xs
xsm
sm
md
lg

รถไฟฟรีตกรางอีกแล้ว-ชี้ พนง.สับปะแจบกพร่อง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อุบัติเหตุรถไฟเกิดซ้ำซาก ล่าสุดรถไฟบางซื่อขบวนที่ 344 วิ่งระหว่างแก่งคอย-กรุงเทพ ยาว 6โบกี้ เกิดล้อหลุดจากราง จนเหล็กรางงอ-ไหม้หมอนเสียหายหลายท่อน เหตุพนักงานสัปปะแจสัพเพร่า ทำให้รถเกิดตกราง

วานี้ (8 พ.ย.) เมื่อเวลา 08.30 น. นายมารุต พิพิธมงคล วิศวกรช่างกลรถไฟ รับแจ้งมีเหตุรถไฟตกรางบริเวณชุมทางรถไฟบางซื่อ แขวงและเขตบางซื่อ จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และรถกู้ภัย ที่เกิดเหตุอยู่ก่อนถึงสถานรถไฟบางซื่อประมาณ 200 เมตร เจ้าหน้าที่พบรถไฟฟรีเพื่อประชาชน ขบวนที่ 344 วิ่งระหว่างแก่งคอย-กรุงเทพ มีความยาว 6 โบกี้ โดยจากการตรวจสอบพบว่า หัวรถจักรเลขที่ 4202 ล้อหลุดออกจากราง ส่วนโบกี้ที่ 1 กับ 2 ล้อหลุดออกจากรางจนล้อฉีกขาด นอกจากนี้ยังทำให้เหล็กรางหักงอ และไหม้หมอนได้รับความเสียหายอีกจำนวนหลายท่อน แต่ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด โดยหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ต้องใช้รถกู้ภัยเข้ามาทำการยกหัวรถจักรและโบกี้ออกจากราง

จากการสอบถามนายมารุต เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุได้รับแจ้งว่ามีรถไฟตกราง จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและทำการยกหัวรถจักรกับโบกี้ที่ตกรางออกไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 16.00 น.จะแล้วเสร็จ ส่วนสาเหตุที่ทำรถไฟขบวนนี้ตกรางนั้นยังไม่ไม่สามารถระบุได้ ต้องรอยกหัวรถจักรไปตรวจสอบ และสอบถามพนักงานขับรถไฟ กับเจ้าหน้าที่สับรางเสียก่อน

แหล่งข่าวจากการรถไฟกล่าวปัญหารถไฟตกรางที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่ 4 รอบปีนี้ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่ผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟก็รับทราบปัญหาที่เกิดจากปัญหาของความไม่ปลอดภัยของรางรถไฟและหัวรถจักร ซึ่งตัวแทนสหภาพรถไฟฯ ได้พยายามเรียกร้องให้มีการมีเร่งแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้โดยสารและประชาชนที่ใช้บริการ ซึ่งรวมถึงพนักงานขับรถไฟ แต่กลับเพิกเฉยจนทำให้เกิดเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบปีนี้

ต้นเหตุเกิดจากพนักงานสับปะแจ

นายสมหมาย ทับเวช ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสาเหตุของรถไฟตกรางครั้งนี้ เกิดจากพนักงานควบคุมการปรับประแจของสถานีบางซื่อบกพร่อง โดยที่รถไฟขบวนดังกล่าวยังไม่ได้เคลื่อนไปยังจุดที่สับประแจ แต่พนักงานสัปแจเกิดสัปประแจก่อน เพื่อเร่งให้ขบวนรถอีกขบวนหนึ่งที่ตามมาคือรถขบวนสุพรรณ-กทม.ให้เข้าต่อมา ซึ่งเกิดจากความเร่งรีบเกินไปจนทำให้อุบัติเหตุตกราง โดยที่ในวันนี้จะเรียกพนักงานดังกล่าวมาสอบสวน ซึ่งในเบื้องต้นพนักงานดังกล่าวรับสารภาพว่าตนเองทำงานผิดพลาด ไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากความขัดแย้งภายในองค์กรแต่อย่างใด การทำงานบกพร่องในหน้าที่เช่นนี้จะมีบทลงโทษในขั้นต้นคือการตัดเงินเดือน

เกิดอุบัติเหตุมาแล้วถึง 4 ครั้งในรอบปี

สำหรับปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถไฟเมื่อวันที่ 1 ต.ค.52 ที่ผ่านมาเกิดเหตุรถไฟสายธนบุรี-น้ำตก ขบวนที่ 257 ขาเข้าตัวเมืองกาญจนบุรี ตกรางบริเวณก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟท่าล้อ หลังโรงเรียนโชตินันท์ หมู่ 2 ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี หลังได้รับแจ้งเหตุ ตำรวจท่องเที่ยว และ สภ.ท่าม่วง ได้อำนวยความสะดวกประสานรับผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมกว่า 100 คน กลับเข้าตัวเมืองกาญจนบุรี ส่วนรถไฟจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าล้อและเพลาตกรางทั้งหมดรวม 5 โบกี้ ทำให้ไม้หมอนเสียหายต้องเปลี่ยนใหม่หมดรวม 196 ไม้หมอน

ต่อมาในวันที่5ตุลาคม 52 เกิดเหตุการณ์รถไฟตกรางที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ซึ่งนับเป็นอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปีของการรถไฟฯ นอกจากนี้ยังผู้บาดเจ็บเล็กน้อยอีกกว่า 67 ราย ซึ่งถือว่าสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์ของประชาชน รวมทั้งกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นการคมนาคมที่ปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้ ทราบว่ารถไฟขบวนดังกล่าวไม่ได้ทำประกันกับบริษัทใดเลย จึงอยากทราบว่าข้อเท็จจริงของอุบัติเหตุ และรัฐบาลมีแนวทางในการแก้ปัญหาและมาตรการเยียวยาอย่างไร รัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาและพัฒนาระบบรถไฟทั่วประเทศอย่างไร รวมถึงมีมาตรการในรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารอย่างไร

ต่อมาเมื่อวันที 29 ตุลาคมที่ผ่านมาได้เกิดเหตุรถไฟตกราง ระหว่างสถานีวัดสิงห์-บางบอน โดยขบวนรถที่เกิดเหตุ เป็นรถไฟขบวนท้องถิ่น วิ่งระหว่าง วงเวียนใหญ่-มหาชัย ตกรางบริเวณดังกล่าวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต ส่วนสาเหตุ คาดว่า เกิดจากปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ มีน้ำท่วมบวกกับรางรถไฟมีสภาพเก่า ซึ่งหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้เร่งเคลื่อนย้ายขบวนรถแล้ว ก่อนจะเปิดเดินรถตามปกติ และล่าสุดครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นที่ใกล้สถานีรถไฟบางซื่อเป็นรถไฟขบวนที่ 344 วิ่งระหว่างแก่งคอย-กรุงเทพ

โดยก่อนหน้านี้ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม อ้างว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับการรถไฟส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1 ปัญหาเรื่องโครงสร้าง 2 ปัญหาเรื่องระบบคน ระบบเครื่องจักร ทั้งนี้ที่มีการีวิพากษ์วิจารณ์ว่าหัวรถจักรขบวนรถไฟดังกล่าวมีความเก่าไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งานนั้น ข้อเท็จจริงหัวรถจักรดังกล่าวกล่าวถือว่าเป็นรุ่นที่ทันสมัยที่สุด มีอายุการใช้งานเพียง 12 ปีเท่านั้น สำหรับการปรับปรุงระบบรถไฟนั้นตนเห็นว่าจะต้องแก้ไขทั้งระบบ ไม่เช่นนั้นจะไม่สำเร็จ เพราะปัญหาสะสมมาเป็น 100 ปีแล้ว โดยขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 คณะเพื่อดูแลปัญหา ซึ่งได้แจ้งนายกฯว่าจะใช้เวลา 3 สัปดาห์ แต่สัปดาห์ที่ 2 ก็มาเกิดการประท้วงของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงทำให้เกิดการชะงักไปบ้าง แต่ล่าสุดก็เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับการรถไฟอีกนับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบปี ถึงแม้ไม่มีผู้บาดเจ็บ แต่ก็ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ซึ่งผู้บริหารของการรถไฟและคมนาคมไม่เคยแสดงความชอบต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แต่จะให้พนักงานการรถไฟฯ เป็นผู้รับผิดชอบแทน
กำลังโหลดความคิดเห็น