ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนต้องลดลงเหลือ 0% จะมีสินค้าในบัญชีสงวนเพียงไม่กี่รายการเท่านั้นที่ภาษียังไม่ลดลงเหลือ 0% โดยการเปิดเสรีที่เกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปิดเสรีในอาเซียนอย่างเป็นทางการ และเป็นการปูทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามแผนที่อาเซียนกำหนดไว้
อาเซียนตั้งเป้าเป็น AEC ในปี 2558 โดยจะเป็นตลาดร่วม ที่มีฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือได้อย่างเสรี ซึ่งก็เหลือเวลาเพียงแค่ 5 ปีกว่าๆ ที่เป้าหมายนั้นจะเกิดขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ นักธุรกิจไทยกลับมองในแง่มุมเดียวว่า เมื่อ AEC เกิดขึ้น ไทยจะตั้งรับยังไง จะต่อสู้ยังไง โดยมีส่วนน้อยที่มองไปข้างหน้าว่า ไทยจะหาโอกาสจาก AEC ได้ยังไง จะเตรียมแผนบุกเจาะตลาดอาเซียนที่กำลังจะเป็นตลาดเดียวได้ยังไง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้พยายามเตรียมความพร้อม และหาทางกระตุ้นให้นักธุรกิจไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ AEC โดยย้ำว่า อาเซียนเป็นเรื่องใกล้ตัว ไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คนไทยจะต้องพยายามหาประโยชน์จาก AEC ให้ได้ ไม่ใช่มัวแต่มองว่า AEC จะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรกับไทย สินค้าทะลักเข้ามา จะทำยังไง จะป้องกันยังไง ต้องมองมุมใหม่ๆ บ้าง อาเซียนเป็น AEC แล้ว ตลาดจะใหญ่ขึ้น จาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน และต้องมองไปให้ไกลอีกว่า เมื่ออาเซียนเป็นเสรีเป็นอาเซียน +3 อาเซียน +6 แล้ว ตลาดจะยิ่งใหญ่กว่าประชากรจะเพิ่มเป็น 3,000 ล้านคน นักธุรกิจไทยจะหาประโยชน์ได้อย่างไร
“เรามัวแต่กลัวว่า 1 ม.ค.ที่ผ่านมา เคาะระฆังแล้ว ไม่มีภาษี สินค้าทะลักเข้ามา จะทำยังไง จะป้องกันยังไง แต่ไม่มีใครเคยพูดถึงว่าคนอื่นก็ต้องเปิดเหมือนเรา อาเซียนอีก 9 ประเทศก็ต้องเปิด เราต้องมองอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว อย่าคิดขายของแค่ในบ้าน ส่งออกแค่ FOB แล้วจบ เราต้องมองถึงการไปลงทุนทำธุรกิจในอาเซียนอื่นๆ ด้วย”
จากคำถามที่เกิดขึ้น นายราเชนทร์มองว่า กระทรวงพาณิชย์ควรจะเป็นแกนกลางในการจัดเวทีขึ้นมาซักเวทีหนึ่ง เพื่อให้นักธุรกิจไทยที่สนใจจะทำมาค้าขายกับอาเซียน ได้มีโอกาสศึกษาลู่ทางในการทำธุรกิจ เพื่อตอบคำถามว่าการเปิดเสรีอาเซียน หรือการที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็น AEC ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าผลกระทบ
จึงเป็นที่มาของการจัดงาน International Trade Day : AEC ในวันที่ 26 มี.ค.2553 นี้ โดยเชิญทูตพาณิชย์อาเซียนประจำประเทศไทยจำนวน 9 ประเทศ มาชี้แจงโอกาสและลู่ทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวให้แก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทย และจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เลือกประเทศและขอเข้ารับคำปรึกษาเชิงลึกกับทูตพาณิชย์อาเซียนแต่ละประเทศได้โดยตรงแบบตัวต่อตัว
นายราเชนทร์กล่าวว่า เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยในการใช้ประโยชน์จากการที่อาเซียนจะรวมตัวเป็น AEC นักธุรกิจไทยที่สนใจเปิดตลาดอาเซียน สามารถมาหาคำตอบได้ในงานนี้ โดยทูตพาณิชย์อาเซียนทั้ง 9 ประเทศ จะมาให้ข้อมูลที่นักธุรกิจไทยต้องการ และจะมาบอกว่าเขาต้องการให้คนไทยไปทำธุรกิจอะไรในบ้านเขา หรือเขาอยากจะมาทำธุรกิจอะไรในบ้านเรา ที่สำคัญ ทั้ง 9 ประเทศ จะเชิญนักธุรกิจของประเทศเข้าที่สนใจทำธุรกิจกับไทยมาร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดการจับคู่ทำธุรกิจร่วมกัน
