“ศักดา” ประเดิมงานชิ้นแรก ยกร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน เตรียมชง “สุชาติ” เห็นชอบและเสนอ ครม.ออกตัวอย่าเอาไปเอี่ยวกับ “ทักษิณ” กรณีนิรโทษกรรม ระบุ มีความแตกต่าง ย้ำ ทำเพื่อให้โอกาสข้าราชการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และประชาชน ที่ได้รับโทษและพ้นโทษมาก่อน 5 ธ.ค.54 ให้ถือว่าไม่เคยได้รับโทษมาก่อน หวังให้ได้มีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ ยังไม่ยืนยันกรณี “ธีรพัฒน์” ถูกสั่งปลดออกจะเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นี้หรือไม่
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ตนจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ให้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณา ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ เคยใช้มาแล้วในปี 2526, 2539 และ 2550 ซึ่งการยกร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน ขึ้นมาอีกครั้งนั้นเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อข้าราชการทุกสังกัด ผู้ที่ทำงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงประชาชนได้รับโอกาสในการล้างประวัติเพื่อกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะข้าราชการที่กระทำผิดและได้รับโทษทางวินัย 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออกรวมถึงประชาชนที่ต้องโทษทางอาญาและได้รับโทษไปแล้ว และพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ให้ถือว่าไม่เคยได้รับโทษมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เฉพาะข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่จะได้รับอานิสงส์จาก ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน มีประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโทษทางวินัย แต่ในส่วนของกระทรวงอื่น หรือในส่วนของประชาชนมีจำนวนเท่าใด ตนยังไม่ทราบตัวเลข และการจะมี พ.ร.บ.แต่ละฉบับไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรับฟังความคิดเห็นจากสังคมก่อน ซึ่งต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เราก็ต้องรับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่ ซึ่งเบื้องต้นถ้า ศ.ดร.สุชาติ เห็นชอบคาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
“ที่สำคัญ ผมขอย้ำว่า อย่าดึงเรื่องนี้ไปเกี่ยวข้องกับทางการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากว่า พ.ร.บ.ล้างมลทินจะแตกต่างกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเจตนาของผมต้องการจะให้โอกาสข้าราชการครูและบุคลากรได้มีโอกาส หรืออยากคืนความสุขให้เขาได้ตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยคาดว่าจะเพิ่มเติมแนบท้าย ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน ไปว่า หากข้าราชการที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้แล้วยังไปทำผิดอีกก็จะได้รับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ส่วนข้าราชการที่ถูกให้ออกจากราชการไปแล้ว จะสามารถกลับเข้าทำงานได้ทันที่หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของต้นสังกัด ซึ่งจะมีกรอบหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่าจะสามารถกลับเข้าทำงานงานได้ในกรณีใดบ้าง”นายศักดา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีของ นายธีรพัฒน์ คำคูบอน อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง และกรรมการคุรุสภา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ลงโทษตัดเงินเดือน 5% กรณีผิดวินัยขาดราชการเกินกำหนด แต่คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญด้านวินัย ตัดสินให้ปลดออกจากราชการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเข้าสู่ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณานั้น จะเข้าข่ายได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.นี้หรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า สำหรับโทษถูกหักเงินเดือนน่าจะเข้าข่าย ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน นี้ เพราะถูกตัดสินก่อนวันที่ 5 ธันวาคม ส่วนกรณีโทษปลดออกนั้น ยังไม่ตัดสิน ซึ่งหากตัดสินก็ถือว่าไม่เข้าข่ายเพราะถือว่าถูกตัดสินหลังวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ตนจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ให้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณา ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ เคยใช้มาแล้วในปี 2526, 2539 และ 2550 ซึ่งการยกร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน ขึ้นมาอีกครั้งนั้นเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อข้าราชการทุกสังกัด ผู้ที่ทำงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงประชาชนได้รับโอกาสในการล้างประวัติเพื่อกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะข้าราชการที่กระทำผิดและได้รับโทษทางวินัย 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออกรวมถึงประชาชนที่ต้องโทษทางอาญาและได้รับโทษไปแล้ว และพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ให้ถือว่าไม่เคยได้รับโทษมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เฉพาะข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่จะได้รับอานิสงส์จาก ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน มีประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโทษทางวินัย แต่ในส่วนของกระทรวงอื่น หรือในส่วนของประชาชนมีจำนวนเท่าใด ตนยังไม่ทราบตัวเลข และการจะมี พ.ร.บ.แต่ละฉบับไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรับฟังความคิดเห็นจากสังคมก่อน ซึ่งต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เราก็ต้องรับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่ ซึ่งเบื้องต้นถ้า ศ.ดร.สุชาติ เห็นชอบคาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
“ที่สำคัญ ผมขอย้ำว่า อย่าดึงเรื่องนี้ไปเกี่ยวข้องกับทางการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากว่า พ.ร.บ.ล้างมลทินจะแตกต่างกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเจตนาของผมต้องการจะให้โอกาสข้าราชการครูและบุคลากรได้มีโอกาส หรืออยากคืนความสุขให้เขาได้ตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยคาดว่าจะเพิ่มเติมแนบท้าย ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน ไปว่า หากข้าราชการที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้แล้วยังไปทำผิดอีกก็จะได้รับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ส่วนข้าราชการที่ถูกให้ออกจากราชการไปแล้ว จะสามารถกลับเข้าทำงานได้ทันที่หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของต้นสังกัด ซึ่งจะมีกรอบหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่าจะสามารถกลับเข้าทำงานงานได้ในกรณีใดบ้าง”นายศักดา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีของ นายธีรพัฒน์ คำคูบอน อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง และกรรมการคุรุสภา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ลงโทษตัดเงินเดือน 5% กรณีผิดวินัยขาดราชการเกินกำหนด แต่คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญด้านวินัย ตัดสินให้ปลดออกจากราชการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเข้าสู่ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณานั้น จะเข้าข่ายได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.นี้หรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า สำหรับโทษถูกหักเงินเดือนน่าจะเข้าข่าย ร่าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน นี้ เพราะถูกตัดสินก่อนวันที่ 5 ธันวาคม ส่วนกรณีโทษปลดออกนั้น ยังไม่ตัดสิน ซึ่งหากตัดสินก็ถือว่าไม่เข้าข่ายเพราะถือว่าถูกตัดสินหลังวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด