คงจำกันได้ว่า หลังขึ้นเถลิงอำนาจไม่นานรัฐบาลปัจจุบันก็ต่อยอดโครงการประชานิยมของรัฐบาลก่อนๆ โดยเปลี่ยนชื่อบางโครงการบ้าง หรือไม่ก็อ้างว่าเพื่อช่วยประชาชนในยามเศรษฐกิจถดถอยบ้าง เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะนโยบายประชานิยมเป็นยาเสพติด เมื่อเริ่มแล้วเลิกยาก นอกจากนั้น มันจะเข้มข้นยิ่งขึ้นเนื่องจากพรรคการเมืองต่างหวังจะซื้อเสียงทางอ้อมด้วยการแย่งกันเสนอนโยบายที่นับวันจะยิ่งขยายออกไปครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ให้กว้างยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นว่าแม้ในขณะนี้จะยังไม่มีกำหนดวันเลือกตั้งครั้งหน้า แต่พรรคการเมืองต่างคาดเดาเหมือนกันว่าคงอีกไม่นาน รัฐบาลออกมาประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนพรรคใหญ่ทางฝ่ายค้านก็ไม่ยอมน้อยหน้า ออกมาขยายนโยบายประชานิยมที่พวกตนเคยทำไว้เมื่อสมัยยังเรืองอำนาจ ความแตกต่างระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลพยายามสรรหาคำแปลกใหม่มาใช้เรียกโครงการเหล่านั้น ส่วนฝ่ายค้านยอมรับว่าประชานิยมเป็นแนวนโยบายสำคัญของตนและจะเพิ่มความเข้มข้นหากตนได้กลับมาเรืองอำนาจอีก มองจากแง่นี้ ฝ่ายค้านดีกว่าเพราะไม่พยายามตบตาประชาชนด้วยการเล่นคำ
การพูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนแนวนโยบายที่พรรคใหญ่ฝ่ายค้านประกาศออกมา ตรงข้ามผมขอย้ำว่า ถ้านักการเมืองกลุ่มนี้กลับมามีอำนาจแล้วเสริมนโยบายประชานิยมให้เข้มข้นดังที่ตนเสนอไว้พร้อมกับทำความฉ้อฉลทางนโยบายที่เคยทำไว้ในอดีต ในวันหนึ่งข้างหน้าเศรษฐกิจจะติดหล่ม ทั้งนี้เพราะเงินที่ใช้เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานและการลงทุนจะถูกใช้หมดไปกับการสนับสนุนนโยบายเลวร้ายนั้นบ้างและถูกสูบออกไปใส่กระเป๋านักการเมืองและญาติมิตรบ้าง
หากแนวนโยบายไม่ถูกปรับเปลี่ยนแบบกลับลำ ความล้มละลายก็จะมาเยือน ความล้มละลายในอาร์เจนตินาเกิดขึ้นหลัง 40 ปีจากวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม เมืองไทยเพิ่งนำมาใช้ไม่ถึง 10 ปี จึงน่าจะยังมีเวลาสำหรับกลับลำ การกลับลำจะทำได้ง่ายขึ้นหากวินัยทางเงินการคลังยังไม่สั่นคลอน แต่วินัยในด้านนี้เริ่มจะมีปัญหาเพราะว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบราชการและหน่วยงานอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนั้น รัฐบาลปัจจุบันดูจะพยายามลดการต่อต้านจากบรรดาข้าราชการและหน่วยงานต่างๆ โดยการขึ้นเงินเดือนให้ในช่วงนี้ทั้งที่ยังไม่ควรมีการขึ้นเงินเดือน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลยังขาดดุลงบประมาณสูงมาก หรือถ้ามองจากด้านการกระตุ้นการใช้จ่ายก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำต่อไปด้วย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวจากการถดถอยแล้ว ฉะนั้น การต่ออายุโครงการประชานิยมจำพวกค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโดยสารรถประจำทางที่รัฐบาลเคยอ้างว่าเพื่อช่วยประชาชนยามเศรษฐกิจถดถอยนั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่รัฐบาลก็ยังทำเพราะหวังผลทางการเมือง
การชูนโยบายประชานิยมของนักการเมืองเพื่อหวังซื้อเสียงนั้นพอเข้าใจได้ สิ่งที่ยากแก่การเข้าใจคือเมื่อนักวิชาการออกมาสนับสนุนนโยบายเหล่านั้นแบบไม่อายผีสางเทวดาโดยอ้างว่าประชาชนได้ประโยชน์บ้าง มันเป็นของเปล่าบ้าง หรือประเทศในแถบสแกนดิเนเวียก็ทำบ้าง จริงอยู่ ประชาชนได้ประโยชน์ แต่โทษที่จะตามมากลับไม่พูดถึงกันไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณหรือด้านการปลูกฝังสันดานแบมือขอ น่าแปลกใจว่าเพราะอะไรนักวิชาการพวกนี้จึงเชื่อว่าโลกมีของเปล่า ของเปล่าไม่มีเป็นสัจธรรม ผู้ได้ประโยชน์ไม่จ่ายผู้อื่นก็ต้องจ่าย
