ใครจะไปเชื่อว่าในสถานการณ์ที่บ้านเมืองกำลังเข้าสู่สถานการณ์การเผชิญหน้า และการสร้างสถานการณ์ก่อนวันคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 กันอยู่ขณะนี้ จะมีคนที่คิดทำมาหากินกันอยู่โดยไม่สนใจใคร?
สถานการณ์ชุลมุนฝุ่นตลบแบบนี้ ไม่มีใครสังเกตเห็น จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การทำมาหากิน!
สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือความอัปลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับ “ไทยทีวีสีช่อง 3” ซึ่งมีการดำเนินการที่มีความเป็นมาดังนี้
4 มีนาคม 2511 บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ได้ทำสัญญาร่วมดำเนินการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (จัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี) เป็นเวลา 10 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2523) โดยในสัญญาระบุว่า “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” จะจ่ายค่าตอบแทนคงที่รายปีให้กับ “ไทยโทรทัศน์” ซึ่งเรียกชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ในทางสาธารณะว่า “ไทยทีวีสีช่อง 3”
25 มีนาคม 2520 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ภายหลังการยุบเลิก บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520
9 เมษายน 2520 อ.ส.ม.ท. ได้รับโอนกิจการจากบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด และสิทธิการร่วมดำเนินกิจการตามพระราชกฤษฎีกาให้แก่ อ.ส.ม.ท. ซึ่งรวมถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจาก บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในสัญญาร่วมดำเนินการ “ไทยทีวีสีช่อง 3” ด้วย
หลังจากนั้นได้มีการทำสัญญาระหว่าง “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” กับ “อ.ส.ม.ท.” อีก 4 ฉบับด้วยกันคือ
สัญญาฉบับที่ 1 ลงวันที่ 28 เมษายน 2521 โดยขยายระยะเวลาร่วมดำเนินกิจการตามสัญญาเดิมออกไปอีก 10 ปี แต่คราวนี้กำหนดค่าตอบแทนแบบใหม่ โดยกำหนดค่าตอบแทนจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. จำนวนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายแต่ยอดรวมทั้งสิ้นต้องไม่ต่ำกว่า 78 ล้านบาท
หมายความว่าระหว่างค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ระหว่างวิธีคิดในสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย กับยอดจ่ายขั้นต่ำ 78 ล้านบาท วิธีไหนมากกว่ากันให้ใช้วิธีนั้น
สัญญาฉบับที่ 2 เป็นการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 กำหนดค่าตอบแทนตามอัตราเดิม คือร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่เพิ่มค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ไม่น้อยกว่า 148 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขสัญญาที่ปกป้องประโยชน์ให้กับทาง อ.ส.ม.ท. มากขึ้น
สัญญาฉบับที่ 3 เป็นการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 โดยมีประเด็นสำคัญในการแก้ไขครั้งที่ 3 ประเด็นคือ
1. มีการขยายระยะเวลาร่วมดำเนินกิจการออกไปอีก 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2533 ถึง “วันที่ 25 มีนาคม 2553 !!!”
2. มีการกำหนดค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้ อ.ส.ม.ท. ตามเดิมคือร้อยละ 6.5 ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย แต่ค่าตอบแทนขั้นต่ำรวมกันตลอดอายุของสัญญา 20 ปีที่ต้องจ่ายให้ อ.ส.ม.ท.ต้องไม่น้อยกว่า 1,205.15 ล้านบาท
3. หากบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการตามสัญญาเป็นไปโดยเรียบร้อย และหากสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว และหาก อ.ส.ม.ท. มีนโยบายที่ต้องการให้เอกชนร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อไป อ.ส.ม.ท.จะพิจารณาให้สิทธิแก่ “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” เป็นรายแรกในการร่วมดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและภูมิภาคต่อไปอีกมีกำหนด 10 ปี โดยกำหนดวิธีจ่ายค่าตอบแทนให้กับ อ.ส.ม.ท.เหมือนเดิม
สัญญาฉบับที่ 4 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นการแก้ไขสัญญาที่อัปลักษณ์ที่สุด!
การแก้ไขสัญญาสุดอัปลักษณ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชื่อ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ทำหน้าที่กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. โดยมีการแก้ไขสัญญาที่แสนอัปลักษณ์ 3 ชั้นคือ
1. “ตัดค่าตอบแทนในอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายออกไป” เหลือแบ่งจ่ายเป็นรายปีรวมกันตลอดอายุของสัญญาจำนวนไม่น้อยกว่า 1,205.15 ล้านบาท (ซึ่งเดิมเป็นค่าตอบแทนขั้นต่ำให้กับ อ.ส.ม.ท.) เพียงอย่างเดียว
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 1 นั้น คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน ได้คำนวณสรุปว่า:
การแก้ไขสัญญาครั้งนี้ทำให้ อ.ส.ม.ท.เงินส่วนแบ่งที่ควรจะได้ใน 20 ปีที่ผ่านมา หายไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 5,279 ล้านบาท!
เพื่อหาข้ออ้างในการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์นี้ จึงได้มีการเพิ่มเติมสัญญากำหนดเงื่อนไขให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ต้องปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในวงเงินไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท รวมทั้งลงทุนสร้างสถานีเครือข่ายถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ส่วนกลางและในต่างจังหวัดพร้อมจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ ในวงเงินไม่น้อยกว่า 81 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 131 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบได้กับจำนวนรายได้ที่สูญเสียไปจากการแก้ไขสัญญาครั้งนี้
2. แก้ไขสัญญาว่า หาก “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” ปฏิบัติตามเงื่อนไขและ “ไม่มีการกระทำผิดสัญญา” อ.ส.ม.ท.ตกลงให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ร่วมดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปอีก 10 ปี (พ.ศ. 2553 – 2563) และกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายค่าตอบแทนให้ อ.ส.ม.ท.เป็นแบบตายตัวคือไม่น้อยกว่า 2,002.61 ล้านบาท
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 2 คือจากเดิมให้เป็นทางเลือกของ อ.ส.ม.ท.ว่าจะให้เอกชนร่วมดำเนินการหรือจะดำเนินการเองในสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มาเป็นการ ผูกมัดให้ อ.ส.ม.ท. ตกลงที่จะให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการต่อไปอีก 10 ปี หากไม่มีการกระทำผิดสัญญา
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 3 คือ ผลตอบแทนตายตัวที่ต้องจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ไม่น้อยกว่า 2,002.61 ล้านบาทนั้น คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปว่า:
หากต่อสัญญาไปอีก 10 ปี ภายใต้เงื่อนไขสัญญานี้ ตั้งแต่ปี 2553 – 2563 อ.ส.ม.ท.จะขาดส่วนแบ่งในสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากสัญญาเดิมไปประมาณอีก 5,207 ล้านบาท!
จากการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์ครั้งนี้ อ.ส.ม.ท.จึงย่อมสูญเสียรายได้จากที่ควรจะต้องได้ตลอด 30 ปี จาก พ.ศ. 2533–พ.ศ. 2563 ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย!
ยังไม่นับการสูญเสียผลประโยชน์และโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับรัฐอีกมหาศาลยิ่งกว่านี้ ถ้าเทียบกับการทำให้มีการประมูลหลังวันที่ 25 มีนาคม 2553 เพราะโครงข่ายและอุปกรณ์ของไทยทีวีสีช่อง 3 มีครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว!
แต่นับว่าประเทศไทยยังโชคดีถึง 3 ประการ ที่มีโอกาสที่จะพลิกสถานการณ์ในกรณีนี้ได้ดังนี้
ประการแรก ประเทศไทยได้มี พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ที่ระบุเอาไว้ว่าโครงการที่เป็นการลงทุนในกิจการของรัฐ และการ ลงทุนนั้นมีวงเงินหรือทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป จะต้องผ่านขั้นตอนความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และมีการประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐเพื่อเข้าร่วม “ประมูล” กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2535 เป็นต้นไป และหากมีกฎ มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎหมายอื่นใดที่ขัดแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน
ประการที่สอง มีความเคลือบแคลงน่าสงสัยในหลายประเด็นว่าการทำสัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่ตอนต้นหรือไม่? เช่น การที่ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ “ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการส่งและรับวิทยุโทรทัศน์ในวันลงนามในสัญญาตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2511” ซึ่งถือว่าบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และ พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ในวันลงนามในสัญญาหรือไม่?
รวมถึงการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์วันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ที่ทำให้องค์กรของรัฐเสียประโยชน์ โดยไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีนั้น สามารถทำได้หรือไม่?
ประการที่สาม มีความเคลือบแคลงน่าสงสัยในหลายประเด็นว่าจะมีการกระทำผิดสัญญา อันเป็นหตุผลอันสำคัญที่จะทำให้ อ.ส.ม.ท.ไม่จำเป็นต้องต่อสัญญาและเปิดประมูลใหม่ได้ เช่น
- การไม่ส่งมอบหรือจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้กับ อ.ส.ม.ท. ในการย้ายที่ทำการใหม่ของ บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ อีกทั้งบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ยังใช้ การเช่าทรัพย์สินในการดำเนินการแทนการซื้อเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งทำให้ อ.ส.ม.ท.ไม่ได้รับโอนทรัพย์สินเหล่านั้นตามเจตนารมณ์ของสัญญา BTO (Build Transfer Operate) เรียกได้ว่าผ่านมา 30 ปี อ.ส.ม.ท.ได้รับโอนทรัพย์สินมาเพียงแค่ 20 ล้านบาทเท่านั้นจากกิจการที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท
- การให้ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดใน บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้แจ้งในรายงานประจำปีว่า เป็นผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกทั้งยังให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาจัดรายการในผังรายการของไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นการขัดต่อสัญญาเพราะในสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่า บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะต้องดำเนินการเองจะให้ผู้ใดดำเนินกิจการแทนมิได้ อันถือเป็นข้อกำหนดที่สำคัญในสัญญา
เหลือเวลาอีกเดือนเศษเท่านั้นสัญญาก็จะหมดลง แต่สำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดูเหมือนจะเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ และไม่นำเรื่องนี้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการประมูลใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่ที่น่าประหลาดใจก็ตรงมีความบังเอิญที่สอดรับกับคำให้การของ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บมจ. อ.ส.ม.ท. ต่อคณะอนุกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรว่า “ได้จับเข่าคุยกันส่วนตัวกับผู้บริหารของ บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ แล้วว่าหากขยายสัญญาตามเดิมไปอีก 10 ปี ทางบริษัทจะจ่ายเงินล่วงหน้าเพิ่มให้ อ.ส.ม.ท.อีก 430 ล้านบาท ซึ่งยากจะหาใครมาลงทุนจ่ายเงินได้มากขนาดนี้”
ไม่น่าเชื่อว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ จะมองไม่เห็นว่าการจ่ายเงินสดล่วงหน้าให้กับ อ.ส.ม.ท. เพิ่มแค่ 430 ล้านบาท กับการต่อสัญญาอัปลักษณ์ 10 ปี กับรายได้รวม 2 พันกว่าล้านบาท “โดยไม่มีการประมูล” นั้น มันจะคุ้มค่าได้อย่างไร ทั้งๆ ที่กลุ่มธุรกิจบีอีซีเวิลด์ และบริษัทในเครือซึ่งหากินอยู่กับไทยทีวีสีช่อง 3 นั้น มีรายได้ต่อปีกว่าหมื่นล้านบาท ต่อสัญญา 10 ปี ก็มีรายได้เป็นเงินกว่าแสนล้านบาทเข้าไปแล้ว
จึงขอโอกาสนี้ทบทวนความทรงจำกับลายมือของคนหนึ่งที่ดูเหมือนคล้ายกับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้เกษียนหนังสือที่นำเสนอโดย บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ โดยสั่งการให้ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2552 ความตอนหนึ่งว่า:
“ให้ฝ่ายกฎหมายยกร่างหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง เนื่องจาก บ.บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ฝ่าฝืนข้อสัญญาโดยให้ผู้อื่นเป็นผู้ประกอบการแทน เสนอให้คณะ กก.อ.ส.ม.ท. พิจารณาเห็นชอบในที่ประชุมคราวต่อไป”
การวางเฉยหรือปล่อยให้เกิดการต่อสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรนั้น น่าเป็นห่วงยิ่งว่า อาจจะมีการดำเนินคดีความเอาผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา โดยภาคประชาชนและผู้ถือหุ้นเป็นแน่แท้!
สถานการณ์ชุลมุนฝุ่นตลบแบบนี้ ไม่มีใครสังเกตเห็น จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การทำมาหากิน!
สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือความอัปลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับ “ไทยทีวีสีช่อง 3” ซึ่งมีการดำเนินการที่มีความเป็นมาดังนี้
4 มีนาคม 2511 บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ได้ทำสัญญาร่วมดำเนินการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (จัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี) เป็นเวลา 10 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2523) โดยในสัญญาระบุว่า “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” จะจ่ายค่าตอบแทนคงที่รายปีให้กับ “ไทยโทรทัศน์” ซึ่งเรียกชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ในทางสาธารณะว่า “ไทยทีวีสีช่อง 3”
25 มีนาคม 2520 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ภายหลังการยุบเลิก บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520
9 เมษายน 2520 อ.ส.ม.ท. ได้รับโอนกิจการจากบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด และสิทธิการร่วมดำเนินกิจการตามพระราชกฤษฎีกาให้แก่ อ.ส.ม.ท. ซึ่งรวมถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจาก บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในสัญญาร่วมดำเนินการ “ไทยทีวีสีช่อง 3” ด้วย
หลังจากนั้นได้มีการทำสัญญาระหว่าง “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” กับ “อ.ส.ม.ท.” อีก 4 ฉบับด้วยกันคือ
สัญญาฉบับที่ 1 ลงวันที่ 28 เมษายน 2521 โดยขยายระยะเวลาร่วมดำเนินกิจการตามสัญญาเดิมออกไปอีก 10 ปี แต่คราวนี้กำหนดค่าตอบแทนแบบใหม่ โดยกำหนดค่าตอบแทนจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. จำนวนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายแต่ยอดรวมทั้งสิ้นต้องไม่ต่ำกว่า 78 ล้านบาท
หมายความว่าระหว่างค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ระหว่างวิธีคิดในสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย กับยอดจ่ายขั้นต่ำ 78 ล้านบาท วิธีไหนมากกว่ากันให้ใช้วิธีนั้น
สัญญาฉบับที่ 2 เป็นการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 กำหนดค่าตอบแทนตามอัตราเดิม คือร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่เพิ่มค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ไม่น้อยกว่า 148 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขสัญญาที่ปกป้องประโยชน์ให้กับทาง อ.ส.ม.ท. มากขึ้น
สัญญาฉบับที่ 3 เป็นการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 โดยมีประเด็นสำคัญในการแก้ไขครั้งที่ 3 ประเด็นคือ
1. มีการขยายระยะเวลาร่วมดำเนินกิจการออกไปอีก 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2533 ถึง “วันที่ 25 มีนาคม 2553 !!!”
2. มีการกำหนดค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้ อ.ส.ม.ท. ตามเดิมคือร้อยละ 6.5 ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย แต่ค่าตอบแทนขั้นต่ำรวมกันตลอดอายุของสัญญา 20 ปีที่ต้องจ่ายให้ อ.ส.ม.ท.ต้องไม่น้อยกว่า 1,205.15 ล้านบาท
3. หากบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการตามสัญญาเป็นไปโดยเรียบร้อย และหากสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว และหาก อ.ส.ม.ท. มีนโยบายที่ต้องการให้เอกชนร่วมดำเนินการไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อไป อ.ส.ม.ท.จะพิจารณาให้สิทธิแก่ “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” เป็นรายแรกในการร่วมดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและภูมิภาคต่อไปอีกมีกำหนด 10 ปี โดยกำหนดวิธีจ่ายค่าตอบแทนให้กับ อ.ส.ม.ท.เหมือนเดิม
สัญญาฉบับที่ 4 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นการแก้ไขสัญญาที่อัปลักษณ์ที่สุด!
