นครปฐม - รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่นครปฐมตรวจเยี่ยมแปลงผัก หลักจากสหภาพยุโรปตรวจพบศัตรูพืชกักกันในพืชผักผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่จังนครปฐม เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อตรวจเยี่ยมแปลงผักของนายกิมยู้ อาภรณ์พิศาล เกษตรกรผู้ปลูกใบกะเพราและใบโหระพา อยู่บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมืองนครปฐม
โดยมี นายสุเทพ ดรุณไกรศร กำนันตำบลหนองปากโลง และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสหภาพยุโรป (EU) ได้ตรวจพบศัตรูพืชกักกันในพืชผักผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทย ทำให้สหภาพยุโรปเตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้าพืชผักบางชนิดของประเทศไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เจรจากับหน่วยงาน Helth and Consumer (DG-SANCO)ของสหภาพยุโรป ได้ข้อสรุปว่า หากไทยไม่สามารถแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยพืชในสินค้าพืชผัก 5 กลุ่ม
ประกอบด้วย กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า พริก มะระจีน มะระขี้นก มะเขือเปาะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือขื่น และผักชีฝรั่ง สหภาพยุโรปจึงจำเป็นต้องออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทย เนื่องจากพืชเหล่านี้เป็นพืชควบคุม และศัตรูพืชที่ตรวจพบเป็นศัตรูที่กักกันของสหภาพยุโรป
สำหรับการตรวจเยี่ยมแปลงผักของนายกิมยู้ ไม่พบศัตรูพืชกักกันแต่อย่างใด ผักที่ปลูกส่วนใหญ่จะส่งเข้าบริษัทเพื่อส่งออกในราคาประกันกิโลกรัมละ 20-30 บาท ในแต่ละสัปดาห์จะตัดเก็บใบกะเพราและใบโหระพาส่ง 300-500 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 1,200-2,000 กิโลกรัม เมื่อสหภาพยุโรป หรืออียู ระงับการส่งออกบริษัทฯก็ไม่สั่งตัดพืชผักทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จำนวนมาก
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบกระบวนการและขั้นตอนการปลูกของเกษตรกร ซึ่งเป็นต้นธาร ไม่พบปัญหา และจากการตรวจสอบพบปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการส่งออกบางรายสินค้าเกษตรมีไม่เพียงพอจึงไปขอรับพืชผักจากนอกตลาดภายนอก ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ประกอบกับผ้าคลุมสินค้าสกปรกปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้เน้นย้ำให้ผู้ส่งออกปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้เร่งปรับปรุงระบบควบคุมด้านความปลอดภัยด้านสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงสุขอนามัยพืชด้วย และเตรียมชี้แจงผู้ส่งออก ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และร่วมวางแผนบูรนาการแก้ไขปัญหาให้เป็นในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสหภาพยุโรปเร็วที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่จังนครปฐม เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อตรวจเยี่ยมแปลงผักของนายกิมยู้ อาภรณ์พิศาล เกษตรกรผู้ปลูกใบกะเพราและใบโหระพา อยู่บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมืองนครปฐม
โดยมี นายสุเทพ ดรุณไกรศร กำนันตำบลหนองปากโลง และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสหภาพยุโรป (EU) ได้ตรวจพบศัตรูพืชกักกันในพืชผักผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทย ทำให้สหภาพยุโรปเตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้าพืชผักบางชนิดของประเทศไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เจรจากับหน่วยงาน Helth and Consumer (DG-SANCO)ของสหภาพยุโรป ได้ข้อสรุปว่า หากไทยไม่สามารถแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยพืชในสินค้าพืชผัก 5 กลุ่ม
ประกอบด้วย กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า พริก มะระจีน มะระขี้นก มะเขือเปาะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือขื่น และผักชีฝรั่ง สหภาพยุโรปจึงจำเป็นต้องออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทย เนื่องจากพืชเหล่านี้เป็นพืชควบคุม และศัตรูพืชที่ตรวจพบเป็นศัตรูที่กักกันของสหภาพยุโรป
สำหรับการตรวจเยี่ยมแปลงผักของนายกิมยู้ ไม่พบศัตรูพืชกักกันแต่อย่างใด ผักที่ปลูกส่วนใหญ่จะส่งเข้าบริษัทเพื่อส่งออกในราคาประกันกิโลกรัมละ 20-30 บาท ในแต่ละสัปดาห์จะตัดเก็บใบกะเพราและใบโหระพาส่ง 300-500 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 1,200-2,000 กิโลกรัม เมื่อสหภาพยุโรป หรืออียู ระงับการส่งออกบริษัทฯก็ไม่สั่งตัดพืชผักทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จำนวนมาก
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบกระบวนการและขั้นตอนการปลูกของเกษตรกร ซึ่งเป็นต้นธาร ไม่พบปัญหา และจากการตรวจสอบพบปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการส่งออกบางรายสินค้าเกษตรมีไม่เพียงพอจึงไปขอรับพืชผักจากนอกตลาดภายนอก ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ประกอบกับผ้าคลุมสินค้าสกปรกปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้เน้นย้ำให้ผู้ส่งออกปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้เร่งปรับปรุงระบบควบคุมด้านความปลอดภัยด้านสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงสุขอนามัยพืชด้วย และเตรียมชี้แจงผู้ส่งออก ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และร่วมวางแผนบูรนาการแก้ไขปัญหาให้เป็นในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสหภาพยุโรปเร็วที่สุด