xs
xsm
sm
md
lg

บางกอกฯผิดสัญญา เหตุถูกบีอีซีฯครอบงำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เปิดโปงประเด็นใหม่ คณะอนุกรรมการฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติในประเด็นข้อกฎหมายของสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 คือ

ประเด็นที่ 12. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือถึงบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เพื่อทักท้วง กรณีบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ปฎิบัติตามสัญญา และบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้มีหนังสือตอบกลับมาแล้ว แต่ว่าหนังสือทุกฉบับของบริษัท บางกอกฯไม่ได้ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามสองคนและไม่ได้ประทับตราสำคัญตามหนังสือรับรองของบริษัทบางกอกฯ ที่ได้จดทะเบียนไว้กับทางราชการ จะต้องถือว่า หนังสือดังกล่าวไม่ใช่หนังสือของนิติบุคคลบริษัทบางกอกฯ ตามสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ข้อ 14 และสัญญาฯแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ข้อ 9 หรือไม่ และต้องถือว่า เป็นกรณีที่บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ปฎิบัติตามสัญญาหรือไม่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ เพียงใด

ประเด็นที่ 13. บริษัท บางกอกเอนเตอร์แทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 แต่ปรากฏตามเอกสารเมื่อ พ.ศ. 2549 ได้ถูก บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด เข้าครอบงำกิจการ โดยเข้าถือหุ้นของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด จำนวน 2,999,992 หุ้น จากทั้งหมด จำนวน 3 ล้านหุ้น หรือร้อยละ 99.99 ส่งผลให้การถือหุ้นและการบริหารจัดการกิจการบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ถูกเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญไปโดยสิ้นเชิง อันถือได้ว่าเป็นการดำเนินการโดยทางตรงหรือทางอ้อม ที่สามารถบริหารกิจการวิทยุโทรทัศน์ ได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และได้เข้าบริหารกิจการส่งโทรทัศน์ช่อง 3 ตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มมหาชน) กับบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดังนั้นจะถือได้ว่า บริษัท บางกอกฯไม่ได้ดำเนินการตามสัญญาซึ่งจะต้องดำเนินการเองในนาม อสมท และจะให้บุคคลอื่นใดเช่าหรือรับไปดำเนินการไม่ได้ หรือไม่ และเป็นการควบรวม การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ หรือการครอบงำกระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 หรือไม่

ประเด็นที่ 14. ปัจจุบัน กรรมการ ในคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) บางคนไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จะต้องถือว่าทำให้บริษัทไม่ปฎิบัติให้ชอบด้วยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 96 หรือไม่ และกรรมการผู้นั้นขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการหรือไม่

ประเด็นที่ 15. สัญญาที่บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนเป็น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ) อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้กับทางราชการเมื่อปี พ.ศ. 2510

ประเด็นที่ 16. สัญญาที่บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ทำกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายอันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือไม่

**อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้***

กำลังโหลดความคิดเห็น