การแก้ไขสัญญาสุดอัปลักษณ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชื่อ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ทำหน้าที่กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. โดยมีการแก้ไขสัญญาที่แสนอัปลักษณ์ 3 ชั้นคือ
1. “ตัดค่าตอบแทนในอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายออกไป” เหลือแบ่งจ่ายเป็นรายปีรวมกันตลอดอายุของสัญญาจำนวนไม่น้อยกว่า 1,205.15 ล้านบาท (ซึ่งเดิมเป็นค่าตอบแทนขั้นต่ำให้กับ อ.ส.ม.ท.) เพียงอย่างเดียว
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 1 นั้น คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน ได้คำนวณสรุปว่า:
การแก้ไขสัญญาครั้งนี้ทำให้ อ.ส.ม.ท.เงินส่วนแบ่งที่ควรจะได้ใน 20 ปีที่ผ่านมา หายไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 5,279 ล้านบาท!
เพื่อหาข้ออ้างในการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์นี้ จึงได้มีการเพิ่มเติมสัญญากำหนดเงื่อนไขให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ต้องปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในวงเงินไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท รวมทั้งลงทุนสร้างสถานีเครือข่ายถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ส่วนกลางและในต่างจังหวัดพร้อมจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ ในวงเงินไม่น้อยกว่า 81 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 131 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบได้กับจำนวนรายได้ที่สูญเสียไปจากการแก้ไขสัญญาครั้งนี้
2. แก้ไขสัญญาว่า หาก “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” ปฏิบัติตามเงื่อนไขและ “ไม่มีการกระทำผิดสัญญา” อ.ส.ม.ท.ตกลงให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ร่วมดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปอีก 10 ปี (พ.ศ. 2553 – 2563) และกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายค่าตอบแทนให้ อ.ส.ม.ท.เป็นแบบตายตัวคือไม่น้อยกว่า 2,002.61 ล้านบาท
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 2 คือจากเดิมให้เป็นทางเลือกของ อ.ส.ม.ท.ว่าจะให้เอกชนร่วมดำเนินการหรือจะดำเนินการเองในสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มาเป็นการ ผูกมัดให้ อ.ส.ม.ท. ตกลงที่จะให้ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการต่อไปอีก 10 ปี หากไม่มีการกระทำผิดสัญญา
ความอัปลักษณ์ชั้นที่ 3 คือ ผลตอบแทนตายตัวที่ต้องจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. ไม่น้อยกว่า 2,002.61 ล้านบาทนั้น คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปว่า:
หากต่อสัญญาไปอีก 10 ปี ภายใต้เงื่อนไขสัญญานี้ ตั้งแต่ปี 2553 – 2563 อ.ส.ม.ท.จะขาดส่วนแบ่งในสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากสัญญาเดิมไปประมาณอีก 5,207 ล้านบาท!
จากการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์ครั้งนี้ อ.ส.ม.ท.จึงย่อมสูญเสียรายได้จากที่ควรจะต้องได้ตลอด 30 ปี จาก พ.ศ. 2533–พ.ศ. 2563 ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย!
ยังไม่นับการสูญเสียผลประโยชน์และโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับรัฐอีกมหาศาลยิ่งกว่านี้ ถ้าเทียบกับการทำให้มีการประมูลหลังวันที่ 25 มีนาคม 2553 เพราะโครงข่ายและอุปกรณ์ของไทยทีวีสีช่อง 3 มีครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว!
แต่นับว่าประเทศไทยยังโชคดีถึง 3 ประการ ที่มีโอกาสที่จะพลิกสถานการณ์ในกรณีนี้ได้ดังนี้
ประการแรก ประเทศไทยได้มี พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ที่ระบุเอาไว้ว่าโครงการที่เป็นการลงทุนในกิจการของรัฐ และการ ลงทุนนั้นมีวงเงินหรือทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป จะต้องผ่านขั้นตอนความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และมีการประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐเพื่อเข้าร่วม “ประมูล” กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2535 เป็นต้นไป และหากมีกฎ มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎหมายอื่นใดที่ขัดแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน
ประการที่สอง มีความเคลือบแคลงน่าสงสัยในหลายประเด็นว่าการทำสัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่ตอนต้นหรือไม่? เช่น การที่ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ “ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการส่งและรับวิทยุโทรทัศน์ในวันลงนามในสัญญาตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2511” ซึ่งถือว่าบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และ พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ในวันลงนามในสัญญาหรือไม่?
รวมถึงการแก้ไขสัญญาอัปลักษณ์วันที่ 2 พฤษภาคม 2532 ที่ทำให้องค์กรของรัฐเสียประโยชน์ โดยไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีนั้น สามารถทำได้หรือไม่?
ประการที่สาม มีความเคลือบแคลงน่าสงสัยในหลายประเด็นว่าจะมีการกระทำผิดสัญญา อันเป็นหตุผลอันสำคัญที่จะทำให้ อ.ส.ม.ท.ไม่จำเป็นต้องต่อสัญญาและเปิดประมูลใหม่ได้ เช่น
- การไม่ส่งมอบหรือจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้กับ อ.ส.ม.ท. ในการย้ายที่ทำการใหม่ของ บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ อีกทั้งบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ยังใช้ การเช่าทรัพย์สินในการดำเนินการแทนการซื้อเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งทำให้ อ.ส.ม.ท.ไม่ได้รับโอนทรัพย์สินเหล่านั้นตามเจตนารมณ์ของสัญญา BTO (Build Transfer Operate) เรียกได้ว่าผ่านมา 30 ปี อ.ส.ม.ท.ได้รับโอนทรัพย์สินมาเพียงแค่ 20 ล้านบาทเท่านั้นจากกิจการที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท
- การให้ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดใน บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้แจ้งในรายงานประจำปีว่า เป็นผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกทั้งยังให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาจัดรายการในผังรายการของไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นการขัดต่อสัญญาเพราะในสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่า บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะต้องดำเนินการเองจะให้ผู้ใดดำเนินกิจการแทนมิได้ อันถือเป็นข้อกำหนดที่สำคัญในสัญญา
เหลือเวลาอีกเดือนเศษเท่านั้นสัญญาก็จะหมดลง แต่สำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดูเหมือนจะเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ และไม่นำเรื่องนี้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการประมูลใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่ที่น่าประหลาดใจก็ตรงมีความบังเอิญที่สอดรับกับคำให้การของ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บมจ. อ.ส.ม.ท. ต่อคณะอนุกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรว่า “ได้จับเข่าคุยกันส่วนตัวกับผู้บริหารของ บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ แล้วว่าหากขยายสัญญาตามเดิมไปอีก 10 ปี ทางบริษัทจะจ่ายเงินล่วงหน้าเพิ่มให้ อ.ส.ม.ท.อีก 430 ล้านบาท ซึ่งยากจะหาใครมาลงทุนจ่ายเงินได้มากขนาดนี้”
ไม่น่าเชื่อว่า ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ จะมองไม่เห็นว่าการจ่ายเงินสดล่วงหน้าให้กับ อ.ส.ม.ท. เพิ่มแค่ 430 ล้านบาท กับการต่อสัญญาอัปลักษณ์ 10 ปี กับรายได้รวม 2 พันกว่าล้านบาท “โดยไม่มีการประมูล” นั้น มันจะคุ้มค่าได้อย่างไร ทั้งๆ ที่กลุ่มธุรกิจบีอีซีเวิลด์ และบริษัทในเครือซึ่งหากินอยู่กับไทยทีวีสีช่อง 3 นั้น มีรายได้ต่อปีกว่าหมื่นล้านบาท ต่อสัญญา 10 ปี ก็มีรายได้เป็นเงินกว่าแสนล้านบาทเข้าไปแล้ว
จึงขอโอกาสนี้ทบทวนความทรงจำกับลายมือของคนหนึ่งที่ดูเหมือนคล้ายกับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้เกษียนหนังสือที่นำเสนอโดย บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ โดยสั่งการให้ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2552 ความตอนหนึ่งว่า:
“ให้ฝ่ายกฎหมายยกร่างหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง เนื่องจาก บ.บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ฝ่าฝืนข้อสัญญาโดยให้ผู้อื่นเป็นผู้ประกอบการแทน เสนอให้คณะ กก.อ.ส.ม.ท. พิจารณาเห็นชอบในที่ประชุมคราวต่อไป”
การวางเฉยหรือปล่อยให้เกิดการต่อสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรนั้น น่าเป็นห่วงยิ่งว่า อาจจะมีการดำเนินคดีความเอาผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา โดยภาคประชาชนและผู้ถือหุ้นเป็นแน่แท้!