ASTVผู้จัดการรายวัน-สองผู้นำต่างวัย เปิดใจวันนักข่าว "อภิสิทธิ์" ลั่นเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงออก รักษาความสงบ-กฎหมาย ไม่มีกวาดล้าง และจะไม่ยุบสภา ด้าน"อานันท์" จี้นายกฯ รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ กลับตัวมีทัศนคติในการทำงานแบบกระตือรือร้น เอาใจใส่จริงจัง ไม่คดโกง
วานนี้(5 มี.ค.) ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แอทเซ็นทรัลเวิลด์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานวันนักข่าว 5มีนาคม 2553 “ครบรอบ55ปีสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย” ในมีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “2 ผู้นำ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนท่ามกลางวิกฤต” เนื่องในงานวันนักข่าวประจำปี 2553 ที่จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ถ้าจะให้พูดถึงวิกฤตการลงทุน และความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ถ้าเป็นปีที่แล้วคงจะพูดกันมาก 2 วิกฤต 1.เศรษฐกิจโลก และ 2..การเมืองในประเทศ แต่วันนี้ความวิตกวิกฤตเศรษฐกิจโลกดูจะลดลงไปมาก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนม.ค.ทำให้ตัวเลขที่มีการประกาศล่าสุด ยืนยันว่าเศรษฐกิจได้กลับเป็นบวก และตลอดปี 2552 ที่ผ่านมา ตัวเลขต่างๆก็ต่ำกว่าที่เคยประเมินกันทั้งสิ้น
นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายต่างๆ ทำให้เรามั่นใจว่าการฟื้นตัวจะมีความแข็งแรง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ที่สำคัญตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจของปี 2553 ปรับสูงขึ้นเป็น 3-4.5%
ปัญหาที่ยังค้างอยู่คือปัญหากรณีมาบตาพุดที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำลังเดินหน้าแก้ปัญหา โดยกำหนดกรอบกติกาชัดเจนแล้ว และการตรากฎหมายก็มีความก้าวหน้า
อีกวิกฤตหนึ่งที่ทุกคนจับตาด้วยความห่วงใย คือวิกฤตทางการเมือง โดยเฉพาะสถานการณ์อีกไม่กี่วันข้างหน้า ที่จะมีการชุมชุนใหญ่อีกครั้งในกทม.ที่มีการโหมโรงรุนแรงเป็นพิเศษ ไม่เพียงแง่จำนวนคน รูปแบบการชุมนุม แต่ยังมีคนบางกลุ่มเริ่มเปิดเผยชัดเจนว่าอาจมีการใช้ความรุนแรง แนวคิดของตนที่ทำมาตลอด 20 ปี มีความชัดเจนมาตลอดว่า ความเชื่อมั่นที่จะเกิดขึ้นได้ รัฐบาลจะต้องทำบนพื้นฐานความเป็นจริง ตนไม่เคยเชื่อเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อหรือตกแต่งตัวเลขปกปิดความจริง ดังนั้นไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือการเมือง สิ่งที่ตนใช้ในการบริหารคือการให้ความจริง เมื่อปีที่แล้วตั้งแต่ต้นปี รัฐบาลก็พูดชัดว่าคาดการณ์เศรษฐกิจอย่างไร จากนั้นก็รีบทำแผนให้ชัดเจนว่าจะใช้มาตรการอะไรแก้ปัญหาบ้าง แล้วก็ดำเนินการตามนั้น
ส่วนเรื่องการเมือง ตนพูดตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง ว่าการทำให้บ้านเมืองสงบสุข ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้หลายอย่างประกอบกัน ทั้งการใช้เวลา ความอดทน และช่วยสร้างค่านิยม ให้อยู่ภายใต้กติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับ บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้เรายังวิตกกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดในสัปดาห์ แต่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา แนวทางยึดความจริง ก็สามารถลบคำสมประมาท ทำให้รัฐบาลยังอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤต ความจริงบางอย่างวันนี้ไม่มีใครทำให้คนที่ขัดแย้งมาพูดคุยกันได้ เนื่องจากสังคมเติบโตบนความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเราต้องรู้จักปรับตัวอยู่ในภาวะที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป และมีข้อเท็จจริงคือมีคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่หวังให้เกิดความวุ่นวายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ล้มกระดานเพื่อประโยชน์ของตัวเอง พรรคพวก และคนในครอบครัว การจะพูดอย่างอื่น ไม่สามารถทำให้คนเชื่อถือได้ ความจริงจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่รัฐบาลต้องให้กับประชาชนเพื่อปูทางไปสู่การมีความเชื่อมั่น
สิ่งที่รัฐบาลนี้พิสูจน์คือท่ามกลางความแตกแยกขัดแย้งที่ดำรงต่อมาอีก 1 ปี รัฐบาลได้ยึดหลักของกฎหมาย ความถูกต้อง และการเคารพสิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความอดทนอดกลั้น และแน่วแน่ที่จะแก้ปัญหาตามแนวทางนี้ ตลอด 1 ปีตนถูกเรียกร้องให้แก้ปัญหาด้วยวิธีสุดโต่งตลอดเวลา ซึ่งตนยืนยันว่าไมใช่วิธีแก้ปัญหา อีกด้านหนึ่งบอกให้เด็ดขาดที่น่าจะหมายถึงใช้ความรุนแรง แม้หลายเรื่องที่เกิดกับตนจะมีความรู้สึกโกรธหรือแค้น แต่คนที่ใช้อำนาจจะต้องถอดออกไปจากการทำงาน การแก้ปัญหาด้วยความเด็ดขาดไม่มีทางทำให้ปัญหาจบ แผลที่เกิดกับสังคมไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ลึกพอสมควร ไม่ว่าใครอยู่ขั้วใด ตนเห็นว่ามีเหตุผลที่ดีสนับสนุน จึงไม่มีเหตุผลที่จะไปกวาดล้าง
แนวทางเดียวที่รัฐบาลทำคือเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงออก โดยรัฐบาลต้องรักษาความสงบเรียบร้อยและกฎหมาย เหตุการณ์เม.ย.2552 ไม่มีการกวาดล้าง และพูดถึงชัยชนะของฝ่ายใด ตนเปิดโอกาสให้ตรวจสอบ และยังแสวงหาคำตอบทางการเมือง ที่น่าเสียดายฝ่ายค้านถอนตัวออกไปก่อน แม้หลายคนจะวิจารณ์ว่าแนวทางที่รัฐบาลเดินอาจไม่สร้างความเชื่อมั่น ตนเถียงว่าไม่จริง ถามว่าเหนื่อยไหม ก็เหนื่อยที่ต้องเดินสายชี้แจงทั้งในและต่างประเทศ
"ผมเองแต่เสียดายและเสียใจว่าขณะที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการเดินหน้า เรายังสุ่มเสี่ยงเป็นเมืองของคนกลุ่มเล็กๆที่ต้องการเห็นความวุ่นวาย คนที่มาเคลื่อนไหวชุมนุม ผมพูดย้ำแล้วย้ำอีก เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เขามาตามความคิดความเชื่อของเขา ที่ผมเสียดายเสียใจคือหลายคนที่มาได้รับชุดข้อมูลที่มีความคาดเคลื่อน ผมฟังจากคนที่มาชุมนุมชี้หน้าด่าตามที่ต่างๆ จดหมายที่มาที่บ้าน โทรศัพท์ที่มาที่บ้าน หลายคนเชื่อคลิปเสียงว่าผมเคยสั่งฆ่าคนจริงๆ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมเสียดายจริงๆว่าสังคมไทยไม่สามารถทำให้ความจริงปรากฏได้ ซึ่งหากผมเชื่อคลิปเสียงนั้นจริงๆ ดีไม่ดีผมเองจะมาร่วมชุมนุมด้วยซ้ำ แถมยังลังเลว่าจะใช้ความรุนแรงด้วยหรือไม่ด้วยซ้ำ ทั้งที่รัฐบาลยืนยันมาตลอดไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับใคร” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้ร่วมงานรายหนึ่งถามว่าหากยุบสภาวันนี้คิดว่ามีโอกาสได้มานั่งนายกฯอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าว่า ถ้ายุบสภาไม่มีใครทราบผลจะเป็นอย่างไร แต่วันนี้สังคมมีคนสนับสนุนพรรคใหญ่ 2 ขั้วใกล้เคียงกัน ในการเลือกตั้ง 2550 คะแนนก็ต่างไม่กี่แสนคะแนนจากที่เคยต่างกันเป็นล้าน วันนี้คะแนนทั้งสองพรรคก็ยังต่างกันไม่มาก และหากเทียบวันนั้นกับวันนี้ก็ยืนยันได้ว่าคะแนนพรรคตนดีขึ้น แต่ตอบไม่ได้ว่าจะได้ส.