ส่วนนโยบายด้านสวัสดิการของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนั้นทำได้เนื่องจากปัจจัยสำคัญสองด้านคือ คนของเขามีรายได้สูงกว่าคนไทยราว 10 เท่า และเขาจ่ายภาษีสูงมากถึงราวครึ่งหนึ่งของรายได้ ส่วนคนไทยจ่ายแค่ 17% แม้จะมีรายได้และจ่ายภาษีสูงขนาดนั้น โครงการสวัสดิการของเขาก็เริ่มประสบปัญหาเพราะว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การหมกเม็ดความจริงของนักวิชาการนับเป็นการขาดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
คงเพราะการสนับสนุนของนักวิชาการ รัฐบาลนี้จึงมีคำใหม่ๆ ออกมา เช่น เรียกประชานิยมว่าประชาวิวัฒน์ พวกเขาคงไม่คิดว่าการเรียกอุตพิดว่ากระดังงานั้น จะไม่มีวันเปลี่ยนกลิ่นเหม็นปานอุจจาระของมันได้ นอกจากนั้น พวกเขายังคิดคำขวัญใหม่ๆ ออกมาอีกด้วย เช่น “คิดนอกกฎ-บริหารนอกกรอบ” การทำเช่นนั้นยังผลให้รัฐบาลปัจจุบันไม่ต่างกับรัฐบาลที่นำประชานิยมเข้ามาใช้ ในสมัยนั้น เขาใช้คำขวัญว่า “คิดใหม่-ทำใหม่” ซึ่งผมได้วิจารณ์ว่าเป็นการ “สุกเอา-เผากิน” และเมื่อมองจากฐานทางวิชาการที่หัวหน้ารัฐบาลในยุคนั้นชอบอวดอ้างผ่านการแนะนำหนังสือฝรั่งด้วยแล้ว มันเป็นการ “คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์” อย่างน่าอดสู
การวิจารณ์รัฐบาลผ่านหนังสือขายดีเมื่อปี 2547 ชื่อ “คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์” มีผลทำให้ลิ่วล้อของนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นปิดกั้นหนังสือเล่มต่อมาของผมเรื่อง “สู่จุดจบ!” หวังว่า ณ วันนี้ นายกรัฐมนตรีคงไม่มีลิ่วล้อทรามๆ ถึงขนาดนั้นเนื่องจากการปิดกั้นการวิจารณ์คือการนำประเทศลงเหวเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีลิ่วล้อทรามๆ แต่ถ้ายังไม่กลับลำเรื่องนโยบายประชานิยม สังคมไทยก็จะเดินเข้าสู่จุดจบด้วยความล้มละลายเช่นเดียวกับบางประเทศในละตินอเมริกาในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน
จะเห็นว่าแม้ในขณะนี้จะยังไม่มีกำหนดวันเลือกตั้งครั้งหน้า แต่พรรคการเมืองต่างคาดเดาเหมือนกันว่าคงอีกไม่นาน รัฐบาลออกมาประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนพรรคใหญ่ทางฝ่ายค้านก็ไม่ยอมน้อยหน้า ออกมาขยายนโยบายประชานิยมที่พวกตนเคยทำไว้เมื่อสมัยยังเรืองอำนาจ ความแตกต่างระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลพยายามสรรหาคำแปลกใหม่มาใช้เรียกโครงการเหล่านั้น ส่วนฝ่ายค้านยอมรับว่าประชานิยมเป็นแนวนโยบายสำคัญของตนและจะเพิ่มความเข้มข้นหากตนได้กลับมาเรืองอำนาจอีก มองจากแง่นี้ ฝ่ายค้านดีกว่าเพราะไม่พยายามตบตาประชาชนด้วยการเล่นคำ
การพูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนแนวนโยบายที่พรรคใหญ่ฝ่ายค้านประกาศออกมา ตรงข้ามผมขอย้ำว่า ถ้านักการเมืองกลุ่มนี้กลับมามีอำนาจแล้วเสริมนโยบายประชานิยมให้เข้มข้นดังที่ตนเสนอไว้พร้อมกับทำความฉ้อฉลทางนโยบายที่เคยทำไว้ในอดีต ในวันหนึ่งข้างหน้าเศรษฐกิจจะติดหล่ม ทั้งนี้เพราะเงินที่ใช้เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานและการลงทุนจะถูกใช้หมดไปกับการสนับสนุนนโยบายเลวร้ายนั้นบ้างและถูกสูบออกไปใส่กระเป๋านักการเมืองและญาติมิตรบ้าง
