“ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย ผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ มิใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนไม่ดี ฉิบหายหมด” นี่คือวาทะของพุทธทาสภิกขุ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นปราชญ์แห่งวงการพุทธศาสนา
โดยนัยแห่งวาทะดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าท่านพุทธทาสได้เน้นที่พฤติกรรมของบุคลากรทางการเมืองที่เข้ามาปกครองประเทศว่าจะต้องกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวมเป็นด้านหลัก และในขณะเดียวกัน แสดงความไม่เห็นด้วยกับบรรดานักเลือกตั้งที่กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยอ้างความชอบธรรมที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา
ถ้าพิจารณาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยด้วย จะเห็นได้ว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ขัดแย้งกับแนวคิดนี้ จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยตามนัยแห่งพุทธทาสภิกขุ
อะไรคือเหตุที่ขัดแย้งระหว่างแนวคิดของพุทธทาสภิกขุกับความมีความเป็นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
เพื่อให้มองเห็นความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยของไทย และแนวคิดตามหลักของท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีความแตกต่างและเหตุแห่งความแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมและวิธีการในการเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองของบุคลากรทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.
2. กิจกรรมทางการเมืองหลังจากได้รับเลือกตั้ง
3. ศรัทธาและการยอมรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประชาชน รวมไปถึงระบบการปกครองประเทศของผู้ที่เข้าบริหารประเทศ
เริ่มด้วยข้อ 1 จะเห็นได้ชัดว่าการเลือกตั้งในระบบการเมืองไทยจะมีความเป็นประชาธิปไตย แต่รูปแบบ คือมีการจัดการเลือกตั้ง และผู้ที่ได้รับชัยชนะคือผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าคู่แข่ง
ส่วนถ้ามองกันในด้านเนื้อหาของความเป็นประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใสหรือไม่ และคะแนนที่ได้รับเมื่อดูจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตแล้วเป็นเสียงข้างมากจริงหรือเปล่า เป็นต้น จะเกิดคำถามทันทีว่าเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยเยี่ยงที่เกิดขึ้น และมีอยู่ในประเทศที่เจริญแล้วหรือไม่ คำตอบก็จะออกมาว่าไม่ จะเห็นได้จากการซื้อสิทธิขายเสียง โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลความเจริญ และการซื้อเสียงล่วงหน้าผ่านนโยบายลดแลกแจกแถมก่อนกฎหมายเลือกตั้งมีผลบังคับใช้เป็นการเลี่ยงกฎหมายในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัยก็คือการทำผิดสิ่งที่กฎหมายห้ามนั่นเอง
ประเด็นที่สอง กิจกรรมทางการเมืองหลังได้รับเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติมีอยู่ไม่น้อยไม่ค่อยมาประชุมหรือมาแต่อยู่นอกห้องประชุม จะเข้ามาตอนออกเสียง หรือจะให้เห็นกิจกรรมทางการเมืองอันเรียกได้ว่าไร้สาระก็จะดูได้จากการประชุมวาระสำคัญและมีการถ่ายทอด เช่น การพิจารณางบประมาณ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีการแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นจาก ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ เช่น พูดจาไม่สุภาพ และพูดนอกเรื่องนอกประเด็น ประชาชนฟังแล้วรู้สึกเสียดายเงินเดือนที่จ่ายจากภาษี เพราะไม่ได้ประโยชน์อันใดจากการพูดของ ส.ส.ประเภทนี้
อีกนัยหนึ่ง พฤติกรรมการวิ่งเต้นหรือต่อรองตำแหน่งทางการเมืองกับพรรคตัวเอง และพรรคแกนนำรัฐบาล ในกรณีที่ตนเองเป็น ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่เกรงใจคนลงคะแนนเลือกตั้ง และไม่ดูความรู้ความสามารถของตนเองว่าเหมาะว่าควรแก่ตำแหน่งหรือไม่ ถ้าคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำรงตำแหน่งนั้นๆ
ประการสุดท้าย การยอมรับและความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อบุคลากรทางการเมือง จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการแสดงความเบื่อหน่ายต่อบุคคล และต่อระบบการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่นที่นักการเมืองทุจริต คอร์รัปชันมาก คนเบื่อ และไม่สนใจ จะส่งผลต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป ทำให้การเมืองไม่พัฒนา
ทั้ง 3 ประการนี้เกิดขึ้นและมีมาในระบบการเมืองไทยตลอดมา จึงพูดได้ว่าสวนทางกับแนวคิดตามนัยแห่งวาทะของท่านพุทธทาสโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีข่าวว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.โดยมี 3 สูตร คือ 400+100=500 อันเป็นจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ 400+125 เพิ่มขึ้น 25 และ 375+125=500 แต่ลด ส.ส.เขตลงไปเพิ่มที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และยังไม่เป็นที่ตกลงกันว่าจะเป็นสูตรใด ถ้าทุกอย่างยังขัดแย้งต่อไปเชื่อได้ค่อนข้างมากว่าการแก้รัฐธรรมนูญอาจไม่เกิดขึ้น และจบลงด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งด้วยกฎหมายเดิม โดยมี ส.ส. 400+100
ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่แก้ ถ้ามองในแง่ของท่านพุทธทาสภิกขุแล้ว ประชาธิปไตยของไทยก็ยังอ่อนด้อยด้วยคุณธรรมและคุณภาพอยู่ดี เพราะเชื่อว่าจะยังคงทำเพื่อตนเอง และพรรคพวกก่อนส่วนรวมอยู่นั่นเอง
โดยนัยแห่งวาทะดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าท่านพุทธทาสได้เน้นที่พฤติกรรมของบุคลากรทางการเมืองที่เข้ามาปกครองประเทศว่าจะต้องกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวมเป็นด้านหลัก และในขณะเดียวกัน แสดงความไม่เห็นด้วยกับบรรดานักเลือกตั้งที่กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยอ้างความชอบธรรมที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา
ถ้าพิจารณาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยด้วย จะเห็นได้ว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ขัดแย้งกับแนวคิดนี้ จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยตามนัยแห่งพุทธทาสภิกขุ
อะไรคือเหตุที่ขัดแย้งระหว่างแนวคิดของพุทธทาสภิกขุกับความมีความเป็นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
เพื่อให้มองเห็นความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยของไทย และแนวคิดตามหลักของท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีความแตกต่างและเหตุแห่งความแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมและวิธีการในการเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองของบุคลากรทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.
2. กิจกรรมทางการเมืองหลังจากได้รับเลือกตั้ง
3. ศรัทธาและการยอมรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประชาชน รวมไปถึงระบบการปกครองประเทศของผู้ที่เข้าบริหารประเทศ
เริ่มด้วยข้อ 1 จะเห็นได้ชัดว่าการเลือกตั้งในระบบการเมืองไทยจะมีความเป็นประชาธิปไตย แต่รูปแบบ คือมีการจัดการเลือกตั้ง และผู้ที่ได้รับชัยชนะคือผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าคู่แข่ง
ส่วนถ้ามองกันในด้านเนื้อหาของความเป็นประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใสหรือไม่ และคะแนนที่ได้รับเมื่อดูจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตแล้วเป็นเสียงข้างมากจริงหรือเปล่า เป็นต้น จะเกิดคำถามทันทีว่าเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยเยี่ยงที่เกิดขึ้น และมีอยู่ในประเทศที่เจริญแล้วหรือไม่ คำตอบก็จะออกมาว่าไม่ จะเห็นได้จากการซื้อสิทธิขายเสียง โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลความเจริญ และการซื้อเสียงล่วงหน้าผ่านนโยบายลดแลกแจกแถมก่อนกฎหมายเลือกตั้งมีผลบังคับใช้เป็นการเลี่ยงกฎหมายในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัยก็คือการทำผิดสิ่งที่กฎหมายห้ามนั่นเอง
ประเด็นที่สอง กิจกรรมทางการเมืองหลังได้รับเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติมีอยู่ไม่น้อยไม่ค่อยมาประชุมหรือมาแต่อยู่นอกห้องประชุม จะเข้ามาตอนออกเสียง หรือจะให้เห็นกิจกรรมทางการเมืองอันเรียกได้ว่าไร้สาระก็จะดูได้จากการประชุมวาระสำคัญและมีการถ่ายทอด เช่น การพิจารณางบประมาณ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีการแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นจาก ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ เช่น พูดจาไม่สุภาพ และพูดนอกเรื่องนอกประเด็น ประชาชนฟังแล้วรู้สึกเสียดายเงินเดือนที่จ่ายจากภาษี เพราะไม่ได้ประโยชน์อันใดจากการพูดของ ส.ส.ประเภทนี้
อีกนัยหนึ่ง พฤติกรรมการวิ่งเต้นหรือต่อรองตำแหน่งทางการเมืองกับพรรคตัวเอง และพรรคแกนนำรัฐบาล ในกรณีที่ตนเองเป็น ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่เกรงใจคนลงคะแนนเลือกตั้ง และไม่ดูความรู้ความสามารถของตนเองว่าเหมาะว่าควรแก่ตำแหน่งหรือไม่ ถ้าคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำรงตำแหน่งนั้นๆ
ประการสุดท้าย การยอมรับและความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อบุคลากรทางการเมือง จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการแสดงความเบื่อหน่ายต่อบุคคล และต่อระบบการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่นที่นักการเมืองทุจริต คอร์รัปชันมาก คนเบื่อ และไม่สนใจ จะส่งผลต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป ทำให้การเมืองไม่พัฒนา
ทั้ง 3 ประการนี้เกิดขึ้นและมีมาในระบบการเมืองไทยตลอดมา จึงพูดได้ว่าสวนทางกับแนวคิดตามนัยแห่งวาทะของท่านพุทธทาสโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีข่าวว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.โดยมี 3 สูตร คือ 400+100=500 อันเป็นจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ 400+125 เพิ่มขึ้น 25 และ 375+125=500 แต่ลด ส.ส.เขตลงไปเพิ่มที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และยังไม่เป็นที่ตกลงกันว่าจะเป็นสูตรใด ถ้าทุกอย่างยังขัดแย้งต่อไปเชื่อได้ค่อนข้างมากว่าการแก้รัฐธรรมนูญอาจไม่เกิดขึ้น และจบลงด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งด้วยกฎหมายเดิม โดยมี ส.ส. 400+100
ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่แก้ ถ้ามองในแง่ของท่านพุทธทาสภิกขุแล้ว ประชาธิปไตยของไทยก็ยังอ่อนด้อยด้วยคุณธรรมและคุณภาพอยู่ดี เพราะเชื่อว่าจะยังคงทำเพื่อตนเอง และพรรคพวกก่อนส่วนรวมอยู่นั่นเอง