ASTVผู้จัดการรายวัน – เปิดผลสอบสตง.ชี้ชัดโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ฝึกรบของกองทัพบกขัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ และอาจเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้ชนะประมูล ส่วนการจัดซื้อเรือเหาะ “บิ๊กป๊อก” ท้าส่งเรื่องให้สตง.-ป.ป.ช.สอบเอาผิด ลั่นถ้าพบทุจริตยอมติดคุก ยอมรับอาวุธจากคลังแสงพัทลุงหายเพราะคนในยักยอก ขึงขังสาวถึงใครเจอฟันแน่
ความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ขนาดเบา แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม มูลค่า 1,000 กว่าล้านบาท ซึ่งทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบภายหลังจากที่มีการร้องเรียน ผลปรากฏว่า พบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดระเบียบและผิดกฎหมาย สตง.จึงมีหนังสือลงวันที่ 18 ธ.ค. 2552แจ้งผลสอบไปยังพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เพื่อให้พิจารณาทบทวนกระบวนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามกระทั่งบัดนี้กองทัพบกยังไม่ได้ดำเนินการทบทวนเรื่องนี้ใหม่แต่อย่างใด
ทางสตง.ยังได้ส่งหนังสือผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าว ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 29 ม.ค. 2553 เพื่อขอให้ติดตามการดำเนินการกรณีการพิจารณาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว และขอให้แจ้งผลการดำเนินการต่อ สตง.ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ด้วย ซึ่งทางรมว.กระทรวงกลาโหม ได้แทงหนังสือไปยังกองทัพบก เพื่อให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว แต่กองทัพบกยังไม่ได้ชี้แจงเรื่องต่อรมว.กระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ตามสำเนาหนังสือของสตง.ลงนามโดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผนดิน ที่แจ้งผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าวไปยังพล.อ.อนุพงษ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2553 ระบุว่า กรณีบริษัทEnstrom ได้ยื่นเสนอราคาประมูล จำนวน 3 ราคา มาให้คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ พิจารณา โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ไม่ได้พิจารณาตัดสิทธิบริษัท Enstrom แต่กลับเรียกบริษัท Enstrom มาสอบถามว่า จะใช้ราคาใด และพิจารณาคัดเลือกให้บริษัท Enstrom เป็นผู้ชนะการเปิดซองราคาเพราะเสนอราคาต่ำสุด การกระทำดังกล่าวของคณะกรรมการจัดซื้อฯ จึงขัดกับหลักการจัดหาพัสดุภาครัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
ตามระเบียบดังกล่าว กำหนดไว้ว่า การจัดหาพัสดุภาครัฐ ต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
กรณีนี้ยังอาจเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อันเป็นความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐด้วย เนื่องจากบริษัท Enstrom ได้ยื่นเสนอราคามา 3 ราคา (เอกสารมีลายมือชื่อของคณะกรรมการจัดซื้อฯ กำกับไว้) คือ 27,468,510.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ, 35,059,873.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 45,693,442.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ และคณะกรรมการจัดซื้อฯ เรียกบริษัทมาสอบถามว่าจะใช้ราคาใด ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัท Enstrom ได้เปรียบคู่แข่งขันรายอื่น เพราะได้ทราบราคาของบริษัทอื่นที่ได้เปิดซองไปก่อนหน้าแล้ว
“ประกอบกับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้เคยวินิจฉัยวางหลักการในเรื่องนี้ไว้แล้วว่า ผู้เสนอราคาต้องเสนอราคาเพียงราคาเดียว หากผู้เสนอราคารายใดยื่นเสนอราคาไม่ถูกต้อง คณะกรรมการจัดซื้อฯ ต้องไม่รับพิจารณาราคาของผู้เสนอราคารายนั้น” สตง. ระบุในหนังสือสรุปผลการตรวจสอบ
นอกจากนี้ บริษัท Enstrom ยังเสนอราคาผิดเงื่อนไขตามที่กรมการขนส่งทหารบกได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ตามบัญชีรายการความต้องการอุปกรณ์แบบเหมารวมในการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาแบบที่ 2 ข้อ 13 กำหนดไว้ว่า ต้องมีเครื่องมือซ่อมบำรุง 1 ชุดต่อหนึ่งลำ แต่บริษัท Enstrom เสนอเพียง 2 ชุด ต่อเฮลิคอปเตอร์ 16 ลำ จึงเป็นการเสนอราคาที่ไม่ถูกต้องผิดเงื่อนไข
อีกทั้งคณะกรรมการจัดซื้อฯ ยังเปิดโอกาสให้บริษัท Enstrom ยื่นเอกสารรายการอะไหล่และจำนวนอะไหล่แต่ละรายการเพิ่มเติม หลังจากวันพ้นกำหนดเวลารับซองเอกสารเสนอราคาแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามหนังสือเชิญชวนฯ ฉบับลงวันที่ 31 ก.ค. 2552 ข้อ 1.2 และไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อนึ่ง โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสำหรับฝึกรบ แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม (Total Package) มูลค่าประมาณ 1,100ล้านบาท เปิดประมูลด้วยวิธีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2552 ที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ได้พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของบริษัทที่เข้าร่วมประมูล จำนวน 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทSchweizwer, บริษัท McDonald Dougles, บริษัท Enstrom และบริษัท Eurocopter ผลปรากฏว่าบริษัท Eurocopter ตกข้อเสนอด้านเทคนิค เหลือเพียง 3 บริษัท จากนั้น คณะกรรมการจัดหา ได้เปิดซองข้อเสนอราคาของผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกัน และพิจารณาตัดสินให้บริษัท Eurocopter เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างมีเงื่อนงำ
อาวุธที่คลังแสงพัทลุงหายคนในยักยอก
ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (9 มี.ค. ) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีที่คนร้ายเข้าไปขโมยอาวุธสงครามในคลังแสงของกองพันทหารช่างสนาม 401 ค่ายอภัยบริรักษ์ จ.พัทลุง โดยอาวุธสงครามที่หายไปมีจำนวน 3 รายการ คือ ลูกระเบิดแบบสังหารบุคคล แบบเอ็ม 67 จำนวน 69 ลูก เครื่องกระสุนปืนแบบเอชเค และแบบเอ็ม 16 จำนวนอย่างละ 3,100 นัด ว่า ในขณะตนยังไม่ได้รับการายงานมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแนวโน้มไม่ได้เพิ่งเกิดเหตุ น่าจะเป็นการบกพร่องของเจ้าหน้าที่โดยทุจริต จากการสันนิฐานน่าจะเป็นการยักยอกมาเป็นระยะเวลานาน จะตรวจสอบในเร็ววันนี้ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ดูพื้นที่เข้าใจว่าเป็นการงัด แต่ดูรูปการณ์น่าจะเป็นการยักยอกเป็นระยะๆ มากกว่า
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ระบบการควบคุมคลังกระสุนและวัตถุระเบิดของกองทัพบกมีมากมาย เช่นระบบการเฝ้า จะเปลี่ยนเวรยามและจะเดินตรวจทุกวันว่าตลอดเวลาว่ามีการงัดแงะหรือไม่ นอกจากนั้นตัวผู้รับผิดชอบจะต้องเข้าไปตรวจสอบทำความสะอาดคลังทุกวันภายใต้กรรมการที่จะไปเปิดคลัง ในส่วนของระดับสูงของกองพันจะมีคณะกรรมการตรวจประจำเดือนมี 3-4 คน เป็นทหารระดับร้อยเอก พันตรี มาเปิดคลังและลงนาม ซึ่งต้องเปิดเข้าไปดูข้างในว่ากระสุนวัตถุระบิดครบหรือมีของหายไปหรือไม่ เป็นขั้นตอนพื้นฐาน ถ้านอกเหนือจากนี้แสดงว่าเจ้าหน้าที่บกพร่องหย่อนยาน
“ผมได้สั่งกำชับให้หน่วยทหารต่างๆดูแลเรื่องคลังเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพราะฉะนั้นจะต้องไล่ลงไปว่า หน่วยทหารระดับต่างๆ ได้สั่งการตามลำดับหรือไม่ และถ้ามีความผิดพลาดใครเป็นคนบกพร่องต้องรับผิดชอบ ส่วนจะทำกันเป็นขบวนการหรือไม่นั้นยังบอกไม่ได้ เพราะยังไม่มีผลสอบสวนและหลักฐาน” ผบ.ทบ. ระบุ
ท้าพบโกงจัดซื้อเรือเหาะยินดีเข้าคุก
