ASTVผู้จัดการรายวัน-ม็อบแดงวันแรก ไม่สมราคาคุย ตำรวจประเมิน 6,500 คน เหตุรุนแรงไม่มีการแจ้ง ผบช.น.ไม่วางใจสั่งเข้มงวดดูแลพื้นที่ชั้นใน บ้านบุคคลสำคัญ แจงตัวแทนสถานทูต 63 ประเทศ แนะให้นักท่องเที่ยวเลี่ยงจุดชุมนุม ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆสามารถเดินทางได้ตามปกติ
วานนี้(12 มี.ค.)ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.บช.น.ในฐานะโฆษก บช.น. เปิดเผยถึงสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณวงเวียนใหญ่ได้ทยอยกันเดินทางกลับ โดยมีการแจกใบปลิวเชิญชวนให้รวมตัวกันอีกครั้งในวันนี้ 13 มี.ค. เวลา 17.00 น.ที่ถนนราชดำเนิน และอีกจุดคือ บริเวณสวนลุมพินีประชาชนประมาณ 500 คน ได้เคลื่อนย้ายขบวนไปตามถนนราชดำริ ผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้เสียการจราจรไป 1 เส้นทาง แต่รถยังสามารถเคลื่อนตัวได้อยู่ ส่วนจุดที่ใหญ่ที่สุดที่อนุสาวรีย์บางเขน มีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 2,000 คน ได้เคลื่อนขบวนมาอยู่ที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีขาเข้าปิดการจราจร จึงขอให้พี่น้องประชาชนหลีกเลี่ยงใช้เส้นทางอื่น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า บริเวณดินแดงมีการรวมตัวกันตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดง และเคลื่อนผ่านมาทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านช่อง 5 เลี้ยวขวาเข้าถนนทางลัดออกวิภาวดีรังสิต ไปที่หน้ากรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และไปลอดใต้สะพานสุทธิสาร หัวขบวนอยู่ที่หน้าสถานีโทรทัศน์ NBT ส่วนจุดที่แยกบางนา ประมาณ 400 คน กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เส้นทางขาเข้ามาถึงพระโขนง เสียการจราจร 1 ช่องทาง รวมจำนวนกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมด 5 จุด ประมาณ 6,500 คน แต่การจราจรในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ยังสามารถเคลื่อตัวได้โดยไม่มีปัญหามากนัก ส่วนเหตุรุนแรงยังไม่มีการแจ้งเข้ามามีเพียงการแจ้งพบวัตถุต้องสงสัยบริเวณสะพานลอยแยกบางนา เวลา 12.00 น.แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงกล่องกระดาษเท่านั้น
วางกำลังตรวจเข้ม 8 จุด
“พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกตัวรองผู้บังคับการทุก บก.ที่รับผิดชอบงานสายตรวจ และการตั้งด่านตรวจค้นทั้งหมด รองผู้บัญชาการที่รับผิดชอบงานสายตรวจ และผู้กำกับการสถานีตำรวจทั้งหมด ที่รับผิดชอบจุดตรวจบริเวณพื้นที่วงรอบชั้นนอกร่วมทหารเทศกิจขนาดใหญ่ หรือจุดตรวจแข็งแรงทั้งหมด 8 จุด เข้าประชุม ซึ่ง 8 จุดนั้น ประกอบด้วย 1.ทางแยกยกระดับธูปะเตมีย์ อยู่ในความรับผิดชอบของ บก.จร.และ สน.วิภาวดี 2.แยกคปอ.อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.สายไหม 3.แยกมหานคร อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ลำผักชี 4.ถนนบางนา-ตราด กม.4 อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.บางนา 5.ก่อนขึ้นทางยกระดับลอยฟ้า ถ.บรมราชชนนี อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ธรรมศาลา 6.ถนนสุขสวัสดิ์ อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ราษฎร์บูรณะ 7.หน้ามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.หนองค้างพลู 8.ถนนพระราม 2 ปากซอย 86 อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.