เจ้าหนี้โหวตเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการปิคนิค “พิมล ศรีวิกรม์”ว่าที่ผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มใหม่ เตรียมใส่เงิน1.7พันล้านเข้าลงทุน คาด150 วันดำเนินการแล้วเสร็จ แต่น่าจะใช้เวลาอีก 15 เดือนถึงจะกลับมาเทรดในตลาดหุ้นได้ ตัวแทนบริษัทยืนยันเดินหน้าสะสางข้อพิพาทกับเวิลด์แก๊สต่อ ทั้งเรื่องการส่งมอบคลังแก๊ส การเรียกร้องค่าเสียหาย และการโอนหุ้นลอย ด้านผู้บริหารแผนเชื่อมาร์เกตแชร์จะกลับมาที่เดิมระดับ 10%กว่า ขาดทุนสะสมหมดเกลี้ยง หนุนภาพลักษณ์น่าเชื่อถือมากขึ้น ส่วนกลุ่มสามารถฯกินแห้ว หลังเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วย กรณีขอเลื่อนพิจารณาแผน เหตุไม่รับทราบล่วงหน้า และไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
วานนี้ (27ม.ค.) ที่โรงแรม เอสดี อเวนิว มีการประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI) เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูของบริษัท ตามที่ผู้จัดทำแผนซึ่งเป็นลูกหนี้ (บมจ.ปิคนิค) นำเสนอ หลังจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อ17ม.ค. ได้มีการเลื่อนพิจารณาออกไป โดยในระหว่างที่เริ่มการประชุม ได้มีตัวแทนของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) เข้ามาแจกเอกสารชี้แจงแก่เจ้าหนี้ ว่าทางกลุ่มจะมีบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(SAMART) เข้ามาเป็นผู้ร่วมลงทุนใหม่ในแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้เพียง 2 ราย ซึ่งคิดเป็น 2.9% มูลค่าหนี้ทั้งหมด เสนอให้เลื่อนการโหวตรับแผนฟื้นฟูฯในครั้งนี้ออกไป
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่เคยแจ้งมาให้ทราบล่วงหน้ามาก่อน อีกทั้งไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฏหมาย รวมถึงในเรื่องเงื่อนไขของเวลา จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ท้ายที่สุดที่ประชุมเจ้าหนี้รวมถึงธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ มีมติ 76.56% เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทเสนอ
สำหรับผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในPICNI คือกลุ่มของนายพิมล ศรีวิกรม์ ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มทุน 1,800 ล้านบาท จากเดิม 1,600 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุน 1,700ล้านบาท และการออกหุ้นให้แก่เจ้าหนี้อีก 100 ล้านหุ้น ขณะเดียวกันจะมีการลดทุนและแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ได้รับคืนหนี้ประมาณ 20% ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด จากมูลหนี้ 7,400 ล้านบาท
นายนำพล เงินนำโชค กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปิคนิค กล่าวว่า ขั้นต่อไปผู้บริหารแผนจะส่งลายละเอียดของแผนฟื้นฟูให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อนำส่งต่อศาลล้มละลายกลางให้มีคำสั่งเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว คาดว่าภายใน30 วันหลังจากนี้ ส่วนขั้นตอนในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ รวมถึงการใส่เงินของเข้าของผู้ร่วมทุนใหม่ น่าจะใช้เวลาประมาณ 120- 150วัน หรือประมาณ 5 เดือน กระบวนการดังกล่าวน่าจะแล้วเสร็จ
“กลุ่มของคุณพิมล เมื่อใส่เงินเข้ามาแล้วจะมีสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 85% อีกส่วนจะเป็นของเจ้าหนี้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ตามแผนฟื้นฟูฯ จะมีการลดทุนจากเดิมลงเหลือประมาณ10% โดยแผนดังกล่าว มีส่วนที่สำคัญประกอบด้วยการลดทุนจดทะเบียน การลดหนี้ และ นำส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนเกินราคาค่าก๊าซพิเศษมาหักขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 10,000ล้านบาท”
ทั้งนี้ บริษัทเชื่อมั่นว่า หากกระบวนการที่เสนอไปแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยล้างขาดทุนสะสมได้ทั้งจำนวน เนื่องจากเจ้าหนี้ยอมลดหนี้แก่บริษัทร่วม7,000 ล้านนบาท ขณะที่เงินจากส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนเกินราคาค่าก๊าซพิเศษรวมกันกว่า 3,000 ล้านบาท น่าจะชำระหนี้ที่เหลือได้หมด ทำให้บริษัทไม่มีหนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ และสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ให้บริษัทเพื่อนำมาดำเนินกิจการได้อีก
ส่วนการกลับเข้าไปซื้อขายในกระดานหลักทรัพย์ บริษัทคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 15 เดือนจากนี้ เพื่อให้เวลาแก่การบริหารงานให้ตรงตามเงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวคือ หุ้นในกลุ่ม NPG จะต้องมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทภายในปี 1 และมีส่วนผู้ถือหุ้นเกิน 300 ล้านบาท
