ASTVผู้จัดการรายวัน- สหภาพฯตั้งเวที”จี้”โสภณ”ปลด”ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.”ใน 7 วัน ชี้บริหารงานล้มเหลวหมดความชอบธรรม แฉหมกเม็ดผลสอบ อุปกรณ์ความปลอดภัยประจำรถชำรุดหมดชี้คนขับหลับสัญญาณไม่เตือน ผลสอบรถไฟตกรางเขาเต่าเร็วทันใจ บิ๊กร.ฟ.ท.สรุปไล่ออกคนขับ ช่างเครื่องและพนักงานรักษารถ ตัดเงินเดือน 15 % 10 เดือน ยันราง หัวรถ อาณัติสัญญาณ อุปกรณ์ประจำรถสมบูรณ์ โต้เพื่อไทยซื้อรถจักร 7 คัน มูลค่า 1,150ล้านบาทโปร่งใส สัปดาห์หน้าเตรียมขายซองประกวดราคา
วานนี้ (12 ต.ค.) เวลา 11.00 น. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) กว่า 80 คน นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ได้ชุมนุมหน้ากระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ปลด นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากบริหารงานล้มเหลวหมดความชอบธรรม โดยล่าสุดจากกรณีที่ขบวนรถด่วนที่84 ตรัง-กรุงเทพ ตกรางที่สถานีเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.แถลงชี้นำการสอบสวนว่า ระบบทุกอย่างของรถไฟสมบูรณ์แต่สาเหตุเกิดจากพนักงานขับรถหลับใน เป็นความบกพร่องที่พนักงานขับรถ ทั้งที่ขณะนั้นยังไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ สหภาพฯ ร.ฟ.ท.ระบุว่า 1. นายยุทธนาถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ชี้มูลความผิดทุจริตการหาผลประโยชน์บริเวณตลาดซันเดย์ ทำให้ร.ฟ.ท.เสียประโยชน์ถึง 58 ล้านบาท 2. ขาดธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งบุคคลที่เคยถูกไล่ออกจากงานและเป็นผู้ถูกชี้มูลกรณีทุจริตตลาดซันเดย์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น 3. ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างโดยไม่มีการตกลงกับสหภาพฯเป็นการกระทำที่ขัดต่อพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
4. ละเมิดข้อตกลงกับรัฐบาลกรณีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ ลงนามตกลงกับสหภาพ เมื่อ 23 มิ.ย. 52 โดยมีการออกคำสั่งตั้งคณะทำงานถ่ายโอนสินทัพย์ให้แก่บริษัทฯ 5. กรณีขบวนรถด่านที่ 84 ตกรางที่เขาเต่าเป็นการบริหารงานที่ล้มเหลว ไม่เอาใจใส่ต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิต ภาพพจน์ร.ฟ.ท.เสียหาย
นายสาวิทย์กล่าวว่า การสรุปผลสอบสวนรถไฟตกรางและไล่พนักงานขับรถออกถือว่าไม่ให้ความเป็นธรรมกับพนักงาน เพราะข้อมูลการสอบสวน จริงๆ พบว่า อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประจำหัวรถจักรชำรุด ไม่ทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะ Dead man device หากทำงานได้สมบูรณ์ พนักงานขับรถหลับใน เหตุใดระบบห้ามล้อจะทำงานอัตโนมัติและ Power ระบบการจ่ายไฟจะตัดเครื่องยนต์จะลดรอบการทำงาน และ OverSpeed Protection ตัวควบคุมความเร็ว ถึงไม่ทำงาน
“รถไฟถูกมติครม. 28 ก.ค. 41 ควบคุมการเพิ่มอัตราพนักงานทำให้พนักงานต้องทำงาน 7 วันไม่มีวันหยุด พนักงานรถจักรต้องรับผิดชอบสูงด้านความปลอดภัยของขบวนรถติดต่อกัน แต่ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ไม่ดำเนินการแก้ไข และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ไม่พูดถึงเรื่องอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ปกปิดข้อมูลทั้งที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสากล โยนให้พนักงานขับรถเป็นจำเลยสังคม”