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการจัดซื้อเรือเหาะตรวจการณ์ “Sky Dragon” สำหรับปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส พล.อ.อนุพงษ์ ตอบอย่างมีอารมณ์ว่า จะจัดให้สื่อมวลชนลงไปในพื้นที่ภาคใต้เพื่อไปดูการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการใช้เรือเหาะ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งต้องมาศึกษาในเรื่องรายละเอียด ความเป็นมาต่างๆ จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ถามว่ามีการโกงกันหรือไม่ หรือมีการจัดซื้อที่มีราคาแพงเกินไป ก็ถามมาหากรู้ว่ามีการโกงกันตรงไหนก็บอกมา ทางเจ้าหน้าที่ก็จะชี้แจง ถ้าชี้แจงแล้วยังไม่เคลียร์ก็สามารถไปร้องกับสตง. เรื่องการจัดซื้อเรือเหาะมีรายละเอียดมาก
“คนก็เอาไปพูดกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด ผมไม่ได้กลัวว่าจะมาตรวจสอบ ตรงไหนโกงก็มาบอก ไปบอก สตง.หรือ ป.ป.ช.เขาจะตรวจสอบ ผลก็จะออกมา ถ้าโกงอย่างไรผมก็เข้าคุกหรือพักราชการทันที เพราะฉะนั้นตนอยากให้สื่อไปรู้ระบบก่อนว่าเขาซื้อกันอย่างไร ส่วนที่ 2 ไปดูเรื่องการปฎิบัติ” ผบ.ทบ. ระบุ
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ในเรื่องปัญหาของการบิน เรื่องนี้มันบินมาก่อนหน้านี้แล้วไม่ต้องมาถามว่าบินขึ้นหรือไม่ขึ้น เขามีการฝึกบินกันที่อู่ตะเภา จนนักบินบินเป็นกันหมดแล้วไม่ต้องห่วง ที่เขามีความเป็นห่วงคือระบบที่ต้องส่งสัญณาณขึ้นลงว่ามีความเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ทราบมาว่ามีความเรียบร้อยแล้ว กล้องทั้ง5ตัวก็เรียบร้อยหมดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เขายังไม่พอใจในเรื่องของการบิน เขาก็ไม่เซ็นรับ ซึ่งเรื่องนี้ถ้าใครเซ็นรับก็ต้องรับผิดชอบ ตนสั่งมาไม่ได้ เซ็นรับเมื่อไหร่ความรับผิดชอบก็อยู่กับคนที่เซ็นทันที
สั่งปิดค่ายห้ามทำข่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดปัตตานีว่า ที่บริเวณหน้าค่ายพล ร.15 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พร้อมนายทหารระดับสูง ได้เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อประชุมกำลังพล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเดินทางไปตรวจความพร้อมของเรือเหาะตรวจการณ์ และเยี่ยมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจเรือเหาะ โดยบรรยากาศบริเวณหน้าค่ายปรากฏว่า มีเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารดูแลความปลอดภัยเข้มงวดทั้งรถที่เข้าออก โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวที่จะมาทำข่าวถูกสั่งห้ามเข้าไปในค่ายเด็ดขาด โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งผู้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ ในเวลา 10.30 น. พล.อ.อนุพงษ์ พร้อมคณะได้เดินทางมาด้วยเฮลิปคอปเตอร์ Blackhawkลงที่ท่าอากาศยานบ่อทอง โดยมีนายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก.ภ.จว.ปัตตานี ให้การต้อนรับ จากนั้น พล.อ.อนุพงษ์ รีบเดินขึ้นรถยนต์ทันที หลังจากที่เห็นกองทัพสื่อมวลชนที่มารอทำข่าวก่อนรถยนต์เข้าไปในค่ายเพื่อประชุมร่วมกับกองกำลังในพื้นที่
ในขณะที่เรือเหาะตรวจการณ์ ซึ่งได้นำออกจากโรงเก็บได้ลอยขึ้นเหนือพื้นดินประมาณ 2 เมตรโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย เมื่อคณะของ พล.อ.อนุพงษ์ เดินทางมาถึงนักบินจึงได้ขับเรือเหาะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อให้ พล.อ.อนุพงษ์ ดูสมรรถนะของภารกิจเรือเหาะว่ามีความพร้อมอย่างไร
แหล่งข่าวทหารนายหนึ่ง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลเรือเหาะมีความพร้อมเต็มร้อย แต่เรือเหาะและอุปกรณ์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจ
สอดคล้องกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่เกี่ยวกับเรือเหาะตรวจการณ์ว่า ยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะหากสมบูรณ์จริงน่าจะปฏิบิตภารกิจมานานแล้ว เนื่องจากเรือเหาะมาอยู่ในพื้นที่หลายเดือน
ความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ขนาดเบา แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม มูลค่า 1,000 กว่าล้านบาท ซึ่งทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบภายหลังจากที่มีการร้องเรียน ผลปรากฏว่า พบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดระเบียบและผิดกฎหมาย สตง.จึงมีหนังสือลงวันที่ 18 ธ.ค. 2552แจ้งผลสอบไปยังพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เพื่อให้พิจารณาทบทวนกระบวนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามกระทั่งบัดนี้กองทัพบกยังไม่ได้ดำเนินการทบทวนเรื่องนี้ใหม่แต่อย่างใด
ทางสตง.ยังได้ส่งหนังสือผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าว ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 29 ม.ค. 2553 เพื่อขอให้ติดตามการดำเนินการกรณีการพิจารณาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว และขอให้แจ้งผลการดำเนินการต่อ สตง.ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ด้วย ซึ่งทางรมว.กระทรวงกลาโหม ได้แทงหนังสือไปยังกองทัพบก เพื่อให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว แต่กองทัพบกยังไม่ได้ชี้แจงเรื่องต่อรมว.กระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ตามสำเนาหนังสือของสตง.ลงนามโดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผนดิน ที่แจ้งผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าวไปยังพล.อ.อนุพงษ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2553 ระบุว่า กรณีบริษัทEnstrom ได้ยื่นเสนอราคาประมูล จำนวน 3 ราคา มาให้คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ พิจารณา โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ไม่ได้พิจารณาตัดสิทธิบริษัท Enstrom แต่กลับเรียกบริษัท Enstrom มาสอบถามว่า จะใช้ราคาใด และพิจารณาคัดเลือกให้บริษัท Enstrom เป็นผู้ชนะการเปิดซองราคาเพราะเสนอราคาต่ำสุด การกระทำดังกล่าวของคณะกรรมการจัดซื้อฯ จึงขัดกับหลักการจัดหาพัสดุภาครัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
ตามระเบียบดังกล่าว กำหนดไว้ว่า การจัดหาพัสดุภาครัฐ ต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
กรณีนี้ยังอาจเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อันเป็นความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐด้วย เนื่องจากบริษัท Enstrom ได้ยื่นเสนอราคามา 3 ราคา (เอกสารมีลายมือชื่อของคณะกรรมการจัดซื้อฯ กำกับไว้) คือ 27,468,510.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ, 35,059,873.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 45,693,442.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ และคณะกรรมการจัดซื้อฯ เรียกบริษัทมาสอบถามว่าจะใช้ราคาใด ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัท Enstrom ได้เปรียบคู่แข่งขันรายอื่น เพราะได้ทราบราคาของบริษัทอื่นที่ได้เปิดซองไปก่อนหน้าแล้ว
“ประกอบกับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้เคยวินิจฉัยวางหลักการในเรื่องนี้ไว้แล้วว่า ผู้เสนอราคาต้องเสนอราคาเพียงราคาเดียว หากผู้เสนอราคารายใดยื่นเสนอราคาไม่ถูกต้อง คณะกรรมการจัดซื้อฯ ต้องไม่รับพิจารณาราคาของผู้เสนอราคารายนั้น” สตง. ระบุในหนังสือสรุปผลการตรวจสอบ
