ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนชั้นแนวหน้าของไทย ได้พูดสั้นๆ เมื่อให้สัมภาษณ์กับ อำภา สันติเมทนีดล นักข่าวอาวุโสของเอเอสทีวี ต่อความเห็นเรื่อง “ท่าทีรัฐบาลไทยกับปัญหาปราสาทพระวิหาร” นักวิชาการท่านนี้ตอบคำถามข้างต้น ด้วยคำพูดประโยคเดียว แต่เปี่ยมด้วยความหมายว่า
รัฐบาลเราเสียเปรียบกัมพูชา ตรงที่ไม่รู้จักใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากกัมพูชาที่จะใช้มันอย่างเต็มที่
คำพูดของอาจารย์อมร น่าจะทำให้คนไทยทั้งประเทศได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเกิดเหตุกรณีคนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับกุมในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดน แต่กลับยินยอมให้กัมพูชาใช้อำนาจทางการทหารบุกรุกเข้ามาจับกุม และใช้อำนาจทางกระบวนยุติธรรมเข้ามาตัดสินชะตากรรมของคนไทยทั้งหมด โดยเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 และเกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ณ หลักเขตแดนที่ 46-47 จังหวัดสระแก้ว
เหตุการณ์ทหารกัมพูชาจับกุมตัวคนไทยทั้ง 7 คนเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 กันยายนปีเดียวกัน กรณีเจ้าหน้าที่ยามฝั่งของญี่ปุ่นจับกุมตัวนายจ้าน ชิ เสียง ไต้ก๋งเรือประมงของจีนพร้อมลูกเรือจำนวนหนึ่งไปควบคุมไว้เพื่อทำการสอบสวนก่อนส่งไปขึ้นศาล หลังพบว่า เรือประมงของนายจ้านจงใจพุ่งเข้าชนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นในบริเวณน่านน้ำใกล้หมู่เกาะเตียวหยูไท่ หรือหมู่เกาะเซนกากุ โดยที่มีคลิปวิดีโอนาทีที่พุ่งชนเป็นหลักฐาน และหมู่เกาะแห่งนี้ ยังเป็นพื้นที่ขัดแย้งที่มีการอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองจากหลายประเทศ ทั้งญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน
สิ่งที่รัฐบาลจีนทำในทันที คือ ให้นายหู เจิงหยู รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศจีนเรียกตัวเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำปักกิ่งเข้าพบเพื่อยื่นเรื่องประท้วง 2 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมงแรก และตามมาด้วยการประท้วงในลักษณะเดียวกันอีก 4 ครั้ง รวมเป็น 6 ครั้ง
สำหรับข้อหาที่ญี่ปุ่นตั้งให้กับ “นายจ้าน” คือ “ขัดขวางการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ยามฝั่ง” โทษจำคุกสูงสุด 3 ปี และ “มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพุ่งชนอย่างตั้งใจ” ซึ่งทั้งหมดล้วนมิใช่ข้อหาเรื่องของการรุกล้ำดินแดนด้วยซ้ำ แต่น่าสังเกตว่า ทางการจีนมิยอมเพิกเฉยกลับตอบโต้ญี่ปุ่นในทันควันว่า
“คนจีนหากกระทำผิด ก็กระทำผิดในดินแดนจีน ต้องอยู่ภายใต้อธิปไตยของศาลยุติธรรมจีน มิใช่ศาลของชาติอื่นใด ตรงกันข้าม การที่เรือยามฝั่งญี่ปุ่นเข้าสกัดเรือประมงจีนบนพื้นที่ของเรา เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องยุติการกระทำดังกล่าวทันที”
การกดดันทางการทูตของจีน ถือเป็นตัวอย่างที่ถูกนำมาศึกษาทั่วโลก ในเรื่องความเคร่งครัดในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
จีนยกระดับการประท้วงผ่านทูตญี่ปุ่นประจำกรุงปักกิ่ง เป็นการออกแถลงการณ์ของนายหยางเจียชือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านหน้าเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศจีนเอง เตือนญี่ปุ่นว่า
“ผมขอย้ำว่ารัฐบาลจีนมีความเข้มแข็งและแข็งขันต่อภารกิจการปกป้องอธิปไตยของประเทศเหนือหมู่เกาะเตียวหยู รวมถึงสิทธิและผลประโยชน์ของพลเมืองจีน และขอเรียกร้องให้ญี่ปุ่นจงปล่อยตัวกัปตันและลูกเรือทั้งหมดกลับบ้าน”
นั่นเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวของเสนาบดีจีน ที่มีออกมาหลังเกิดเหตุการณ์เรือชนกัน ไม่ถึง 48 ชั่วโมง หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า นายไต้ปิงกั๊วะ มุขมนตรี ผู้มีอำนาจคนสำคัญของรัฐบาลจีน ก็ได้ส่งคำเตือนอย่างตรงไปตรงมาผ่าน อุอิชิโร นิวะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำปักกิ่ง ที่ถูกเรียกตัวมาพบในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนเล็กน้อยในวันเกิดเหตุเช่นกัน โดยจีนขู่ว่า
“รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด และขอให้ตัดสินใจทางการเมืองใหม่อย่างชาญฉลาดด้วยการรีบปล่อยตัวชาวประมงจีนและเรือลำดังกล่าว”
ท่าทีแข็งกร้าวของจีนครั้งนั้นดูจะได้ผล ญี่ปุ่นยอมปล่อยลูกเรือ 14 คนที่ควบคุมตัวไว้ หลังเหตุเรือชนไม่ถึงสัปดาห์ แต่ยังคงควบคุมตัวนายจ้าน ไต้ก๋งเรือต่อไป แต่ก็มิได้นำตัวขึ้นศาลไต่สวน ทำได้เพียงฝากขังไปเรื่อยๆ นักวิเคราะห์ประเมินแล้วว่า นายจ้านเวลานั้น ไม่ต่างอะไรจาก “ของร้อน” ที่ยิ่งรั้งไว้นาน ญี่ปุ่นก็มีแต่จะเสียกับเสีย
สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ในเวลาต่อมาก็คือ การที่สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่ง ถึงกับต้องออกแถลงการณ์เตือนชาวญี่ปุ่นที่เดินทางท่องเที่ยวหรือพำนักในจีน ให้ระมัดระวังสวัสดิภาพตัวเอง หลังเกิดกรณีพิพาททำให้ชาวจีนเกิดความไม่พอใจรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างหนัก จนมีการประกาศรวมตัวประท้วงของชาวจีน
ซึ่งนั่นเป็นอีกหมากเกมใช้มวลชนกดดันต่อเนื่องจากเกมการทูต เพราะเป็นที่รู้กันว่า ม็อบที่รัฐบาลจีนไม่หลิ่วตาให้ ย่อมจุดไม่ติดในกรุงปักกิ่งเวลานี้
การจับกุมชาวประมงจีนครั้งนั้น ยังบานปลายหนักถึงขนาดที่ญี่ปุ่นต้องสั่งเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้นจากนายคัตสึยา โอคาดะ มาเป็นนายเซอิจิ มาเอฮารา เพราะเหตุทำให้ญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำต่อจีนอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการจีนที่สถาบันญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยหนานไค ในเมืองเทียนจิน มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ญี่ปุ่นต้องการจะสะสางคดีจับไต้ก๋งเรือประมงภายใต้กฎหมายของตนเอง เพื่อเป็นตราประทับว่าเกาะเตียวหยูเป็นดินแดนของเขา แต่เมื่อญี่ปุ่นคิดจะขี่หลังเสือ ก็ต้องยอมรับกับสภาพที่อาจจะถูกเสือแว้งกัดได้ทุกเมื่อ
หลังการประท้วงด้วยวาจา และลายลักษณ์ จีนเดินเกมต่อทันที ด้วยประกาศยกเลิกการเยือนญี่ปุ่นของผู้แทนจีน และสั่งยกเลิกการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมขู่ว่าจะใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
ที่ดุเดือดมากที่สุด น่าจะเป็นการออกโรงของนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ไปพูดที่สหรัฐอเมริการะหว่างการเยือนเป็นเวลา 3 วันว่า
“โตเกียวต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะต้องรับผลจากการกระทำทุกอย่างด้วย หากไม่ยอมปล่อยตัวนายจ้าน ไต้ก๋งเรือคนสุดท้ายที่ยังถูกควบคุมอยู่โดยปราศจากเงื่อนไข”
หมัดสุดท้ายหลายคนเชื่อว่า ทำให้พญามังกรสามารถน็อกคู่ต่อสู้ได้อย่างอยู่หมัดคือ มาตรการเศรษฐกิจที่จีนใช้กดดันญี่ปุ่น ด้วยการประกาศระงับการส่งออกสินค้าหลายชนิดไปยังญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินแร่หายาก (rare earth) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะในที่สุด นายจ้าน ชิ เสียง ไต้ก๋งเรือประมงจีนก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระและเดินทางกลับจีน หลังถูกควบคุมตัวไม่ถึง 2 สัปดาห์ โดยญี่ปุ่นไม่กล้านำตัวขึ้นไต่สวนความผิดในชั้นศาล
ขณะที่จีนยังพลิกกลับมาเป็นฝ่ายเรียกร้อง ให้ญี่ปุ่นต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ด้วยการประกาศขอโทษชาวจีนทั้งมวลอย่างเป็นทางการ และต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเรือประมงจีนอีกด้วย
รัฐบาลเราเสียเปรียบกัมพูชา ตรงที่ไม่รู้จักใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากกัมพูชาที่จะใช้มันอย่างเต็มที่
คำพูดของอาจารย์อมร น่าจะทำให้คนไทยทั้งประเทศได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเกิดเหตุกรณีคนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับกุมในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดน แต่กลับยินยอมให้กัมพูชาใช้อำนาจทางการทหารบุกรุกเข้ามาจับกุม และใช้อำนาจทางกระบวนยุติธรรมเข้ามาตัดสินชะตากรรมของคนไทยทั้งหมด โดยเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 และเกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ณ หลักเขตแดนที่ 46-47 จังหวัดสระแก้ว
เหตุการณ์ทหารกัมพูชาจับกุมตัวคนไทยทั้ง 7 คนเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 กันยายนปีเดียวกัน กรณีเจ้าหน้าที่ยามฝั่งของญี่ปุ่นจับกุมตัวนายจ้าน ชิ เสียง ไต้ก๋งเรือประมงของจีนพร้อมลูกเรือจำนวนหนึ่งไปควบคุมไว้เพื่อทำการสอบสวนก่อนส่งไปขึ้นศาล หลังพบว่า เรือประมงของนายจ้านจงใจพุ่งเข้าชนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นในบริเวณน่านน้ำใกล้หมู่เกาะเตียวหยูไท่ หรือหมู่เกาะเซนกากุ โดยที่มีคลิปวิดีโอนาทีที่พุ่งชนเป็นหลักฐาน และหมู่เกาะแห่งนี้ ยังเป็นพื้นที่ขัดแย้งที่มีการอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองจากหลายประเทศ ทั้งญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน
สิ่งที่รัฐบาลจีนทำในทันที คือ ให้นายหู เจิงหยู รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศจีนเรียกตัวเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำปักกิ่งเข้าพบเพื่อยื่นเรื่องประท้วง 2 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมงแรก และตามมาด้วยการประท้วงในลักษณะเดียวกันอีก 4 ครั้ง รวมเป็น 6 ครั้ง
สำหรับข้อหาที่ญี่ปุ่นตั้งให้กับ “นายจ้าน” คือ “ขัดขวางการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ยามฝั่ง” โทษจำคุกสูงสุด 3 ปี และ “มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพุ่งชนอย่างตั้งใจ” ซึ่งทั้งหมดล้วนมิใช่ข้อหาเรื่องของการรุกล้ำดินแดนด้วยซ้ำ แต่น่าสังเกตว่า ทางการจีนมิยอมเพิกเฉยกลับตอบโต้ญี่ปุ่นในทันควันว่า
“คนจีนหากกระทำผิด ก็กระทำผิดในดินแดนจีน ต้องอยู่ภายใต้อธิปไตยของศาลยุติธรรมจีน มิใช่ศาลของชาติอื่นใด ตรงกันข้าม การที่เรือยามฝั่งญี่ปุ่นเข้าสกัดเรือประมงจีนบนพื้นที่ของเรา เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องยุติการกระทำดังกล่าวทันที”
การกดดันทางการทูตของจีน ถือเป็นตัวอย่างที่ถูกนำมาศึกษาทั่วโลก ในเรื่องความเคร่งครัดในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
จีนยกระดับการประท้วงผ่านทูตญี่ปุ่นประจำกรุงปักกิ่ง เป็นการออกแถลงการณ์ของนายหยางเจียชือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านหน้าเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศจีนเอง เตือนญี่ปุ่นว่า
“ผมขอย้ำว่ารัฐบาลจีนมีความเข้มแข็งและแข็งขันต่อภารกิจการปกป้องอธิปไตยของประเทศเหนือหมู่เกาะเตียวหยู รวมถึงสิทธิและผลประโยชน์ของพลเมืองจีน และขอเรียกร้องให้ญี่ปุ่นจงปล่อยตัวกัปตันและลูกเรือทั้งหมดกลับบ้าน”
นั่นเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวของเสนาบดีจีน ที่มีออกมาหลังเกิดเหตุการณ์เรือชนกัน ไม่ถึง 48 ชั่วโมง หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า นายไต้ปิงกั๊วะ มุขมนตรี ผู้มีอำนาจคนสำคัญของรัฐบาลจีน ก็ได้ส่งคำเตือนอย่างตรงไปตรงมาผ่าน อุอิชิโร นิวะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำปักกิ่ง ที่ถูกเรียกตัวมาพบในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนเล็กน้อยในวันเกิดเหตุเช่นกัน โดยจีนขู่ว่า
“รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด และขอให้ตัดสินใจทางการเมืองใหม่อย่างชาญฉลาดด้วยการรีบปล่อยตัวชาวประมงจีนและเรือลำดังกล่าว”
ท่าทีแข็งกร้าวของจีนครั้งนั้นดูจะได้ผล ญี่ปุ่นยอมปล่อยลูกเรือ 14 คนที่ควบคุมตัวไว้ หลังเหตุเรือชนไม่ถึงสัปดาห์ แต่ยังคงควบคุมตัวนายจ้าน ไต้ก๋งเรือต่อไป แต่ก็มิได้นำตัวขึ้นศาลไต่สวน ทำได้เพียงฝากขังไปเรื่อยๆ นักวิเคราะห์ประเมินแล้วว่า นายจ้านเวลานั้น ไม่ต่างอะไรจาก “ของร้อน” ที่ยิ่งรั้งไว้นาน ญี่ปุ่นก็มีแต่จะเสียกับเสีย
สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ในเวลาต่อมาก็คือ การที่สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่ง ถึงกับต้องออกแถลงการณ์เตือนชาวญี่ปุ่นที่เดินทางท่องเที่ยวหรือพำนักในจีน ให้ระมัดระวังสวัสดิภาพตัวเอง หลังเกิดกรณีพิพาททำให้ชาวจีนเกิดความไม่พอใจรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างหนัก จนมีการประกาศรวมตัวประท้วงของชาวจีน
ซึ่งนั่นเป็นอีกหมากเกมใช้มวลชนกดดันต่อเนื่องจากเกมการทูต เพราะเป็นที่รู้กันว่า ม็อบที่รัฐบาลจีนไม่หลิ่วตาให้ ย่อมจุดไม่ติดในกรุงปักกิ่งเวลานี้
การจับกุมชาวประมงจีนครั้งนั้น ยังบานปลายหนักถึงขนาดที่ญี่ปุ่นต้องสั่งเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้นจากนายคัตสึยา โอคาดะ มาเป็นนายเซอิจิ มาเอฮารา เพราะเหตุทำให้ญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำต่อจีนอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการจีนที่สถาบันญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยหนานไค ในเมืองเทียนจิน มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ญี่ปุ่นต้องการจะสะสางคดีจับไต้ก๋งเรือประมงภายใต้กฎหมายของตนเอง เพื่อเป็นตราประทับว่าเกาะเตียวหยูเป็นดินแดนของเขา แต่เมื่อญี่ปุ่นคิดจะขี่หลังเสือ ก็ต้องยอมรับกับสภาพที่อาจจะถูกเสือแว้งกัดได้ทุกเมื่อ
หลังการประท้วงด้วยวาจา และลายลักษณ์ จีนเดินเกมต่อทันที ด้วยประกาศยกเลิกการเยือนญี่ปุ่นของผู้แทนจีน และสั่งยกเลิกการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมขู่ว่าจะใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
ที่ดุเดือดมากที่สุด น่าจะเป็นการออกโรงของนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ไปพูดที่สหรัฐอเมริการะหว่างการเยือนเป็นเวลา 3 วันว่า
“โตเกียวต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะต้องรับผลจากการกระทำทุกอย่างด้วย หากไม่ยอมปล่อยตัวนายจ้าน ไต้ก๋งเรือคนสุดท้ายที่ยังถูกควบคุมอยู่โดยปราศจากเงื่อนไข”
หมัดสุดท้ายหลายคนเชื่อว่า ทำให้พญามังกรสามารถน็อกคู่ต่อสู้ได้อย่างอยู่หมัดคือ มาตรการเศรษฐกิจที่จีนใช้กดดันญี่ปุ่น ด้วยการประกาศระงับการส่งออกสินค้าหลายชนิดไปยังญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินแร่หายาก (rare earth) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะในที่สุด นายจ้าน ชิ เสียง ไต้ก๋งเรือประมงจีนก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระและเดินทางกลับจีน หลังถูกควบคุมตัวไม่ถึง 2 สัปดาห์ โดยญี่ปุ่นไม่กล้านำตัวขึ้นไต่สวนความผิดในชั้นศาล
ขณะที่จีนยังพลิกกลับมาเป็นฝ่ายเรียกร้อง ให้ญี่ปุ่นต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ด้วยการประกาศขอโทษชาวจีนทั้งมวลอย่างเป็นทางการ และต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเรือประมงจีนอีกด้วย