ในฐานะนักเขียนประจำหน้าใหม่ ผมขออนุญาตแนะนำตัวเองกับท่านผู้อ่าน “เอเอสทีวีผู้จัดการ” สักนิด ผมเคยเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จนเกษียณอายุราชการ ผมสนใจด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องนโยบายพลังงานและการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนสังคม เมื่อเป็นนักศึกษาชั้นปีที่สาม บทความชิ้นแรกของผมได้รับการตีพิมพ์ในสื่อระดับชาติ ดีใจแทบตาย!
ผมตั้งชื่อคอลัมน์นี้ว่า “โลกที่ซับซ้อน” ก็เพราะเชื่อว่าทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด บางกรณีความสัมพันธ์นั้นอาจจะไม่ตรงไปตรงมาที่นักคณิตศาสตร์จัดอยู่ในประเภท “เชิงเส้น (linear)” แต่อาจจะเป็นประเภทที่ซับซ้อน “ไม่เชิงเส้น (non-linear)” วิธีคิด ทฤษฎีตลอดจนวิธีการหาคำตอบของปัญหาในแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันค่อนข้างมาก ผมจะไม่ลงไปในทฤษฎีให้ท่านปวดหัวเล่น แต่จะขอขยายความด้วยเรื่องจริงสองเรื่อง
เรื่องแรก เล่าไว้ในหนังสือด้านสมุทรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ความสำคัญว่า มีนักคณิตศาสตร์กับวิศวกรสองคนถกเถียงกันว่า “2+2 = ?” นักคณิตศาสตร์ตอบอย่างมั่นใจว่า เท่ากับสี่ คู่สนทนาที่มีประสบการณ์แย้งว่า “ในชีวิตจริง ผมไม่เคยเห็น ผมตั้งใจจะตัดเหล็กสองท่อนๆ ละ 2 เมตร เมื่อนำมาเทียบกันก็ยาวไม่เท่ากันเลย ดังนั้นมีแต่ประมาณ 2 บวกกับประมาณ 2 ได้ประมาณ 4 เท่านั้น
พอดีนักกฎหมายเดินผ่านมานักวิชาการทั้งสองสาขาก็ถามความเห็นเชิงหาพวก นักกฎหมายตอบด้วยท่องทำนองสุภาพว่า
“ท่านทั้งสองอยากให้มันเป็นเท่าไหร่ละครับ ท่านทั้งสองอยากให้เป็นเท่าใด มันก็เป็นเท่านั้นแหละ”
ซับซ้อนไหมครับ? ถ้ายังนึกไม่ออกก็ลองเปรียบเทียบกับกระบวนการยุติธรรมซิครับ
เรื่องที่สอง มีข้าราชการระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมท่านหนึ่งได้ตอบคำถามเรื่องสาเหตุของโลกร้อนผ่านทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งว่า
ไฮโดรคาร์บอน + กิเลส = โลกร้อน
ถ้าพูดกันตามหลักวิชาการแล้ว สมการนี้มีความถูกต้องอยู่มากและดู “เท่ห์” ด้วยต่างหาก แต่มันทำให้ผู้ฟังสับสนและบิดเบือนความจริงสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ
ประการแรก คำว่า ไฮโดรคาร์บอนคือสารประกอบทางเคมีที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจนซึ่งครอบคลุมสารที่อยู่ในรูปของเหลว เช่น ปิโตรเคมีที่สามารถแยกมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ และที่อยู่ในรูปของแข็ง เช่น ถ่านหิน ไม้ฟืน เป็นต้น
ประเด็นที่ทำให้สับสนก็คือ ผู้ฟังเข้าใจว่าการนำสารไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดมาเผาเพื่อให้เกิดพลังงาน จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (ที่เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซด์) แล้วส่งผลให้เกิดปัญหาโลกร้อน
แต่ในความเป็นจริง มีแต่การเผาไฮโดรคาร์บอนจำพวก ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ (ที่เรียกรวมๆ ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล) เท่านั้นที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น การเผาไม้ฟืน ไม่ได้ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น เพราะกว่าที่ต้นไม้ต้นนั้นจะเติบโตมันได้ทำหน้าที่ลดก๊าซเรือนกระจกมาตลอดชีวิต ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ถูกเผาแม้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จริง แต่เมื่อคิดรวมตลอดอายุขัยของต้นไม้ (10-20 ปี) ก็ถือว่าไม่มีการปล่อย
ต่างจากถ่านหิน แม้จะมาจากต้นไม้ที่เคยช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จริง แต่เป็นต้นไม้เมื่อนานนับล้านปีมาแล้ว เมื่อนำถ่านหินมาเผาในยุคนี้ จึงสร้างก๊าซเรือนกระจกในยุคนี้ พูดง่ายๆ ก็คือเคยสร้างความดีเมื่อล้านปีที่แล้วก็จริง แต่มาทำความชั่วเอาในยุคนี้ มันจึงไม่เป็นธรรมกับคนยุคนี้ นี่ยังไม่ได้นับสารพิษอันตราย เช่น ปรอท สารหนู อีกต่างหาก
การสร้างวาทกรรมสั้นๆ เท่ห์ๆ ดังกล่าว ได้ส่งผลเสียหายต่อชาวโลกอย่างมาก เพราะทำให้คนเข้าใจผิดว่า การเผาเชื้อเพลิงชนิดใดก็ส่งผลเหมือนๆ กัน ดังนั้น การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องจำเป็นโดยไม่มีทางเลือกอื่น
ประการที่สอง มันเป็นกิเลสของใคร กิเลสของประชาชนหรือของพ่อค้าพลังงานที่แอบรับผลประโยชน์อยู่ข้างหลังนักการเมืองผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลกันแน่
ประชาชนธรรมดาๆ ก็ติดยึดกับความสะดวกสบาย หรือมี “กิเลส” แต่ถ้าประชาชนสามารถเลือกได้ ก็คงไม่เลือกเอาเชื้อเพลิงชนิดที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำภัยพิบัติมากมายมาสู่ทุกสรรพชีวิตบนโลกใบนี้หรอก
นอกจากนี้ ถ้าประชาชนรู้ว่า การใช้ไม้ฟืน กังหันลม แสงแดด มาผลิตไฟฟ้านอกจากจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้พวกเขามีงานทำนับล้านตำแหน่ง โดยไม่ต้องอพยพเข้าไปลำบากอยู่ในเมืองใหญ่เช่นทุกวันนี้อีกด้วย
ในทางกลับกัน พ่อค้าถ่านหินจะพยายามทุกวิถีทางที่จะให้โรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงที่ตนเองสามารถผูกขาดได้ ทั้งๆ ที่ประเทศเราไม่มีถ่านหินเป็นของตนเองเลย
ประการที่สาม ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่ทำให้โลกร้อนและเกิดจากน้ำมือของมนุษย์มี 3 ตัว คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (ประมาณ 72% ของทั้งหมด) ก๊าซมีเทน (เกิดการเน่าเปื่อยของซากพืช สัตว์ 18%) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (จากปุ๋ยเคมี 9%)
ถ้าข้าราชการท่านนี้จะกรุณาระบุให้ชัดเจนว่า ประมาณร้อยละ 66 ของสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนนั้น เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง
นี่คือสองตัวอย่างของโลกที่ซับซ้อนที่ประชาชนในยุคข้อมูลข่าวสารต้องรู้จักจำแนกและรู้ทัน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสู่สังคมใหม่ที่ร่มเย็นและเป็นธรรมครับ
prasart2552@yahoo.com
ผมตั้งชื่อคอลัมน์นี้ว่า “โลกที่ซับซ้อน” ก็เพราะเชื่อว่าทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด บางกรณีความสัมพันธ์นั้นอาจจะไม่ตรงไปตรงมาที่นักคณิตศาสตร์จัดอยู่ในประเภท “เชิงเส้น (linear)” แต่อาจจะเป็นประเภทที่ซับซ้อน “ไม่เชิงเส้น (non-linear)” วิธีคิด ทฤษฎีตลอดจนวิธีการหาคำตอบของปัญหาในแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันค่อนข้างมาก ผมจะไม่ลงไปในทฤษฎีให้ท่านปวดหัวเล่น แต่จะขอขยายความด้วยเรื่องจริงสองเรื่อง
เรื่องแรก เล่าไว้ในหนังสือด้านสมุทรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ความสำคัญว่า มีนักคณิตศาสตร์กับวิศวกรสองคนถกเถียงกันว่า “2+2 = ?” นักคณิตศาสตร์ตอบอย่างมั่นใจว่า เท่ากับสี่ คู่สนทนาที่มีประสบการณ์แย้งว่า “ในชีวิตจริง ผมไม่เคยเห็น ผมตั้งใจจะตัดเหล็กสองท่อนๆ ละ 2 เมตร เมื่อนำมาเทียบกันก็ยาวไม่เท่ากันเลย ดังนั้นมีแต่ประมาณ 2 บวกกับประมาณ 2 ได้ประมาณ 4 เท่านั้น
พอดีนักกฎหมายเดินผ่านมานักวิชาการทั้งสองสาขาก็ถามความเห็นเชิงหาพวก นักกฎหมายตอบด้วยท่องทำนองสุภาพว่า
“ท่านทั้งสองอยากให้มันเป็นเท่าไหร่ละครับ ท่านทั้งสองอยากให้เป็นเท่าใด มันก็เป็นเท่านั้นแหละ”
ซับซ้อนไหมครับ? ถ้ายังนึกไม่ออกก็ลองเปรียบเทียบกับกระบวนการยุติธรรมซิครับ
เรื่องที่สอง มีข้าราชการระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมท่านหนึ่งได้ตอบคำถามเรื่องสาเหตุของโลกร้อนผ่านทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งว่า
ไฮโดรคาร์บอน + กิเลส = โลกร้อน
ถ้าพูดกันตามหลักวิชาการแล้ว สมการนี้มีความถูกต้องอยู่มากและดู “เท่ห์” ด้วยต่างหาก แต่มันทำให้ผู้ฟังสับสนและบิดเบือนความจริงสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ
ประการแรก คำว่า ไฮโดรคาร์บอนคือสารประกอบทางเคมีที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจนซึ่งครอบคลุมสารที่อยู่ในรูปของเหลว เช่น ปิโตรเคมีที่สามารถแยกมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ และที่อยู่ในรูปของแข็ง เช่น ถ่านหิน ไม้ฟืน เป็นต้น
ประเด็นที่ทำให้สับสนก็คือ ผู้ฟังเข้าใจว่าการนำสารไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดมาเผาเพื่อให้เกิดพลังงาน จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (ที่เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซด์) แล้วส่งผลให้เกิดปัญหาโลกร้อน
แต่ในความเป็นจริง มีแต่การเผาไฮโดรคาร์บอนจำพวก ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ (ที่เรียกรวมๆ ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล) เท่านั้นที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น การเผาไม้ฟืน ไม่ได้ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น เพราะกว่าที่ต้นไม้ต้นนั้นจะเติบโตมันได้ทำหน้าที่ลดก๊าซเรือนกระจกมาตลอดชีวิต ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ถูกเผาแม้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จริง แต่เมื่อคิดรวมตลอดอายุขัยของต้นไม้ (10-20 ปี) ก็ถือว่าไม่มีการปล่อย
ต่างจากถ่านหิน แม้จะมาจากต้นไม้ที่เคยช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จริง แต่เป็นต้นไม้เมื่อนานนับล้านปีมาแล้ว เมื่อนำถ่านหินมาเผาในยุคนี้ จึงสร้างก๊าซเรือนกระจกในยุคนี้ พูดง่ายๆ ก็คือเคยสร้างความดีเมื่อล้านปีที่แล้วก็จริง แต่มาทำความชั่วเอาในยุคนี้ มันจึงไม่เป็นธรรมกับคนยุคนี้ นี่ยังไม่ได้นับสารพิษอันตราย เช่น ปรอท สารหนู อีกต่างหาก
การสร้างวาทกรรมสั้นๆ เท่ห์ๆ ดังกล่าว ได้ส่งผลเสียหายต่อชาวโลกอย่างมาก เพราะทำให้คนเข้าใจผิดว่า การเผาเชื้อเพลิงชนิดใดก็ส่งผลเหมือนๆ กัน ดังนั้น การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องจำเป็นโดยไม่มีทางเลือกอื่น
ประการที่สอง มันเป็นกิเลสของใคร กิเลสของประชาชนหรือของพ่อค้าพลังงานที่แอบรับผลประโยชน์อยู่ข้างหลังนักการเมืองผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลกันแน่
ประชาชนธรรมดาๆ ก็ติดยึดกับความสะดวกสบาย หรือมี “กิเลส” แต่ถ้าประชาชนสามารถเลือกได้ ก็คงไม่เลือกเอาเชื้อเพลิงชนิดที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำภัยพิบัติมากมายมาสู่ทุกสรรพชีวิตบนโลกใบนี้หรอก
นอกจากนี้ ถ้าประชาชนรู้ว่า การใช้ไม้ฟืน กังหันลม แสงแดด มาผลิตไฟฟ้านอกจากจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้พวกเขามีงานทำนับล้านตำแหน่ง โดยไม่ต้องอพยพเข้าไปลำบากอยู่ในเมืองใหญ่เช่นทุกวันนี้อีกด้วย
ในทางกลับกัน พ่อค้าถ่านหินจะพยายามทุกวิถีทางที่จะให้โรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงที่ตนเองสามารถผูกขาดได้ ทั้งๆ ที่ประเทศเราไม่มีถ่านหินเป็นของตนเองเลย
ประการที่สาม ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่ทำให้โลกร้อนและเกิดจากน้ำมือของมนุษย์มี 3 ตัว คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (ประมาณ 72% ของทั้งหมด) ก๊าซมีเทน (เกิดการเน่าเปื่อยของซากพืช สัตว์ 18%) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (จากปุ๋ยเคมี 9%)
ถ้าข้าราชการท่านนี้จะกรุณาระบุให้ชัดเจนว่า ประมาณร้อยละ 66 ของสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนนั้น เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง
นี่คือสองตัวอย่างของโลกที่ซับซ้อนที่ประชาชนในยุคข้อมูลข่าวสารต้องรู้จักจำแนกและรู้ทัน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสู่สังคมใหม่ที่ร่มเย็นและเป็นธรรมครับ
prasart2552@yahoo.com