ASTVผู้จัดการายวัน – มท.1 ยอมรับจัดทำศูนย์ข้อมูลที่ดินล่าช้าเหตุขาดงบประมาณ ยาหอมเร่งหาแหล่งเงินกู้จากรัฐวิสาหกิจ -เจียดงบไทยเข้มแข็ง วงเงิน 4,500 ล้านให้กรมที่ดิน หวังใช้ศูนย์ฯเป็นเครื่องมือใช้จัดเก็บภาษีที่ดินคาดสร้างรายได้ปีละกว่าแสนล้านบาท
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวมอบนโยบายกับข้าราชการกรมที่ดิน ว่า การทำงานของกรมที่ดินต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นหัวใจของการทำงาน ความพอใจของประชาชนเป็นคำตอบสุดท้ายในการทำงานของกรมที่ดิน โดยเรื่องที่เร่งรัด คือ การออกโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งต้องขอชื่นชม กรมที่ดินที่ขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินให้มากที่สุด
ด้านนายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลย์วุฒิ อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า งานสำคัญคือการตั้งศูนย์ข้อมูลที่ดินและแผนที่แห่งชาติ ซึ่งเป็นการปรับปรุงระบบสารสนเทศในสำนักงานที่ดิน อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวหากทำทั่วประเทศ จะต้องใช้งบประมาณถึง 12,000 ล้านบาท และต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้ปรับงานบางส่วนออก และตั้งเป็นงบเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ข้อมูลที่ดินจำนวน 4,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 กรมที่ดินได้ของบประมาณไป 810 ล้านบาท แต่ได้รับเพียง 192 ล้านบาท จึงดำเนินโครงการได้เพียง 7 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม จำนวน 4 ล้านแปลง โดยทำแผนที่ภาพแปลงดิจิตอล อย่างไรก็ตามหากสร้างศูนย์ข้อมูลได้สำเร็จก่อนปี 55 จะสามารถเก็บภาษีที่ดินได้เฉพาะ 10 จังหวัด ถึงปีละ2,000 ล้านบาท
สำหรับขั้นต่อไปในปี พ.ศ. 2555 จะเสนอของบประมาณสนับสนุนอีก 180 ล้านบาท เพื่อทำศูนย์สนับสนุนอีก 3 จังหวัด และหากเสร็จสิ้นใน 10 จังหวัด จะมีพื้นที่มากกว่า 6 ล้านแปลง และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ จะสามารถเก็บภาษีได้มากกว่าร้อยละ 40 ของภาษีที่ดินทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลที่ดิน จะต้องรวบรวมข้อมูลที่ดิน 32 ล้านแปลง แยกประเภทที่ดินให้ชัดเจนทั้งโฉนด นส.3 ก. หรือที่ดินอื่นอย่างที่ราชพัสดุ ซึ่งนอกจากจะช่วยในการจัดเก็บภาษีที่ดินได้เพิ่มมากขึ้นเพราะมีความชัดเจนในประเภทที่ดินแล้ว ข้อมูลยังใช้กับหน่วยงานอื่น เช่น กรมบังคับคดี ที่จะอายัดที่ดินได้แม่นยำขึ้นด้วย
“โครงการมีความล่าช้า เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา เราไม่ได้งบประมาณไทยเข้มแข็งมาช่วยตรงนี้ และเพดานเงินกู้ของ กรมที่ดินเต็มแล้ว ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ระบุว่า มีแนวทางขอให้รัฐวิสาหกิจ คือธนาคารกรุงไทยลงทุน หรือให้ทางแคนาดาเข้ามาช่วยดูแลระบบ ซึ่งถ้าไม่มีเงินกู้ จะยิ่งทำช้า และรายได้ยิ่งหาย ซึ่งถ้าให้แคนาดาเข้ามาช่วย ก็ต้องดูเงื่อนไขการทำสัญญากับต่างประเทศตามรัฐธรรมนูญ ม.190 แต่ยืนยันว่า ถ้ากู้ แล้วศูนย์ข้อมูลสร้างเสร็จ ภายใน 3 ปี ก็สามารถคืนเงินกู้ได้หมด” อธิบดีกรมที่ดิน กล่าว
นายชวรัตน์ กล่าวเสริมว่า เรื่องศูนย์ข้อมูลที่ดิน ได้ดำเนินการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2555 โดยสำนักงบประมาณจัดงบประมาณให้แค่ปีละ 3-4 จังหวัด ซึ่งมีความล่าช้า แต่ศูนย์ข้อมูลฯจะทำให้สามารถเก็บภาษีเข้ารัฐได้ปีละนับแสนล้านบาท ดังนั้น จึงเห็นว่าควรจะสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ฯนี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีมากขึ้น อีกทั้งยังมีรายรับที่คุ้มค่า
“ได้หมอบหมายให้อธิบดีฯทำเรื่องเสนอมาเพื่อพิจารณาว่า จะกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ หรือเจียดงบประมาณไทยเข้มแข็งมาช่วย โดยอยากให้กู้ทั้งก้อน 4,500 ล้านบาท เพื่อทำโครงการให้เสร็จเร็วที่สุด เพราะมันคุ้มกับการลงทุน เมื่อมีข้อมูลที่ดินเพิ่มขึ้น เราก็ดูแลที่ดินเสียภาษีให้รัดกุมได้มากขึ้น ไม่ปล่อยให้หลุดไปโดยไม่มีข้อมูล” นายชวรัตน์กล่าวเสริม
นายอนุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนงานในปีงบประมาณ 2554 กรมที่ดินได้กำหนดเป้าหมายเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินตามโครงการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินในปีนี้รวม58 จังหวัด 150,000 แปลง ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 30,132 แปลง คิดเป็นร้อยละ 20.09 ของเป้าหมาย ส่วนงานจัดทำและให้บริการระวางแผนที่ระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในการออกโฉนดที่ดิน กำหนดเป้าหมาย 15,000 ระวาง ขณะนี้ดำเนินการได้ 1,474 ระวาง
ในส่วนของโครงการรังวัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ ได้ดำเนินการรังวัดออกและตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง กำหนดเป้าหมาย 1,500 แปลง ในพื้นที่ 17 จังหวัด ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 170 แปลง ส่วนแผนสนับสนุนการจัดที่ดินทำกินให้กับประชาชนที่ยากจนได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจนตามโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก และโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว กำหนดเป้าหมาย 4,500 แปลง ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 922 แปลง ส่วนงานจัดที่ดินทำกินในที่ดินของรัฐให้กับประชาชนที่ยากจน ดำเนินการรังวัดแบ่งแปลงที่ดินให้แก่ประชาชน กำหนดเป้าหมาย 9,100 แปลง ในพื้นที่ 12 จังหวัด
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวมอบนโยบายกับข้าราชการกรมที่ดิน ว่า การทำงานของกรมที่ดินต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นหัวใจของการทำงาน ความพอใจของประชาชนเป็นคำตอบสุดท้ายในการทำงานของกรมที่ดิน โดยเรื่องที่เร่งรัด คือ การออกโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งต้องขอชื่นชม กรมที่ดินที่ขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินให้มากที่สุด
ด้านนายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลย์วุฒิ อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า งานสำคัญคือการตั้งศูนย์ข้อมูลที่ดินและแผนที่แห่งชาติ ซึ่งเป็นการปรับปรุงระบบสารสนเทศในสำนักงานที่ดิน อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวหากทำทั่วประเทศ จะต้องใช้งบประมาณถึง 12,000 ล้านบาท และต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้ปรับงานบางส่วนออก และตั้งเป็นงบเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ข้อมูลที่ดินจำนวน 4,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 กรมที่ดินได้ของบประมาณไป 810 ล้านบาท แต่ได้รับเพียง 192 ล้านบาท จึงดำเนินโครงการได้เพียง 7 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม จำนวน 4 ล้านแปลง โดยทำแผนที่ภาพแปลงดิจิตอล อย่างไรก็ตามหากสร้างศูนย์ข้อมูลได้สำเร็จก่อนปี 55 จะสามารถเก็บภาษีที่ดินได้เฉพาะ 10 จังหวัด ถึงปีละ2,000 ล้านบาท
สำหรับขั้นต่อไปในปี พ.ศ. 2555 จะเสนอของบประมาณสนับสนุนอีก 180 ล้านบาท เพื่อทำศูนย์สนับสนุนอีก 3 จังหวัด และหากเสร็จสิ้นใน 10 จังหวัด จะมีพื้นที่มากกว่า 6 ล้านแปลง และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ จะสามารถเก็บภาษีได้มากกว่าร้อยละ 40 ของภาษีที่ดินทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลที่ดิน จะต้องรวบรวมข้อมูลที่ดิน 32 ล้านแปลง แยกประเภทที่ดินให้ชัดเจนทั้งโฉนด นส.3 ก. หรือที่ดินอื่นอย่างที่ราชพัสดุ ซึ่งนอกจากจะช่วยในการจัดเก็บภาษีที่ดินได้เพิ่มมากขึ้นเพราะมีความชัดเจนในประเภทที่ดินแล้ว ข้อมูลยังใช้กับหน่วยงานอื่น เช่น กรมบังคับคดี ที่จะอายัดที่ดินได้แม่นยำขึ้นด้วย
“โครงการมีความล่าช้า เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา เราไม่ได้งบประมาณไทยเข้มแข็งมาช่วยตรงนี้ และเพดานเงินกู้ของ กรมที่ดินเต็มแล้ว ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ระบุว่า มีแนวทางขอให้รัฐวิสาหกิจ คือธนาคารกรุงไทยลงทุน หรือให้ทางแคนาดาเข้ามาช่วยดูแลระบบ ซึ่งถ้าไม่มีเงินกู้ จะยิ่งทำช้า และรายได้ยิ่งหาย ซึ่งถ้าให้แคนาดาเข้ามาช่วย ก็ต้องดูเงื่อนไขการทำสัญญากับต่างประเทศตามรัฐธรรมนูญ ม.190 แต่ยืนยันว่า ถ้ากู้ แล้วศูนย์ข้อมูลสร้างเสร็จ ภายใน 3 ปี ก็สามารถคืนเงินกู้ได้หมด” อธิบดีกรมที่ดิน กล่าว
นายชวรัตน์ กล่าวเสริมว่า เรื่องศูนย์ข้อมูลที่ดิน ได้ดำเนินการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2555 โดยสำนักงบประมาณจัดงบประมาณให้แค่ปีละ 3-4 จังหวัด ซึ่งมีความล่าช้า แต่ศูนย์ข้อมูลฯจะทำให้สามารถเก็บภาษีเข้ารัฐได้ปีละนับแสนล้านบาท ดังนั้น จึงเห็นว่าควรจะสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ฯนี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มเครื่องมือในการจัดเก็บภาษีมากขึ้น อีกทั้งยังมีรายรับที่คุ้มค่า
“ได้หมอบหมายให้อธิบดีฯทำเรื่องเสนอมาเพื่อพิจารณาว่า จะกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ หรือเจียดงบประมาณไทยเข้มแข็งมาช่วย โดยอยากให้กู้ทั้งก้อน 4,500 ล้านบาท เพื่อทำโครงการให้เสร็จเร็วที่สุด เพราะมันคุ้มกับการลงทุน เมื่อมีข้อมูลที่ดินเพิ่มขึ้น เราก็ดูแลที่ดินเสียภาษีให้รัดกุมได้มากขึ้น ไม่ปล่อยให้หลุดไปโดยไม่มีข้อมูล” นายชวรัตน์กล่าวเสริม
นายอนุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนงานในปีงบประมาณ 2554 กรมที่ดินได้กำหนดเป้าหมายเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินตามโครงการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินในปีนี้รวม58 จังหวัด 150,000 แปลง ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 30,132 แปลง คิดเป็นร้อยละ 20.09 ของเป้าหมาย ส่วนงานจัดทำและให้บริการระวางแผนที่ระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในการออกโฉนดที่ดิน กำหนดเป้าหมาย 15,000 ระวาง ขณะนี้ดำเนินการได้ 1,474 ระวาง
ในส่วนของโครงการรังวัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ ได้ดำเนินการรังวัดออกและตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง กำหนดเป้าหมาย 1,500 แปลง ในพื้นที่ 17 จังหวัด ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 170 แปลง ส่วนแผนสนับสนุนการจัดที่ดินทำกินให้กับประชาชนที่ยากจนได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจนตามโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก และโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว กำหนดเป้าหมาย 4,500 แปลง ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2553 ดำเนินการได้ 922 แปลง ส่วนงานจัดที่ดินทำกินในที่ดินของรัฐให้กับประชาชนที่ยากจน ดำเนินการรังวัดแบ่งแปลงที่ดินให้แก่ประชาชน กำหนดเป้าหมาย 9,100 แปลง ในพื้นที่ 12 จังหวัด