ขีดเส้น 7 วันปลด”ยุทธนา”
โดยเวลาประมาณ 17.00 น. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้พบกับตัวแทนสหภาพฯ เจรจาประมาณ 10 นาที แต่ไม่ได้ข้อสรุปใดๆ โดยแกนนำสหภาพฯ ยืนยันว่าต้องการพบรมว.คมนาคม เท่านั้น เนื่องจากมีอำนาจในการตัดสินมากกว่า โดยนายสาวิทย์ กล่าวว่า สหภาพฯจะให้เวลารมว.คมนาคม ตัดสินใจภายใน 7 วันต้องปลดผู้ว่าฯร.ฟ.ท. โดยจะปักหลักชุมนุมต่อเนื่องจนกว่าจะได้รับคำตอบโดยพนักงานจะผลัดเปลี่ยนเข้าร่วมชุมนุมเพื่อไม่ให้กระทบต่อการเดินรถและไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่งหลังจากนี้จะมีแกนนำสหภาพฯ รัฐวิสาหกิจอื่นๆมาร่วมชุมนุมด้วย
สรุปผลสอบไล่ออกพนักงานขับรถ
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 84 ตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค.52 กล่าวถึงผลสอบว่า คณะกรรมการได้ทำการสอบพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 8 ปาก สรุปสาเหตุเกิดจากความบกพร่องของตัวบุคคล ไม่ได้เกิดจากระบบ เครื่องมือ และอุปกรณ์ เนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาผลการตรวจสอบระบบทั้งหมดแล้ว ทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ราง ไม้หมอน หัวรถจักร พบว่าอยู่ในสภาพปรกติ
โดยคำให้การของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ราย คือ นายเริงศักดิ์ พันธ์เทพ พนักงานขับรถขบวน 84 ให้การต่อเจ้าหน้าที่ ว่า ได้เริ่มทำการขับรถไฟขบวนดังกล่าวจากสถานีชุมพร ถึงสถานีบางสะพานใหญ่ โดยหยุดจอดทั้งหมด 4 สถานี และหลังจากนั้นก็ไม่ได้หยุดพักที่สถานีใด และขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงที่สถานีวังพง โดยขณะนั้นพนักงานขับรถเกิดอาการง่วงซึม และวูบหลับไป ก่อนมารู้สึกอีกที่บริเวณสถานีเขาเต่า เนื่องจากการรับประทานยาแก้แพ้ และยาแก้ไข้หวัด รวมทั้งพนักงานคนดังกล่าว ยังให้การว่า ไม่ได้ยินเสียงวิทยุสื่อสาร เนื่องจากแบตเตอร์รี่อ่อน จนถึงสถานีวังพงทำให้ไม่สามารถรับรู้สัญญาณได้
ทั้งนี้พบว่าพนักงานขับรถขบวนดังกล่าวมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้ดื่มสุรา และเมื่อตรวจสอบวันทำงานย้อนหลังพบว่าตั้งแต่เดือนก.ย. 52 จนถึงวันเกิดเหตุ พนักงานขับรถคนดังกล่าวได้หยุดงานเพียง 1 วัน คือวันที่ 14 ก.ย.52 เท่านั้น
ส่วนนายบวรรัตน์ เสือทิม พนักงานช่างเครื่อง ให้การว่า ได้ขึ้นมาที่สถานีชุมพรเช่นเดียวกัน และเห็นพนักงานขับรถหยิบยามารับประทาน ส่วนตนเองก็ไม่ได้ยินเสียงวิทยุ เนื่องจากหูข้างขวามีปัญหา ขณะที่การตรวจสอบระบบวิทยุสื่อสารระหว่างสถานีบางสะพาน-สถานีเขาเต่า ไม่พบว่ามีปัญหา แต่พบว่าแบตเตอรี่ของวิทยุสื่อสารบนขบวนรถอยู่ในสภาพแบตเตอรี่อ่อน และมีไอเสียรั่วเข้าไปในห้องขับ ที่ปัดน้ำฝนใช้การไม่ได้ รวมทั้งตนเองมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูงด้วย
นายอุทัย รักษาเขตต์ พนักงานรักษารถ ไห้การว่า ก่อนเกิดเหตุไม่ได้ยินเสียงวิทยุสื่อสาร บริเวณสถานีวังพง จนถึงสภานีเขาเต่า ว่ามีขบวนรถ 701 ซึ่งเป็นขบวนรถสินค้ารอหลีกอยู่ ทำให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้น