ส.เท่าไร แต่ยืนยันไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก จึงไม่มีใครทราบว่าพรรคเล็กจะมาจับขั้วกับใครตั้งรัฐบาล แต่ยืนยันว่า ณ วันนี้ ยังไม่มีแนวคิดที่จะยุบสภา
ด้านนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “แนวทางการแก้ไขปัญหาการลงทุนกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันนักการเมืองไม่น้อยที่เข้ามาทำผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อพรรคการเมือง เพื่อคนใกล้ชิด เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ทุกคนทราบดีมาบตาพุดมีปัญหาอย่างไร คำถามคือเกิดจากไหน จุดเริ่มต้นอยู่ที่ใด และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะคนหรือเหตุผลอื่น ที่มีความสำเร็จในมาบตาพูดถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลชุดนั้น ส่วนใหญ่ข้าราชการสภาพัฒน์เป็นผู้ชงมา แบบแปลนค่อนข้างดี มีการแบ่งชัดเจนโรงงานอยู่ที่ใด ชุมชนอยู่ที่ใด เวลาผ่านไป 20 ปี บางทีวางแผนดี แต่ปฏิบัติแล้วไม่เป็นไปตามแผน ไม่ช้าไม่นานก็มีการขยับขยายสมคบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รัฐบาล การบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่กันชนวันนี้แทบไม่มี ชุมชนอยู่ติดกับโรงงาน โรงงานไม่รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่สัญญาโรงงานทำจริงหรือเปล่า รัฐไม่ได้ติดตาม การเฝ้าระวังเฝ้ามองไม่มีระบบ ต่างคนต่างทำ คนในสังคมสูงอาจเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด
“ปัญหามาบตาพุดไม่ได้เกิดเมื่อสามปีที่แล้วแต่เกิดมาสิบปีแล้ว ไม่ว่าการเดินขบวนโดยกลุ่มประชาชน เอ็นจีโอหัวหอกใหญ่ รัฐในอดีตไม่ได้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐานไม่ได้แก้ที่รากเหง้า ส่วนใหญ่ติดพาสเตอร์ ทายาแดง แค่การบรรเทาความทุกข์ ชั่วคราวเท่านั้น”นายอานันท์ กล่าวและว่า“ผมหวังว่านายกรัฐมนตรี รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ จะสามารถกลับตัวทัน มีทัศนคติในการทำงานแบบกระตือรือร้น เอาใจใส่จริงจัง ไม่คดโกง เมื่อถึงวันนั้นผลงานจะประจักษ์ เมื่อถึงเวลานั้นพวกเราจะนอนตาหลับ เพราะจะเกิดปัญหาอย่างมาบตาพุดเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย จะเป็นจุดเปลี่ยน ประชาชนจะไว้ใจรัฐบาล”นายอานันท์กล่าว
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สิ่งที่ทางรัฐบาลจะต้องดำเนินการไม่ใช่แค่การแก้ไขปัญหามาบตาพุด แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดมลภาวะทั้งระบบ ทำตามกฎหมายไม่พอ ต้องทำมากกว่ากฎหมายด้วยความจริงใจ เพื่อให้เกิดความสุข ความจริงใจก็จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้โรงงานหรือบริษัทเอกชนปล่อยมลพิษจะต้องจ่ายภาษี ขณะที่โรงงานหรือบริษัทที่ไม่ปล่อยมลพิษควรได้สิทธิพิเศษเพื่อนำไปสู่การไม่สร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้นแบบมาบตาพุดอีก โรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าตนอยากเห็นภาคเอกชนเอาจริงเอาจัง หากรัฐบาลหน่อมแน้มภาคธุรกิจต้องเป็นฝ่ายบุก อย่าหวังพึงรัฐบาลฝ่ายเดียว ทุกคนต้องตื่นตัว เตรียมตัวทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบ
ก่อนหน้านั้นได้มีการประกาศผลรางวัลอิศรา อมันตกุล โดยประเภทข่าว ปี2552 ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม แต่มี รางวัลดีเด่น 1 รางวัล ได้แก่ผลงานข่าว เปิดโปงทุจริตพอเพียง ยับยั้งแผนรุมทึ้งไทยเข้มแข็ง สธ. โดยกองบรรณาธิการ นสพ. มติชน ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ผลงานข่าว เปิดโปง รพ. โกงเงินแสนล้าน สปสช. ตีแผ่ปัญหาเบิกค่า "สเต็นท์" เกินจริง โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์ และผลงานข่าว ."มลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย" โดยกองบรรณาธิการ นสพ ประชาชาติธุรกิจ
รางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าว ผู้ได้รับรางวัลได้แก่ ภาพข่าว “ไล่ขวิด” ถ่ายโดยนายไชยวัฒน์ สาดแย้ม นสพ. บางกอกโพสต์ ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ผลงาน ภาพข่าว “สงครามกลางเมือง” ถ่ายโดยนายภานุมาศ สงวนวงษ์ นสพ.มติชน และผลงาน ภาพข่าว “คลายหนาว” ถ่ายโดยนายภวัต เล่าไพศาลทักษิณ นสพ.บางกอกโพสต์
รางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมผู้ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่ผลงาน ข่าวดับแผนขุดทรายให้สิงคโปร์ ปกป้องทรัพยากรมีค่าไทย โดยกองบรรณาธิการ นสพ. มติชน ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานข่าวมลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย โดยกองบรรณาธิการ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ และ ผลงานข่าวค้านระงับสร้างรูปปั้นกวนอิมรุกที่หลวง บดบังสะพานข้ามแม่น้ำแคว โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ไทยรัฐ
วานนี้(5 มี.ค.) ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แอทเซ็นทรัลเวิลด์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานวันนักข่าว 5มีนาคม 2553 “ครบรอบ55ปีสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย” ในมีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “2 ผู้นำ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนท่ามกลางวิกฤต” เนื่องในงานวันนักข่าวประจำปี 2553 ที่จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ถ้าจะให้พูดถึงวิกฤตการลงทุน และความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ถ้าเป็นปีที่แล้วคงจะพูดกันมาก 2 วิกฤต 1.เศรษฐกิจโลก และ 2..การเมืองในประเทศ แต่วันนี้ความวิตกวิกฤตเศรษฐกิจโลกดูจะลดลงไปมาก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนม.ค.ทำให้ตัวเลขที่มีการประกาศล่าสุด ยืนยันว่าเศรษฐกิจได้กลับเป็นบวก และตลอดปี 2552 ที่ผ่านมา ตัวเลขต่างๆก็ต่ำกว่าที่เคยประเมินกันทั้งสิ้น
นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายต่างๆ ทำให้เรามั่นใจว่าการฟื้นตัวจะมีความแข็งแรง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ที่สำคัญตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจของปี 2553 ปรับสูงขึ้นเป็น 3-4.5%
ปัญหาที่ยังค้างอยู่คือปัญหากรณีมาบตาพุดที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำลังเดินหน้าแก้ปัญหา โดยกำหนดกรอบกติกาชัดเจนแล้ว และการตรากฎหมายก็มีความก้าวหน้า