หากแนวนโยบายไม่ถูกปรับเปลี่ยนแบบกลับลำ ความล้มละลายก็จะมาเยือน ความล้มละลายในอาร์เจนตินาเกิดขึ้นหลัง 40 ปีจากวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม เมืองไทยเพิ่งนำมาใช้ไม่ถึง 10 ปี จึงน่าจะยังมีเวลาสำหรับกลับลำ การกลับลำจะทำได้ง่ายขึ้นหากวินัยทางเงินการคลังยังไม่สั่นคลอน แต่วินัยในด้านนี้เริ่มจะมีปัญหาเพราะว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบราชการและหน่วยงานอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนั้น รัฐบาลปัจจุบันดูจะพยายามลดการต่อต้านจากบรรดาข้าราชการและหน่วยงานต่างๆ โดยการขึ้นเงินเดือนให้ในช่วงนี้ทั้งที่ยังไม่ควรมีการขึ้นเงินเดือน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลยังขาดดุลงบประมาณสูงมาก หรือถ้ามองจากด้านการกระตุ้นการใช้จ่ายก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำต่อไปด้วย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวจากการถดถอยแล้ว ฉะนั้น การต่ออายุโครงการประชานิยมจำพวกค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโดยสารรถประจำทางที่รัฐบาลเคยอ้างว่าเพื่อช่วยประชาชนยามเศรษฐกิจถดถอยนั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่รัฐบาลก็ยังทำเพราะหวังผลทางการเมือง
การชูนโยบายประชานิยมของนักการเมืองเพื่อหวังซื้อเสียงนั้นพอเข้าใจได้ สิ่งที่ยากแก่การเข้าใจคือเมื่อนักวิชาการออกมาสนับสนุนนโยบายเหล่านั้นแบบไม่อายผีสางเทวดาโดยอ้างว่าประชาชนได้ประโยชน์บ้าง มันเป็นของเปล่าบ้าง หรือประเทศในแถบสแกนดิเนเวียก็ทำบ้าง จริงอยู่ ประชาชนได้ประโยชน์ แต่โทษที่จะตามมากลับไม่พูดถึงกันไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณหรือด้านการปลูกฝังสันดานแบมือขอ น่าแปลกใจว่าเพราะอะไรนักวิชาการพวกนี้จึงเชื่อว่าโลกมีของเปล่า ของเปล่าไม่มีเป็นสัจธรรม ผู้ได้ประโยชน์ไม่จ่ายผู้อื่นก็ต้องจ่าย
ส่วนนโยบายด้านสวัสดิการของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนั้นทำได้เนื่องจากปัจจัยสำคัญสองด้านคือ คนของเขามีรายได้สูงกว่าคนไทยราว 10 เท่า และเขาจ่ายภาษีสูงมากถึงราวครึ่งหนึ่งของรายได้ ส่วนคนไทยจ่ายแค่ 17% แม้จะมีรายได้และจ่ายภาษีสูงขนาดนั้น โครงการสวัสดิการของเขาก็เริ่มประสบปัญหาเพราะว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การหมกเม็ดความจริงของนักวิชาการนับเป็นการขาดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
คงเพราะการสนับสนุนของนักวิชาการ รัฐบาลนี้จึงมีคำใหม่ๆ ออกมา เช่น เรียกประชานิยมว่าประชาวิวัฒน์ พวกเขาคงไม่คิดว่าการเรียกอุตพิดว่ากระดังงานั้น จะไม่มีวันเปลี่ยนกลิ่นเหม็นปานอุจจาระของมันได้ นอกจากนั้น พวกเขายังคิดคำขวัญใหม่ๆ ออกมาอีกด้วย เช่น “คิดนอกกฎ-บริหารนอกกรอบ” การทำเช่นนั้นยังผลให้รัฐบาลปัจจุบันไม่ต่างกับรัฐบาลที่นำประชานิยมเข้ามาใช้ ในสมัยนั้น เขาใช้คำขวัญว่า “คิดใหม่-ทำใหม่” ซึ่งผมได้วิจารณ์ว่าเป็นการ “สุกเอา-เผากิน” และเมื่อมองจากฐานทางวิชาการที่หัวหน้ารัฐบาลในยุคนั้นชอบอวดอ้างผ่านการแนะนำหนังสือฝรั่งด้วยแล้ว มันเป็นการ “คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์” อย่างน่าอดสู
การวิจารณ์รัฐบาลผ่านหนังสือขายดีเมื่อปี 2547 ชื่อ “คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์” มีผลทำให้ลิ่วล้อของนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นปิดกั้นหนังสือเล่มต่อมาของผมเรื่อง “สู่จุดจบ!” หวังว่า ณ วันนี้ นายกรัฐมนตรีคงไม่มีลิ่วล้อทรามๆ ถึงขนาดนั้นเนื่องจากการปิดกั้นการวิจารณ์คือการนำประเทศลงเหวเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีลิ่วล้อทรามๆ แต่ถ้ายังไม่กลับลำเรื่องนโยบายประชานิยม สังคมไทยก็จะเดินเข้าสู่จุดจบด้วยความล้มละลายเช่นเดียวกับบางประเทศในละตินอเมริกาในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน