ประชาชนทั้งหลาย “วิวัฒน์” แล้ว
แต่อภิสิทธิ์และรัฐบาลของเขาละ “วิวัฒน์” แล้วหรือยัง?
เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ก่อกำเนิดขึ้นมาในสถานการณ์ที่ “พิเศษ” อภิสิทธิ์ก็ควรตระหนักว่าตนเองนั้นได้อาศัย “อภิสิทธิ์” เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชาติ เมื่อได้ทำแล้วก็ควรรีบสลายตัวไปเพื่อมิให้เกิดข้อครหาว่าเอาเปรียบ
ดังนั้นผลของการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำตนประหนึ่งว่าเป็นรัฐบาลในสถานการณ์ปกติ ละเลยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เป็นอุปสรรคของชาติ จึงได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ติดตามมาเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างง่ายๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ ละเลยต่อปัญหา และเป็นการชุบมือเปิบจากสถานการณ์ เช่น การปฏิรูปประเทศที่อภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการชุดคุณอานันท์ หรือชุดหมอประเวศที่น่าจะมีเมื่อ 2 ปีก่อนมิใช่ล่วงเลยจนมาถึงในปัจจุบัน ในขณะที่คณะกรรมการชุดคุณสมบัติก็ควรจะตั้งขึ้นมาภายหลังจากได้มีข้อสรุปจากกรรมการชุดคุณอานันท์และหมอประเวศ แต่อภิสิทธิ์ก็กลับทำในทางตรงกันข้าม แก้รัฐธรรมนูญเสียก่อนแถมยังเป็นการแก้ไขในประเด็นที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
หากอภิสิทธิ์จริงใจไม่คิดจะชุบมือเปิบ การก่อความวุ่นวายไม่สงบต่อประเทศโดยกลุ่มคนเสื้อแดง/ดำ พรรคที่อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ 2 ปีติดต่อกันก็น่าจะสามารถระงับยับยั้งเอาไว้ได้ จากการริเริ่มปฏิรูปประเทศเสียตั้งแต่ต้นมือเมื่อได้เข้ามาสู่ตำแหน่งที่อำนวยให้มีอำนาจสามารถทำได้ และการตั้งคณะกรรมการชุดคุณคณิตก็จะไม่ต้องมีขึ้นมา
ประชาวิวัฒน์ก็เช่นเดียวกัน เพราะอภิสิทธิ์คิดจะ “สวมตอ” ในด้านเศรษฐกิจเอาชนะชุดนโยบายประชานิยมของทักษิณเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปแต่ไม่อยากจะใช้ชื่อประชานิยม
กรณ์ จาติกวณิชได้ให้คำนิยามของประชาวิวัฒน์ไว้ว่า เป็นวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยฝ่ายการเมืองเป็นผู้ตั้งโจทย์แล้วให้ฝ่ายข้าราชการ ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาคิดค้นวิธีการตอบโจทย์ มาตรการหรือนโยบายที่ออกมาจึงมิได้เป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองเป็นคนคิดค้นแต่อย่างใด ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างหากเป็นผู้กระทำ ประชาวิวัฒน์ในความหมายของกรณ์จึงเป็นวิวัฒนาการของประชาชน มิได้เป็นนโยบายจากฝ่ายการเมืองเพื่อเป้าหมายคะแนนเสียงที่ไม่มีความยั่งยืน และขาดความรับผิดชอบในด้านการเงินของประเทศโดยงบประมาณดังเช่นประชานิยมแต่อย่างใด
กรณ์จึงบอกว่า โจทย์ช่วยแท็กซี่หรือการแก้หนี้นอกระบบระหว่างเขากับทักษิณแตกต่างกันทั้งวิธีการได้มาซึ่งคำตอบและตัวคำตอบ
แต่สิ่งหนึ่งที่นักเรียน Oxford ในหลักสูตรที่เรียนไปเพื่อไปเป็นเจ้าเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษไม่ว่าจะเป็น กรณ์ อภิสิทธิ์ ละเลยไม่เอาใจใส่ก็คือ บทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ประเทศไทยเป็นอยู่
ในยุคของการล่าอาณานิคมที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมหรือ Mercantilism ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ความมั่งคั่งของชาติถูกทำให้มีความหมายเป็นแค่การได้มาซึ่งแร่โลหะที่มีค่า เช่น ทองคำหรือเงิน จากการค้าระหว่างประเทศที่การแสวงหาวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตจากนอกประเทศด้วยการล่าอาณานิคมซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเกินดุลการค้า
การนำเอาฝิ่นเข้าไปขายในจีนจนเป็นที่มาของความขัดแย้งกับรัฐบาลจีนในสมัยราชวงศ์ชิงก็เนื่องมาจากพ่อค้าอังกฤษขาดดุลการค้า ไม่รู้ว่าจะหาทองคำที่ไหนไปจ่ายหรือเอาสินค้าอะไรไปขายให้จีนเพราะจีนมีพร้อมหมด ในขณะที่ตนเองต้องการสินค้าจากจีนแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ชา ผ้าไหม เครื่องเคลือบ การขาดดุลการค้าจึงทำให้พ่อค้าอังกฤษนำเอาฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดไปขายโดยอาศัยการคุ้มครองจากกำลังทหารที่ตนเองเสียภาษีซื้อปืนและจ่ายเงินเดือนให้
ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนายทุนกับรัฐบาลในการที่จะปกป้องผลประโยชน์จากการค้าของพ่อค้าโดยอาศัยกำลังทางทหารหนุนหลังหรือนำหน้าในบางครั้ง
บทบาทของรัฐบาลที่อภิบาลนายทุนพ่อค้าจึงถูกตั้งคำถามจาก Adam Smith จากงานเขียนในหนังสือนามอุโฆษ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือที่รู้จักในชื่อโดยย่อ The Wealth of Nations ว่าประเทศจะมีความมั่งคั่งด้วยลัทธิพาณิชย์นิยมที่ถือเอาทองคำเป็นความมั่งคั่งจริงหรือ?
คำตอบที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่จริง ลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นเพียงการอภิบาลพ่อค้า ประเทศมั่งคั่งมิได้หมายความว่ามีทองคำแต่อย่างใดไม่ เพราะหากพ่อค้าอังกฤษเกินดุลการค้าได้ทองคำเข้ามามากกว่าที่ต้องจ่ายออกไปก็หมายความว่าจะมีพ่อค้าทางฝ่ายตรงกันข้ามขาดดุลเสียทองคำมาให้ การค้าเพื่อให้ได้ทองคำจึงเป็นเพียง zero sum game ที่มีคนได้และเสียในจำนวนที่เท่าๆ กันผลรวมจากการค้าระหว่างประเทศในลักษณะนี้จึงเป็นศูนย์ มิใช่เป็น positive sum gameหรือ win-win solution แต่อย่างใด
Adam Smith ได้ชี้ให้เห็นมิใช่หรือว่าด้วยแนวคิดการค้าเสรีที่ไม่พยายามฝืนผลิตหรือปกป้องการผลิตที่ตนเองไม่เชี่ยวชาญต่างหากที่จะทำให้ประเทศคู่ค้าเกิด positive sum game ที่ได้ประโยชน์จากการค้าด้วยกันทั้งคู่ มิใช่เกิดเฉพาะแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงลำพังดังเช่นความพยายามในการปกป้องการค้าให้ตนเองอยู่ในสถานะที่เกินดุลการค้าตามแนวคิดลัทธิพาณิชย์นิยม
บทบาทของรัฐบาลจึงอยู่ที่การอำนวยความสะดวกในลักษณะของผู้รักษากฎและให้กลไกตลาดทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรมากกว่าที่จะเข้าไปเป็นผู้เล่นเสียเองดังเช่นแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยม
หลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนก็คือ การเจริญเติบโตระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับประเทศในทวีปยุโรปยกเว้นอังกฤษในช่วงเวลาประมาณ 200 ปีที่ผ่านมาที่สหรัฐฯ และอังกฤษก้าวหน้ากว่าจนกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งทางเศรษฐกิจของโลก เหตุก็เพราะ 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็คล้ายกับ 50 ประเทศที่ไม่มีการกีดกันทางการค้า ในขณะที่รัฐบาล(กลาง)สหรัฐฯ มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโดยตรงน้อยมาก แต่ให้กลไกตลาดและเอกชนมีบทบาทมากกว่า เช่นเดียวกับอังกฤษที่หันกลับมาเน้นการค้าเสรีจนกลายเป็นมหาอำนาจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่ประเทศในทวีปยุโรปแม้จะมีจำนวนหลายประเทศแต่กลับยึดลัทธิพาณิย์นิยมปกป้องการค้าของตนเองและไม่จำกัดบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจล้าหลังกว่าสหรัฐฯ เป็นอันมากทั้งๆ ที่เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุพอๆ กับกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามจะตีตนออกห่างจากนโยบายประชานิยมด้วยประชาวิวัฒน์จึงเป็นการ “สวมตอ” ประชานิยมเพื่อเอาชนะสิ่งที่ทักษิณได้เคยเสนอต่อสังคมไทยเพื่อเป้าหมายคะแนนเสียง แต่ขาดความยั่งยืน และขาดความรับผิดชอบในด้านการเงินของประเทศ เพราะการที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจด้วยการเข้ามาแทรกแซงโดยไม่มีเหตุจำเป็นเป็นเครื่องชี้ที่ดี มิใช่เรื่องใช้เงินงบประมาณมากหรือน้อยหากแต่เป็นเรื่องรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำหน้าที่เกินความจำเป็น
อย่าลืมว่าเมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสียเองแทนที่จะให้เอกชนเขาทำกันเอง สิ่งที่ติดตามมาก็คือ เงิน ที่ต้องใช้ ซึ่งเอกชนมีแนวโน้มที่จะเหนือกว่าในเรื่องประสิทธิภาพในการใช้เงินเพราะมีเจ้าของเงินเป็นตัวเป็นตนที่ชัดเจน ซึ่งต่างจากรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้เงินตนเอง ประสิทธิภาพในการใช้เงินเพื่อดำเนินกิจกรรมจึงต่างกัน
แท็กซี่เอื้ออาทรในนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณจึงมีความแตกต่างจากแท็กซี่โครงการประชาวิวัฒน์ที่กรณ์บอกตรงที่ใด ต่างก็เป็นการแทรกแซงกลไกตลาดของรัฐบาลโดยให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อเสียเอง หากเป็นโครงการที่ดีไม่เสี่ยงและมีกำไรพอควร สถาบันการเงินของเอกชนก็คงทำไปแล้ว แต่ที่ไม่ทำก็มีเหตุผลในตัวของมันเองว่าเสี่ยงไม่คุ้ม เช่นเดียวกับโครงการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยทั้งหลายหรือ micro finance เช่น กองทุนหมู่บ้าน ที่สถาบันการเงินเอกชนไม่ทำเพราะต้นทุนการดำเนินงานสูง มิใช่เป็นการคิดใหม่ทำใหม่ของประชานิยมหรือประชาชนคิด-รัฐสนองของประชาวิวัฒน์แต่อย่างใด หากแต่เป็นการคิดนอกคอกต่างหาก
ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ อาร์เจนตินาและประเทศในละตินอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มยูโร เช่น กรีซ หรือไอร์แลนด์ ก็เป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ดีมิใช่หรือว่า การไม่จำกัดบทบาทด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในการเอาใจประชาชนจะก่อให้เกิดผลร้ายกับประเทศขนาดไหน มันมิได้เกิดขึ้นโดยฉับพลันทันทีทันใด หากแต่จะเป็นเช่นก้อนหิมะหรือ snow ball ที่เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนหยุดยั้งได้ยาก
ประเทศอังกฤษได้ยกย่องคุณงามความดีของ Adam Smith โดยนำเอารูปภาพไปไว้ในด้านหลังของธนบัตร 20 ปอนด์
กรณ์ และอภิสิทธิ์ ต่างก็เคยที่ร่ำเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาจากที่เดียวกันกับที่ Adam Smith เคยเรียน แถมอภิสิทธิ์ยังเคยเป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์เสียด้วยซ้ำ แต่กลายเป็นว่าคุณทั้ง 2 ยอมเป็น Faustian ที่ยอมขายวิญญาณเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการเมือง ละทิ้งหลักการทางเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานไปอย่างที่ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดจะเห็นดีเห็นงามไปกับประชาวิวัฒน์ของพวกคุณ ผู้อ่านคิดว่าในอนาคตทั้ง 2 คนจะได้ไปอยู่ที่ไหน?
แต่อภิสิทธิ์และรัฐบาลของเขาละ “วิวัฒน์” แล้วหรือยัง?
เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ก่อกำเนิดขึ้นมาในสถานการณ์ที่ “พิเศษ” อภิสิทธิ์ก็ควรตระหนักว่าตนเองนั้นได้อาศัย “อภิสิทธิ์” เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชาติ เมื่อได้ทำแล้วก็ควรรีบสลายตัวไปเพื่อมิให้เกิดข้อครหาว่าเอาเปรียบ
ดังนั้นผลของการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำตนประหนึ่งว่าเป็นรัฐบาลในสถานการณ์ปกติ ละเลยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เป็นอุปสรรคของชาติ จึงได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ติดตามมาเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างง่ายๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ ละเลยต่อปัญหา และเป็นการชุบมือเปิบจากสถานการณ์ เช่น การปฏิรูปประเทศที่อภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการชุดคุณอานันท์ หรือชุดหมอประเวศที่น่าจะมีเมื่อ 2 ปีก่อนมิใช่ล่วงเลยจนมาถึงในปัจจุบัน ในขณะที่คณะกรรมการชุดคุณสมบัติก็ควรจะตั้งขึ้นมาภายหลังจากได้มีข้อสรุปจากกรรมการชุดคุณอานันท์และหมอประเวศ แต่อภิสิทธิ์ก็กลับทำในทางตรงกันข้าม แก้รัฐธรรมนูญเสียก่อนแถมยังเป็นการแก้ไขในประเด็นที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
หากอภิสิทธิ์จริงใจไม่คิดจะชุบมือเปิบ การก่อความวุ่นวายไม่สงบต่อประเทศโดยกลุ่มคนเสื้อแดง/ดำ พรรคที่อยู่ภายใต้การบงการของทักษิณ 2 ปีติดต่อกันก็น่าจะสามารถระงับยับยั้งเอาไว้ได้ จากการริเริ่มปฏิรูปประเทศเสียตั้งแต่ต้นมือเมื่อได้เข้ามาสู่ตำแหน่งที่อำนวยให้มีอำนาจสามารถทำได้ และการตั้งคณะกรรมการชุดคุณคณิตก็จะไม่ต้องมีขึ้นมา
ประชาวิวัฒน์ก็เช่นเดียวกัน เพราะอภิสิทธิ์คิดจะ “สวมตอ” ในด้านเศรษฐกิจเอาชนะชุดนโยบายประชานิยมของทักษิณเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปแต่ไม่อยากจะใช้ชื่อประชานิยม
กรณ์ จาติกวณิชได้ให้คำนิยามของประชาวิวัฒน์ไว้ว่า เป็นวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยฝ่ายการเมืองเป็นผู้ตั้งโจทย์แล้วให้ฝ่ายข้าราชการ ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาคิดค้นวิธีการตอบโจทย์ มาตรการหรือนโยบายที่ออกมาจึงมิได้เป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองเป็นคนคิดค้นแต่อย่างใด ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างหากเป็นผู้กระทำ ประชาวิวัฒน์ในความหมายของกรณ์จึงเป็นวิวัฒนาการของประชาชน มิได้เป็นนโยบายจากฝ่ายการเมืองเพื่อเป้าหมายคะแนนเสียงที่ไม่มีความยั่งยืน และขาดความรับผิดชอบในด้านการเงินของประเทศโดยงบประมาณดังเช่นประชานิยมแต่อย่างใด
กรณ์จึงบอกว่า โจทย์ช่วยแท็กซี่หรือการแก้หนี้นอกระบบระหว่างเขากับทักษิณแตกต่างกันทั้งวิธีการได้มาซึ่งคำตอบและตัวคำตอบ
แต่สิ่งหนึ่งที่นักเรียน Oxford ในหลักสูตรที่เรียนไปเพื่อไปเป็นเจ้าเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษไม่ว่าจะเป็น กรณ์ อภิสิทธิ์ ละเลยไม่เอาใจใส่ก็คือ บทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ประเทศไทยเป็นอยู่
ในยุคของการล่าอาณานิคมที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมหรือ Mercantilism ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ความมั่งคั่งของชาติถูกทำให้มีความหมายเป็นแค่การได้มาซึ่งแร่โลหะที่มีค่า เช่น ทองคำหรือเงิน จากการค้าระหว่างประเทศที่การแสวงหาวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตจากนอกประเทศด้วยการล่าอาณานิคมซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเกินดุลการค้า
การนำเอาฝิ่นเข้าไปขายในจีนจนเป็นที่มาของความขัดแย้งกับรัฐบาลจีนในสมัยราชวงศ์ชิงก็เนื่องมาจากพ่อค้าอังกฤษขาดดุลการค้า ไม่รู้ว่าจะหาทองคำที่ไหนไปจ่ายหรือเอาสินค้าอะไรไปขายให้จีนเพราะจีนมีพร้อมหมด ในขณะที่ตนเองต้องการสินค้าจากจีนแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ชา ผ้าไหม เครื่องเคลือบ การขาดดุลการค้าจึงทำให้พ่อค้าอังกฤษนำเอาฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดไปขายโดยอาศัยการคุ้มครองจากกำลังทหารที่ตนเองเสียภาษีซื้อปืนและจ่ายเงินเดือนให้
ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนายทุนกับรัฐบาลในการที่จะปกป้องผลประโยชน์จากการค้าของพ่อค้าโดยอาศัยกำลังทางทหารหนุนหลังหรือนำหน้าในบางครั้ง
บทบาทของรัฐบาลที่อภิบาลนายทุนพ่อค้าจึงถูกตั้งคำถามจาก Adam Smith จากงานเขียนในหนังสือนามอุโฆษ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือที่รู้จักในชื่อโดยย่อ The Wealth of Nations ว่าประเทศจะมีความมั่งคั่งด้วยลัทธิพาณิชย์นิยมที่ถือเอาทองคำเป็นความมั่งคั่งจริงหรือ?
คำตอบที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่จริง ลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นเพียงการอภิบาลพ่อค้า ประเทศมั่งคั่งมิได้หมายความว่ามีทองคำแต่อย่างใดไม่ เพราะหากพ่อค้าอังกฤษเกินดุลการค้าได้ทองคำเข้ามามากกว่าที่ต้องจ่ายออกไปก็หมายความว่าจะมีพ่อค้าทางฝ่ายตรงกันข้ามขาดดุลเสียทองคำมาให้ การค้าเพื่อให้ได้ทองคำจึงเป็นเพียง zero sum game ที่มีคนได้และเสียในจำนวนที่เท่าๆ กันผลรวมจากการค้าระหว่างประเทศในลักษณะนี้จึงเป็นศูนย์ มิใช่เป็น positive sum gameหรือ win-win solution แต่อย่างใด
Adam Smith ได้ชี้ให้เห็นมิใช่หรือว่าด้วยแนวคิดการค้าเสรีที่ไม่พยายามฝืนผลิตหรือปกป้องการผลิตที่ตนเองไม่เชี่ยวชาญต่างหากที่จะทำให้ประเทศคู่ค้าเกิด positive sum game ที่ได้ประโยชน์จากการค้าด้วยกันทั้งคู่ มิใช่เกิดเฉพาะแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงลำพังดังเช่นความพยายามในการปกป้องการค้าให้ตนเองอยู่ในสถานะที่เกินดุลการค้าตามแนวคิดลัทธิพาณิชย์นิยม
บทบาทของรัฐบาลจึงอยู่ที่การอำนวยความสะดวกในลักษณะของผู้รักษากฎและให้กลไกตลาดทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรมากกว่าที่จะเข้าไปเป็นผู้เล่นเสียเองดังเช่นแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยม
หลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนก็คือ การเจริญเติบโตระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับประเทศในทวีปยุโรปยกเว้นอังกฤษในช่วงเวลาประมาณ 200 ปีที่ผ่านมาที่สหรัฐฯ และอังกฤษก้าวหน้ากว่าจนกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งทางเศรษฐกิจของโลก เหตุก็เพราะ 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็คล้ายกับ 50 ประเทศที่ไม่มีการกีดกันทางการค้า ในขณะที่รัฐบาล(กลาง)สหรัฐฯ มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโดยตรงน้อยมาก แต่ให้กลไกตลาดและเอกชนมีบทบาทมากกว่า เช่นเดียวกับอังกฤษที่หันกลับมาเน้นการค้าเสรีจนกลายเป็นมหาอำนาจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่ประเทศในทวีปยุโรปแม้จะมีจำนวนหลายประเทศแต่กลับยึดลัทธิพาณิย์นิยมปกป้องการค้าของตนเองและไม่จำกัดบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจล้าหลังกว่าสหรัฐฯ เป็นอันมากทั้งๆ ที่เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุพอๆ กับกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามจะตีตนออกห่างจากนโยบายประชานิยมด้วยประชาวิวัฒน์จึงเป็นการ “สวมตอ” ประชานิยมเพื่อเอาชนะสิ่งที่ทักษิณได้เคยเสนอต่อสังคมไทยเพื่อเป้าหมายคะแนนเสียง แต่ขาดความยั่งยืน และขาดความรับผิดชอบในด้านการเงินของประเทศ เพราะการที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจด้วยการเข้ามาแทรกแซงโดยไม่มีเหตุจำเป็นเป็นเครื่องชี้ที่ดี มิใช่เรื่องใช้เงินงบประมาณมากหรือน้อยหากแต่เป็นเรื่องรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำหน้าที่เกินความจำเป็น
อย่าลืมว่าเมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสียเองแทนที่จะให้เอกชนเขาทำกันเอง สิ่งที่ติดตามมาก็คือ เงิน ที่ต้องใช้ ซึ่งเอกชนมีแนวโน้มที่จะเหนือกว่าในเรื่องประสิทธิภาพในการใช้เงินเพราะมีเจ้าของเงินเป็นตัวเป็นตนที่ชัดเจน ซึ่งต่างจากรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้เงินตนเอง ประสิทธิภาพในการใช้เงินเพื่อดำเนินกิจกรรมจึงต่างกัน
แท็กซี่เอื้ออาทรในนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณจึงมีความแตกต่างจากแท็กซี่โครงการประชาวิวัฒน์ที่กรณ์บอกตรงที่ใด ต่างก็เป็นการแทรกแซงกลไกตลาดของรัฐบาลโดยให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อเสียเอง หากเป็นโครงการที่ดีไม่เสี่ยงและมีกำไรพอควร สถาบันการเงินของเอกชนก็คงทำไปแล้ว แต่ที่ไม่ทำก็มีเหตุผลในตัวของมันเองว่าเสี่ยงไม่คุ้ม เช่นเดียวกับโครงการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยทั้งหลายหรือ micro finance เช่น กองทุนหมู่บ้าน ที่สถาบันการเงินเอกชนไม่ทำเพราะต้นทุนการดำเนินงานสูง มิใช่เป็นการคิดใหม่ทำใหม่ของประชานิยมหรือประชาชนคิด-รัฐสนองของประชาวิวัฒน์แต่อย่างใด หากแต่เป็นการคิดนอกคอกต่างหาก
ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ อาร์เจนตินาและประเทศในละตินอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มยูโร เช่น กรีซ หรือไอร์แลนด์ ก็เป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ดีมิใช่หรือว่า การไม่จำกัดบทบาทด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในการเอาใจประชาชนจะก่อให้เกิดผลร้ายกับประเทศขนาดไหน มันมิได้เกิดขึ้นโดยฉับพลันทันทีทันใด หากแต่จะเป็นเช่นก้อนหิมะหรือ snow ball ที่เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนหยุดยั้งได้ยาก
ประเทศอังกฤษได้ยกย่องคุณงามความดีของ Adam Smith โดยนำเอารูปภาพไปไว้ในด้านหลังของธนบัตร 20 ปอนด์
กรณ์ และอภิสิทธิ์ ต่างก็เคยที่ร่ำเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาจากที่เดียวกันกับที่ Adam Smith เคยเรียน แถมอภิสิทธิ์ยังเคยเป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์เสียด้วยซ้ำ แต่กลายเป็นว่าคุณทั้ง 2 ยอมเป็น Faustian ที่ยอมขายวิญญาณเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการเมือง ละทิ้งหลักการทางเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานไปอย่างที่ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดจะเห็นดีเห็นงามไปกับประชาวิวัฒน์ของพวกคุณ ผู้อ่านคิดว่าในอนาคตทั้ง 2 คนจะได้ไปอยู่ที่ไหน?