อีกวิกฤตหนึ่งที่ทุกคนจับตาด้วยความห่วงใย คือวิกฤตทางการเมือง โดยเฉพาะสถานการณ์อีกไม่กี่วันข้างหน้า ที่จะมีการชุมชุนใหญ่อีกครั้งในกทม.ที่มีการโหมโรงรุนแรงเป็นพิเศษ ไม่เพียงแง่จำนวนคน รูปแบบการชุมนุม แต่ยังมีคนบางกลุ่มเริ่มเปิดเผยชัดเจนว่าอาจมีการใช้ความรุนแรง แนวคิดของตนที่ทำมาตลอด 20 ปี มีความชัดเจนมาตลอดว่า ความเชื่อมั่นที่จะเกิดขึ้นได้ รัฐบาลจะต้องทำบนพื้นฐานความเป็นจริง ตนไม่เคยเชื่อเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อหรือตกแต่งตัวเลขปกปิดความจริง ดังนั้นไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือการเมือง สิ่งที่ตนใช้ในการบริหารคือการให้ความจริง เมื่อปีที่แล้วตั้งแต่ต้นปี รัฐบาลก็พูดชัดว่าคาดการณ์เศรษฐกิจอย่างไร จากนั้นก็รีบทำแผนให้ชัดเจนว่าจะใช้มาตรการอะไรแก้ปัญหาบ้าง แล้วก็ดำเนินการตามนั้น
ส่วนเรื่องการเมือง ตนพูดตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง ว่าการทำให้บ้านเมืองสงบสุข ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้หลายอย่างประกอบกัน ทั้งการใช้เวลา ความอดทน และช่วยสร้างค่านิยม ให้อยู่ภายใต้กติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับ บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้เรายังวิตกกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดในสัปดาห์ แต่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา แนวทางยึดความจริง ก็สามารถลบคำสมประมาท ทำให้รัฐบาลยังอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤต ความจริงบางอย่างวันนี้ไม่มีใครทำให้คนที่ขัดแย้งมาพูดคุยกันได้ เนื่องจากสังคมเติบโตบนความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเราต้องรู้จักปรับตัวอยู่ในภาวะที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป และมีข้อเท็จจริงคือมีคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่หวังให้เกิดความวุ่นวายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ล้มกระดานเพื่อประโยชน์ของตัวเอง พรรคพวก และคนในครอบครัว การจะพูดอย่างอื่น ไม่สามารถทำให้คนเชื่อถือได้ ความจริงจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่รัฐบาลต้องให้กับประชาชนเพื่อปูทางไปสู่การมีความเชื่อมั่น
สิ่งที่รัฐบาลนี้พิสูจน์คือท่ามกลางความแตกแยกขัดแย้งที่ดำรงต่อมาอีก 1 ปี รัฐบาลได้ยึดหลักของกฎหมาย ความถูกต้อง และการเคารพสิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความอดทนอดกลั้น และแน่วแน่ที่จะแก้ปัญหาตามแนวทางนี้ ตลอด 1 ปีตนถูกเรียกร้องให้แก้ปัญหาด้วยวิธีสุดโต่งตลอดเวลา ซึ่งตนยืนยันว่าไมใช่วิธีแก้ปัญหา อีกด้านหนึ่งบอกให้เด็ดขาดที่น่าจะหมายถึงใช้ความรุนแรง แม้หลายเรื่องที่เกิดกับตนจะมีความรู้สึกโกรธหรือแค้น แต่คนที่ใช้อำนาจจะต้องถอดออกไปจากการทำงาน การแก้ปัญหาด้วยความเด็ดขาดไม่มีทางทำให้ปัญหาจบ แผลที่เกิดกับสังคมไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ลึกพอสมควร ไม่ว่าใครอยู่ขั้วใด ตนเห็นว่ามีเหตุผลที่ดีสนับสนุน จึงไม่มีเหตุผลที่จะไปกวาดล้าง
แนวทางเดียวที่รัฐบาลทำคือเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงออก โดยรัฐบาลต้องรักษาความสงบเรียบร้อยและกฎหมาย เหตุการณ์เม.ย.2552 ไม่มีการกวาดล้าง และพูดถึงชัยชนะของฝ่ายใด ตนเปิดโอกาสให้ตรวจสอบ และยังแสวงหาคำตอบทางการเมือง ที่น่าเสียดายฝ่ายค้านถอนตัวออกไปก่อน แม้หลายคนจะวิจารณ์ว่าแนวทางที่รัฐบาลเดินอาจไม่สร้างความเชื่อมั่น ตนเถียงว่าไม่จริง ถามว่าเหนื่อยไหม ก็เหนื่อยที่ต้องเดินสายชี้แจงทั้งในและต่างประเทศ
"ผมเองแต่เสียดายและเสียใจว่าขณะที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการเดินหน้า เรายังสุ่มเสี่ยงเป็นเมืองของคนกลุ่มเล็กๆที่ต้องการเห็นความวุ่นวาย คนที่มาเคลื่อนไหวชุมนุม ผมพูดย้ำแล้วย้ำอีก เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เขามาตามความคิดความเชื่อของเขา ที่ผมเสียดายเสียใจคือหลายคนที่มาได้รับชุดข้อมูลที่มีความคาดเคลื่อน ผมฟังจากคนที่มาชุมนุมชี้หน้าด่าตามที่ต่างๆ จดหมายที่มาที่บ้าน โทรศัพท์ที่มาที่บ้าน หลายคนเชื่อคลิปเสียงว่าผมเคยสั่งฆ่าคนจริงๆ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมเสียดายจริงๆว่าสังคมไทยไม่สามารถทำให้ความจริงปรากฏได้ ซึ่งหากผมเชื่อคลิปเสียงนั้นจริงๆ ดีไม่ดีผมเองจะมาร่วมชุมนุมด้วยซ้ำ แถมยังลังเลว่าจะใช้ความรุนแรงด้วยหรือไม่ด้วยซ้ำ ทั้งที่รัฐบาลยืนยันมาตลอดไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับใคร” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้ร่วมงานรายหนึ่งถามว่าหากยุบสภาวันนี้คิดว่ามีโอกาสได้มานั่งนายกฯอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าว่า ถ้ายุบสภาไม่มีใครทราบผลจะเป็นอย่างไร แต่วันนี้สังคมมีคนสนับสนุนพรรคใหญ่ 2 ขั้วใกล้เคียงกัน ในการเลือกตั้ง 2550 คะแนนก็ต่างไม่กี่แสนคะแนนจากที่เคยต่างกันเป็นล้าน วันนี้คะแนนทั้งสองพรรคก็ยังต่างกันไม่มาก และหากเทียบวันนั้นกับวันนี้ก็ยืนยันได้ว่าคะแนนพรรคตนดีขึ้น แต่ตอบไม่ได้ว่าจะได้ส.ส.เท่าไร แต่ยืนยันไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก จึงไม่มีใครทราบว่าพรรคเล็กจะมาจับขั้วกับใครตั้งรัฐบาล แต่ยืนยันว่า ณ วันนี้ ยังไม่มีแนวคิดที่จะยุบสภา
ด้านนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “แนวทางการแก้ไขปัญหาการลงทุนกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันนักการเมืองไม่น้อยที่เข้ามาทำผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อพรรคการเมือง เพื่อคนใกล้ชิด เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ทุกคนทราบดีมาบตาพุดมีปัญหาอย่างไร คำถามคือเกิดจากไหน จุดเริ่มต้นอยู่ที่ใด และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะคนหรือเหตุผลอื่น ที่มีความสำเร็จในมาบตาพูดถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลชุดนั้น ส่วนใหญ่ข้าราชการสภาพัฒน์เป็นผู้ชงมา แบบแปลนค่อนข้างดี มีการแบ่งชัดเจนโรงงานอยู่ที่ใด ชุมชนอยู่ที่ใด เวลาผ่านไป 20 ปี บางทีวางแผนดี แต่ปฏิบัติแล้วไม่เป็นไปตามแผน ไม่ช้าไม่นานก็มีการขยับขยายสมคบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รัฐบาล การบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่กันชนวันนี้แทบไม่มี ชุมชนอยู่ติดกับโรงงาน โรงงานไม่รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่สัญญาโรงงานทำจริงหรือเปล่า รัฐไม่ได้ติดตาม การเฝ้าระวังเฝ้ามองไม่มีระบบ ต่างคนต่างทำ คนในสังคมสูงอาจเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด
“ปัญหามาบตาพุดไม่ได้เกิดเมื่อสามปีที่แล้วแต่เกิดมาสิบปีแล้ว ไม่ว่าการเดินขบวนโดยกลุ่มประชาชน เอ็นจีโอหัวหอกใหญ่ รัฐในอดีตไม่ได้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐานไม่ได้แก้ที่รากเหง้า ส่วนใหญ่ติดพาสเตอร์ ทายาแดง แค่การบรรเทาความทุกข์ ชั่วคราวเท่านั้น”นายอานันท์ กล่าวและว่า“ผมหวังว่านายกรัฐมนตรี รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ จะสามารถกลับตัวทัน มีทัศนคติในการทำงานแบบกระตือรือร้น เอาใจใส่จริงจัง ไม่คดโกง เมื่อถึงวันนั้นผลงานจะประจักษ์ เมื่อถึงเวลานั้นพวกเราจะนอนตาหลับ เพราะจะเกิดปัญหาอย่างมาบตาพุดเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย จะเป็นจุดเปลี่ยน ประชาชนจะไว้ใจรัฐบาล”นายอานันท์กล่าว
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สิ่งที่ทางรัฐบาลจะต้องดำเนินการไม่ใช่แค่การแก้ไขปัญหามาบตาพุด แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดมลภาวะทั้งระบบ ทำตามกฎหมายไม่พอ ต้องทำมากกว่ากฎหมายด้วยความจริงใจ เพื่อให้เกิดความสุข ความจริงใจก็จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้โรงงานหรือบริษัทเอกชนปล่อยมลพิษจะต้องจ่ายภาษี ขณะที่โรงงานหรือบริษัทที่ไม่ปล่อยมลพิษควรได้สิทธิพิเศษเพื่อนำไปสู่การไม่สร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้นแบบมาบตาพุดอีก โรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าตนอยากเห็นภาคเอกชนเอาจริงเอาจัง หากรัฐบาลหน่อมแน้มภาคธุรกิจต้องเป็นฝ่ายบุก อย่าหวังพึงรัฐบาลฝ่ายเดียว ทุกคนต้องตื่นตัว เตรียมตัวทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบ
ก่อนหน้านั้นได้มีการประกาศผลรางวัลอิศรา อมันตกุล โดยประเภทข่าว ปี2552 ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม แต่มี รางวัลดีเด่น 1 รางวัล ได้แก่ผลงานข่าว เปิดโปงทุจริตพอเพียง ยับยั้งแผนรุมทึ้งไทยเข้มแข็ง สธ. โดยกองบรรณาธิการ นสพ. มติชน ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ผลงานข่าว เปิดโปง รพ. โกงเงินแสนล้าน สปสช. ตีแผ่ปัญหาเบิกค่า "สเต็นท์" เกินจริง โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์ และผลงานข่าว ."มลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย" โดยกองบรรณาธิการ นสพ ประชาชาติธุรกิจ
รางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าว ผู้ได้รับรางวัลได้แก่ ภาพข่าว “ไล่ขวิด” ถ่ายโดยนายไชยวัฒน์ สาดแย้ม นสพ. บางกอกโพสต์ ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ผลงาน ภาพข่าว “สงครามกลางเมือง” ถ่ายโดยนายภานุมาศ สงวนวงษ์ นสพ.มติชน และผลงาน ภาพข่าว “คลายหนาว” ถ่ายโดยนายภวัต เล่าไพศาลทักษิณ นสพ.บางกอกโพสต์
รางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมผู้ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่ผลงาน ข่าวดับแผนขุดทรายให้สิงคโปร์ ปกป้องทรัพยากรมีค่าไทย โดยกองบรรณาธิการ นสพ. มติชน ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานข่าวมลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย โดยกองบรรณาธิการ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ และ ผลงานข่าวค้านระงับสร้างรูปปั้นกวนอิมรุกที่หลวง บดบังสะพานข้ามแม่น้ำแคว โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ไทยรัฐ