เพื่อให้เห็นภาพชัดเชน ยกตัวอย่างเช่น มาเลเซีย สนใจสินค้าอาหารฮาลาล ทูตพาณิชย์ของมาเลเซียก็จะมาบอกว่านักธุรกิจมาเลเซียสนใจในเรื่องนี้ นักธุรกิจไทยที่สนใจจะร่วมลงทุนจะร่วมมือกันได้อย่างไร มีวิธีการใดบ้าง หรือเวียดนาม สนใจสินค้าเกษตร อาหาร และกล้วยไม้ อินโดนีเซีย สนใจสินค้าเกษตร และอาหาร ฟิลิปปินส์ สนใจทำเหมือง และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
นายราเชนทร์กล่าวว่า การไปทำธุรกิจในอาเซียน ไม่จำเป็นต้องบริษัทบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ต้องเป็นบริษัทข้ามชาติใหญ่โต แต่บริษัทขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ของไทย สามารถไปทำธุรกิจได้ และควรจะไป เพราะอาเซียนใกล้ อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เดินทางสะดวก ขนส่งสะดวก ต้นทุนไม่แพง บางประเทศก็พูดภาษาเดียวกัน จะทำอะไรก็ง่าย เพียงแต่ต้องมองโอกาสให้ออก แล้วเข้าไปทำ ที่สำคัญ ปัจจุบันอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีส่วนแบ่ง 22% เชื่อว่าจะเพิ่มเป็น 25% หรือ 30% ได้ไม่ยาก และต่อไปเมื่ออาเซียนเปิดเสรีโดยเป็นอาเซียน +3 และอาเซียน +6 แล้ว ไทยก็จะยิ่งมีโอกาสอีกมาก
“เราต้องมองว่าอาเซียนคือตลาดเดียว ดังนั้น การไปทำธุรกิจในประเทศไหน ก็เหมือนทำในบ้านเรา โดยเราต้องดูว่าไปทำที่ไหนต้นทุนถูกที่สุด ก็ควรจะไป และควรไปแต่เนิ่นๆ เพราะอีกไม่กี่ปี อาเซียนก็จะเป็น AEC เป็นตลาดเดียวแล้ว อยู่ตรงไหนก็คืออาเซียน”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์ย้ำในท้ายที่สุดว่า นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะบุกเจาะตลาดอาเซียน สามารถเข้าร่วมงานได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ขอให้แจ้งลงทะเบียนล่วงหน้าที่สำนักนโยบายเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2507-6488, 0-2507-6476 โทรสาร 0-2547-5224 หรือลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ www.moc.go.th ได้เลย
อาเซียนตั้งเป้าเป็น AEC ในปี 2558 โดยจะเป็นตลาดร่วม ที่มีฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือได้อย่างเสรี ซึ่งก็เหลือเวลาเพียงแค่ 5 ปีกว่าๆ ที่เป้าหมายนั้นจะเกิดขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ นักธุรกิจไทยกลับมองในแง่มุมเดียวว่า เมื่อ AEC เกิดขึ้น ไทยจะตั้งรับยังไง จะต่อสู้ยังไง โดยมีส่วนน้อยที่มองไปข้างหน้าว่า ไทยจะหาโอกาสจาก AEC ได้ยังไง จะเตรียมแผนบุกเจาะตลาดอาเซียนที่กำลังจะเป็นตลาดเดียวได้ยังไง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้พยายามเตรียมความพร้อม และหาทางกระตุ้นให้นักธุรกิจไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ AEC โดยย้ำว่า อาเซียนเป็นเรื่องใกล้ตัว ไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คนไทยจะต้องพยายามหาประโยชน์จาก AEC ให้ได้ ไม่ใช่มัวแต่มองว่า AEC จะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรกับไทย สินค้าทะลักเข้ามา จะทำยังไง จะป้องกันยังไง ต้องมองมุมใหม่ๆ บ้าง อาเซียนเป็น AEC แล้ว ตลาดจะใหญ่ขึ้น จาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน และต้องมองไปให้ไกลอีกว่า เมื่ออาเซียนเป็นเสรีเป็นอาเซียน +3 อาเซียน +6 แล้ว ตลาดจะยิ่งใหญ่กว่าประชากรจะเพิ่มเป็น 3,000 ล้านคน นักธุรกิจไทยจะหาประโยชน์ได้อย่างไร
“เรามัวแต่กลัวว่า 1 ม.ค.ที่ผ่านมา เคาะระฆังแล้ว ไม่มีภาษี สินค้าทะลักเข้ามา จะทำยังไง จะป้องกันยังไง แต่ไม่มีใครเคยพูดถึงว่าคนอื่นก็ต้องเปิดเหมือนเรา อาเซียนอีก 9 ประเทศก็ต้องเปิด เราต้องมองอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว อย่าคิดขายของแค่ในบ้าน ส่งออกแค่ FOB แล้วจบ เราต้องมองถึงการไปลงทุนทำธุรกิจในอาเซียนอื่นๆ ด้วย”
จากคำถามที่เกิดขึ้น นายราเชนทร์มองว่า กระทรวงพาณิชย์ควรจะเป็นแกนกลางในการจัดเวทีขึ้นมาซักเวทีหนึ่ง เพื่อให้นักธุรกิจไทยที่สนใจจะทำมาค้าขายกับอาเซียน ได้มีโอกาสศึกษาลู่ทางในการทำธุรกิจ เพื่อตอบคำถามว่าการเปิดเสรีอาเซียน หรือการที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็น AEC ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าผลกระทบ
จึงเป็นที่มาของการจัดงาน International Trade Day : AEC ในวันที่ 26 มี.ค.2553 นี้ โดยเชิญทูตพาณิชย์อาเซียนประจำประเทศไทยจำนวน 9 ประเทศ มาชี้แจงโอกาสและลู่ทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวให้แก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทย และจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เลือกประเทศและขอเข้ารับคำปรึกษาเชิงลึกกับทูตพาณิชย์อาเซียนแต่ละประเทศได้โดยตรงแบบตัวต่อตัว
นายราเชนทร์กล่าวว่า เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยในการใช้ประโยชน์จากการที่อาเซียนจะรวมตัวเป็น AEC นักธุรกิจไทยที่สนใจเปิดตลาดอาเซียน สามารถมาหาคำตอบได้ในงานนี้ โดยทูตพาณิชย์อาเซียนทั้ง 9 ประเทศ จะมาให้ข้อมูลที่นักธุรกิจไทยต้องการ และจะมาบอกว่าเขาต้องการให้คนไทยไปทำธุรกิจอะไรในบ้านเขา หรือเขาอยากจะมาทำธุรกิจอะไรในบ้านเรา ที่สำคัญ ทั้ง 9 ประเทศ จะเชิญนักธุรกิจของประเทศเข้าที่สนใจทำธุรกิจกับไทยมาร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดการจับคู่ทำธุรกิจร่วมกัน
เพื่อให้เห็นภาพชัดเชน ยกตัวอย่างเช่น มาเลเซีย สนใจสินค้าอาหารฮาลาล ทูตพาณิชย์ของมาเลเซียก็จะมาบอกว่านักธุรกิจมาเลเซียสนใจในเรื่องนี้ นักธุรกิจไทยที่สนใจจะร่วมลงทุนจะร่วมมือกันได้อย่างไร มีวิธีการใดบ้าง หรือเวียดนาม สนใจสินค้าเกษตร อาหาร และกล้วยไม้ อินโดนีเซีย สนใจสินค้าเกษตร และอาหาร ฟิลิปปินส์ สนใจทำเหมือง และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
นายราเชนทร์กล่าวว่า การไปทำธุรกิจในอาเซียน ไม่จำเป็นต้องบริษัทบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ต้องเป็นบริษัทข้ามชาติใหญ่โต แต่บริษัทขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ของไทย สามารถไปทำธุรกิจได้ และควรจะไป เพราะอาเซียนใกล้ อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เดินทางสะดวก ขนส่งสะดวก ต้นทุนไม่แพง บางประเทศก็พูดภาษาเดียวกัน จะทำอะไรก็ง่าย เพียงแต่ต้องมองโอกาสให้ออก แล้วเข้าไปทำ ที่สำคัญ ปัจจุบันอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีส่วนแบ่ง 22% เชื่อว่าจะเพิ่มเป็น 25% หรือ 30% ได้ไม่ยาก และต่อไปเมื่ออาเซียนเปิดเสรีโดยเป็นอาเซียน +3 และอาเซียน +6 แล้ว ไทยก็จะยิ่งมีโอกาสอีกมาก
“เราต้องมองว่าอาเซียนคือตลาดเดียว ดังนั้น การไปทำธุรกิจในประเทศไหน ก็เหมือนทำในบ้านเรา โดยเราต้องดูว่าไปทำที่ไหนต้นทุนถูกที่สุด ก็ควรจะไป และควรไปแต่เนิ่นๆ เพราะอีกไม่กี่ปี อาเซียนก็จะเป็น AEC เป็นตลาดเดียวแล้ว อยู่ตรงไหนก็คืออาเซียน”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์ย้ำในท้ายที่สุดว่า นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะบุกเจาะตลาดอาเซียน สามารถเข้าร่วมงานได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ขอให้แจ้งลงทะเบียนล่วงหน้าที่สำนักนโยบายเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2507-6488, 0-2507-6476 โทรสาร 0-2547-5224 หรือลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ www.moc.go.th ได้เลย