แสมดำ ซึ่งทั้งหมด 8 จุดนี้ จะมีกำลังตำรวจอย่างน้อย 50 นาย และเจ้าหน้าที่ทหาร 150 นาย เทศกิจอีกจุดละ 20 นาย” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ทั้ง 8 จุดนี้ ทาง ผบช.น.ได้ออกตรวจและพบข้อบกพร่อง โดยเฉพาะการปฏิบัติด้วยความเข้มแข็งต่างๆ ผบช.น.จึงออกข้อกำหนดเอาไว้ดังนี้ 1.ให้ตั้งเต็นท์อุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้ครบถ้วนสามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งระดับ สน.กองบังคับการและศูนย์วิทยุผ่านฟ้า มีอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน โล่ อุปกรณ์และเครื่องขยายเสียง อุปกรณ์ประจำกาย โดยเฉพาะในการที่ต้องออกตรวจตราตอนกลางคืน เสื้อสะท้อนแสง ไฟฉาย กุญแจมือ และให้เตรียมรถยกพร้อมทั้งประสานหาที่จอดเอาไว้ในกรณีที่พบรถผิดกฎหมาย การปฏิบัติของตำรวจทั้ง 50 นาย จะต้องอยู่ประจำด่านไม่ออกนอกพื้นที่ตรวจ 25 นาย หนุนอีก 25 นาย พร้อมช่วยเหลือในบริเวณใกล้เคียง ปฏิบัติตามยุทธวิธีในการเรียกด่าน หัวหน้าด่านอย่างน้อยต้องเป็นรอง ผกก.ป โดยรองผู้บังคับการต้องลงพื้นที่ตรวจอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง เช้า 1 ครั้ง บ่าย 1 ครั้ง หัวค่ำ 1 ครั้ง และกลางดึก อีก 1 ครั้ง แต่ ผกก.หัวหน้าสถานีจะต้องออกตรวจอย่างน้อยวันละ 8 ครั้ง 2.ตรวจค้นยานพาหนะต้องสงสัยเน้นการตรวจค้น อาวุธ วัตถุระเบิด ขวดน้ำมัน สิ่งผิดกฎหมาย หรือสิ่งที่จะนำมาเป็นอาวุธได้
คุมเข้มดูแลพื้นที่ชั้นใน
“ทุกจุดจะต้องประสานกับ ศปก.น.โดยเคร่งครัด แจ้งให้คนที่เข้ามาทราบถึงเส้นทางหลีกเลี่ยงการจราจร และให้บริการประชาชนด้วยไม่ใช่จับกุมเพียงอย่างเดียว โดยจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลคอยดูแลรักษาเบื้องต้น และสิ่งที่สำคัญ คือ บริเวณทางผ่านดังกล่าวให้มีการบันทึกภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ให้บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานในกรณีเกิดการปะทะเพื่อดำเนินคดีภายหลัง พร้อมทั้งรายงานเหตุการณ์ทั้งหมดมาที่ ศปก.น.ทุก 1 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ผ่านฟ้า ส่วนที่เพิ่มเติม คือ ผบช.น.ให้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลพื้นที่ชั้นใน ประกอบด้วย 1.หน้าบ้านพักประธานองคมนตรี 2.แยกอู่ทองใน 3.หน้ากรมทางหลวง (ตรงข้ามกระทรวงการต่าางประเทศ) 4.แยกนางเลิ้ง 5.ศาลฎีกา และ 6.ถนนพระราม 4 หน้าสภากาชาดไทย โดยมีทหาร ตำรวจ และเทศกิจตรวจร่วมกันประมาณ 40 นาย ในจุดใกล้เคียงกับการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน ผบช.น.ได้สั่งการให้กองร้อยควบคุมฝูงชนที่ปฏิบัติหน้าที่ใกล้เคียงอย่างน้อย 1 หมู่ ไปร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย และกำหนดวงรอบให้ ผกก.หัวหน้าสถานีออกตรวจอย่างน้อย 8 ครั้ง เช่นเดียวกับการตรวจรอบนอก” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
แจงผู้แทนสถานทูต 63 ประเทศ
วันเดียวกันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ รอง ผบช.สทส.ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.)เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของตัวแทนสถานทูต 63 ประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่าได้แนะนำให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงไม่เดินทางไปยังจุดที่มีการชุมนุม ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ยังเปิดบริการ นักท่องเที่ยวก็สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตามปกติ
ผู้สื่อข่าวถามถึงมาตรการเฝ้าระวังพื้นนอกเหนือจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง พล.ต.ต.ประวุฒิ กล่าวว่า แผนการดูแลเรื่องวัตถุระเบิด วัตถุต้องสงสัย อยู่ในแผนตั้งแต่เริ่มต้นที่จะมีการชุมนุมมาแล้ว มีการระวังตรวจตราแต่แรกอยู่แล้ว
วานนี้(12 มี.ค.)ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.บช.น.ในฐานะโฆษก บช.น. เปิดเผยถึงสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณวงเวียนใหญ่ได้ทยอยกันเดินทางกลับ โดยมีการแจกใบปลิวเชิญชวนให้รวมตัวกันอีกครั้งในวันนี้ 13 มี.ค. เวลา 17.00 น.ที่ถนนราชดำเนิน และอีกจุดคือ บริเวณสวนลุมพินีประชาชนประมาณ 500 คน ได้เคลื่อนย้ายขบวนไปตามถนนราชดำริ ผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้เสียการจราจรไป 1 เส้นทาง แต่รถยังสามารถเคลื่อนตัวได้อยู่ ส่วนจุดที่ใหญ่ที่สุดที่อนุสาวรีย์บางเขน มีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 2,000 คน ได้เคลื่อนขบวนมาอยู่ที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีขาเข้าปิดการจราจร จึงขอให้พี่น้องประชาชนหลีกเลี่ยงใช้เส้นทางอื่น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า บริเวณดินแดงมีการรวมตัวกันตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดง และเคลื่อนผ่านมาทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านช่อง 5 เลี้ยวขวาเข้าถนนทางลัดออกวิภาวดีรังสิต ไปที่หน้ากรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และไปลอดใต้สะพานสุทธิสาร หัวขบวนอยู่ที่หน้าสถานีโทรทัศน์ NBT ส่วนจุดที่แยกบางนา ประมาณ 400 คน กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เส้นทางขาเข้ามาถึงพระโขนง เสียการจราจร 1 ช่องทาง รวมจำนวนกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมด 5 จุด ประมาณ 6,500 คน แต่การจราจรในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ยังสามารถเคลื่อตัวได้โดยไม่มีปัญหามากนัก ส่วนเหตุรุนแรงยังไม่มีการแจ้งเข้ามามีเพียงการแจ้งพบวัตถุต้องสงสัยบริเวณสะพานลอยแยกบางนา เวลา 12.00 น.แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงกล่องกระดาษเท่านั้น
วางกำลังตรวจเข้ม 8 จุด
“พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกตัวรองผู้บังคับการทุก บก.ที่รับผิดชอบงานสายตรวจ และการตั้งด่านตรวจค้นทั้งหมด รองผู้บัญชาการที่รับผิดชอบงานสายตรวจ และผู้กำกับการสถานีตำรวจทั้งหมด ที่รับผิดชอบจุดตรวจบริเวณพื้นที่วงรอบชั้นนอกร่วมทหารเทศกิจขนาดใหญ่ หรือจุดตรวจแข็งแรงทั้งหมด 8 จุด เข้าประชุม ซึ่ง 8 จุดนั้น ประกอบด้วย 1.ทางแยกยกระดับธูปะเตมีย์ อยู่ในความรับผิดชอบของ บก.จร.และ สน.วิภาวดี 2.แยกคปอ.อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.สายไหม 3.แยกมหานคร อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ลำผักชี 4.ถนนบางนา-ตราด กม.4 อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.บางนา 5.ก่อนขึ้นทางยกระดับลอยฟ้า ถ.บรมราชชนนี อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ธรรมศาลา 6.ถนนสุขสวัสดิ์ อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.ราษฎร์บูรณะ 7.หน้ามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.หนองค้างพลู 8.ถนนพระราม 2 ปากซอย 86 อยู่ในความรับผิดชอบของ สน.แสมดำ ซึ่งทั้งหมด 8 จุดนี้ จะมีกำลังตำรวจอย่างน้อย 50 นาย และเจ้าหน้าที่ทหาร 150 นาย เทศกิจอีกจุดละ 20 นาย” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ทั้ง 8 จุดนี้ ทาง ผบช.น.ได้ออกตรวจและพบข้อบกพร่อง โดยเฉพาะการปฏิบัติด้วยความเข้มแข็งต่างๆ ผบช.น.จึงออกข้อกำหนดเอาไว้ดังนี้ 1.ให้ตั้งเต็นท์อุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้ครบถ้วนสามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งระดับ สน.กองบังคับการและศูนย์วิทยุผ่านฟ้า มีอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน โล่ อุปกรณ์และเครื่องขยายเสียง อุปกรณ์ประจำกาย โดยเฉพาะในการที่ต้องออกตรวจตราตอนกลางคืน เสื้อสะท้อนแสง ไฟฉาย กุญแจมือ และให้เตรียมรถยกพร้อมทั้งประสานหาที่จอดเอาไว้ในกรณีที่พบรถผิดกฎหมาย การปฏิบัติของตำรวจทั้ง 50 นาย จะต้องอยู่ประจำด่านไม่ออกนอกพื้นที่ตรวจ 25 นาย หนุนอีก 25 นาย พร้อมช่วยเหลือในบริเวณใกล้เคียง ปฏิบัติตามยุทธวิธีในการเรียกด่าน หัวหน้าด่านอย่างน้อยต้องเป็นรอง ผกก.ป โดยรองผู้บังคับการต้องลงพื้นที่ตรวจอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง เช้า 1 ครั้ง บ่าย 1 ครั้ง หัวค่ำ 1 ครั้ง และกลางดึก อีก 1 ครั้ง แต่ ผกก.หัวหน้าสถานีจะต้องออกตรวจอย่างน้อยวันละ 8 ครั้ง 2.ตรวจค้นยานพาหนะต้องสงสัยเน้นการตรวจค้น อาวุธ วัตถุระเบิด ขวดน้ำมัน สิ่งผิดกฎหมาย หรือสิ่งที่จะนำมาเป็นอาวุธได้
คุมเข้มดูแลพื้นที่ชั้นใน
“ทุกจุดจะต้องประสานกับ ศปก.น.โดยเคร่งครัด แจ้งให้คนที่เข้ามาทราบถึงเส้นทางหลีกเลี่ยงการจราจร และให้บริการประชาชนด้วยไม่ใช่จับกุมเพียงอย่างเดียว โดยจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลคอยดูแลรักษาเบื้องต้น และสิ่งที่สำคัญ คือ บริเวณทางผ่านดังกล่าวให้มีการบันทึกภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ให้บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานในกรณีเกิดการปะทะเพื่อดำเนินคดีภายหลัง พร้อมทั้งรายงานเหตุการณ์ทั้งหมดมาที่ ศปก.น.ทุก 1 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ผ่านฟ้า ส่วนที่เพิ่มเติม คือ ผบช.น.ให้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลพื้นที่ชั้นใน ประกอบด้วย 1.หน้าบ้านพักประธานองคมนตรี 2.แยกอู่ทองใน 3.หน้ากรมทางหลวง (ตรงข้ามกระทรวงการต่าางประเทศ) 4.แยกนางเลิ้ง 5.ศาลฎีกา และ 6.ถนนพระราม 4 หน้าสภากาชาดไทย โดยมีทหาร ตำรวจ และเทศกิจตรวจร่วมกันประมาณ 40 นาย ในจุดใกล้เคียงกับการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน ผบช.น.ได้สั่งการให้กองร้อยควบคุมฝูงชนที่ปฏิบัติหน้าที่ใกล้เคียงอย่างน้อย 1 หมู่ ไปร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย และกำหนดวงรอบให้ ผกก.หัวหน้าสถานีออกตรวจอย่างน้อย 8 ครั้ง เช่นเดียวกับการตรวจรอบนอก” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
แจงผู้แทนสถานทูต 63 ประเทศ
วันเดียวกันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ รอง ผบช.สทส.ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.)เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของตัวแทนสถานทูต 63 ประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่าได้แนะนำให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงไม่เดินทางไปยังจุดที่มีการชุมนุม ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ยังเปิดบริการ นักท่องเที่ยวก็สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตามปกติ
ผู้สื่อข่าวถามถึงมาตรการเฝ้าระวังพื้นนอกเหนือจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง พล.ต.ต.ประวุฒิ กล่าวว่า แผนการดูแลเรื่องวัตถุระเบิด วัตถุต้องสงสัย อยู่ในแผนตั้งแต่เริ่มต้นที่จะมีการชุมนุมมาแล้ว มีการระวังตรวจตราแต่แรกอยู่แล้ว