ในการประชุมวุฒิสภา วานนี้(31 ม.ค.) นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกหารือ โดยนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว. กำแพงเพชร กล่าวว่า ตนได้อ่านคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่อัดรัฐบาลว่าเฮงซวยสุด ๆ ที่ไม่แก้ไขเรื่องปัญหาบัตรประชาชน ทำให้ประชาชนต้องใช้ใบเหลือง ถือว่าเป็นการประจานความห่วยแตกของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ที่ทำเรื่องนี้สำเร็จไม่ได้
ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ ไอซีที ไม่น่าเกี่ยวข้องด้วย แต่ที่เกี่ยวน่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทยอย่างเดียว เนื่องจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติให้กระทรวงมหาดไทย แก้กฎกระทรวงแล้ว แต่กระทรวงมหาดไทยอาจจะละเลยไม่ปฏิบัติ หรือไม่ใส่ใจเรื่องนี้ จึงอยากเสนอให้นายกฯ ตัดเงินเดือนรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย แต่ก็ทำไม่ได้ จึงฝากนายกฯเร่งรีบทำบัตรประชาชนให้เรียบร้อยโดยเร็ว
วันเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ...ที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านความเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญคือแก้ไขกฎเกณฑ์การมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยขยายอายุให้คนไทยทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่ 1 ปีนับแต่วันเกิด หรือ 60 วันนับแต่วันได้สัญชาติไทย
ส.ว.ได้มีการตั้งข้อสังเกตุเรื่องที่มีการกำหนดว่าเด็กแรกเกิดก็ให้บัตรประชาชนว่า มีความจำเป็นแค่ไหน และเป็นภาระแค่ไหนในสภาวะที่รัฐบาลต้องใช้เงิน โดยนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว. อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ประโยชน์มีแน่นอน แต่ต้องดูว่าเราสามารถใช้อย่างอื่นแทนได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียงบประมาณมากมาย และเชื่อว่าทำบัตรตั้งแต่อายุ 7 ปีน่าจะเหมาะสมกว่า เพื่อได้จัดการในเรื่องของการศึกษา
นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เห็นด้วยในหลักการ แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดคือเรื่องความไม่สะวดก ตนเชื่อว่ากรณีทำบัตรประชาชนทำให้คนไทยหลายคนเสียสิทธิและโอกาสในการได้รับสิทธิในการใช้บริการสาธารณะต่างๆ อย่างคนพิการ และการที่จะมารวมบัตรทุกใบมาเป็นบัตรเดียวคือบัตรประชาชนน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
นพ. เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องของอายุในการทำบัตรประชาชนนั้น ปัญหามีเพียงว่ามีบัตรก็จริงแต่ปัญหาคือไม่สามารถแยกแยะหน้าตากับลายนิ้วมือจนถึงอายุ 15 ปี ตรงนี้จะมีปัญหา แม้ออกบัตรได้แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ข้อมูลตรงนี้ที่มีคือข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ แม้จะมีเจตนารมณ์หลักการและเหตุผลให้มีบัตรประชาชนตั้งแต่เกิด แล้วเกี่ยวโยงกับการบริการสาธารณะสุขหรือไม่
จากนั้นที่ประชุมเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ... ด้วยเสียง 83 ต่อ 3 งดออกเสียง 5 เสียง พร้อมกำหนดเวลาแปรญัตติภายใน 3 วัน และมอบหมายให้กมธ.การปกครอง วุฒิสภารับไปดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้(1 ก.พ.) กระทรวงมหาดไทน จะเสนอ ครม.เพื่อพิจารณา ร่างกฎกระทรวง(ฉบับที่..) พ.ศ. ออกตามความในพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ หรือ Smart Card)
ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ ไอซีที ไม่น่าเกี่ยวข้องด้วย แต่ที่เกี่ยวน่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทยอย่างเดียว เนื่องจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติให้กระทรวงมหาดไทย แก้กฎกระทรวงแล้ว แต่กระทรวงมหาดไทยอาจจะละเลยไม่ปฏิบัติ หรือไม่ใส่ใจเรื่องนี้ จึงอยากเสนอให้นายกฯ ตัดเงินเดือนรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย แต่ก็ทำไม่ได้ จึงฝากนายกฯเร่งรีบทำบัตรประชาชนให้เรียบร้อยโดยเร็ว
วันเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ...ที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านความเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญคือแก้ไขกฎเกณฑ์การมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยขยายอายุให้คนไทยทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่ 1 ปีนับแต่วันเกิด หรือ 60 วันนับแต่วันได้สัญชาติไทย
ส.ว.ได้มีการตั้งข้อสังเกตุเรื่องที่มีการกำหนดว่าเด็กแรกเกิดก็ให้บัตรประชาชนว่า มีความจำเป็นแค่ไหน และเป็นภาระแค่ไหนในสภาวะที่รัฐบาลต้องใช้เงิน โดยนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว. อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ประโยชน์มีแน่นอน แต่ต้องดูว่าเราสามารถใช้อย่างอื่นแทนได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียงบประมาณมากมาย และเชื่อว่าทำบัตรตั้งแต่อายุ 7 ปีน่าจะเหมาะสมกว่า เพื่อได้จัดการในเรื่องของการศึกษา
นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เห็นด้วยในหลักการ แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดคือเรื่องความไม่สะวดก ตนเชื่อว่ากรณีทำบัตรประชาชนทำให้คนไทยหลายคนเสียสิทธิและโอกาสในการได้รับสิทธิในการใช้บริการสาธารณะต่างๆ อย่างคนพิการ และการที่จะมารวมบัตรทุกใบมาเป็นบัตรเดียวคือบัตรประชาชนน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
นพ. เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องของอายุในการทำบัตรประชาชนนั้น ปัญหามีเพียงว่ามีบัตรก็จริงแต่ปัญหาคือไม่สามารถแยกแยะหน้าตากับลายนิ้วมือจนถึงอายุ 15 ปี ตรงนี้จะมีปัญหา แม้ออกบัตรได้แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ข้อมูลตรงนี้ที่มีคือข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ แม้จะมีเจตนารมณ์หลักการและเหตุผลให้มีบัตรประชาชนตั้งแต่เกิด แล้วเกี่ยวโยงกับการบริการสาธารณะสุขหรือไม่
จากนั้นที่ประชุมเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ... ด้วยเสียง 83 ต่อ 3 งดออกเสียง 5 เสียง พร้อมกำหนดเวลาแปรญัตติภายใน 3 วัน และมอบหมายให้กมธ.การปกครอง วุฒิสภารับไปดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้(1 ก.พ.) กระทรวงมหาดไทน จะเสนอ ครม.เพื่อพิจารณา ร่างกฎกระทรวง(ฉบับที่..) พ.ศ. ออกตามความในพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ หรือ Smart Card)