xs
xsm
sm
md
lg

เทรนด์ลดเงินเดือนนายกฯ และครม. จากสิงคโปร์จะถึงไทยหรือไม่?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


หากส่องสำรวจไปทั่วโลกประเทศที่มีเงินเดือนผู้นำสูงที่สุดในโลกก็ต้องยกตำแหน่งให้ประเทศเล็กๆ อย่างประเทศสิงคโปร์ ยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้ก็คงต้องจับตามองเป็นพิเศษเพราะทางรัฐบาลสิงคโปร์กลับจำยอมปรับลดเงินเดือนของท่านผู้นำ นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง และคณะรัฐมนตรี หลังเป็นประเทศที่ผู้นำครองอันดับอัตราเงินเดือนที่สูงระฟ้ามาหลายทศวรรษ จากรายรับอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 93 ล้านบาท) จะถูกปรับลดลงร้อยละ 36 ก็จะเท่ากับ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 68.2 ล้านบาท)

ส่วนหนึ่งอาจเป็นพ่วงมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก 2012 ที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงไปทั่วโลก ซึ่งปัญหาที่จะพาเศรษฐกิจโลกดิ่งลงเหวก็คงไม่พ้นเรื่องหนี้สาธารณะของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะบรรดาประเทศในภูมิภาคยุโรปที่ตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวขาดสภาพคล่องอย่างหนัก แม้แต่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เองก็ยังตกที่นั่งลำบากเผชิญสภาพหนี้ท่วมหัว

พิษวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ส่งผลให้หลายประเทศต้องออกมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยูโรโซน อย่างเช่น ผู้นำของประเทศอิตาลี นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเพียง 3 สัปดาห์ ก็ออกมายืนยันว่าไม่ขอรับเงินเดือน พร้อมประกาศนโยบายรัดเข็ดขัดเพื่อกอบกู้สถานการณ์วิกฤตหนี้สินที่กำลังคุกคามประเทศ ไม่ให้ประเทศต้องเผชิญสถานะรัฐล้มละลาย

แต่!....ที่น่าแปลกใจอย่างที่สุดก็คงเป็นข่าวคราวแวดวงการเมืองในประเทศไทย เพราะขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับสภาพการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอยทำการปรับลดค่าครองชีพของกลุ่มผู้บริหารประเทศ คณะรัฐมนตรีของไทยกลับมีมติเพิ่มสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลให้กับผู้ตำรงตำแหน่งทางการเมืองท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองและสังคม จากอัตรา 20,000 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มเป็น 100,000 บาท ทั้งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกทั้งค่าผ่าตัดต่อครั้งได้ 120,000 บาท, ค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ 7,000 บาท ซึ่งก็กำลังให้สิ้นสุดสัญญาเก่าและเป็นแน่นอนว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณ 2556

ที่สำคัญภัยพิบัติเมื่อช่วงปลายปี 2554 ก็สร้างความเสียหายต่อประเทศไม่ใช่น้อย แน่นอนต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเพื่อเยียวยาประเทศ คำถามที่ตามมาก็คือ การเพิ่มสวัสดิการของนักการเมืองไทยครั้งนี้ถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนเข้าไปอีกหรือเปล่า?

ส่องเงินเดือนผู้นำทั่วโลก
ก่อนอื่นคงต้องมาดูกันก่อนว่า ผู้นำทางการเมืองของแต่ละประเทศได้รับเงินเท่าไหร่กันบ้าง เริ่มตั้งแต่ในแถบเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น รายได้ต่อปีของผู้นำอยู่ที่ประมาณ 273,676 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9 ล้านบาท) ประเทศอินโดนีเซีย รายได้ต่อต่อปีของผู้นำอยู่ที่ประมาณ 124,171 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.6 ล้านบาท) ประเทศฮ่องกงรายได้ต่อปีของผู้นำอยู่ที่ประมาณ 500,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15.5 ล้านบาท) ประเทศอินเดียรายได้ต่อปีของผู้นำอยู่ที่ประมาณ 12.000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 360,000 บาท) ส่วนประเทศไทยมีผู้นำประเทศมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ ประมาณ1.5 ล้านบาท

หรือจะเป็นประเทศในอเมริกาใต้อย่างอาร์เจนตินาผู้นำก็มีรายได้ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 74,126 เหรียญสหรัฐ((ประมาณ 2.2 ล้านบาท), ประเทศออสเตรเลียรายได้ต่อปีของผู้นำอยู่ที่ 450,000 เหรียญสหรัฐฯ สหรัฐ (ประมาณ 13.95 ล้านบาท) ส่วนประเทศในทวีปยุโรปอย่างเยอรมันอยู่ที่ 283,608 เหรียญสหรัฐ(ประมาณ 8.5 ล้านบาท) หรือประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯ รายได้ต่อปี 400,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12.4 ล้านบาท) และแน่นอนว่าผู้นำที่มีรายได้มากที่สุดในโลกคือประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 93 ล้านบาท) ซึ่งกำลังจะถูกปรับลดลงร้อยละ 36 ในช่วงกลางปี 2555 ก็เหลือประมาณ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 68.2 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม เหตุที่เงินเดือนนักการเมืองของแต่ละประเทศสูงได้ขนาดนี้ ก็เพราะเป็นมาตรการในการป้องกันการโกงและการคอรัปชั่นที่คาดหวังว่าจะได้ผล แต่แม้หลายๆ ประเทศจะได้รับอัตราเงินเดือนที่สูงแต่เมื่อประเทศเผชิญกับสภาวการณ์คับขัน ยกตัวอย่างฮ่องกง หรือญี่ปุ่นที่เผชิญเหตุสึนามิครั้งใหญ่ นักการเมืองก็ออกมาตัดเงินเดือนตัวเอง หรือจะเป็นในอิรักก็มีการปรับลดเงินเดือนลงครึ่งหนึ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้นสิงคโปร์เองก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเงินเดือนลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 3 ปีก่อนแล้ว

เพิ่ม-ลด ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์แต่ละประเทศ
ในเรื่องของการปรับลดเงินเดือนนักการเมืองนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและการเมืองของแต่ละประเทศ เช่นปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะอิตาลี อังกฤษ กรีซ ต่างก็เผชิญอยู่ รศ.ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แสดงทัศนะว่าจุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้มักกำหนดอัตราเงินเดือนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอัตราค่าครองชีพของพลเมือง ส่วนประเทศสิงคโปร์ยังไม่ถือว่ามีปัญหาเศรษฐกิจ แต่จัดว่ามีอัตราเงินเดือนที่สูงมากเกินไป ตัวนายกรัฐมนตรีเองได้เงินเดือนหลายล้านเลยทีเดียว

"แต่ละประเทศจะมีโครงสร้างการเมืองที่แตกต่างกัน อย่างอิตาลีนี่เห็นชัดว่ามาจากผลพวงของประวัติศาสตร์ที่ตั้งเงินเดือนตัวเองสูงมาก ชนิดที่คนด่ากันเต็มไปหมด ขณะที่สิงคโปร์เองก็ให้เงินเดือนสูงให้สาสม จะได้ทำหน้าที่ให้ดี ไม่ทุจริต เรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่นักการเมืองเท่านั้น แต่ยังให้ข้าราชการด้วย ซึ่งถามว่าป้องกันได้ไหม ก็ต้องยอมรับว่ามีบ้าง แต่มันก็ไม่มากจนเป็นระบบ”

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้น ถือว่าอัตราเงินเดือนของนักการเมืองนั้นไม่ได้มากเกินไป แต่มีข้อติติงในเรื่องความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไป ต้องยอมรับว่านักการเมืองบ้านเรายังขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการทำหน้าที่ และที่สำคัญบางคนยังใช้อำนาจในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งคนใกล้ชิด หรือญาติพี่น้องเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกินเงินของรัฐบาล บ้างก็นำเงินหลวงไปเที่ยวต่างประเทศ เหล่านี้จึงทำให้คนมองว่าเงินที่จ่ายให้แก่นักการเมืองไทยนั้นสูงเกินไป

"เรื่องเงินเดือนถือว่าสมเหตุสมผล แต่ปัญหาคืออย่างอื่นซึ่งผลาญมากกว่าตัวเงินเสียอีก เรื่องแบบนี้ต้องไปดู เพราะมันถือเป็นปัญหาของการเมืองทั้งระบบ แล้วตัวข้าราชการเองก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อ่อนแอ รวมตัวกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เห็นนักการเมืองทำผิดพลาด ก็เลยไม่สามารถเข้าไปต่อต้านได้ กลายเป็นการตอบแทนผลประโยชน์ของทั้งระบบ แล้วยังถือเป็นการผลาญทรัพยากรของชาติอีก ฉะนั้นผมจึงมองว่าโจทย์ของเรานั้นเป็นโจทย์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันคงไม่เหมือนกับการไปตัดเงินเดือน แต่เป็นเรื่องการใช้เงินให้คุ้มมากกว่า"

ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์มากมาย เศรษฐกิจบอบช้ำอย่างหนักจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ถามว่าแล้วการตัดเงินเดือนควรจะเป็นทางออกหรือไม่ รศ.ดร.ไพโรจน์มองว่า คงจะลำบาก เพราะเงินเดือนที่จ่ายอยู่ก็ไม่ได้มาก หรือไม่ได้จ่ายแบบไร้เหตุผล แต่สิ่งที่ควรจะเข้าไปจัดการมากกว่าก็คือ เงินรอบตัวนักการเมืองที่มาจากส่วนอื่นๆ เช่น สวัสดิการที่มากเกินไป รวมถึงนโยบายที่ไม่จำเป็นแต่กลับใช้เงินจำนวนมาก

สำหรับคอการเมืองอย่าง ธีรศักดิ์ พัฒนการศิลป์ ก็ได้แสดงทัศนะในเรื่องอัตราเงินของบรรดานักการเมืองว่า การที่ชาติใดจะได้รับมากหรือน้อยนั้นคงขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของแต่ละสังคม ส่วนการปรับเพิ่มหรือปรับลดก็คงต้องดูความเหมาะสมของสถานการณ์ในประเทศ

“ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำประเทศคนย่อมจับตามอง ผมมองว่าเงินเดือนมันก็เป็นศักดิ์เป็นศรีของผู้นำ แต่จะมากน้อยก็เป็นเรื่องของแต่ละประเทศตามกฎเกณฑ์ของเขา เรื่องไม่รับเงินเดือนของนายกรัฐมนตรีอิตาลี ผมมองว่าเขาก็แสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้นำได้ดีนะ น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวอิตาลีว่าอย่างน้อยๆ ผู้นำของเขามีความคิดที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจริงๆ ส่วนสิงคโปร์นักการเมืองเขาได้เงินมากที่สุดในโลก มากเกินไปเสียด้วย ถึงจะยังไม่มีปัญหาเศรษฐกิจขั้นโคม่าแต่การปรับลงก็เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ที่ดี แต่ถ้าถามว่านักการเมืองไทยจะไม่รับเงินเดือน จะยอมลดเงินเดือนหรือเปล่า คงยาก เพราะพื้นฐานสังคมมันไม่เหมือนกัน”
..........

จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังคุกคามไปทั่วโลกนั้น ทำให้หลายๆ ประเทศต้องออกมาตรการรัดเข็มขัด หรือแม้ประเทศที่อาจยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ยังมีการพิจารณานโยบายทางการเมืองเพื่อสร้างความมั่นคงภายในประเทศ ในทางกลับกันประเทศไทยที่กำลังเผชิญวิกฤติทางสังคมและการเมืองไม่แพ้ชาติใดในโลกดันเพิ่มสวัสดิการแก่กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง งานนี้ก็ไม่รู้ว่ามติดังกล่าวพิจารณากันถูกที่ถูกเวลาหรือไม่?

>>>>>>>>>>>>>

……….
เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
ภาพ : ธนารักษ์ คุณทน

นางฟ้ากับมาเฟีย ตอนที่ 6
นางฟ้ากับมาเฟีย ตอนที่ 6
ธิดาเดินมาหยิบเครื่องดื่ม เพ่งมองแบบไม่เชื่อสายตาเมื่อเห็นเมขลา “มันโผล่มาได้ยังไงเนี่ย กล้ามากนะแก” ธิดาจิกตาร้ายมีแผนการ เดินไปหาจีน่า กระซิบข้างหู จีน่ายิ้มแล้วเดินไปทางเมขลาที่กำลังถามพนักงานเสิร์ฟเครื่องดื่ม “ขอโทษนะคะ ฉันมาหาคนเขาชื่อ...” เมขลายังไม่ทันเอ่ยชื่อราม จีน่าก็เข้ามาจับแขนอย่างสนิทสนม “hi เธอเป็นแขกของเทเรซ่าใช่มั้ย เชิญทางโน้นเลย เรากำลังจะตัดเค้กกันอยู่พอดี” จีน่าลากแขนไป เมขลาเดินตามพยายามอธิบาย “เออ ไม่ใช่นะคะ คือฉันมาตามหาคน ต้องขอโทษจริงๆที่เข้ามาในงานคุณโดยไม่ได้รับเชิญ”
กำลังโหลดความคิดเห็น