จากคำให้การทั้งหมด คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สรุปว่า จะเสนอให้ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.พิจารณาโทษแก่พนักงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 คน โดยนายเริงศักดิ์ มีความผิดคือไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการขับรถของ ร.ฟ.ท. ส่งผลให้เกิดความเสียหาย มีโทษไล่ออก , นายบวรรัตน์ มีความผิดคือไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ร.ฟ.ท.ในการช่วยดูแลสัญญาณประจำ และ นายอุทัย มีความผิดในการไม่ช่วยดูแลขบวนเรื่องการหลีกขบวนรถ ตามที่ระเบียบได้ระบุไว้ มีโทษตัดเงินเดือน 15 % เป็นเวลา 10 เดือน
โดยโทษทั้งหมดจะมีผลก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวินัย ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวภายใน 1-2 วันนี้ ซึ่งระหว่างนี้พนักงานที่ต้องโทษทั้งหมด จะต้องหยุดพักการทำงานทันที
โต้ส.ส.เพื่อไทย ประมูลซื้อรถจักร 7 คันโปร่งใส
นายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ในฐานะประธานกรรมการร่างขอบเขตงานการจัดรถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 7 คัน พร้อมเครื่องอะไหล่ มูลค่า 1,155 ล้านบาท กล่าวถึงกรณีน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีขั้นตอนการออกร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) ส่อไปทางทุจริต อาจล็อคสเป็คให้กับเอกชนบางรายนั้น คณะกรรมการฯยืนยันว่าขั้นตอนดังกล่าวถูกต้องทั้งหมด และไม่ได้ล็อคสเป็คตามที่กล่าวอ้าง
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซต์ของร.ฟ.ท. และกรมบัญชีกลาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2-12 ต.ค.52 ซึ่งการที่ออกมากล่าวว่า ให้ผู้ที่สนใจเข้ายื่นเอกสารการประกวดราคาในวันที่ 13 ต.ค.52 นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกระบวนการหลังจากประกาศร่างทีโออาร์ลงเวปไซต์แล้ว คณะกรรมการฯจะต้องประชุม เพื่อพิจารณาความคิดเห็นที่ได้แสดงมาก่อน ว่าจะสามารถแกไขร่างประกวดราคาใหม่ได้หรือไม่ จากนั้นหากคณะกรรมการฯมีความเห็นว่าสมควรจะแก้ไข ก็ดำเนินการแก้ไขก่อนประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซต์อีกครั้ง
“หากร่างทีโออาร์ที่ประกาศออกไปมีคนแสดงความคิดเห็นก็ต้องดูก่อนว่าสมควรแก้ไหม หากไม่แก้เลยร.ฟ.ท.จะประกาศขายเอกสารการประกวดราคาเลยภายใน 10 วัน ซึ่งการประกาศลงบนเวปไซต์ในครั้งที่ 1 นี้ พบว่ามีผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 1 ราย คือบริษัท ล็อกซเล่ย์ แต่หากมีการพิจารณาแล้วไม่แก้ไข คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะขายซองประกวดราคาได้”นายประจักษ์ กล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าวร.ฟ.ท.มีแผนที่จะนำรถจักรดีเซลทั้ง 7 คัน ใช้ในการให้บริการขนส่งคอนเทนเนอร์ ระหว่าง สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง กับท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากพิจารณาศักยภาพของการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวมีความสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งรูปแบบวิธีต่าง ๆ ทั้งระบบราง ทางน้ำ และท่อ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และลดต้นทุนการขนส่ง
โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2552-2555 ระยะเวลาส่งมอบพัสดุ ภายใน 24 เดือน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาซื้อขาย มีวงเงินในการจัดซื้อภายในวงเงิน 1,155 ล้านบาท แบ่งเป็น รถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 7 คัน วงเงิน 1,050 ล้านบาท และเครื่องอะไหล่วงเงิน 105 ล้านบาท
วานนี้ (12 ต.ค.) เวลา 11.00 น. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) กว่า 80 คน นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ได้ชุมนุมหน้ากระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ปลด นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากบริหารงานล้มเหลวหมดความชอบธรรม โดยล่าสุดจากกรณีที่ขบวนรถด่วนที่84 ตรัง-กรุงเทพ ตกรางที่สถานีเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.แถลงชี้นำการสอบสวนว่า ระบบทุกอย่างของรถไฟสมบูรณ์แต่สาเหตุเกิดจากพนักงานขับรถหลับใน เป็นความบกพร่องที่พนักงานขับรถ ทั้งที่ขณะนั้นยังไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ สหภาพฯ ร.ฟ.ท.ระบุว่า 1. นายยุทธนาถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ชี้มูลความผิดทุจริตการหาผลประโยชน์บริเวณตลาดซันเดย์ ทำให้ร.ฟ.ท.เสียประโยชน์ถึง 58 ล้านบาท 2. ขาดธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งบุคคลที่เคยถูกไล่ออกจากงานและเป็นผู้ถูกชี้มูลกรณีทุจริตตลาดซันเดย์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น 3. ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างโดยไม่มีการตกลงกับสหภาพฯเป็นการกระทำที่ขัดต่อพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
4. ละเมิดข้อตกลงกับรัฐบาลกรณีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ ลงนามตกลงกับสหภาพ เมื่อ 23 มิ.ย. 52 โดยมีการออกคำสั่งตั้งคณะทำงานถ่ายโอนสินทัพย์ให้แก่บริษัทฯ 5. กรณีขบวนรถด่านที่ 84 ตกรางที่เขาเต่าเป็นการบริหารงานที่ล้มเหลว ไม่เอาใจใส่ต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิต ภาพพจน์ร.ฟ.ท.เสียหาย
นายสาวิทย์กล่าวว่า การสรุปผลสอบสวนรถไฟตกรางและไล่พนักงานขับรถออกถือว่าไม่ให้ความเป็นธรรมกับพนักงาน เพราะข้อมูลการสอบสวน จริงๆ พบว่า อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยประจำหัวรถจักรชำรุด ไม่ทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะ Dead man device หากทำงานได้สมบูรณ์ พนักงานขับรถหลับใน เหตุใดระบบห้ามล้อจะทำงานอัตโนมัติและ Power ระบบการจ่ายไฟจะตัดเครื่องยนต์จะลดรอบการทำงาน และ OverSpeed Protection ตัวควบคุมความเร็ว ถึงไม่ทำงาน
“รถไฟถูกมติครม. 28 ก.ค. 41 ควบคุมการเพิ่มอัตราพนักงานทำให้พนักงานต้องทำงาน 7 วันไม่มีวันหยุด พนักงานรถจักรต้องรับผิดชอบสูงด้านความปลอดภัยของขบวนรถติดต่อกัน แต่ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ไม่ดำเนินการแก้ไข และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ไม่พูดถึงเรื่องอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ปกปิดข้อมูลทั้งที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสากล โยนให้พนักงานขับรถเป็นจำเลยสังคม”
ขีดเส้น 7 วันปลด”ยุทธนา”
