คำสั่งศาลอาญา เมื่อวานนี้ ( 4 มค.) ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว แกนนำ นปช. 7 คน ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหา ก่อการร้าย เป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า คดีความอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ เผาบ้าน เผาเมือง เมื่อเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นคดีอาญา ไม่ใช่คดีการเมือง ดังที่มีคนบางกลุ่มพยามที่จะบิดเบือนให้สังคมเข้าใจผิด ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และความเป็นธรรม อันเป็นสิทธิเสรีภาพ ในระบอบประชาธิปไตย
โดยข้อเท็จจริง ที่ปรากฎต่อสังคมไทย และชาวโลก ที่ ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน การชุมนุมที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 เป็นการก่อความวุ่นวาย การจลาจล เพื่อกดดัทางการเมืองให้มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง เป็นการชิงอำนาจกันในทางการเมือง ไม่ใช่เป็นการชุมนุมสาธารณะตามความหมายแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มีการก่อความรุนแรง ใช้อาวุธ มีการเผาอาคารบ้านเรือน ร้านค้าของประชาชน ปิดการจราจร แบบถาวรโดยการยึดถนนบางสายไว้ทั้งหมด บุกโรงพยาบาล ปิดกั้นทางเข้าโรงพยาบาล
อาวุร้ายแรงเข้าสู่ฝูงชนที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่รวมตัวขับ
ไล่ไม่ให้มีการชุมนุม จนถึงกับมีผู้บาดเจ็บและล้มตาย
แกนนำ นปช. ทั้ง 7 คนคือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ น.พ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายนิสิต สินธุไพร นายขวัญชัย ไพรพนา นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก
ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยทั้ง 7 อ้างเหตุผล ซึ่งเป็นเหตุผลทางการเมือง ว่า สถานการณ์ของประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิม ทุกฝ่ายในประเทศรวมทั้งนานาชาติได้เรียกร้องให้มีการปรองดอง เพื่อคืนความสงบสันติสุขให้กับสังคมโดยเร็ว จำเลยทั้ง 7 คน เห็นว่าประเทศชาติควรจะได้รับการฟื้นฟูและเข้าสู่กระบวนการปรองดองเพื่อความสมานฉันท์ หากศาลอนุญาตให้ประกันตัว นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้าสู่กระบวนการปรองดอง แล้วยังเป็นการแสดงให้ถึงความจริงใจว่าสังคมให้ความสำคัญกับการสร้างความสมานฉันท์ โดยทางแกนนำนปช.ทั้ง 7 คน พร้อมที่จะเข้าร่วม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคง และยืนยันจะไม่หลบหนีหากได้ปล่อยตัวชั่วคราว
อุปมาเหมือน ผู้ร้ายวางเพลิงเผาบ้านเรือน อ้างว่า บัดนี้เพลิงสงบลงแล้ว ขอสัญญาว่า ถ้าได้รับการประกันตัวออกไป จะไม่ไปวางเพลิงอีก
แต่ศาลเห็นว่า เหตุผลที่แกนนำ นปช. ทั้ง 7 อ้างมานั้น ไม่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำสั่งเดิมนั้นคือ ศาล ไม่อนุญาตให้ประกันตัว คดีที่ทั้ง 7 คนถูกกล่าวหานั้น มีโทษร้ายแรง เกรงว่า หากปล่อยตัวไปแล้ว อาจจะหลบหนี
ในบทความเรื่อง "มติ ครม. กับการก้าวล่วงอำนาจศาล และปิดกั้นความยุติธรรมที่ต้องให้กับประชาชน" โดยยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ ผู้พิพากษาอาวุโส อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งแสดงความเห็น กรณี คณะรัฐมนตรี มีมติให้ กระทรวงยุติธรรมดำเนินการเรื่อง การขอประกันตัว แกนนำนปช. กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
" การขังผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินกระบวนการทางอาญา ซึ่งเป็นการขังโดยอำนาจศาล ซึ่งมีมาตรการทางกฎหมายตามหลักอาชญาวิทยาและฑัณทวิทยา ทั้งนี้เพื่อมิให้อาชญากรนั้นออกไปอยู่ร่วมกับสังคมภายนอก โดยที่อาชญากรนั้นเป็นอันตราย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสังคมภายนอก จึงต้องจำกัดสถานที่เพื่อแยกอาชญากรนั้นออกจากสังคม และเพื่อให้หลาบจำในการกระทำความผิดในชั้นหนึ่งก่อน และตามหลักวิชาการทางกฎหมายอันเป็นหลักสากลที่ปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในการให้ประกันตัวผู้ต้องหานั้น รัฐ (หมายถึงองค์กรของรัฐทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฝ่ายบริหารและศาล) จะต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ได้เสียของสังคม โดยรัฐจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า ผู้ต้องหาจะไม่ไปกระทำความผิดเดิมนั้นเพิ่มอีก หรือไปกระทำความผิดอื่นๆอีกในระหว่างการประกันตัว ( Commit further crimes or any crimes before trial )
รัฐจะต้องดำเนินการโดยคำนึงความปลอดภัยของบุคคลและสังคมที่ความผิดนั้นได้เกิดขึ้น ( safety of person and the community ) โดยรัฐต้องทราบถึงพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ต้องหา ต้องรู้ว่าผู้ต้องหาเป็นบุคคลที่มีแนวโน้มที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย หรือมีการกระทำความผิดในอดีตอย่างไรมาแล้ว และผู้ต้องหามีความผูกพันเกี่ยวข้องในสังคมและกระทำต่อสังคมนั้นอย่างไร ต้องรู้ถึงภยันตรายที่ได้เกิดขึ้นหรือจะเกิดต่อสาธารณะหรือไม่ ( public dangerousness ) กับต้องรู้ถึงความที่น่าจะเกิดอันตรายบังเกิดขึ้นหากให้ประกันตัวไป "
พฤติกรรมของ นายจตุพร พรหมพันธ์ ที่อาศัยใบบุญ ความเป็น สส. ไม่ต้องถูกขังระหว่างพิจารณาคดี เป็นตัวอย่างรูปธรรม ของข้อความข้างต้นได้เป็นอย่างดี
ความพยายามที่จะบิดเบือนว่า คดีเผาบ้าน เผาเมืองของคนเสื้อแดง เป็นคดีการเมือง มีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ คำสั่งศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันตัวแกนนไ นปช, ทั้ง 7 เมื่อวานนี้ เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ยืนยันว่า การชุมนุม เมื่อเดือนมีนาคม - พฤษภาคมปีที่แล้ว ไม่ใช่การชุมนุม ตามสิทธิทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย อย่างที่คนเสื้อแดงชอบกล่าวอ้างกัน