ขณะที่การฟ้องร้องกับทางเวิลด์แก๊ส กรณีที่ไม่ยินยอมคืนคลังก๊าซทั้ง 2 แห่งที่ลำปางและสมุทรสงคราม แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งแล้ว เรื่องนี้ทางบริษัทยืนยันว่า จะพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะดำเนินการควบคู่ไปกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากเวิลด์แก๊ส กรณีที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบคืนคลังแก๊สทั้ง 2 แห่ง ตั้งแต่วันที่ศาลฯมีมติให้ส่งคืน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อนำเงินในส่วนหนี้ 50% มาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ ส่วนที่เหลือเมื่อหักค่าภาษีและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีแล้ว บริษัทจะนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
เช่นเดียวกับการโอนหุ้นและการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ในเวิลด์แก๊ส ไปให้กลุ่มอื่นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทางตัวแทนของบมจ.ปินิค ยืนยันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป ให้ถึงที่สุดเช่นกัน
ทั้งนี้ นายนำพล กล่าวยืนยันถึงกลุ่มลงทุนใหม่ ซึ่งคือกลุ่มของนายพิมล ศรีวิกรม์ ว่า ไม่ได้เป็นนอมินีของผู้ถือหุ้นเก่าแน่นอน ขณะที่กลุ่มลาภวิสุทธิสินนั้น ปัจจุบันมีหุ้นอยู่ในบริษัทประมาณ7% แต่เมื่อการลดทุนจดทะเบียนเสร็จแล้ว จะเหลือสัดส่วนการถือหุ้นในPICNI เพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะกลับเข้ามามีบทบาทอะไรมากได้
นายธีรวุฒิ ปานวิรุฬรักษ์ ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวว่า ปัจจุบัน บมจ.ปิคนิค ยังดำเนินธุรกิจเป็นผู้ค้าแก๊สเหลวอยู่ แต่จากวิกฤตที่ผ่านมาก็ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทเหลืออยู่เพียง 4-5% หรือเป็นอันดับ5จากผู้ค่าแก๊สเหลวขนาดใหญ่ แต่หลังจากเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและมีผู้ลงทุนใหม่เข้ามา เชื่อว่าบริษัทจะสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ และน่าจะทำให้มีมาร์เก็ตแชร์ของบริษัทกลับมาอยู่ในระดับเกินกว่า 10% ได้
ปัจจุบัน บมจ.ปิคนิค มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้รวมมูลค่าของคลังแก๊สทั้ง2แห่งที่ยังไม่ได้รับการส่งคืนจากเวิลด์แก๊ส ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 500- 600 ล้านบาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งในจุดนื้ทางบริษัทยืนยันว่าคลังแก๊สทั้ง 2 แห่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท แต่ที่มีข้อพิพาทกับเวิลด์แก๊สขณะนี้ คือในเรื่องของการเช่าคลังแก๊สทั้ง 2 แห่งที่หมดสัญญาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการส่งมอบคืน
วานนี้ (27ม.ค.) ที่โรงแรม เอสดี อเวนิว มีการประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI) เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูของบริษัท ตามที่ผู้จัดทำแผนซึ่งเป็นลูกหนี้ (บมจ.ปิคนิค) นำเสนอ หลังจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อ17ม.ค. ได้มีการเลื่อนพิจารณาออกไป โดยในระหว่างที่เริ่มการประชุม ได้มีตัวแทนของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) เข้ามาแจกเอกสารชี้แจงแก่เจ้าหนี้ ว่าทางกลุ่มจะมีบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(SAMART) เข้ามาเป็นผู้ร่วมลงทุนใหม่ในแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้เพียง 2 ราย ซึ่งคิดเป็น 2.9% มูลค่าหนี้ทั้งหมด เสนอให้เลื่อนการโหวตรับแผนฟื้นฟูฯในครั้งนี้ออกไป
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่เคยแจ้งมาให้ทราบล่วงหน้ามาก่อน อีกทั้งไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฏหมาย รวมถึงในเรื่องเงื่อนไขของเวลา จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ท้ายที่สุดที่ประชุมเจ้าหนี้รวมถึงธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ มีมติ 76.56% เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทเสนอ
สำหรับผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในPICNI คือกลุ่มของนายพิมล ศรีวิกรม์ ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มทุน 1,800 ล้านบาท จากเดิม 1,600 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุน 1,700ล้านบาท และการออกหุ้นให้แก่เจ้าหนี้อีก 100 ล้านหุ้น ขณะเดียวกันจะมีการลดทุนและแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ได้รับคืนหนี้ประมาณ 20% ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด จากมูลหนี้ 7,400 ล้านบาท
นายนำพล เงินนำโชค กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปิคนิค กล่าวว่า ขั้นต่อไปผู้บริหารแผนจะส่งลายละเอียดของแผนฟื้นฟูให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อนำส่งต่อศาลล้มละลายกลางให้มีคำสั่งเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว คาดว่าภายใน30 วันหลังจากนี้ ส่วนขั้นตอนในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ รวมถึงการใส่เงินของเข้าของผู้ร่วมทุนใหม่ น่าจะใช้เวลาประมาณ 120- 150วัน หรือประมาณ 5 เดือน กระบวนการดังกล่าวน่าจะแล้วเสร็จ
“กลุ่มของคุณพิมล เมื่อใส่เงินเข้ามาแล้วจะมีสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 85% อีกส่วนจะเป็นของเจ้าหนี้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ตามแผนฟื้นฟูฯ จะมีการลดทุนจากเดิมลงเหลือประมาณ10% โดยแผนดังกล่าว มีส่วนที่สำคัญประกอบด้วยการลดทุนจดทะเบียน การลดหนี้ และ นำส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนเกินราคาค่าก๊าซพิเศษมาหักขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 10,000ล้านบาท”
ทั้งนี้ บริษัทเชื่อมั่นว่า หากกระบวนการที่เสนอไปแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยล้างขาดทุนสะสมได้ทั้งจำนวน เนื่องจากเจ้าหนี้ยอมลดหนี้แก่บริษัทร่วม7,000 ล้านนบาท ขณะที่เงินจากส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนเกินราคาค่าก๊าซพิเศษรวมกันกว่า 3,000 ล้านบาท น่าจะชำระหนี้ที่เหลือได้หมด ทำให้บริษัทไม่มีหนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ และสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ให้บริษัทเพื่อนำมาดำเนินกิจการได้อีก
ส่วนการกลับเข้าไปซื้อขายในกระดานหลักทรัพย์ บริษัทคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 15 เดือนจากนี้ เพื่อให้เวลาแก่การบริหารงานให้ตรงตามเงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวคือ หุ้นในกลุ่ม NPG จะต้องมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทภายในปี 1 และมีส่วนผู้ถือหุ้นเกิน 300 ล้านบาท
ขณะที่การฟ้องร้องกับทางเวิลด์แก๊ส กรณีที่ไม่ยินยอมคืนคลังก๊าซทั้ง 2 แห่งที่ลำปางและสมุทรสงคราม แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งแล้ว เรื่องนี้ทางบริษัทยืนยันว่า จะพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะดำเนินการควบคู่ไปกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากเวิลด์แก๊ส กรณีที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบคืนคลังแก๊สทั้ง 2 แห่ง ตั้งแต่วันที่ศาลฯมีมติให้ส่งคืน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อนำเงินในส่วนหนี้ 50% มาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ ส่วนที่เหลือเมื่อหักค่าภาษีและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีแล้ว บริษัทจะนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
เช่นเดียวกับการโอนหุ้นและการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ในเวิลด์แก๊ส ไปให้กลุ่มอื่นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทางตัวแทนของบมจ.ปินิค ยืนยันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป ให้ถึงที่สุดเช่นกัน
ทั้งนี้ นายนำพล กล่าวยืนยันถึงกลุ่มลงทุนใหม่ ซึ่งคือกลุ่มของนายพิมล ศรีวิกรม์ ว่า ไม่ได้เป็นนอมินีของผู้ถือหุ้นเก่าแน่นอน ขณะที่กลุ่มลาภวิสุทธิสินนั้น ปัจจุบันมีหุ้นอยู่ในบริษัทประมาณ7% แต่เมื่อการลดทุนจดทะเบียนเสร็จแล้ว จะเหลือสัดส่วนการถือหุ้นในPICNI เพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะกลับเข้ามามีบทบาทอะไรมากได้
นายธีรวุฒิ ปานวิรุฬรักษ์ ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวว่า ปัจจุบัน บมจ.ปิคนิค ยังดำเนินธุรกิจเป็นผู้ค้าแก๊สเหลวอยู่ แต่จากวิกฤตที่ผ่านมาก็ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทเหลืออยู่เพียง 4-5% หรือเป็นอันดับ5จากผู้ค่าแก๊สเหลวขนาดใหญ่ แต่หลังจากเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและมีผู้ลงทุนใหม่เข้ามา เชื่อว่าบริษัทจะสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ และน่าจะทำให้มีมาร์เก็ตแชร์ของบริษัทกลับมาอยู่ในระดับเกินกว่า 10% ได้
ปัจจุบัน บมจ.ปิคนิค มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้รวมมูลค่าของคลังแก๊สทั้ง2แห่งที่ยังไม่ได้รับการส่งคืนจากเวิลด์แก๊ส ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 500- 600 ล้านบาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งในจุดนื้ทางบริษัทยืนยันว่าคลังแก๊สทั้ง 2 แห่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท แต่ที่มีข้อพิพาทกับเวิลด์แก๊สขณะนี้ คือในเรื่องของการเช่าคลังแก๊สทั้ง 2 แห่งที่หมดสัญญาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการส่งมอบคืน