โดยเวลาประมาณ 17.00 น. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้พบกับตัวแทนสหภาพฯ เจรจาประมาณ 10 นาที แต่ไม่ได้ข้อสรุปใดๆ โดยแกนนำสหภาพฯ ยืนยันว่าต้องการพบรมว.คมนาคม เท่านั้น เนื่องจากมีอำนาจในการตัดสินมากกว่า โดยนายสาวิทย์ กล่าวว่า สหภาพฯจะให้เวลารมว.คมนาคม ตัดสินใจภายใน 7 วันต้องปลดผู้ว่าฯร.ฟ.ท. โดยจะปักหลักชุมนุมต่อเนื่องจนกว่าจะได้รับคำตอบโดยพนักงานจะผลัดเปลี่ยนเข้าร่วมชุมนุมเพื่อไม่ให้กระทบต่อการเดินรถและไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่งหลังจากนี้จะมีแกนนำสหภาพฯ รัฐวิสาหกิจอื่นๆมาร่วมชุมนุมด้วย
สรุปผลสอบไล่ออกพนักงานขับรถ
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 84 ตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค.52 กล่าวถึงผลสอบว่า คณะกรรมการได้ทำการสอบพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 8 ปาก สรุปสาเหตุเกิดจากความบกพร่องของตัวบุคคล ไม่ได้เกิดจากระบบ เครื่องมือ และอุปกรณ์ เนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาผลการตรวจสอบระบบทั้งหมดแล้ว ทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ราง ไม้หมอน หัวรถจักร พบว่าอยู่ในสภาพปรกติ
โดยคำให้การของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ราย คือ นายเริงศักดิ์ พันธ์เทพ พนักงานขับรถขบวน 84 ให้การต่อเจ้าหน้าที่ ว่า ได้เริ่มทำการขับรถไฟขบวนดังกล่าวจากสถานีชุมพร ถึงสถานีบางสะพานใหญ่ โดยหยุดจอดทั้งหมด 4 สถานี และหลังจากนั้นก็ไม่ได้หยุดพักที่สถานีใด และขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงที่สถานีวังพง โดยขณะนั้นพนักงานขับรถเกิดอาการง่วงซึม และวูบหลับไป ก่อนมารู้สึกอีกที่บริเวณสถานีเขาเต่า เนื่องจากการรับประทานยาแก้แพ้ และยาแก้ไข้หวัด รวมทั้งพนักงานคนดังกล่าว ยังให้การว่า ไม่ได้ยินเสียงวิทยุสื่อสาร เนื่องจากแบตเตอร์รี่อ่อน จนถึงสถานีวังพงทำให้ไม่สามารถรับรู้สัญญาณได้
ทั้งนี้พบว่าพนักงานขับรถขบวนดังกล่าวมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้ดื่มสุรา และเมื่อตรวจสอบวันทำงานย้อนหลังพบว่าตั้งแต่เดือนก.ย. 52 จนถึงวันเกิดเหตุ พนักงานขับรถคนดังกล่าวได้หยุดงานเพียง 1 วัน คือวันที่ 14 ก.ย.52 เท่านั้น
ส่วนนายบวรรัตน์ เสือทิม พนักงานช่างเครื่อง ให้การว่า ได้ขึ้นมาที่สถานีชุมพรเช่นเดียวกัน และเห็นพนักงานขับรถหยิบยามารับประทาน ส่วนตนเองก็ไม่ได้ยินเสียงวิทยุ เนื่องจากหูข้างขวามีปัญหา ขณะที่การตรวจสอบระบบวิทยุสื่อสารระหว่างสถานีบางสะพาน-สถานีเขาเต่า ไม่พบว่ามีปัญหา แต่พบว่าแบตเตอรี่ของวิทยุสื่อสารบนขบวนรถอยู่ในสภาพแบตเตอรี่อ่อน และมีไอเสียรั่วเข้าไปในห้องขับ ที่ปัดน้ำฝนใช้การไม่ได้ รวมทั้งตนเองมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูงด้วย
นายอุทัย รักษาเขตต์ พนักงานรักษารถ ไห้การว่า ก่อนเกิดเหตุไม่ได้ยินเสียงวิทยุสื่อสาร บริเวณสถานีวังพง จนถึงสภานีเขาเต่า ว่ามีขบวนรถ 701 ซึ่งเป็นขบวนรถสินค้ารอหลีกอยู่ ทำให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้น
จากคำให้การทั้งหมด คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สรุปว่า จะเสนอให้ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.พิจารณาโทษแก่พนักงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 คน โดยนายเริงศักดิ์ มีความผิดคือไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการขับรถของ ร.ฟ.ท. ส่งผลให้เกิดความเสียหาย มีโทษไล่ออก , นายบวรรัตน์ มีความผิดคือไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ร.ฟ.ท.ในการช่วยดูแลสัญญาณประจำ และ นายอุทัย มีความผิดในการไม่ช่วยดูแลขบวนเรื่องการหลีกขบวนรถ ตามที่ระเบียบได้ระบุไว้ มีโทษตัดเงินเดือน 15 % เป็นเวลา 10 เดือน
โดยโทษทั้งหมดจะมีผลก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวินัย ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวภายใน 1-2 วันนี้ ซึ่งระหว่างนี้พนักงานที่ต้องโทษทั้งหมด จะต้องหยุดพักการทำงานทันที
โต้ส.ส.เพื่อไทย ประมูลซื้อรถจักร 7 คันโปร่งใส
นายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. ในฐานะประธานกรรมการร่างขอบเขตงานการจัดรถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 7 คัน พร้อมเครื่องอะไหล่ มูลค่า 1,155 ล้านบาท กล่าวถึงกรณีน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีขั้นตอนการออกร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) ส่อไปทางทุจริต อาจล็อคสเป็คให้กับเอกชนบางรายนั้น คณะกรรมการฯยืนยันว่าขั้นตอนดังกล่าวถูกต้องทั้งหมด และไม่ได้ล็อคสเป็คตามที่กล่าวอ้าง
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซต์ของร.ฟ.ท. และกรมบัญชีกลาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2-12 ต.ค.52 ซึ่งการที่ออกมากล่าวว่า ให้ผู้ที่สนใจเข้ายื่นเอกสารการประกวดราคาในวันที่ 13 ต.ค.52 นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกระบวนการหลังจากประกาศร่างทีโออาร์ลงเวปไซต์แล้ว คณะกรรมการฯจะต้องประชุม เพื่อพิจารณาความคิดเห็นที่ได้แสดงมาก่อน ว่าจะสามารถแกไขร่างประกวดราคาใหม่ได้หรือไม่ จากนั้นหากคณะกรรมการฯมีความเห็นว่าสมควรจะแก้ไข ก็ดำเนินการแก้ไขก่อนประกาศร่างทีโออาร์ลงบนเวปไซต์อีกครั้ง
“หากร่างทีโออาร์ที่ประกาศออกไปมีคนแสดงความคิดเห็นก็ต้องดูก่อนว่าสมควรแก้ไหม หากไม่แก้เลยร.ฟ.ท.จะประกาศขายเอกสารการประกวดราคาเลยภายใน 10 วัน ซึ่งการประกาศลงบนเวปไซต์ในครั้งที่ 1 นี้ พบว่ามีผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 1 ราย คือบริษัท ล็อกซเล่ย์ แต่หากมีการพิจารณาแล้วไม่แก้ไข คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะขายซองประกวดราคาได้”นายประจักษ์ กล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าวร.ฟ.ท.มีแผนที่จะนำรถจักรดีเซลทั้ง 7 คัน ใช้ในการให้บริการขนส่งคอนเทนเนอร์ ระหว่าง สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง กับท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากพิจารณาศักยภาพของการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวมีความสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)และยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งรูปแบบวิธีต่าง ๆ ทั้งระบบราง ทางน้ำ และท่อ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และลดต้นทุนการขนส่ง
โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2552-2555 ระยะเวลาส่งมอบพัสดุ ภายใน 24 เดือน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาซื้อขาย มีวงเงินในการจัดซื้อภายในวงเงิน 1,155 ล้านบาท แบ่งเป็น รถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 7 คัน วงเงิน 1,050 ล้านบาท และเครื่องอะไหล่วงเงิน 105 ล้านบาท