งว่า ตกลงแล้วเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด และมีการยื่นลาออกจากพรรค ก. จริงหรือไม่
นอกจากผู้แทนพรรคการเมือง ยังแสดงความห่วงใยกับการที่ กกต.จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จาก 400 เขต ให้เหลือ 375 เขต ว่าควรจะต้องให้ประชาชนในจังหวัด และนักการเมืองในพื้นที่มีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของกกต.เพียงฝ่ายเดียว เพราะการแบ่งเขตของกกต. มีผลต่อการได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมือง ซึ่งก็รวมถึงการที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจกกต. ออกประกาศข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งในกรณีที่ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ไม่แล้วเสร็จด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ นายธนินศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เห็นว่า ในเรื่องการย้ายพรรคสังกัดของส.ส. ที่ทำได้จนถึงก่อนวันสมัครรับเลือกตั้งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องแก้กฎหมาย แต่เมื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ทางกกต. ก็จะพยายามในเรื่องของการปรับระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งตามกฎหมายพรรคการเมืองนั้น ได้ให้ทุกพรรคการเมืองรายงานการปรับเพิ่มลดของสมาชิกพรรคทุกๆ 3 เดือน แต่ถ้ามีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้วทางกกต.อยากขอความร่วมมือทุกพรรคการเมืองให้รายงานการเพิ่มลดจำนวนสมาชิกให้กกต.ทราบทุกวัน โดยสามารถเข้าบันทึกลงในระบบที่เชื่อมระหว่างพรรคการเมืองกับกกต. และให้เจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารยืนยันต่อกกต.ในช่วงเย็นวันเดียวกัน เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาเรื่องข้อมูลไม่ตรงกัน และหลีกเลี่ยงการต้องไปฟ้องร้องกันในศาล ซึ่งหลังจากรัฐธรรมนูญปี 50 มีผลบังคับใช้ กกต.ก็ได้มีการกลั่นกรองในเรื่องการเป็นสมาชิกซ้ำซ้อนของบุคคลในแต่ละพรรคการเมือง ที่จากเดิมมี 20 ล้านคนที่มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ปัจจุบันตรวจสอบแล้วเหลือบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียว 4.7 ล้านคน
นางสดศรี ได้ชี้แจงกรณีการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า กกต.คงหนีไม่พ้นการถูกกล่าวหาว่า แบ่งเขตเอื้อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่โดยข้อเท็จจริง เมื่อระดับจังหวัดดำเนินการเสนอรูปแบบการแบ่งเขต 3 รูปแบบแล้ว ก็ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งปัญหาเรื่องของการแบ่งเขต สอดคล้องกับปัญหาเรื่องการออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้ง ที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อำนาจ กกต. ตรงนี้ถ้ามองแบบผ่านๆ ก็หมือนให้อำนาจ กกต.มากมาย แต่ถ้ามองให้ลึกจะเห็นว่า เป็นโทษและเป็นยาพิษสำหรับกกต. เพราะ ถ้ากกต.มีการออกประกาศที่ทำให้ต้องเกิดการตีความกัน ก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องถูกวิพาษ์วิจารณ์ และสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจของกกต.
ดังนั้นถ้าเป็นไปได้อยากฝากถึงสมาชิกรัฐสภาว่า หลังผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรพิจารณา ร่าง แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. 3 วาระรวดให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยเลือกตั้งเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหา