ถึงแม้ว่าปีใหม่ได้เริ่มขึ้นและผ่านไปแล้ว 11 วัน แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ในสังคมไทยยังคงเหมือนเดิม ไม่มีท่าทีว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่ก่อความวุ่นวายและแตกแยกทั้งในทางการเมือง และทางสังคม ยิ่งกว่านี้ยังมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงและยืดเยื้อต่อไปอีกนานตราบเท่าที่เหตุแห่งความวุ่นวายและแตกแยกยังคงดำรงอยู่
ทั้งนี้ ในทางสังคมจะเห็นได้จากกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ตนเอง โดยการขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวแก่ผู้ที่กระทำผิดในการก่อความวุ่นวายในปีที่ผ่านมา และเหตุการณ์ในทางการเมืองในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ส่อเค้าว่าพรรคแกนนำ คือพรรคประชาธิปัตย์จะขัดแย้งกับพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมฯ ได้ ถ้าความต้องการทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญสวนทางกันเกิดขึ้น
และสุดท้าย ความวุ่นวายทางสังคมอันเกิดจากความรักชาติ รักแผ่นดินของคนสองกลุ่มที่มองต่างมุมกันในเรื่องของชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติซึ่งนำโดย นายวีระ สมความคิด กับฝ่ายรัฐบาล จนเป็นเหตุให้คนกลุ่มนี้ถูกเขมรจับไป 7 คน และกำลังขึ้นศาลกัมพูชาอยู่ในขณะนี้
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือความวุ่นวายและสับสน ทั้งในทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นจากความหวังดี แต่ขัดแย้งกันในเรื่องวิธีการ และเจตนาที่ซ่อนเร้นต่อกัน และที่เป็นเช่นนี้ ถ้ามองในทางพุทธศาสนาแล้วเกิดจากกิเลสอันเป็นอกุศล 3 ประการ คือ
1. ตัณหา อันได้แก่ ความอยากหรือความทะเยอทะยาน หรือรวมเรียกสั้นๆ ว่า ความทะยานอยากแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1.1 กามตัณหา ความอยากมี
1.2 ภวตัณหา ความอยากเป็น
1.3 วิภวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
2. มานะ หมายถึง ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ มี 9 ประการคือ
2.1 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.2 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.3 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
2.4 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.5 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.6 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
2.7 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.8 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.9 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
3. ทิฐิ หมายถึง ความเห็น ความเข้าใจ ความเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ โดยคิดเอาเอง เข้าใจเอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด ความเชื่ออย่างผิดๆ เช่น เห็นว่าบาปไม่มี บุญไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็นต้น
3.2 สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก เห็นตรงตามหลักอริยสัจ 4 คือเห็นว่าทุกอย่างเกิดจากเหตุ และถ้าจะแก้หรือดับสิ่งที่เกิดนั้น จะต้องแก้ที่เหตุ ดับที่เหตุ เป็นต้น
ตามนัยแห่งคำสอน 3 ประการ และคำอธิบายขยายความอย่างย่อๆ จะเห็นได้ว่าธรรม 3 ประการนี้ เป็นเหตุแห่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งในทางการเมือง และสังคม ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และถ้าต้องการให้ปัญหาที่ว่านี้ลดลงและหมดไป จะต้องเริ่มด้วยการตัดความอยากคือตัณหาให้เหลือน้อยลงอยู่ในระดับที่ผู้คนในสังคมรับได้ตามครรลองแห่งศีลธรรม และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
พร้อมกันนี้ คนแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระดับแกนนำอันเป็นส่วนประกอบแห่งความขัดแย้งวุ่นวายจะต้องลดมานะ และละทิฐิที่มีส่วนให้เกิดปัญหาลง ก็จะช่วยให้ความเป็นไทคือความเป็นตัวของตัวเอง หรือเป็นปัจเจกบุคคลที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมอยู่ในระดับที่ป้องกันมิให้เกิดปัญหา และถ้าลดละได้มากขึ้น ก็จะเป็นแรงผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสังคม และการเมือง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้คนแต่ละคนในโลกของปุถุชนเป็นอย่างที่ว่านี้ได้นั้น คงต้องใช้เวลาและแรงจูงใจจากผู้นำในทุกภาคส่วน แม้กระทั่งในภาคประชาชนก็จะต้องมีการจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สังคมไทยปราศจากความเป็นทาสแห่งความคิด ทาสน้ำเงิน และทาสแห่งความอยากมี อยากเป็น
เมื่อพูดถึงความเป็นทาสคนรุ่นใหม่อาจเข้าใจยาก เพราะความเป็นทาสตามกฎหมายได้หมดไปแล้วตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 และถึงแม้ในปัจจุบันคำว่า ทาส ยังมีให้ศึกษาหาอ่านได้จากวรรณกรรมเก่าๆ เช่น ทาสในเรือนเบี้ย ของหลวงวิจิตรวาทการ แต่จะมีใครสักกี่คนได้อ่าน และได้อ่านแล้วมีสักกี่คนได้คิดว่า ถึงแม้ทาสในเรือนเบี้ยอันเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสอันเนื่องมาจากพ่อแม่เป็นหนี้ และต้องมาเป็นทาสขัดดอกเบี้ยแทนการใช้หนี้ด้วยเงินได้หมดไปแล้ว
แต่ปัจจุบันได้มีทาสชนิดใหม่มาแทน คือ ทาสน้ำเงิน และทาสทางความคิดในองค์กร อันเกิดจากผู้นำองค์กรได้ครอบงำความคิด หรือไม่ครอบงำ แต่คนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทประจบสอพลอชนิดนายว่าขี้ข้าพลอยก็เกิดขึ้นมาแทนทาสในเรือนเบี้ย และทาสประเภทนี้นี่เองที่เป็นเหตุแห่งความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ในหลายๆ กรณีที่เป็นความขัดแย้งทั้งในทางการเมือง และทางสังคม อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรองดอง และสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
ทั้งนี้ ในทางสังคมจะเห็นได้จากกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ตนเอง โดยการขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวแก่ผู้ที่กระทำผิดในการก่อความวุ่นวายในปีที่ผ่านมา และเหตุการณ์ในทางการเมืองในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ส่อเค้าว่าพรรคแกนนำ คือพรรคประชาธิปัตย์จะขัดแย้งกับพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมฯ ได้ ถ้าความต้องการทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญสวนทางกันเกิดขึ้น
และสุดท้าย ความวุ่นวายทางสังคมอันเกิดจากความรักชาติ รักแผ่นดินของคนสองกลุ่มที่มองต่างมุมกันในเรื่องของชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติซึ่งนำโดย นายวีระ สมความคิด กับฝ่ายรัฐบาล จนเป็นเหตุให้คนกลุ่มนี้ถูกเขมรจับไป 7 คน และกำลังขึ้นศาลกัมพูชาอยู่ในขณะนี้
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือความวุ่นวายและสับสน ทั้งในทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นจากความหวังดี แต่ขัดแย้งกันในเรื่องวิธีการ และเจตนาที่ซ่อนเร้นต่อกัน และที่เป็นเช่นนี้ ถ้ามองในทางพุทธศาสนาแล้วเกิดจากกิเลสอันเป็นอกุศล 3 ประการ คือ
1. ตัณหา อันได้แก่ ความอยากหรือความทะเยอทะยาน หรือรวมเรียกสั้นๆ ว่า ความทะยานอยากแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1.1 กามตัณหา ความอยากมี
1.2 ภวตัณหา ความอยากเป็น
1.3 วิภวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
2. มานะ หมายถึง ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ มี 9 ประการคือ
2.1 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.2 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.3 เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
2.4 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.5 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.6 เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
2.7 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2.8 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
2.9 เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
3. ทิฐิ หมายถึง ความเห็น ความเข้าใจ ความเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ โดยคิดเอาเอง เข้าใจเอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด ความเชื่ออย่างผิดๆ เช่น เห็นว่าบาปไม่มี บุญไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็นต้น
3.2 สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก เห็นตรงตามหลักอริยสัจ 4 คือเห็นว่าทุกอย่างเกิดจากเหตุ และถ้าจะแก้หรือดับสิ่งที่เกิดนั้น จะต้องแก้ที่เหตุ ดับที่เหตุ เป็นต้น
ตามนัยแห่งคำสอน 3 ประการ และคำอธิบายขยายความอย่างย่อๆ จะเห็นได้ว่าธรรม 3 ประการนี้ เป็นเหตุแห่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งในทางการเมือง และสังคม ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และถ้าต้องการให้ปัญหาที่ว่านี้ลดลงและหมดไป จะต้องเริ่มด้วยการตัดความอยากคือตัณหาให้เหลือน้อยลงอยู่ในระดับที่ผู้คนในสังคมรับได้ตามครรลองแห่งศีลธรรม และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
พร้อมกันนี้ คนแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระดับแกนนำอันเป็นส่วนประกอบแห่งความขัดแย้งวุ่นวายจะต้องลดมานะ และละทิฐิที่มีส่วนให้เกิดปัญหาลง ก็จะช่วยให้ความเป็นไทคือความเป็นตัวของตัวเอง หรือเป็นปัจเจกบุคคลที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมอยู่ในระดับที่ป้องกันมิให้เกิดปัญหา และถ้าลดละได้มากขึ้น ก็จะเป็นแรงผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสังคม และการเมือง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้คนแต่ละคนในโลกของปุถุชนเป็นอย่างที่ว่านี้ได้นั้น คงต้องใช้เวลาและแรงจูงใจจากผู้นำในทุกภาคส่วน แม้กระทั่งในภาคประชาชนก็จะต้องมีการจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สังคมไทยปราศจากความเป็นทาสแห่งความคิด ทาสน้ำเงิน และทาสแห่งความอยากมี อยากเป็น
เมื่อพูดถึงความเป็นทาสคนรุ่นใหม่อาจเข้าใจยาก เพราะความเป็นทาสตามกฎหมายได้หมดไปแล้วตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 และถึงแม้ในปัจจุบันคำว่า ทาส ยังมีให้ศึกษาหาอ่านได้จากวรรณกรรมเก่าๆ เช่น ทาสในเรือนเบี้ย ของหลวงวิจิตรวาทการ แต่จะมีใครสักกี่คนได้อ่าน และได้อ่านแล้วมีสักกี่คนได้คิดว่า ถึงแม้ทาสในเรือนเบี้ยอันเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสอันเนื่องมาจากพ่อแม่เป็นหนี้ และต้องมาเป็นทาสขัดดอกเบี้ยแทนการใช้หนี้ด้วยเงินได้หมดไปแล้ว
แต่ปัจจุบันได้มีทาสชนิดใหม่มาแทน คือ ทาสน้ำเงิน และทาสทางความคิดในองค์กร อันเกิดจากผู้นำองค์กรได้ครอบงำความคิด หรือไม่ครอบงำ แต่คนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทประจบสอพลอชนิดนายว่าขี้ข้าพลอยก็เกิดขึ้นมาแทนทาสในเรือนเบี้ย และทาสประเภทนี้นี่เองที่เป็นเหตุแห่งความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ในหลายๆ กรณีที่เป็นความขัดแย้งทั้งในทางการเมือง และทางสังคม อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรองดอง และสร้างความสามัคคีของคนในชาติ