ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติระบุไทยจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยี ระบบการผลิตและรักษาสมดุลเศรษฐกิจรองรับ "ยุคทองของเอเชีย" ยืนยันแบงก์ชาติต้องใช้ดอกเบี้ยสกัดภาวะฟองสบู่ พร้อมแนะรัฐบาลเพิ่มงบประมาณด้านการลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเศรษฐกิจโตยั่งยืน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ"นโยบายการเงินกับยุคทองของเอเชีย" จัดโดย นสพ.โพสต์ทูเดย์ เมื่อวานนี้ (3 ม.ค.) ว่า การพัฒนาศักยภาพของไทยเป็นโอกาสและความท้าทายในยุคที่ความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมือง ไทยควรแสวงหาประโยชน์จากการค้าและการลงทุนที่ใกล้ชิดมากขึ้น ใช้โอกาสของยุคทองของเอเชียให้เต็มที่ และจำเป็นต้องรักษาความสมดุลทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหัวใจของการดำเนินนโยบายการเงิน
นายประสารยอมรับว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนในขณะนี้ ค่อนข้างผันผวน ส่วนใหญ่จะลงทุนผ่านช่องทางที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ตลาดตราสารหนี้ รองลงมาคือตลาดหุ้น ส่วนการลงทุนในตลาดอสังหาฯ เป็นการลงทุนระยะยาว แต่ ธปท.ก็จะจับตาเช่นกัน และท่ามกลางความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การใช้นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมืออื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือด้วย เช่น เครื่องมือที่ให้ประชาชนสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้รองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายได้ดีขึ้น
"หากเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้อย่างมั่นคง ต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีและระบบการผลิตที่พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นประเทศชายขอบที่ถูกทิ้งให้ย่ำอยู่กับที่ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในยุคทองนี้"
นายประสารย้ำว่า ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในระยะต่อไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบเป็นเวลานาน ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง อาจทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ และประชาชนเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่สามารถที่จะจัดการกับความท้าทายได้เพียงลำพัง ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือด้วย ในสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน ต้องให้ความสำคัญทางด้านกฎระเบียบและการจัดทำงบประมาณ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะปรับเข้าสู่ระดับการ ขยายตัวในระยะยาว ทั้งจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก
"รัฐบาลควรเพิ่มงบลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพและยั่งยืน" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่าขณะนี้ ไม่น่าจะส่งผลอะไรมากนัก เนื่องจากปกติแล้วตระกร้าสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย เวลาคำนวณเป็น CPI โดยเฉลี่ยจะเป็นสินค้านำเข้า 15% ถือว่าน้อย เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าไป ก็จะกระทบราคาเพียงเล็กน้อย จากการศึกษาของ ธปท.ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า หากเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่า 1% จะมีผลกระทบต่อราคาผู้บริโภคเพียง 0.10-0.15%.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ"นโยบายการเงินกับยุคทองของเอเชีย" จัดโดย นสพ.โพสต์ทูเดย์ เมื่อวานนี้ (3 ม.ค.) ว่า การพัฒนาศักยภาพของไทยเป็นโอกาสและความท้าทายในยุคที่ความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมือง ไทยควรแสวงหาประโยชน์จากการค้าและการลงทุนที่ใกล้ชิดมากขึ้น ใช้โอกาสของยุคทองของเอเชียให้เต็มที่ และจำเป็นต้องรักษาความสมดุลทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหัวใจของการดำเนินนโยบายการเงิน
นายประสารยอมรับว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนในขณะนี้ ค่อนข้างผันผวน ส่วนใหญ่จะลงทุนผ่านช่องทางที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ตลาดตราสารหนี้ รองลงมาคือตลาดหุ้น ส่วนการลงทุนในตลาดอสังหาฯ เป็นการลงทุนระยะยาว แต่ ธปท.ก็จะจับตาเช่นกัน และท่ามกลางความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การใช้นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมืออื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือด้วย เช่น เครื่องมือที่ให้ประชาชนสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้รองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายได้ดีขึ้น
"หากเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้อย่างมั่นคง ต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีและระบบการผลิตที่พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นประเทศชายขอบที่ถูกทิ้งให้ย่ำอยู่กับที่ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในยุคทองนี้"
นายประสารย้ำว่า ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในระยะต่อไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบเป็นเวลานาน ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง อาจทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ และประชาชนเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่สามารถที่จะจัดการกับความท้าทายได้เพียงลำพัง ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือด้วย ในสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน ต้องให้ความสำคัญทางด้านกฎระเบียบและการจัดทำงบประมาณ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะปรับเข้าสู่ระดับการ ขยายตัวในระยะยาว ทั้งจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก
"รัฐบาลควรเพิ่มงบลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพและยั่งยืน" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่าขณะนี้ ไม่น่าจะส่งผลอะไรมากนัก เนื่องจากปกติแล้วตระกร้าสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย เวลาคำนวณเป็น CPI โดยเฉลี่ยจะเป็นสินค้านำเข้า 15% ถือว่าน้อย เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าไป ก็จะกระทบราคาเพียงเล็กน้อย จากการศึกษาของ ธปท.ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า หากเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่า 1% จะมีผลกระทบต่อราคาผู้บริโภคเพียง 0.10-0.15%.