นอกจากนี้ บริษัท Enstrom ยังเสนอราคาผิดเงื่อนไขตามที่กรมการขนส่งทหารบกได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ตามบัญชีรายการความต้องการอุปกรณ์แบบเหมารวมในการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาแบบที่ 2 ข้อ 13 กำหนดไว้ว่า ต้องมีเครื่องมือซ่อมบำรุง 1 ชุดต่อหนึ่งลำ แต่บริษัท Enstrom เสนอเพียง 2 ชุด ต่อเฮลิคอปเตอร์ 16 ลำ จึงเป็นการเสนอราคาที่ไม่ถูกต้องผิดเงื่อนไข
อีกทั้งคณะกรรมการจัดซื้อฯ ยังเปิดโอกาสให้บริษัท Enstrom ยื่นเอกสารรายการอะไหล่และจำนวนอะไหล่แต่ละรายการเพิ่มเติม หลังจากวันพ้นกำหนดเวลารับซองเอกสารเสนอราคาแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามหนังสือเชิญชวนฯ ฉบับลงวันที่ 31 ก.ค. 2552 ข้อ 1.2 และไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อนึ่ง โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสำหรับฝึกรบ แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม (Total Package) มูลค่าประมาณ 1,100ล้านบาท เปิดประมูลด้วยวิธีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2552 ที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ได้พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของบริษัทที่เข้าร่วมประมูล จำนวน 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทSchweizwer, บริษัท McDonald Dougles, บริษัท Enstrom และบริษัท Eurocopter ผลปรากฏว่าบริษัท Eurocopter ตกข้อเสนอด้านเทคนิค เหลือเพียง 3 บริษัท จากนั้น คณะกรรมการจัดหา ได้เปิดซองข้อเสนอราคาของผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกัน และพิจารณาตัดสินให้บริษัท Eurocopter เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างมีเงื่อนงำ
อาวุธที่คลังแสงพัทลุงหายคนในยักยอก
ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (9 มี.ค. ) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีที่คนร้ายเข้าไปขโมยอาวุธสงครามในคลังแสงของกองพันทหารช่างสนาม 401 ค่ายอภัยบริรักษ์ จ.พัทลุง โดยอาวุธสงครามที่หายไปมีจำนวน 3 รายการ คือ ลูกระเบิดแบบสังหารบุคคล แบบเอ็ม 67 จำนวน 69 ลูก เครื่องกระสุนปืนแบบเอชเค และแบบเอ็ม 16 จำนวนอย่างละ 3,100 นัด ว่า ในขณะตนยังไม่ได้รับการายงานมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแนวโน้มไม่ได้เพิ่งเกิดเหตุ น่าจะเป็นการบกพร่องของเจ้าหน้าที่โดยทุจริต จากการสันนิฐานน่าจะเป็นการยักยอกมาเป็นระยะเวลานาน จะตรวจสอบในเร็ววันนี้ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ดูพื้นที่เข้าใจว่าเป็นการงัด แต่ดูรูปการณ์น่าจะเป็นการยักยอกเป็นระยะๆ มากกว่า
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ระบบการควบคุมคลังกระสุนและวัตถุระเบิดของกองทัพบกมีมากมาย เช่นระบบการเฝ้า จะเปลี่ยนเวรยามและจะเดินตรวจทุกวันว่าตลอดเวลาว่ามีการงัดแงะหรือไม่ นอกจากนั้นตัวผู้รับผิดชอบจะต้องเข้าไปตรวจสอบทำความสะอาดคลังทุกวันภายใต้กรรมการที่จะไปเปิดคลัง ในส่วนของระดับสูงของกองพันจะมีคณะกรรมการตรวจประจำเดือนมี 3-4 คน เป็นทหารระดับร้อยเอก พันตรี มาเปิดคลังและลงนาม ซึ่งต้องเปิดเข้าไปดูข้างในว่ากระสุนวัตถุระบิดครบหรือมีของหายไปหรือไม่ เป็นขั้นตอนพื้นฐาน ถ้านอกเหนือจากนี้แสดงว่าเจ้าหน้าที่บกพร่องหย่อนยาน
“ผมได้สั่งกำชับให้หน่วยทหารต่างๆดูแลเรื่องคลังเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพราะฉะนั้นจะต้องไล่ลงไปว่า หน่วยทหารระดับต่างๆ ได้สั่งการตามลำดับหรือไม่ และถ้ามีความผิดพลาดใครเป็นคนบกพร่องต้องรับผิดชอบ ส่วนจะทำกันเป็นขบวนการหรือไม่นั้นยังบอกไม่ได้ เพราะยังไม่มีผลสอบสวนและหลักฐาน” ผบ.ทบ. ระบุ
ท้าพบโกงจัดซื้อเรือเหาะยินดีเข้าคุก
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการจัดซื้อเรือเหาะตรวจการณ์ “Sky Dragon” สำหรับปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส พล.อ.อนุพงษ์ ตอบอย่างมีอารมณ์ว่า จะจัดให้สื่อมวลชนลงไปในพื้นที่ภาคใต้เพื่อไปดูการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการใช้เรือเหาะ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งต้องมาศึกษาในเรื่องรายละเอียด ความเป็นมาต่างๆ จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ถามว่ามีการโกงกันหรือไม่ หรือมีการจัดซื้อที่มีราคาแพงเกินไป ก็ถามมาหากรู้ว่ามีการโกงกันตรงไหนก็บอกมา ทางเจ้าหน้าที่ก็จะชี้แจง ถ้าชี้แจงแล้วยังไม่เคลียร์ก็สามารถไปร้องกับสตง. เรื่องการจัดซื้อเรือเหาะมีรายละเอียดมาก
“คนก็เอาไปพูดกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด ผมไม่ได้กลัวว่าจะมาตรวจสอบ ตรงไหนโกงก็มาบอก ไปบอก สตง.หรือ ป.ป.ช.เขาจะตรวจสอบ ผลก็จะออกมา ถ้าโกงอย่างไรผมก็เข้าคุกหรือพักราชการทันที เพราะฉะนั้นตนอยากให้สื่อไปรู้ระบบก่อนว่าเขาซื้อกันอย่างไร ส่วนที่ 2 ไปดูเรื่องการปฎิบัติ” ผบ.ทบ. ระบุ
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ในเรื่องปัญหาของการบิน เรื่องนี้มันบินมาก่อนหน้านี้แล้วไม่ต้องมาถามว่าบินขึ้นหรือไม่ขึ้น เขามีการฝึกบินกันที่อู่ตะเภา จนนักบินบินเป็นกันหมดแล้วไม่ต้องห่วง ที่เขามีความเป็นห่วงคือระบบที่ต้องส่งสัญณาณขึ้นลงว่ามีความเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ทราบมาว่ามีความเรียบร้อยแล้ว กล้องทั้ง5ตัวก็เรียบร้อยหมดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เขายังไม่พอใจในเรื่องของการบิน เขาก็ไม่เซ็นรับ ซึ่งเรื่องนี้ถ้าใครเซ็นรับก็ต้องรับผิดชอบ ตนสั่งมาไม่ได้ เซ็นรับเมื่อไหร่ความรับผิดชอบก็อยู่กับคนที่เซ็นทันที
สั่งปิดค่ายห้ามทำข่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดปัตตานีว่า ที่บริเวณหน้าค่ายพล ร.15 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พร้อมนายทหารระดับสูง ได้เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อประชุมกำลังพล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเดินทางไปตรวจความพร้อมของเรือเหาะตรวจการณ์ และเยี่ยมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจเรือเหาะ โดยบรรยากาศบริเวณหน้าค่ายปรากฏว่า มีเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารดูแลความปลอดภัยเข้มงวดทั้งรถที่เข้าออก โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวที่จะมาทำข่าวถูกสั่งห้ามเข้าไปในค่ายเด็ดขาด โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งผู้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ ในเวลา 10.30 น. พล.อ.อนุพงษ์ พร้อมคณะได้เดินทางมาด้วยเฮลิปคอปเตอร์ Blackhawkลงที่ท่าอากาศยานบ่อทอง โดยมีนายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก.ภ.จว.ปัตตานี ให้การต้อนรับ จากนั้น พล.อ.อนุพงษ์ รีบเดินขึ้นรถยนต์ทันที หลังจากที่เห็นกองทัพสื่อมวลชนที่มารอทำข่าวก่อนรถยนต์เข้าไปในค่ายเพื่อประชุมร่วมกับกองกำลังในพื้นที่
ในขณะที่เรือเหาะตรวจการณ์ ซึ่งได้นำออกจากโรงเก็บได้ลอยขึ้นเหนือพื้นดินประมาณ 2 เมตรโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย เมื่อคณะของ พล.อ.อนุพงษ์ เดินทางมาถึงนักบินจึงได้ขับเรือเหาะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อให้ พล.อ.อนุพงษ์ ดูสมรรถนะของภารกิจเรือเหาะว่ามีความพร้อมอย่างไร
แหล่งข่าวทหารนายหนึ่ง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลเรือเหาะมีความพร้อมเต็มร้อย แต่เรือเหาะและอุปกรณ์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจ
สอดคล้องกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่เกี่ยวกับเรือเหาะตรวจการณ์ว่า ยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะหากสมบูรณ์จริงน่าจะปฏิบิตภารกิจมานานแล้ว เนื่องจากเรือเหาะมาอยู่ในพื้นที่หลายเดือน