วานนี้ (2 ก.พ.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้าน ต.ป่าเซ่า และ ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ กว่า 70 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงทุ่งกะโล่ ประมาณ 7,500 ไร่ ได้เดินทางมายื่นฟ้อง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) จ.อุตรดิตถ์ ผู้ว่าราชการจ.อุตรดิตถ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จ.อุตรดิตถ์ เลขาธิการส.ป.ก .และรมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งหรืออนุญาตใดๆที่ให้หน่วยงานราชการ จำนวน 24 หน่วยงาน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์เข้าไปใช้พื้นที่สร้างอาคารสำนักงานและอุทยานการศึกษาการกีฬาและนันทนาการ รวมทั้งขอให้ทุบรื้ออาคารสิ่งปลูกสร้างที่กำลังก่อสร้าง และประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติหรือนานาชาติต่อไป
วันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก และปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่บึงทุ่งกะโล่ จ.อุตรดิตถ์นั้น เป็นปัญหาระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานของรัฐ เพราะชาวบ้านต้องการอนุรักษ์บึงดังกล่าวที่มีพื้นที่ประมาณ 7,500 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่แอ่งกะทะสามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาตามธรรมชาติและน้ำที่ไหลลงจากที่สูงเปรียบเสมือนแก้มลิงขนาดใหญ่ของจังหวัด ทำให้เป็นแหล่งเจริญพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์ป่า และสัตว์ทั่วไปจำนวนมาก อีกทั้งโดยบริเวณรอบขอบบึงทั้งหมดยังเป็นพื้นที่นาของชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์จากบึงในการทำมาหากินและใช้น้ำในบึงดังกล่าวทำนาอีกด้วย แต่ส.ป.ก.ใช้อำนาจอ้างกฎหมายเข้ามาถือครองที่ดินในพื้นที่บึงดังกล่าวเพื่อปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ได้สอบถามประชาชน ทั้งที่มีพื้นที่บางส่วนยังมีชาวบ้านถือสิทธิครอบครองอยู่
“ส.ป.ก.กลับมีความพยายามจัดสรรที่ดินให้หน่วยงานราชการ จำนวน 24 หน่วยงานโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ที่ขอใช้ที่ดินกว่า 2,000 ไร่ โดยไม่ดูสภาพข้อเท็จจริงว่าจ.อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดเล็ก ๆ จะหานักศึกษามาเรียนแทบจะไม่ได้ แต่กลับมาขอขยายใช้พื้นที่เพื่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานและอุทยานการศึกษาการกีฬาและนันทนาการอีก รวมทั้งก่อนหน้านั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 52 ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและไม่ให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำ ดังนั้นชาวบ้านที่เดือนร้อนต้องมาร้องขอต่อศาลปกครอง เพื่อมีคำสั่งระงับการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน” .
วันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก และปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่บึงทุ่งกะโล่ จ.อุตรดิตถ์นั้น เป็นปัญหาระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานของรัฐ เพราะชาวบ้านต้องการอนุรักษ์บึงดังกล่าวที่มีพื้นที่ประมาณ 7,500 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่แอ่งกะทะสามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาตามธรรมชาติและน้ำที่ไหลลงจากที่สูงเปรียบเสมือนแก้มลิงขนาดใหญ่ของจังหวัด ทำให้เป็นแหล่งเจริญพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์ป่า และสัตว์ทั่วไปจำนวนมาก อีกทั้งโดยบริเวณรอบขอบบึงทั้งหมดยังเป็นพื้นที่นาของชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์จากบึงในการทำมาหากินและใช้น้ำในบึงดังกล่าวทำนาอีกด้วย แต่ส.ป.ก.ใช้อำนาจอ้างกฎหมายเข้ามาถือครองที่ดินในพื้นที่บึงดังกล่าวเพื่อปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ได้สอบถามประชาชน ทั้งที่มีพื้นที่บางส่วนยังมีชาวบ้านถือสิทธิครอบครองอยู่
“ส.ป.ก.กลับมีความพยายามจัดสรรที่ดินให้หน่วยงานราชการ จำนวน 24 หน่วยงานโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ที่ขอใช้ที่ดินกว่า 2,000 ไร่ โดยไม่ดูสภาพข้อเท็จจริงว่าจ.อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดเล็ก ๆ จะหานักศึกษามาเรียนแทบจะไม่ได้ แต่กลับมาขอขยายใช้พื้นที่เพื่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานและอุทยานการศึกษาการกีฬาและนันทนาการอีก รวมทั้งก่อนหน้านั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 52 ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและไม่ให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำ ดังนั้นชาวบ้านที่เดือนร้อนต้องมาร้องขอต่อศาลปกครอง เพื่อมีคำสั่งระงับการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน” .