วานนี้(12 ม.ค)ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา และนายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. เตรียมทำหนังสือถึงนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาและเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อขอให้เชิญสมาชิกวุฒิสภาทั้งส.ว.สรรหาและส.ว.เลือกตั้งมาพิจารณาและหารือร่วมกันเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับปัญหาการหมดวาระของส.ว.สรรหา และจะต้องมีการสรรหาส.ว.สรรหาชุดใหม่ในวันที่ 18 ก.พ.นี้
นายสมชาย เปิดเผยว่า ขณะนี้ส.ว.สรรหาจำนวนมากกำลังพิจารณาข้อกฎหมายว่าจำเป็นต้องลาออกก่อนวันหมดวาระเพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่หรือไม่ เพราะข้อกฏหมายยังไม่ชัดเจน เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 297 บัญญัติว่า ในวาระเริ่มแรกให้ ส.ว.ที่มาจากการสรรหามีวาระ 3 ปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการสรรหาคราวถัดไปหลังจากสิ้นสุดสมาชิกภาพ แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 117 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ให้ สว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี สว. ขึ้นใหม่ และมาตรา 115 (8) ประกอบกับมาตรา 102 (11) กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือรับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้อง "ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ดังนั้นจึงได้มีการหารือกับประธานวุฒิสภา ขอให้มีการเปิดประชุมวุฒิสภานอกรอบ เพื่อเชิญ กกต. ที่ปรึกษาฝ่ายกฏหมายของวุฒิสภา และ ปปช.มาหารือเกี่ยวกับข้อกฏหมายดังกล่าวให้ชัดเจน และเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยในส่วนส.ว.เลือกตั้งอาจได้รับผลกระทบการทำงานคณะกรรมาธิการวุฒิสภาทั้ง 22 คณะได้ ซึ่งก็อยู่ที่ประธานวุฒิสภาจะให้มีการหารือกันวันไหน
ขณะนี้ยังไม่มีหลักประกันใดว่า ส.ว.ที่ลาออกเพื่อลงรับสมัครใหม่ทุกคนจะได้กลับมา แต่ถ้าหากไม่ทำให้ข้อกฏหมายชัดเจน แล้วไปลงสมัครทุกคนก็อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ซึ่งหากลาออกก็อาจถูกฟ้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าไม่ลาออกก็อาจถูกฟ้องร้องใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นจึงอยากขอให้ทุกฝ่ายเห็นใจและเข้าใจ ส.ว.สรรหา
รายงานข่าวแจ้งว่ามีส.ว.สรรหาบางส่วนได้รับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เพื่อเชิญส.ว.สรรหา ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายไปหารือเป็นการส่วนตัวในวันอาทิตย์ที่ 16 ม.ค.นี้ที่บ้านของส.ว.ท่านหนึ่ง โดยนอกจากจะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่แล้วจะมีการพูดคุยและหารือในเรื่องนี้ด้วย.
นายวุฒิสาร ตันไชย อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กล่าวถึงกรณีที่ส.ว.สรรหาหลายคนอาจพิจารณาลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการลงสมัครส.ว.สรรหาชุดใหม่ ว่า ตามข้อกฎหมาย ส.ว.เมื่ออยู่ครบวาระก็จะรักษาการไปจนกว่าจะมีส.ว.ชุดใหม่ ซึ่งกรณีนี้ ส.ว.สรรหา สามารถอยู่จนครบวาระวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ได้ หลังจากนั้น ถ้ามีการลาออก ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องขาดคุณสมบัติการสมัครเป็น ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 115 (8) ประกอบกับมาตรา 102 (11) ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาต้อง "ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” โดยสามารถลงสมัครได้
นายสมชาย เปิดเผยว่า ขณะนี้ส.ว.สรรหาจำนวนมากกำลังพิจารณาข้อกฎหมายว่าจำเป็นต้องลาออกก่อนวันหมดวาระเพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่หรือไม่ เพราะข้อกฏหมายยังไม่ชัดเจน เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 297 บัญญัติว่า ในวาระเริ่มแรกให้ ส.ว.ที่มาจากการสรรหามีวาระ 3 ปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการสรรหาคราวถัดไปหลังจากสิ้นสุดสมาชิกภาพ แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 117 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ให้ สว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี สว. ขึ้นใหม่ และมาตรา 115 (8) ประกอบกับมาตรา 102 (11) กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือรับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้อง "ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ดังนั้นจึงได้มีการหารือกับประธานวุฒิสภา ขอให้มีการเปิดประชุมวุฒิสภานอกรอบ เพื่อเชิญ กกต. ที่ปรึกษาฝ่ายกฏหมายของวุฒิสภา และ ปปช.มาหารือเกี่ยวกับข้อกฏหมายดังกล่าวให้ชัดเจน และเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยในส่วนส.ว.เลือกตั้งอาจได้รับผลกระทบการทำงานคณะกรรมาธิการวุฒิสภาทั้ง 22 คณะได้ ซึ่งก็อยู่ที่ประธานวุฒิสภาจะให้มีการหารือกันวันไหน
ขณะนี้ยังไม่มีหลักประกันใดว่า ส.ว.ที่ลาออกเพื่อลงรับสมัครใหม่ทุกคนจะได้กลับมา แต่ถ้าหากไม่ทำให้ข้อกฏหมายชัดเจน แล้วไปลงสมัครทุกคนก็อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ซึ่งหากลาออกก็อาจถูกฟ้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าไม่ลาออกก็อาจถูกฟ้องร้องใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นจึงอยากขอให้ทุกฝ่ายเห็นใจและเข้าใจ ส.ว.สรรหา
รายงานข่าวแจ้งว่ามีส.ว.สรรหาบางส่วนได้รับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เพื่อเชิญส.ว.สรรหา ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายไปหารือเป็นการส่วนตัวในวันอาทิตย์ที่ 16 ม.ค.นี้ที่บ้านของส.ว.ท่านหนึ่ง โดยนอกจากจะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่แล้วจะมีการพูดคุยและหารือในเรื่องนี้ด้วย.
นายวุฒิสาร ตันไชย อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กล่าวถึงกรณีที่ส.ว.สรรหาหลายคนอาจพิจารณาลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการลงสมัครส.ว.สรรหาชุดใหม่ ว่า ตามข้อกฎหมาย ส.ว.เมื่ออยู่ครบวาระก็จะรักษาการไปจนกว่าจะมีส.ว.ชุดใหม่ ซึ่งกรณีนี้ ส.ว.สรรหา สามารถอยู่จนครบวาระวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ได้ หลังจากนั้น ถ้ามีการลาออก ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องขาดคุณสมบัติการสมัครเป็น ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 115 (8) ประกอบกับมาตรา 102 (11) ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาต้อง "ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” โดยสามารถลงสมัครได้