ASTVผู้จัดการรายวัน-สนข.ชงแผนลงทุน รถไฟทางคู่เร่งด่วนก่อน 3 เส้นทาง 415 กม. วงเงิน 40,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก เชื่อมเส้นทางเหนือ-อีสาน-ใต้ รองรับการเติบโตทั้งผู้โดยสารและสินค้า เพิ่มความเร็วสูงสุด 160 กม.ต่อชม. ลดต้นทุนโลจิสติกส์
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ ครั้งที่1 การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่1) วานนี้ (24 มี.ค.) ว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ารถไฟทางคู่ที่มีความจำเป็นระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรกใน 3 เส้นทางระยะทาง 415 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1. สายเหนือ ช่วงลพบุรี- นครสวรรค์ ระยะทาง 113 กิโลเมตร 2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา (ชุมทางจิระ) ระยะทาง 132 กิโลเมตร และ 3. สายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางมีศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่การขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ลดปัญหาคอขวด การจอดรอหลีก โดยเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อทำให้รถขนส่งผู้โดยสารมีความเร็ว 120 กม.ต่อชม. รถสินค้ามีความเร็ว 100 กม.ต่อชม. และพัฒนาเป็น 160 กม.ต่อชม.ในอนาคต โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาในเดือนส.ค.2553
นายประณตกล่าวว่า จากการสำรวจแนวทางขณะนี้ สายใต้ นครปฐม-หัวหิน ไม่มีปัญหา ส่วนสายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมระหว่างการใช้แนวเส้นทางเดิมหรือการปรับแนวสายทางใหม่ เพื่อลดปัญหาการผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์และพื้นที่อ่อนไหว ป่าอนุรักษ์ โดยจะมีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ในวันที่ 26 มี.ค.,30 มี.ค.,และ 22 เม.ย. ที่จังหวัดนครราชสีมา ,จังหวัดลพบุรี และ ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ
นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 113 กิโลเมตร พบว่า แนวทางที่ 2 ซึ่งเลี่ยงเขตเมืองเก่าลดผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เช่น พระปรางค์สามยอด และวัดพระศรีมหาธาตุแต่ต้องเวนคืนที่ดินระยะทางกว่า 29 กิโลเมตร โดยมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 15.8% ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) 7.46%
ส่วนแนวทางที่1 ใช้แนวเส้นทางรถไฟ เดิม มีปัญหาในการบำรุงรักษาและการก่อสร้าง แต่ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน โดยมี EIRR16.8 % FIRR 7.37% ซึ่งผลสำรวจความเห็นเบื้องต้นสนุบสนุนแนวทางที่ 2 ถึง72.2% สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร ทางเลือกที่ 1 ขยายทางคู่ตามแนวทางรถไฟสายเดิม ซึ่งผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B ระยะทาง695 เมตร ผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพิ่มเติมตามมติครม.ระยะทาง 9.8 กิโลเมตร เวนคืนน้อย ส่วนทางเลือกที่ 2ใช้แนวเส้นทางขนานกับมอเตอร์เวย์ในช่วงต้นแล้วจึงปรับแนวไปตามทางรถไฟเดิมสามารถเลี่ยงพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B แต่ต้องเวนคืนที่ดินตลอดแนวที่เลี่ยงออกมา
นายทศวรรณกล่าวว่า นอกจากนี้จะต้องมีสถานีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) 3 แห่ง ได้แก่ สถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา, สถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ,สถานีนครสวรรค์ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) 1 แห่ง โดยขยายที่ลาดกระบัง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งสินค้า ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง โดยผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารทางรางในปี 2577 จะเพิ่มเป็น 413,000 เที่ยว/วันส่วนสินค้าจะเพิ่มเป็น 682,000 ตัน/วัน
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 พ.ย. 2552 เห็นชอบการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงินรวม 66,110 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท 2.สายมาบกระเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้านบาท 3.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบาท 4.สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบาท โดยล่าสุด ได้มีการบรรจุแผนรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท เพิ่มเติมในแผนเร่งด่วน รวมเป็น 6 เส้นทาง
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ ครั้งที่1 การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่1) วานนี้ (24 มี.ค.) ว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ารถไฟทางคู่ที่มีความจำเป็นระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรกใน 3 เส้นทางระยะทาง 415 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1. สายเหนือ ช่วงลพบุรี- นครสวรรค์ ระยะทาง 113 กิโลเมตร 2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา (ชุมทางจิระ) ระยะทาง 132 กิโลเมตร และ 3. สายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางมีศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่การขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ลดปัญหาคอขวด การจอดรอหลีก โดยเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อทำให้รถขนส่งผู้โดยสารมีความเร็ว 120 กม.ต่อชม. รถสินค้ามีความเร็ว 100 กม.ต่อชม. และพัฒนาเป็น 160 กม.ต่อชม.ในอนาคต โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาในเดือนส.ค.2553
นายประณตกล่าวว่า จากการสำรวจแนวทางขณะนี้ สายใต้ นครปฐม-หัวหิน ไม่มีปัญหา ส่วนสายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมระหว่างการใช้แนวเส้นทางเดิมหรือการปรับแนวสายทางใหม่ เพื่อลดปัญหาการผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์และพื้นที่อ่อนไหว ป่าอนุรักษ์ โดยจะมีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ในวันที่ 26 มี.ค.,30 มี.ค.,และ 22 เม.ย. ที่จังหวัดนครราชสีมา ,จังหวัดลพบุรี และ ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ
นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 113 กิโลเมตร พบว่า แนวทางที่ 2 ซึ่งเลี่ยงเขตเมืองเก่าลดผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เช่น พระปรางค์สามยอด และวัดพระศรีมหาธาตุแต่ต้องเวนคืนที่ดินระยะทางกว่า 29 กิโลเมตร โดยมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 15.8% ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) 7.46%
ส่วนแนวทางที่1 ใช้แนวเส้นทางรถไฟ เดิม มีปัญหาในการบำรุงรักษาและการก่อสร้าง แต่ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน โดยมี EIRR16.8 % FIRR 7.37% ซึ่งผลสำรวจความเห็นเบื้องต้นสนุบสนุนแนวทางที่ 2 ถึง72.2% สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร ทางเลือกที่ 1 ขยายทางคู่ตามแนวทางรถไฟสายเดิม ซึ่งผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B ระยะทาง695 เมตร ผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพิ่มเติมตามมติครม.ระยะทาง 9.8 กิโลเมตร เวนคืนน้อย ส่วนทางเลือกที่ 2ใช้แนวเส้นทางขนานกับมอเตอร์เวย์ในช่วงต้นแล้วจึงปรับแนวไปตามทางรถไฟเดิมสามารถเลี่ยงพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B แต่ต้องเวนคืนที่ดินตลอดแนวที่เลี่ยงออกมา
นายทศวรรณกล่าวว่า นอกจากนี้จะต้องมีสถานีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) 3 แห่ง ได้แก่ สถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา, สถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ,สถานีนครสวรรค์ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) 1 แห่ง โดยขยายที่ลาดกระบัง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งสินค้า ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง โดยผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารทางรางในปี 2577 จะเพิ่มเป็น 413,000 เที่ยว/วันส่วนสินค้าจะเพิ่มเป็น 682,000 ตัน/วัน
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 พ.ย. 2552 เห็นชอบการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงินรวม 66,110 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท 2.สายมาบกระเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้านบาท 3.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบาท 4.สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบาท โดยล่าสุด ได้มีการบรรจุแผนรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท เพิ่มเติมในแผนเร่งด่วน รวมเป็น 6 เส้นทาง