ASTVผู้จัดการรายวัน-ไทยยันแบนส่งออกผัก 5 กลุ่มไปอียู ตั้งแต่ 1 ก.พ.นี้ ขอจัดการปัญหาภายใน จัดทำมาตรฐานให้ชัดเจนก่อน หวั่นลามส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับกรมวิชาการเกษตร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร เพื่อแก้ปัญหากรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) เตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้าผักสดจำนวน 5 กลุ่ม วานนี้ (17 ม.ค.) ว่า ขณะนี้อียูยังไม่ได้แบนผักไทย แต่ไทยได้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ด้วยการแบนตัวเอง โดยกรมวิชาการเกษตรจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยสินค้าผักทั้ง 5 กลุ่มที่จะส่งออกไปอียูตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2554 เป็นต้นไป ส่วนผู้ส่งออกที่ผลิตได้มาตรฐานที่อียูกำหนด ก็ยังสามารถส่งออกได้ และในระหว่างนี้ หากพบการลักลอบส่งออกจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
“อียูยังไม่ได้แบนเรา แต่เราเก็ก เราแบนตัวเอง ไม่อยากส่งออกมีปัญหามั้ย สินค้า 5 กลุ่มนี้ เราจะไม่ส่งออก จนกว่าเราจะจัดการภายในให้เรียบร้อย เราได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเข้ามาดูแลมาตรฐานในเรื่องสินค้าเกษตร โดยจะดูแลตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงการส่งออก เราทำแบบนี้ เป็นการส่งสัญญาณถึงอียูว่าเราเอาจริง เราไม่อยากให้เรื่องเล็กๆ ลามเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรามีเดิมพันในเรื่องสินค้าเกษตรทั้งระบบถึง 4 ล้านล้านบาท และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็วๆ นี้”
สำหรับแนวทางที่จะนำมาใช้ จะนำมาตรฐานการส่งออกสินค้าเกษตร ThaiGAP มาเป็นมาตรฐานสินค้าผักผลไม้ของไทย ที่เน้นความปลอดภัย คำนึงถึงสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมในการผลิต และสอดคล้องกับมาตรฐาน GLOBALGAP ซึ่งเป็นสถาบันที่นานาประเทศให้การยอมรับ ขณะนี้ ThaiGAP อยู่ในระหว่างการจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน โดยเห็นควรให้มีการประทับตรา ThaiGAPบนสินค้าผักผลไม้ที่ได้มาตรฐานก่อนส่งออกไปต่างประเทศ และขอความร่วมมือกระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ องค์กรอิสระ สถาบันอาหาร และสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) เข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าอาหารและผักผลไม้ รวมทั้งร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะรับผิดชอบในส่วนด้านเทคนิค และควบคุมโรคเกี่ยวกับพืช (phyto sanitary) ต่อไป
ก่อนหน้านี้ อียูได้เตรียมจะออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าผักจากไทย จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กะเพรา-โหระพา-แมงลัก-ยี่หร่า กลุ่มที่ 2 พริก กลุ่มที่ 3 มะระจีน-มะระขี้นก กลุ่มที่ 4 มะเขือเปราะ-มะเขือยาว-มะเขือม่วง-มะเขือขื่น และกลุ่มที่ 5 ผักชีฝรั่ง เนื่องจากตรวจพบศัตรูพืชผักที่นำเข้าจากไทยอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ามีการลักลอบส่งออกผักที่ไม่แจ้งและไม่ผ่านการตรวจสอบของเจ้าหน้าตรวจพืชของไทย รวมทั้งยังไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบไปกับสินค้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับกรมวิชาการเกษตร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร เพื่อแก้ปัญหากรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) เตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้าผักสดจำนวน 5 กลุ่ม วานนี้ (17 ม.ค.) ว่า ขณะนี้อียูยังไม่ได้แบนผักไทย แต่ไทยได้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ด้วยการแบนตัวเอง โดยกรมวิชาการเกษตรจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยสินค้าผักทั้ง 5 กลุ่มที่จะส่งออกไปอียูตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2554 เป็นต้นไป ส่วนผู้ส่งออกที่ผลิตได้มาตรฐานที่อียูกำหนด ก็ยังสามารถส่งออกได้ และในระหว่างนี้ หากพบการลักลอบส่งออกจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
“อียูยังไม่ได้แบนเรา แต่เราเก็ก เราแบนตัวเอง ไม่อยากส่งออกมีปัญหามั้ย สินค้า 5 กลุ่มนี้ เราจะไม่ส่งออก จนกว่าเราจะจัดการภายในให้เรียบร้อย เราได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเข้ามาดูแลมาตรฐานในเรื่องสินค้าเกษตร โดยจะดูแลตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงการส่งออก เราทำแบบนี้ เป็นการส่งสัญญาณถึงอียูว่าเราเอาจริง เราไม่อยากให้เรื่องเล็กๆ ลามเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรามีเดิมพันในเรื่องสินค้าเกษตรทั้งระบบถึง 4 ล้านล้านบาท และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็วๆ นี้”
สำหรับแนวทางที่จะนำมาใช้ จะนำมาตรฐานการส่งออกสินค้าเกษตร ThaiGAP มาเป็นมาตรฐานสินค้าผักผลไม้ของไทย ที่เน้นความปลอดภัย คำนึงถึงสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมในการผลิต และสอดคล้องกับมาตรฐาน GLOBALGAP ซึ่งเป็นสถาบันที่นานาประเทศให้การยอมรับ ขณะนี้ ThaiGAP อยู่ในระหว่างการจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน โดยเห็นควรให้มีการประทับตรา ThaiGAPบนสินค้าผักผลไม้ที่ได้มาตรฐานก่อนส่งออกไปต่างประเทศ และขอความร่วมมือกระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ องค์กรอิสระ สถาบันอาหาร และสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) เข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าอาหารและผักผลไม้ รวมทั้งร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะรับผิดชอบในส่วนด้านเทคนิค และควบคุมโรคเกี่ยวกับพืช (phyto sanitary) ต่อไป
ก่อนหน้านี้ อียูได้เตรียมจะออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าผักจากไทย จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กะเพรา-โหระพา-แมงลัก-ยี่หร่า กลุ่มที่ 2 พริก กลุ่มที่ 3 มะระจีน-มะระขี้นก กลุ่มที่ 4 มะเขือเปราะ-มะเขือยาว-มะเขือม่วง-มะเขือขื่น และกลุ่มที่ 5 ผักชีฝรั่ง เนื่องจากตรวจพบศัตรูพืชผักที่นำเข้าจากไทยอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ามีการลักลอบส่งออกผักที่ไม่แจ้งและไม่ผ่านการตรวจสอบของเจ้าหน้าตรวจพืชของไทย รวมทั้งยังไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบไปกับสินค้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศ