“ชินวรณ์” สั่ง ก.ค.ศ.ประสาน DSI ตรวจสอบเข้มกลุ่มรับจ้างทำผลงานวิชาการ พบข้าราชการมีเอี่ยวเจอโทษเด็ดขาด ทั้งวินัย อาญา แน่ เตือนครูอย่าหลงเชื่อได้ไม่คุ้มเสีย
จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่า มีการติดป้ายโฆษณาใน จ.นครราชสีมา ในการรับจ้างทำ- ปรึกษา-แก้ไขผลงาน การปรับเลื่อนวิทยฐานะ อาจารย์ 3 โดยทีมอาจารย์จากอุดมศึกษา ซึ่งราคาผลงานชิ้นละ 120,000 บาท พร้อมทั้งการรันตีว่าผ่านแน่นอน โดยอ้างว่ามีศูนย์ประสานงานอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ นั้น
วันนี้ (24 ม.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนอยากเตือนเพื่อนครูว่าอย่าไปหลงเชื่อกลุ่มบุคคลที่กล่าวอ้างว่าจะสามารถรับทำผลงานวิชาการให้ผ่านได้ ทั้งนี้ ยอมรับว่า เรื่องนี้ถือเป็นความต้องการของครูที่อยากทำผลงานทางวิชาการให้ผ่าน เพราะหากได้เลื่อนเป็นระดับชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ ครูก็จะได้เงินค่าตอบแทนที่สูงขึ้น แต่กรณีนี้จะไปทำโดยการจ้าง ลอกผลงานไม่ได้ เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 91 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า การทำผลงานวิชาการไม่สามารถไปจ้าง หรือลอกผลงานได้ หากพบจะมีความผิดทางวินัย และอาญา
นายชินวรณ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ตนเป็น รมว.ศธ.ได้สั่งการลงโทษทางวินัย เพื่อนครูที่ จ.นครพนม ที่ไปให้สินบนกับผู้อ่านซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยได้ลงโทษตัดเงินเดือน 2 ขั้น และให้ดำเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงด้วย นอกจากนี้ จะได้ลงโทษกลุ่มบุคคลที่แสวงหาประโยชน์กับเรื่องนี้ต่อไป สำหรับกรณีที่ จ.นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ นั้น ตนได้สั่งการให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่เกิดขึ้น และทั้งยังให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมสอบสวนด้วย เพื่อไม่ต้องการให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอีก และหากเกี่ยวกับข้าราชการโดยตรงก็ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดต่อไป ทั้งยังจะได้ดำเนินการในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศด้วย
ด้านนายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. จะนำกรณีผู้ที่ขึ้นป้ายรับจ้างทำผลงานวิชาการหารือ กับทีมกฎหมายว่าจะสามารถแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดทางอาญาได้หรือไม่ ซึ่งหากจะให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ไปแจ้งความดำเนินคดีก็คงไม่มีใครทำ ไม่เช่นนั้นคงไม่ปล่อยให้มีการขึ้นป้ายกันขนาดนี้ ทั้งนี้ การรับจ้างทำผลงานวิชาการนั้น หากครูคนใดในโรงเรียนไปจ้างทำก็ย่อมที่จะรู้กันทั้งโรงเรียนแน่นอน ดังนั้น จึงขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนช่วยสอดส่องดูแลด้วย
“ที่ผ่านมา ได้มีการปรับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ เพื่อให้ครูได้ลดการทำผลงาน วิชาการ แต่ก็ไม่ได้ลดการทำผลงานมากนัก เช่น เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะ ว.17 ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน เพราะสุดท้ายแล้วการจะให้ผ่าน ไม่ผ่านก็ต้องตัดสินที่ผลงานวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประเมินในระดับโรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษาจะผ่านการประเมินกันมาง่าย สำหรับร่าง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษาและสานงานนิเทศการศึกษาที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.ค.ศ.แล้วและรอการประกาศใช้ในปีนี้ จะเป็นเกณฑ์ที่ลดการทำผลงานวิชาการของครูได้มาก แต่ผู้ที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น มีผลงานดีเด่นระดับชาติ จะต้องให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ขอ เป็นต้น” รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว
จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่า มีการติดป้ายโฆษณาใน จ.นครราชสีมา ในการรับจ้างทำ- ปรึกษา-แก้ไขผลงาน การปรับเลื่อนวิทยฐานะ อาจารย์ 3 โดยทีมอาจารย์จากอุดมศึกษา ซึ่งราคาผลงานชิ้นละ 120,000 บาท พร้อมทั้งการรันตีว่าผ่านแน่นอน โดยอ้างว่ามีศูนย์ประสานงานอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ นั้น
วันนี้ (24 ม.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนอยากเตือนเพื่อนครูว่าอย่าไปหลงเชื่อกลุ่มบุคคลที่กล่าวอ้างว่าจะสามารถรับทำผลงานวิชาการให้ผ่านได้ ทั้งนี้ ยอมรับว่า เรื่องนี้ถือเป็นความต้องการของครูที่อยากทำผลงานทางวิชาการให้ผ่าน เพราะหากได้เลื่อนเป็นระดับชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ ครูก็จะได้เงินค่าตอบแทนที่สูงขึ้น แต่กรณีนี้จะไปทำโดยการจ้าง ลอกผลงานไม่ได้ เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 91 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า การทำผลงานวิชาการไม่สามารถไปจ้าง หรือลอกผลงานได้ หากพบจะมีความผิดทางวินัย และอาญา
นายชินวรณ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ตนเป็น รมว.ศธ.ได้สั่งการลงโทษทางวินัย เพื่อนครูที่ จ.นครพนม ที่ไปให้สินบนกับผู้อ่านซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยได้ลงโทษตัดเงินเดือน 2 ขั้น และให้ดำเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงด้วย นอกจากนี้ จะได้ลงโทษกลุ่มบุคคลที่แสวงหาประโยชน์กับเรื่องนี้ต่อไป สำหรับกรณีที่ จ.นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ นั้น ตนได้สั่งการให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่เกิดขึ้น และทั้งยังให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมสอบสวนด้วย เพื่อไม่ต้องการให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอีก และหากเกี่ยวกับข้าราชการโดยตรงก็ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดต่อไป ทั้งยังจะได้ดำเนินการในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศด้วย
ด้านนายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. จะนำกรณีผู้ที่ขึ้นป้ายรับจ้างทำผลงานวิชาการหารือ กับทีมกฎหมายว่าจะสามารถแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดทางอาญาได้หรือไม่ ซึ่งหากจะให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ไปแจ้งความดำเนินคดีก็คงไม่มีใครทำ ไม่เช่นนั้นคงไม่ปล่อยให้มีการขึ้นป้ายกันขนาดนี้ ทั้งนี้ การรับจ้างทำผลงานวิชาการนั้น หากครูคนใดในโรงเรียนไปจ้างทำก็ย่อมที่จะรู้กันทั้งโรงเรียนแน่นอน ดังนั้น จึงขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนช่วยสอดส่องดูแลด้วย
“ที่ผ่านมา ได้มีการปรับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ เพื่อให้ครูได้ลดการทำผลงาน วิชาการ แต่ก็ไม่ได้ลดการทำผลงานมากนัก เช่น เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะ ว.17 ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน เพราะสุดท้ายแล้วการจะให้ผ่าน ไม่ผ่านก็ต้องตัดสินที่ผลงานวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประเมินในระดับโรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษาจะผ่านการประเมินกันมาง่าย สำหรับร่าง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษาและสานงานนิเทศการศึกษาที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.ค.ศ.แล้วและรอการประกาศใช้ในปีนี้ จะเป็นเกณฑ์ที่ลดการทำผลงานวิชาการของครูได้มาก แต่ผู้ที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น มีผลงานดีเด่นระดับชาติ จะต้องให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ขอ เป็นต้น” รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว