ศาลปกครองยกคำร้องกรณี ร.ต.วิจิตร ยื่นฟ้อง กกต.เหตุถูกลงโทษฐานวินัยตัดเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์ จัดซื้อรถยนต์กับบริษัท อีซูซุ ส่อทุจริตเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่ศาลปกครองกลาง นายวชิระ ชอบแต่ง ตุลาการศาลปกครองกลางและตุลาการเจ้าของสำนวน ได้มีคำสั่งพิพากษายกฟ้อง คดีที่ ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), ประธาน กกต., และสำนักงาน กกต. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 กรณีที่ กกต.มีคำสั่งลงโทษทางวินัย ร.ต.วิจิตร และตัดเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 4 เดือน เนื่องจากได้อนุมัติจัดซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 1 ตัน จำนวน 75 คัน ให้กับบริษัท อีซูซุ สยามซิตี้ จำกัด แทนที่จะเสนอราคาให้กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (จำกัด) ที่เสนอราคาที่ถูกต้องและต่ำที่สุด
โดยประเด็นที่ ร.ต.วิจิตร ยื่นให้พิจารณาว่า กกต.ได้ใช้ดุลยพินิจโดยชอบในการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือไม่นั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ ร.ต.วิจิตรรับไว้และสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคารับไปประกอบการพิจารณา ทั้งที่เป็นการต้องห้ามไม่ให้นำไปพิจารณา ประกอบกับ ร.ต.วิจิตรได้สั่งการให้ซื้อรถยนต์ดังกล่าว จึงถือเป็นการกระทำที่เกินอำนาจ อีกทั้งทางบริษัท อีซูซุ สยามซิตี้ จำกัด ได้เคยขอยื่นหนังสือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา ที่อาจจะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เสนอราคาก่อนที่มีการทำสัญญา แต่ ร.ต.วิจิตรก็ไม่ได้สั่งให้มีการยกเลิกการประกวดราคา พร้อมกับได้อนุมัติให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามที่บริษัท อีซูซุฯ เสนอมา ทำให้การซื้อขายและการตรวจรับรถยนต์ไม่เป็นไปตามสัญญา พฤติกรรมของ ร.ต.วิจิตร จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ การออกคำสั่งของ กกต.จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยชอบแล้ว
ส่วนข้ออ้างของ ร.ต.วิจิตร ที่ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่2 พิจารณาอุทธรณ์ของร.ต.วิจิตร ขัดกับหลักการพิจารณาอุทธรณ์ เพราะเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาลงโทษ ร.ต.วิจิตรแล้ว ไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ของ ร.ต.วิจิตรได้อีกนั้น ศาลเห็นว่า การที่ ร.ต.วิจิตร ได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีการพิจารณาอุทธรณ์ ก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะมีคำสั่งให้ลงโทษตัดเงินเดือนออกมา จึงแสดงให้เห็นว่า มีการดำเนินการตามข้อ 89และ 91 ของระเบียบกกต.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้ออ้างของร.ต.วิจิตรจึงไม่อาจนำมารับฟังได้
สำหรับประเด็นที่อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 กระทำการละเมิดต่อ ร.ต.วิจิตรหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นการกระทำที่ละเมิด จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนเท่าใด ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่าการออกคำสั่งเป็นการละเมิด
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่ศาลปกครองกลาง นายวชิระ ชอบแต่ง ตุลาการศาลปกครองกลางและตุลาการเจ้าของสำนวน ได้มีคำสั่งพิพากษายกฟ้อง คดีที่ ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), ประธาน กกต., และสำนักงาน กกต. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 กรณีที่ กกต.มีคำสั่งลงโทษทางวินัย ร.ต.วิจิตร และตัดเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 4 เดือน เนื่องจากได้อนุมัติจัดซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 1 ตัน จำนวน 75 คัน ให้กับบริษัท อีซูซุ สยามซิตี้ จำกัด แทนที่จะเสนอราคาให้กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (จำกัด) ที่เสนอราคาที่ถูกต้องและต่ำที่สุด
โดยประเด็นที่ ร.ต.วิจิตร ยื่นให้พิจารณาว่า กกต.ได้ใช้ดุลยพินิจโดยชอบในการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือไม่นั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ ร.ต.วิจิตรรับไว้และสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคารับไปประกอบการพิจารณา ทั้งที่เป็นการต้องห้ามไม่ให้นำไปพิจารณา ประกอบกับ ร.ต.วิจิตรได้สั่งการให้ซื้อรถยนต์ดังกล่าว จึงถือเป็นการกระทำที่เกินอำนาจ อีกทั้งทางบริษัท อีซูซุ สยามซิตี้ จำกัด ได้เคยขอยื่นหนังสือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา ที่อาจจะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เสนอราคาก่อนที่มีการทำสัญญา แต่ ร.ต.วิจิตรก็ไม่ได้สั่งให้มีการยกเลิกการประกวดราคา พร้อมกับได้อนุมัติให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามที่บริษัท อีซูซุฯ เสนอมา ทำให้การซื้อขายและการตรวจรับรถยนต์ไม่เป็นไปตามสัญญา พฤติกรรมของ ร.ต.วิจิตร จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ การออกคำสั่งของ กกต.จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยชอบแล้ว
ส่วนข้ออ้างของ ร.ต.วิจิตร ที่ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่2 พิจารณาอุทธรณ์ของร.ต.วิจิตร ขัดกับหลักการพิจารณาอุทธรณ์ เพราะเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาลงโทษ ร.ต.วิจิตรแล้ว ไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ของ ร.ต.วิจิตรได้อีกนั้น ศาลเห็นว่า การที่ ร.ต.วิจิตร ได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีการพิจารณาอุทธรณ์ ก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะมีคำสั่งให้ลงโทษตัดเงินเดือนออกมา จึงแสดงให้เห็นว่า มีการดำเนินการตามข้อ 89และ 91 ของระเบียบกกต.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้ออ้างของร.ต.วิจิตรจึงไม่อาจนำมารับฟังได้
สำหรับประเด็นที่อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 กระทำการละเมิดต่อ ร.ต.วิจิตรหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นการกระทำที่ละเมิด จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนเท่าใด ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่าการออกคำสั่งเป็นการละเมิด