แบงก์ชาติย้ำดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วจนเกินไป เพื่อให้ธุรกิจปรับตัวได้ทัน ขณะเดียวกันออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่องในระบบเผยปีนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายผันผวนและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินในโลก ซึ่งรวมค่าเงินบาทไทยด้วย
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเข้ามาซื้อตราสารหนี้ลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากช่วงต้นปีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนช่องทางนี้ค่อนข้างเยอะหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ม.ค.มีต่างชาติซื้อตราสารหนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในตลาดหุ้นมีการขายออกไป 800 ล้านบาท เนื่องจากการตัดสินใจของนักลงทุนหลายเหตุผลประกอบกันทั้งการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Risk Aversion) สถานการณ์จลาจลในประเทศอียิปต์ ราคาน้ำมันและทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น และตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐดีขึ้น
ทั้งนี้ ธปท.มองว่า ในปี 54 เงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างผันผวนไม่ว่าจะมองระยะสั้นแค่ 1 วันและเป็นรายสัปดาห์ ทำให้ค่าเงินในโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในหลายประเทศค่าเงินสวิงค่อนข้างมาก และในส่วนของไทยมีเงินทุนไหลเข้าออกมากเช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากเงินบาทอ่อนค่าในช่วงเช้าและกลับมาแข็งค่าในช่วงเย็นเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามไม่ว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะเป็น 2 ทางหรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ธปท.พยายามจะดูแลไม่ให้เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วจนเกินไป เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้
ปรับแนวทางออกพันธบัตร
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันปริมาณการดูดซับสภาพคล่องในระบบของธปท.เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากทุนสำรองทางการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเร็วมากช่วงที่ผ่านมา จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินไม่ให้มีมากจนเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งช่วยให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงหรือบิดเบือนกว่าความเป็นจริง ธปท.จึงมีแผนจะออกพันธบัตร 2 ประเภท เพื่อเปิดประมูลให้แก่นักลงทุนสถาบันออกประมูล และพบว่าในตลาดมีความต้องการพันธบัตรอายุ 4-7 ปีมากขึ้น
โดยประเภทแรกเป็นพันธบัตรธปท.ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ซึ่งจะออกประมูลไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยจะเริ่มเปิดประมูลครั้งแรกในวันที่ 22 ก.พ.นี้ และอีกประเภทเป็นพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี ออกประมูลทุก 2 เดือน และคาดว่าจะเริ่มต้นออกประมูลในช่วงเดือนมี.ค.นี้ และคิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ(BIBOR) 3 เดือน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 2.4% ทั้งนี้ พันธบัตรธปท.ทั้ง 2 ประเภทจะออกประมูลแต่ละครั้ง 10,000-20,000 ล้านบาท และจะพิจารณาออกประมูลรุ่นเดิมอีกรอบ (reopen) เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอในตลาดรองตราสารหนี้
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเข้ามาซื้อตราสารหนี้ลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากช่วงต้นปีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนช่องทางนี้ค่อนข้างเยอะหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ม.ค.มีต่างชาติซื้อตราสารหนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในตลาดหุ้นมีการขายออกไป 800 ล้านบาท เนื่องจากการตัดสินใจของนักลงทุนหลายเหตุผลประกอบกันทั้งการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Risk Aversion) สถานการณ์จลาจลในประเทศอียิปต์ ราคาน้ำมันและทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น และตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐดีขึ้น
ทั้งนี้ ธปท.มองว่า ในปี 54 เงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างผันผวนไม่ว่าจะมองระยะสั้นแค่ 1 วันและเป็นรายสัปดาห์ ทำให้ค่าเงินในโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในหลายประเทศค่าเงินสวิงค่อนข้างมาก และในส่วนของไทยมีเงินทุนไหลเข้าออกมากเช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากเงินบาทอ่อนค่าในช่วงเช้าและกลับมาแข็งค่าในช่วงเย็นเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามไม่ว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะเป็น 2 ทางหรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ธปท.พยายามจะดูแลไม่ให้เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วจนเกินไป เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้
ปรับแนวทางออกพันธบัตร
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันปริมาณการดูดซับสภาพคล่องในระบบของธปท.เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากทุนสำรองทางการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเร็วมากช่วงที่ผ่านมา จึงจำเป็นที่ธปท.ต้องดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินไม่ให้มีมากจนเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งช่วยให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงหรือบิดเบือนกว่าความเป็นจริง ธปท.จึงมีแผนจะออกพันธบัตร 2 ประเภท เพื่อเปิดประมูลให้แก่นักลงทุนสถาบันออกประมูล และพบว่าในตลาดมีความต้องการพันธบัตรอายุ 4-7 ปีมากขึ้น
โดยประเภทแรกเป็นพันธบัตรธปท.ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ซึ่งจะออกประมูลไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยจะเริ่มเปิดประมูลครั้งแรกในวันที่ 22 ก.พ.นี้ และอีกประเภทเป็นพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี ออกประมูลทุก 2 เดือน และคาดว่าจะเริ่มต้นออกประมูลในช่วงเดือนมี.ค.นี้ และคิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ(BIBOR) 3 เดือน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 2.4% ทั้งนี้ พันธบัตรธปท.ทั้ง 2 ประเภทจะออกประมูลแต่ละครั้ง 10,000-20,000 ล้านบาท และจะพิจารณาออกประมูลรุ่นเดิมอีกรอบ (reopen) เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอในตลาดรองตราสารหนี้